ชีวิตนายน้อยชิเอล ‘Black Butler’ จะเป็นอย่างไร ถ้าโรงเรียนเวสตันตั้งอยู่ในประเทศไทย

สืบคดีบนเรือสำราญคัมปาเนียจบไปได้ไม่นาน ‘ชิเอล แฟนทอมไฮฟ์’ และ ‘เซบาสเตียน’ พ่อบ้านปีศาจของเขาก็ต้องวุ่นอีกครั้ง  หลังมีจดหมายจากองค์ราชินีให้เข้าไปช่วยสืบคดีเด็กนักเรียนหายตัวไปในโรงเรียนประจำชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษอย่าง ‘โรงเรียนเวสตัน’ ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด จนแอบนึกเปรียบเทียบไม่ได้ว่า จริงๆ แล้วโรงเรียนในประเทศไทยเองก็มีความคล้ายคลึงกันกับโรงเรียนเวสตันในการ์ตูนเรื่อง Black Butler อยู่ไม่น้อย ทั้งเรื่องกฎระเบียบและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันมา งั้นถ้าเกิดว่าโรงเรียนเวสตันที่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทย ชีวิตนายน้อยชิเอลกับเซบาสเตียนในรั้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไร และจะสืบคดีได้ไหม ‘ไปอ่านกันเลย เซบาสเตียน’‘เยส มายลอร์ด’ กฎโรงเรียนของเราน่าอยู่? ความน่าอยู่ของแต่ละโรงเรียนอาจขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละคน แต่เรื่อง ‘บ้ากฎ’ เนี่ยก็ต้องบอกว่าประเทศไทยไม่เคยน้อยหน้าใคร เพราะจากกฎข้อ 48 ของโรงเรียนเวสตันเดิมที่กำหนดไว้ว่า ‘คนที่จะเดินลัดสนามหญ้าได้มีแต่พรีเฟกต์และคนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น’ ก็ดูไม่แปลกประหลาดเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีกฎข้อห้ามและข้อบังคับจำนวนมากที่อาจแปลกประหลาดไม่ต่างกัน ทั้งบังคับใส่เครื่องแต่งกายตามเพศสภาพ ไม่ใช่เพศวิถี บังคับตัดผมสั้นรองทรง ย้อมผมสีดำทั้งที่บางคนพื้นผมธรรมชาติเป็นสีน้ำตาล หรือจะกฎประหลาดๆ อย่างต้องใส่ถุงเท้าพื้นขาว ยืนเข้าแถวกลางแดด ไปจนถึงห้ามใช้กระเป๋าจากนอกโรงเรียนและอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนชิเอลที่ต้องมาสืบคดีในโรงเรียนนี้ก็คงไม่มีเวลาปลีกตัวไปทำภารกิจ เพราะต้องมาเข้าแถวตรวจระเบียบทุกเช้า เช็กชื่อในห้องทุกวิชา แถมยังต้องมาปวดหัวกับกฎแปลกๆ อีก กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ พูดถึงกีฬา ‘คริกเก็ต’ ในเรื่อง หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหู เพราะประเทศไทยเรานิยมแข่ง ‘กีฬาสี’ […]

การเดินทางค้นหาความหมายของเวลา การพบพาน และการจากลาใน Frieren : Beyond Journey’s End

หากพูดถึงการ์ตูนอานิเมะญี่ปุ่นสักเรื่องที่ถ่ายทอดความเป็นไปของชีวิตอันเรียบง่าย เป็นไปไม่ได้เลยที่เวลานี้จะไม่พูดถึง Frieren เพราะอานิเมะจำนวน 28 ตอนเรื่องนี้ได้พร่ำสอนเรื่องราวในชีวิตที่พวกเราต่างต้องพบเจอ ผ่านการเดินทางผจญภัยในโลกเวทมนตร์แฟนตาซีของเหล่าผู้กล้า ที่ดูไกลตัวมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ได้อย่างแนบเนียน ไม่รู้สึกเคอะเขินแต่อย่างใด ซึ่งน่าแปลกใจว่าเหตุใดเรื่องราวแฟนตาซีเหนือจินตนาการ ทั้งการไปปราบจอมมาร นักรบผู้แกร่งกล้า คนแคระยอดนักสู้ นักพรตมากวิชา และจอมเวทผู้มีพลังมหาศาล จึงเข้าถึงหัวอกหัวใจคนธรรมดาที่ใช้ชีวิตในโลกไร้ซึ่งความวิเศษได้อย่างอ่อนโยน ท่ามกลางกระแสของแอนิเมชันแนว ‘อิเซไก’ ที่บรรดาตัวละครเอกกลับไปเกิดใหม่ในโลกต่างแดนที่เต็มไปด้วยความแฟนตาซี การผจญภัยท่ามกลางสิ่งวิเศษ และการทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แอนิเมชันอย่าง Frieren กลับนำเสนอเรื่องราวเดียวกันในรูปแบบการผจญภัยที่แตกต่างออกไป และเข้าถึงผู้คนได้อย่างเรียบง่าย อย่างที่อานิเมะแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ไม่เคยทำมาก่อน จนชวนให้น่าค้นหาว่าสิ่งใดกันคือความเป็นมนุษย์ที่ผู้ชมประทับใจในการผจญภัยของแอนิเมชันเรื่องนี้ เวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราถึงต้องทำให้มีความหมาย การผจญภัยของ Frieren เริ่มต้นด้วยเรื่องราวการเดินทางของ ‘ฟรีเรน’ นักเวทสาวเผ่าเอลฟ์กับเหล่าผู้กล้า ประกอบไปด้วยวีรบุรุษ ‘ฮิมเมล’, นักบวช ‘ไฮเตอร์’ และนักรบคนแคระ ‘ไอเซ็น’ ที่หากเป็นแอนิเมชันเรื่องอื่นๆ คงจะเล่าด้วยการที่พวกเขาทั้งสี่เริ่มเดินทางไปปราบราชาปีศาจ แต่ Frieren กลับเริ่มต้นเรื่องราวด้วยช่วงเวลาหลังการปราบราชาปีศาจที่สำเร็จลุล่วง และสมาชิกแต่ละคนแยกย้ายกันไปใช้ชีวิตของตนเอง ฟรีเรนจึงออกเดินทางเรื่อยเปื่อยค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับเวทมนตร์ที่มีอยู่ทุกรูปแบบ ทว่าเมื่อถึงเวลาที่สมาชิกทั้ง 4 คนสัญญาว่าจะกลับมาพบกันอีกครั้ง เพื่อดูฝนดาวตกในรอบ 50 ปีดั่งที่เคยดูด้วยกันเมื่อครั้งปราบราชาปีศาจสำเร็จ […]

ย้อนความทรงจำย่านเมืองเก่า ผ่านลายเส้นของ Siradasue นักวาดเว็บตูน

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เติบโตขึ้น วิถีชีวิตของคนในย่านเมืองเก่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป บ้างเหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ แต่ภาพในอดีตก็ถูกสะท้อนออกมาในลายเส้นการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์ของ ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ เจ้าของผลงานใน LINE WEBTOON เรื่อง Blooming Days และ Moonlight Serenade “ตอนที่เขียนการ์ตูนเรื่องหนึ่งออกมา โบว์เขียนเพราะอยากนำเสนอภาพจำของย่านเมืองเก่าที่สวยงาม เพื่อที่คนอ่าน อ่านแล้วต้องรู้สึกอยากมาลองสัมผัสบรรยากาศแบบที่เห็นในการ์ตูนสักครั้ง” ผลงานของโบว์เป็นการหยิบเอาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม อาคารสถานที่จริง จากความทรงจำและภาพปัจจุบันที่เธออาศัยอยู่ ทำให้การ์ตูนของเธอเป็นอีกสื่อที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้คน เพื่อให้คนอ่านได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสบรรยากาศในอดีตและมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีความตั้งใจว่าการ์ตูนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอ่านรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าเอาไว้

เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’

ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]

PASULOL ถึงเวลาใช้การ์ตูนมาเปลี่ยนภาพจำเรื่องเล่าแบบไทยๆ l Somebody Ordinary EP.11

‘คุณคิดว่าหากหุ่นยนต์แมวสีฟ้าจากอนาคตอย่างโดราเอมอนมีนิสัยเลวจะเป็นยังไง?’ หรือแม้แต่ ‘รามเกียรติ์ตอนนนทก เทพคูลๆ อย่างพระอิศวร ที่แค่ลูกน้องบ่นใส่เฉยๆ ก็สาปเอาไปล้างเท้าแล้ว’ หากเรื่องราวเหล่านี้ถูกหยิบขึ้นมาเล่าใหม่ในมุมที่แตกต่างไปจากเดิม แต่ไม่ทำลายแก่นหรือความเชื่อดั้งเดิม จะออกมาหน้าตาประมาณไหน? Somebody Ordinary ครานี้ขอพาคุณท่องโลกแห่งการ์ตูน ไปกับ ‘ช่อง PASULOL’ ที่หยิบเรื่องราวต่างๆ มาเล่าใหม่ในมุมที่ตลก (ร้าย) ไม่ว่าจะนิทานพื้นบ้าน การ์ตูนสุดคลาสสิก นิทานคนบาป หรือแม้แต่เจ้าริกกี้แมลงสาบตัวน้อยที่ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคมป่าเถื่อน ด้วยมุมมองที่แปลกใหม่ ทำให้ PASULOL ได้รับความนิยมและมียอดวิวถล่มทลาย เรื่องราวของ PASULOL กว่าจะมาถึงวันนี้ก็น่าสนใจไม่แพ้การ์ตูนในช่องเช่นกัน เหตุผลที่ PASULOL อยู่รอดได้ตอนนี้ ไม่ใช่เพราะว่าทำแอนิเมชันดีหรือทำแอนิเมชันเก่ง แต่เป็นเพราะการเข้าใจว่าคนดูต้องการอะไร และพร้อมคิดบท แก้บท เขียนบท เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด “ถ้าคุณมีความฝันอย่าให้ใครมาฉุดกระชากคุณ” #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #PASULOL #การ์ตูน 

ThaiToon แอปฯ รวมการ์ตูนผีไทยที่เปิดให้สมัครสมาชิกและอ่านฟรี

ต่อให้คุณไม่ใช่นักอ่านตัวยง แต่ถ้าคุณอายุไม่น้อยแล้ว ยังไงก็น่าจะเคยเห็นหนังสือการ์ตูนผีไทยผ่านตาบ้าง บางคนอาจทันยุคที่การ์ตูนเล่มละบาท บางคนอาจมาอ่านตอนที่ขึ้นราคาเป็น 5 บาทแล้ว  ด้วยสีสันอันฉูดฉาด คาแรกเตอร์สุดแสบสัน เนื้อเรื่องที่วนเวียนกับผี วิญญาณ ตำนานพื้นบ้าน ผัวๆ เมียๆ แทรกด้วยฉากวาบหวิว บวกกับขนาดเล่มที่กะทัดรัด อ่านจบไวๆ ทำให้การ์ตูนประเภทนี้รุ่งเรืองมาก ก่อนที่ความนิยมจะลดลงตามยุคสมัยและพฤติกรรมผู้อ่านที่เปลี่ยน ทว่าเมื่อ 2 – 3 ปีมานี้ที่มังงะญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นความชอบกระแสหลัก การ์ตูนไทยก็ได้รับการหยิบมาพูดถึงในวงกว้างอีกครั้ง โดยการ์ตูนผีไทยคือหนึ่งในตำนานเหล่านั้น เพราะนอกจากความสนุก อ่านเพลินแล้ว มันยังบันทึกยุคสมัยด้วยการสะท้อนถึงชีวิตคนชายขอบ ชนชั้นแรงงาน ที่เป็นคาแรกเตอร์ส่วนใหญ่ของเรื่องด้วย หลังจากมีเสียงเรียกร้องของผู้อ่านมามาก เพราะแทบหาอ่านการ์ตูนแนวนี้ไม่ได้แล้ว จึงทำให้แอปพลิเคชัน ‘ThaiToon’ รวบรวมการ์ตูนไทยของสำนักพิมพ์ทวีปัญญาที่ถือเป็นมือฉมังในการผลิตการ์ตูนแนวนี้ โดยมีทั้งส่วนให้อ่านฟรีและต้องสมัครสมาชิก แบ่งเป็นรายเดือน 29 บาท และรายปี 249 บาท เรียกว่าได้ทั้งอ่านและสนับสนุนแวดวงการ์ตูนไทยในคราเดียวกัน ส่วนใครที่อยากลองเปลี่ยนอรรถรสจากการอ่านไปฟังกันดูบ้าง ในแอปฯ ก็มีเซกชัน ‘ไทยตูนเดอะมูฟวี่’ ให้บริการ ประกอบด้วยเสียงพากย์และซาวนด์เอฟเฟกต์ชวนติดตาม ทำให้รู้สึกเหมือนว่าอยู่ในการ์ตูนเรื่องนั้นจริงๆ ใครที่คิดถึงผลงานของนักเขียนชื่อดังอย่าง แดน สุดสาคร และ […]

Kinokuniya เปิดร้านหนังสือการ์ตูน สุดฉูดฉาดอลังการที่ CentralwOrld

ในยุคที่การ์ตูนญี่ปุ่นกลับมาฮิตในกระแสหลักกันอีกครั้ง ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนอ่านมังงะ แย่งชิงกันซื้อการ์ตูนในระดับที่ไม่ต่างจากการกดตั๋วบัตรคอนเสิร์ตศิลปินดัง หรือกระทั่งจับกลุ่มเป็นแฟนด้อมอานิเมะกันอย่างเหนียวแน่นไม่ต่างแฟนด้อมไอดอลเกาหลี จากปรากฏการณ์นี้ทำให้สำนักพิมพ์หนังสือการ์ตูนในไทยกลับมาเฉิดฉายได้อีกครั้ง พร้อมๆ กับร้านหนังสือการ์ตูนที่เริ่มมีลูกค้าหน้าใหม่เข้ามาอุดหนุน ทำให้ Kinokuniya (คิโนะคูนิยะ) ร้านหนังสือสัญชาติญี่ปุ่นที่มีสาขาในไทย เปิดโซนการ์ตูนอย่างฉูดฉาดอลังการที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้า CentralwOrld ไปเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ภายในร้านมีมังงะและอานิเมะลิขสิทธิ์แท้ให้คอการ์ตูนเลือกสรร โดยมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น ยกตัวอย่างหนังสือยอดฮิต เช่น Spy x Family, Demon Slayer, Slam Dunk, Jujutsu Kaisen, Attack on Titan, Blue Period, Sailor Moon, One Piece, โคนัน ยอดนักสืบ, คอลเลกชันของ Junji Ito, ผลงานของ Ghibli Studio ไปจนถึงผลงานของ DC Comics และ Marvel […]

ตามเชียร์ตัวเอก ในกีฬาพระรองกับ 5 การ์ตูนกีฬานอกกระแส

การ์ตูนญี่ปุ่นนอกจากจะมีบทบาทการเป็นทูตและสินค้าทางวัฒนธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การ์ตูนยังมีความสำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมและบุคลิกภาพของประชากรในประเทศด้วย อาทิ เรามักจะเห็นว่าตัวละครเอกของการ์ตูนญี่ปุ่นมักมีนิสัย มุ่งมั่น พยายามอย่างหนัก เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เฉกเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยระเบียบวินัย นอกจากนั้นการ์ตูนญี่ปุ่นยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนความสนใจ พร้อมทั้งให้ความรู้กับประชาชนไปในเวลาเดียวกัน เช่นผลจากการเติบโตของการ์ตูน Captain Tsubasa ที่ทำให้คนญี่ปุ่นมาเล่นฟุตบอลกันอย่างจริงจัง ผลที่เกิดขึ้นคือประชาชนหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เกิดการพัฒนาศักยภาพทางด้านกีฬาของประเทศอย่างก้าวกระโดด จนเกิดเป็นการ์ตูนกีฬาประเภทอื่นๆ ออกมาอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งการ์ตูนต่างๆ ล้วนเป็นทั้งสื่อบันเทิงและเป็นสื่อที่กระตุ้นให้คนหันมาสนใจเรื่องกีฬาได้อย่างสร้างสรรค์ 弱虫ペダル – Yowamushi Pedal ให้ขาทั้งสองข้างกับจักรยาน พาคุณไปโลดแล่นบนท้องถนน กับ Yowamushi Pedal หรือชื่อที่เราคุ้นหูอย่างโอตาคุน่องเหล็ก การ์ตูนกีฬาเรื่องดัง ที่เชิญชวนทุกคนไปรู้จักกับโลกของการแข่งขันจักรยานจากสตูดิโอ TMS Entertainment เรื่องราวของโอโนดะ ซากามิจิ หนุ่มแว่นร่างเล็ก ที่ไม่เคยชื่นชอบกีฬามาก่อนในชีวิต เพราะมองว่าชมรมกีฬาเป็นพวกป่าเถื่อน แต่เขาไม่รู้เลยว่ากิจวัตรประจำวันของตัวเองล้วนบ่มเพาะให้เขากลายเป็นยอดนักปั่น เนื่องจากซากามิจิมักปั่นจักรยานจากโรงเรียนไปอากิฮาบาระเพื่อซื้อหนังสือการ์ตูนอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องราวอาจจะฟังดูเหมือนปกติ ทว่าระยะในการปั่นแต่ละครั้งมากถึง 90 กิโลเมตร และในทุกครั้งซากามิจิ ใช้เพียงจักรยานแม่บ้านที่ไม่เหมาะกับการปั่นระยะไกล เมื่อคนในชมรมจักรยานรู้ข่าวจึงชักชวนให้ซากามิจิเข้าชมรมและได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโอตาคุน่องเหล็กคนนี้  เรื่องราวของโอตาคุน่องเหล็กเต็มไปด้วยเกร็ดความรู้ต่างๆ ในการปั่นจักรยาน และเต็มไปด้วยข้อคิด คติสอนใจในเรื่องมิตรภาพ ความฝัน การลงมือทำ ที่ไม่ว่าจะเป็นเด็ก […]

หอสมุดแห่งชาติ ชวนย้อนประวัติศาสตร์ ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’

รู้หรือไม่ หนังสือการ์ตูนเล่มแรกของไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2387 หรือเมื่อ 177 ปีที่แล้ว! เริ่มตั้งแต่ลายเส้นอิทธิพลตะวันตกของ ‘ขรัวอินโข่ง’ จิตรกรชื่อดังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สู่การ์ตูนสะท้อนสังคมและการเมืองเมื่อประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตย จนครองใจคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างในปัจจุบัน กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงอยากเชิญชวนคนรักการ์ตูนมาร่วมย้อนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการแต่ละยุคของการ์ตูนไทย ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’ ที่จัดขึ้นเพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมาของหนังสือการ์ตูนไทยรวมถึงหนังสือการ์ตูนหาชมยาก ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงยุคการ์ตูนดิจิทัลในปัจจุบัน  ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 เมษายน 2564 ที่ห้องวชิรญาณ 2 และ 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 17.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์) Source : SARAKADEE LITE | https://bit.ly/3txsTpg

FYI

เบื้องหลังการเต้นของ “น้องกลมกลม” บน Wall Art จากแคมเปญ Hoegaarden rosée ‘Love Series’

ในแวดวงนักวาดภาพประกอบไทย ชื่อของ Jirayu Koo หรือ ‘จิ-จิรายุ คูอมรพัฒนะ’ คงเป็นที่คุ้นหูของใครหลายคน พอๆ กับ ‘น้องกลมกลม’ คาแรกเตอร์ที่เธอสร้างสรรค์ จะไม่ให้จำได้ได้ยังไง เพราะน้องกลมกลมเป็นตัวการ์ตูนที่ทั้งตุ๊ต๊ะ มีสีสันสดใส แถมยังไร้รูปแบบจนสามารถไปอยู่ในงานออกแบบได้หลากหลายประเภท  ล่าสุด น้องกลมกลมไปปรากฏตัวในแคมเปญพิเศษอย่าง Hoegaarden rosée ‘Love Series’ ที่ Hoegaarden ประเทศไทยได้จัดขึ้นเพื่อต้อนรับวาเลนไทน์และเฉลิมฉลองอายุครบรอบ 7 ปีของแบรนด์ ด้วยการชวน Jirayu Koo กับอีก 3 ศิลปินไทยมาสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบกำแพงศิลปะขนาดใหญ่ (Wall Art) ภายใต้คอนเซปต์ ‘I’m in Love’ ให้คนโสด คนมีคู่ คนสถานะไม่ชัด หรือใครก็ตามได้ไปเดินเล่น (ใจ) เต้น และถ่ายรูปไปด้วยกัน กำแพงศิลปะ I’m in Love จะจัดขึ้นที่ Warehouse 30 ตั้งแต่ 1 […]

สะท้อนสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่านมังงะ ‘One Piece’

เปิดมุมมองสังคม LGBTQ+ ในดินแดนญี่ปุ่นผ่าน ‘เกาะกะเทย’ ใน “One Piece” มังงะที่สะท้อนภาพความหลากหลายทางเพศได้อย่างชัดเจน และหลายแง่มุม ทั้งตัวละคร การสร้างเกาะ การนำเรื่องราว สังคม วัฒนธรรม ในโลกแห่งความจริงมาแต่งแต้มสีสันให้กับโลกของวันพีซ นับว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วันพีซนั้นประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และเป็นอีกหนึ่งมังงะที่กลายเป็นเครื่องมือซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการสื่อสารตั้งแต่วัฒนธรรม เยาวชน สู่ผู้คนทั่วโลก ทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม และภาพสังคม LGBTQ+ ในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างดีเยี่ยม

บางเวลาวาด บางเวลาชง เรื่องเล่าความสุขปลายปากกา ของ ‘น้อยหน่า’ นักเขียนการ์ตูนแห่งขายหัวเราะ

คุยกับ น้อยหน่า-สุริยา นักเขียนการ์ตูนขายหัวเราะ ผู้สร้างความสุขผ่านศิลปะให้เมืองจันทบุรี

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.