Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

ล้ำไปอีกขั้น! นักวิจัยจีนค้นพบวิธีผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิแซลมอน’ ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้ทั่วโลกคิดค้นวิธีต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งการรณรงค์ลดใช้พลาสติก รวมไปถึงการทำวัสดุทดแทนที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติจากพืชชนิดต่างๆ อย่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ และมันสำปะหลัง  ไอเดียล่าสุดที่น่าสนใจก็คือการผลิตพลาสติกจาก ‘อสุจิปลาแซลมอน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ขั้นตอนในการผลิตก็คือ การแยกสายดีเอ็นเอสองสายออกจากอสุจิปลาแซลมอน หลังจากนั้นก็นำสายดีเอ็นเอไปผสมกับสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันพืช เมื่อโมเลกุลจับตัวกันก็จะได้ ‘ไฮโดรเจลสังเคราะห์’ สารประกอบเนื้อเจลที่สามารถกักเก็บและรักษาปริมาณน้ำได้ 99% เมื่อมีเจลแล้วก็นำไปเทใส่พิมพ์รูปทรงต่างๆ อย่างเช่น แก้วมัค จิ๊กซอว์ โมเดลดีเอ็นเอ และของชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำพิมพ์ไปทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) เพื่อให้รูปทรงต่างๆ เซตตัวอย่างสมบูรณ์ ท้ายที่สุดก็จะได้วัสดุที่ทีมนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘พลาสติกที่ทำจากดีเอ็นเอ’ (DNA-based Plastic) แม้ว่าการผลิตพลาสติกจากอสุจิแซลมอนยังคงต้องใช้ความร้อนและพลังงาน แต่ Dayong Yang หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า พลาสติกชนิดนี้เป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในบรรดาพลาสติกที่รู้จัก เนื่องจากการผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% เมื่อเทียบกับการผลิตพลาสติกทั่วๆ ไป อีกข้อดีของพลาสติกชนิดนี้คือรีไซเคิลง่าย เพียงแค่ใช้เอนไซม์พิเศษสำหรับย่อยสลายดีเอ็นเอ หรือจะนำไปจุ่มน้ำเพื่อเปลี่ยนพลาสติกกลับไปเป็นเจลก็ได้ เพราะพลาสติกชนิดนี้จะนิ่มและยืดหยุ่นเมื่อโดนน้ำ  ในขณะเดียวกัน คุณสมบัติการย่อยสลายง่ายทำให้พลาสติกดีเอ็นเอยังไม่เหมาะที่จะเป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการกันน้ำให้แก่วัสดุประเภทนี้อยู่ ทั้งนี้ […]

ปลายทางของเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาในทะเลทรายชิลี ผลกระทบจากอุตสาหกรรม Fast Fashion

สินค้า Fast Fashion ได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสไปทั่วโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าแฟชั่นต่างๆ ออกมาอย่างรวดเร็ว ในราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการแต่งตัวตามกระแสและเน้นใส่เพียงไม่กี่ครั้ง แต่กระแสนิยม Fast Fashion ก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Fast Fashion กำลังเป็นปัญหาระดับโลก เห็นได้จากกองภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาที่ถูกทิ้งร้างในทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก เสื้อผ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผลิตในจีนและบังกลาเทศ ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนชิลีคือปลายทางสุดท้าย ทำให้ชิลีกลายเป็นศูนย์กลางของเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ในแต่ละปีมีเสื้อผ้าจากทั่วโลกประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเก (Iquique Port) ในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ (Alto Hospicio Free Zone) ทางตอนเหนือของชิลี เสื้อผ้าจำนวนหนึ่งมีบรรดาพ่อค้าเดินทางมาซื้อเพื่อไปขายต่อ ขณะที่บางส่วนถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา  ทั้งนี้ จะมีเสื้อผ้าราว 39,000 ตันที่ไม่สามารถขายได้และต้องมาจบลงที่กองขยะในทะเลทรายอาตากามา ทำให้ขยะแฟชั่นกองพะเนินอย่างที่เห็น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าไม่มีใครจ่ายภาษีให้กับเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้ สินค้าแฟชั่นเหล่านี้จึงต้องอยู่ในเขตปลอดภาษีต่อไป โดยสาเหตุสำคัญที่ชิลีมีภูเขาขยะเสื้อผ้าขนาดยักษ์ก็เพราะว่า สินค้าเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ (Non-biodegradable) และยังมีสารเคมี […]

ประเทศไทยวันนี้ : งบสิ่งแวดล้อมต่ำเตี้ย กองขยะสูงลิ่ว

Thailand หรือ ‘Trash’ land โควิด-19 ระลอก 3 ครานี้ อะไรที่ยังไม่เห็น ก็จะได้เห็น เช่น ขยะล้นประเทศ แต่รัฐบาลชุด พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หักงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในรอบ 5 ปี (อิหยังหว่า) ยอมรับว่าหลังจากเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 ในวงเงิน 3.1 ล้านล้านบาทของรัฐบาล ที่ผลการโหวตลงมติในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ‘ผ่านวาระ’ แล้ว เรารู้สึกตงิดใจอยู่พักหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ดูไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลยที่งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปี 2565 จะถูกหักจาก 16,143 ล้านบาท (ปี 2564) เหลือ 8,534 ล้านบาท หรือลดลงถึง 47.14 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับงบด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญมากกว่าปกติในช่วงวิกฤตโรคระบาดก็ถูกลดลงเช่นกัน แม้รัฐบาลพร่ำบอกประชาชนเสมอว่า ‘การ์ดอย่าตก’ และโยนความผิดไปให้ประชาชนที่ต้องออกไปทำมาหากินเมื่อติดโควิด-19 (แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาครอบคลุมทุกคน) หลายๆ บริษัทจึงกำหนดนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้านในระลอก 3 แน่นอนวัฏจักรชีวิตติดเดลิเวอรี่ของคนเมืองจึงวนอยู่แค่เข้าแอปฯ สั่งของ […]

ค้นหาทางออกเพื่อให้เรารอดจากขยะพลาสติก ผ่านการนำขยะมาทำเป็นธุรกิจ | City Survive EP.1

“สำหรับปัญหาขยะพลาสติก หากเราไม่ได้จัดการหรือร่วมมือกันแก้ไขทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายยังทำแบบที่ทำกันอยู่ ใน ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปลาในทะเล” นี้คือหนึ่งในบทสัมภาษณ์จากสารคดี City Survive ทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะ City Survive รายการสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในตอนแรกนี้เราจึงหยิบยกปัญหาขยะพลาสติกขึ้นมาบอกเล่าและตีแผ่ถึงปัญหา และร่วมหาทางรอดไปพร้อมกัน กับหนึ่งทางออกอย่างสร้างสรรค์คือการนำขยะเหล่านี้มาทำเป็นธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มนุษย์ได้ ภาคธุรกิจได้ โลกได้ สิ่งแวดล้อมได้ และความยั่งยืนได้ รวมไปถึงคำถามที่ว่าพลาสติกนั้นผิดจริงๆ หรือหากไม่มีผิดถูกเราจะอยู่ร่วมกับพลาสติกอย่างไรให้ทั้งเราและโลกไปต่อได้ หลายคำตอบรวมอยู่ในสารคดีทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะนี้

Pretty Plastic กระเบื้องปูผนังรีไซเคิล 100%

เทรนด์เปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า นับว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ ‘ขยะพลาสติก’ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ทำเอา Overtreders W ทีมนักออกแบบพื้นที่ และ Bureau SLA สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม จากเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ จับมือกันปิ๊งโปรเจกต์ Pretty Plastic ที่นำขยะ PVC มารีไซเคิลเป็นโปรดักต์กระเบื้องปูผนังสีเทาสุดเท่ “นี่คือกระเบื้องปูผนังอาคารรีไซเคิล 100% ครั้งแรกในโลก” คำเคลมของนักออกแบบ โดยแรกเริ่มโปรเจกต์ Pretty Plastic ได้ลองนำกระเบื้องไปใช้กับอาคารชั่วคราวในงาน Dutch Design Week เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดยหลังจากงานนั้นก็มีคนมาถามไถ่และขอซื้อกันเพียบ ทำให้พวกเขาต้องพัฒนาโปรดักต์นี้ให้เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง พวกเขานำขยะพลาสติก PVC จำพวกท่อน้ำ กรอบหน้าต่างเก่า รางน้ำฝน มาทำความสะอาด หลอม และแปรรูปจนออกมาเป็นกระเบื้องเฉดสีเทาเท่ๆ และมีลวดลายชวนสัมผัส ซึ่งไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัย เพราะโปรดักต์นี้ได้ผ่านการรับรองอัคคีภัยคลาส B ประเภทวัสดุเผายากมากมาแล้ว สามารถนำไปใช้กับตึกรามบ้านช่องได้อย่างไร้กังวล นี่ไม่ใช่โปรเจกต์แรกที่นักออกทั้ง 2 ทีมจับมือกัน พวกเขาเคยสร้างโปรเจกต์เพื่อสิ่งแวดล้อมกันมาแล้ว […]

ใช้ชีวิตแบบไร้ขยะกับ 7 ร้านรีฟิลรักษ์โลก

‘Refill’ คือร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป แต่แตกต่างตรงที่เราผู้เป็นลูกค้าเวลาซื้อของจะต้องเป็นฝ่ายนำภาชนะมาใส่สินค้าด้วยตนเองแทนการใช้พลาสติก ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเดินทางรอบกรุงเทพฯ เพื่อตามหา 7 ร้านรีฟิลรักษ์โลก ที่ไม่ว่าเราจะอยู่มุมไหนก็สามารถใช้ชีวิตแบบไร้ขยะได้สมใจ

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.