เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’

การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]

ชวนอ่าน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ ที่รวบรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย

เวลาจะย้อนไปดูความเป็นมาของชาติ นอกจากคนและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าถึงบริบทของสังคมที่ผ่านมา ‘สิ่งของ’ ก็เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ศึกษาที่มาที่ไป เบื้องหลังความคิดการออกแบบ หรือกระทั่งอุดมการณ์ในการมีอยู่ของมัน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ คือหนังสือที่ปรับจากงานวิจัยเรื่อง ‘ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ โดยคณะผู้เขียน ได้แก่ ‘วิชญ มุกดามณี’, ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’, ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ และ ‘กฤติยา กาวีวงศ์’ ซึ่งโครงการนี้เป็นงานวิจัยระยะยาว 3 ปี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อศึกษา รวบรวม และคัดเลือกผลงานศิลปะ งานสร้างสรรค์ หรือวัตถุชิ้นสำคัญที่ส่งผลและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และสังคมในยุครัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดแสดงนิทรรศการและจัดทำองค์ความรู้ทางศิลปะของประเทศไทยตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื้อหาภายในหนังสือต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมระหว่างทศวรรษ 2470 – 2520 และเพื่อรวบรวมงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมไทยในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเน้นศึกษาที่ตัวชิ้นงานศิลปะเป็นศูนย์กลาง และวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก จนออกมาเป็น 50 ผลงานที่บอกเล่าบริบทในช่วงเวลาต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช […]

เช็กแนวโน้มประชาธิปไตยได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ Our Voice Matters นับเสียง ส.ส. และ ส.ว. ฝั่งประชาชน

หลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นจนถึงวันนี้ เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลก็ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะหากนับคะแนนเสียงในสภา ต่อให้พรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยจะชนะเลือกตั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ขึ้นเป็นรัฐบาล เนื่องจากมีเหล่า ส.ว. อีก 250 เสียงที่ยังอยู่ในสมการ ourvoicematters.co คือเว็บไซต์ช่วยนับคะแนนเสียง ส.ว. และ ส.ส. ที่ตัดสินใจอยู่ข้างประชาชนตอนนี้ ซึ่งจากข้อมูลอัปเดตล่าสุด วันที่ 21 พ.ค. 2566 มีจำนวน ส.ว. และ ส.ส. ที่พร้อมโหวตตัวแทนจากพรรคฝั่งประชาธิปไตยแล้ว 334 เสียง นอกจากจะรายงานถึง ส.ว. และ ส.ส. ที่อยู่ฝั่งเดียวกับประชาธิปไตย และจำนวนเสียงที่ขาดไป เพื่อไปให้ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงภายใต้กฎกติกาตอนนี้แล้ว อีกหนึ่งกิมมิกของเว็บนี้คือ เซกชัน ‘อยากบอกอะไร ส.ส. กับ ส.ว. ที่อยู่ข้างเราไหม?’ ที่มีข้อความให้กำลังใจมากมายอยู่บนหน้าเว็บไซต์ ทั้ง “ขอบคุณที่ทำให้เสียงของเราไม่สูญเปล่า” “ขอบคุณที่ฟังเสียงประชาชน” “ขอบคุณที่ทำหน้าที่ ส.ว. อย่างถูกต้อง” เป็นต้น ซึ่งถ้าเราต้องการบอกอะไรกับพวกเขาผู้ยืนหยัดอยู่ข้างประชาชน ก็จิ้มข้อความเหล่านั้นเพื่อให้กำลังใจได้เลย และในส่วนท้ายสุดของเว็บไซต์เป็นหน้ากระดานข่าวที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับพรรคอื่นๆ รวมถึง ส.ว. […]

‘Design & Politics’ งานดีไซน์เพื่อการเลือกตั้งจากไต้หวัน ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การเลือกตั้งที่ไทยจบลงไปแล้วกับชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตย แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจแต่เราอาจมองข้ามไปคือ การสร้างสรรค์ดีไซน์หรือฮาวทูต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจการเลือกตั้งได้อย่างชัดเจนขึ้น เพราะก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในกติกาหรือรายละเอียดการเลือกตั้ง จนกลายเป็นผลเสียตามมา Urban Creature ขอพามาดูตัวอย่างงานออกแบบการเมืองของประเทศไต้หวัน ที่พยายามใช้งานดีไซน์ทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น จาก ‘Golden Pin Design Award’ งานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ที่ต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบหลากหลายประเภทจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไต้หวันมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ 4 ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ 2 ปี แน่นอนว่าต้องมีการโปรโมตเพื่อหาเสียงเหมือนกับการเลือกตั้งในบ้านเรา และแนวคิดที่ชาวไต้หวันเลือกนำมาใช้คือการออกแบบการหาเสียงที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หนึ่งในงานออกแบบการหาเสียงที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้ทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ ผ่านการออกแบบฟังก์ชัน ‘ห้องแชตประธานาธิบดี’ โดย ‘Block Studio’ เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เริ่มต้นจากการเลือกผู้สมัครที่สนใจ และระบบจะนำเราเข้าสู่ห้องแชตที่อธิบายนโยบายต่างๆ ในรูปแบบของบทสนทนาที่ใช้กันทั่วไป จากนั้นระบบจะประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ผู้ใช้งานได้เลือกระหว่างสนทนาว่า พรรคไหนคือพรรคที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตอบโจทย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เลือกผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ตรงกับตัวเอง โดยไม่ตัดสินจากตัวพรรคที่สังกัดอย่างที่เคยเป็นมา อีกหนึ่งการออกแบบคือ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’ ซึ่งเป็นผลงานจาก ‘graphic room’ […]

4 ปีผ่านมา พรรคไหนทำตามสัญญาบ้าง รวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งที่เว็บไซต์ Wevis Election’66

ผ่านไป 4 ปี การเลือกตั้งครั้งใหญ่ก็เวียนกลับมาอีกครั้ง แม้ว่ากฎกติกาที่ออกมาจะดูงงๆ แปลกๆ ราวกับไม่อยากให้ประชาชนคนไทยเข้าใจการเลือกตั้งง่ายๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขัดขวางให้เราไม่ไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเอง นอกจากการแบ่งเขตและกฎกติกาการเลือกตั้งปี 2566 ที่ต้องทำความเข้าใจแล้ว อีกเรื่องที่คนน่าจะอยากรู้กันคือ ผลงานของ ส.ส.ในเขตของเรา และพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งเมื่อครั้งที่แล้ว ว่าพวกเขาทำอะไรให้ดีขึ้นบ้าง ซึ่งเว็บไซต์ election66.wevis.info/ ของกลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน Wevis ก็รวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้วในรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลที่ดูง่าย สนุก และสวยงาม Wevis Election’66 คือเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประชาชนก่อนไปเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นโปรเจกต์ย่อยๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น – 4 ปีผ่านมา ส.ส. ทำอะไรกันในสภาบ้าง? ทบทวนความจำกับผลงานการลงมติและการย้ายพรรคของ ส.ส.ชุดล่าสุด– 4 ปีผ่านมา พรรคการเมืองทำตามสัญญาอะไรได้บ้าง? ทบทวนความจำกับพรรคในสภาชุดล่าสุด เคยขายนโยบายและทำอะไรไปบ้าง– 4 ปีผ่านมา กฎหมายอะไรผ่านเข้าสภาบ้าง? ตรวจงานรัฐสภาชุดล่าสุด เคยเสนอ/ผ่านกฎหมายอะไรให้เรา– ส่องเพจพรรค ที่ผ่านมา โพสต์อะไรกันไว้บ้าง? ส่องโลกออนไลน์ของ 6 พรรคการเมืองในสภา นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นว่าผู้แทนฯ แบบไหนที่ประชาชนอยากเห็น […]

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองปี 2022 ที่ชาว Urban Creature ยกนิ้วให้

ดนตรีในสวน เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง แคมเปญการเมือง พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวอย่างมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในเมืองตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังโรคระบาดที่สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนกล้าออกไปใช้ชีวิต อีเวนต์มากมายเกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และพลังการขับเคลื่อนได้รับการเติมเชื้อเพลิง ชาว Urban Creature เลยขอคัดเลือกมูฟเมนต์เจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองปีนี้ มารวบรวมให้ทุกคนย้อนนึกถึงกันอีกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานของความหวังต่อบ้านเมืองนี้ เราจะได้มีแรงไปใช้ชีวิตและขับเคลื่อนความเชื่อของตัวเองกันต่อในปีหน้า ปลดล็อกท้องถิ่น โดยคณะก้าวหน้าชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  ด้วยความที่ย้ายจากนครปฐมไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่ตอนเรียนประถมฯ ผสมกับเข้ากรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ จนสุดท้ายได้มาเรียนมหาวิทยาลัยและทำงานที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์และความเป็นอยู่ทั้งชีวิตสอนให้รู้ว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่สาธารณูปโภคและการงานกับเงินเดือน ให้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ  เพราะต่อให้เมืองมันจะไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยมลพิษและปัญหารถติด แต่อย่างน้อยการมีขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุม เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ได้ทำงานในสายงานที่สนใจ มีร้านหนังสืออิสระ โรงหนัง แกลเลอรี และสวนสาธารณะดีๆ รายล้อม ยังไงมันก็ดีกว่าการอยู่ในที่ที่ถ้าไม่มีรถยนต์ก็ไปไหนเองแทบไม่ได้ ไม่มีสายงานที่สนใจให้ทำ และมีแต่ห้างฯ กับสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้ไปเยือน เราจึงดีใจมากที่เห็นคณะก้าวหน้าออกมาขับเคลื่อนเรื่องการเมืองในสเกลย่อย และได้มีการล่ารายชื่อปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาให้คนทำงานในพื้นที่ได้มีอำนาจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสักที ยิ่งพอได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร […]

ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ

ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้  มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]

จะรักกันได้ไหม หากเห็นต่างทางการเมือง ชวนดูหนังไทย Cloud Cuckoo Country ฉายวันเสาร์ 19 พ.ย. 65 ที่ BACC

“เธอยังเป็นสลิ่มอยู่ปะ” นี่คือไดอะล็อกสั้นๆ แต่เจ็บจี๊ดจาก Cloud Cuckoo Country ภาพยนตร์ไทยที่เขียนบทและกำกับโดย ‘เอมอัยย์ พลพิทักษ์’ นำแสดงโดย ‘เฌอเอม-ชญาธนุส ศรทัตต์’ และ ‘นัตตี้-นันทนัท ฐกัดกุล’ ภาพยนตร์ความยาว 48 นาทีเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวอดีตคู่รักที่เลิกรากันไปเมื่อ 10 ปีก่อนเพราะความขัดแย้งของความคิดเห็นทางการเมือง พวกเขากลับมาพบกันอีกครั้งโดยบังเอิญท่ามกลางสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง บทสนทนาที่เต็มไปด้วยอารมณ์และแนวคิดทางการเมืองคนละขั้วจะค่อยๆ เผยให้ทุกคนเข้าใจว่าทำไมทั้งคู่ถึงเลิกรากัน และเมื่อต้องเผชิญกับความจริงที่ตัวเองไม่อยากได้ยิน แต่ละคนจะตอบโต้มันอย่างไร Cloud Cuckoo Country จะพาไปหาคำตอบว่า เราจะรักคนที่มีความเชื่อทางการเมืองแตกต่างจากเราได้หรือไม่ ผ่านเนื้อเรื่องที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และฉากหลังเก่าแก่อย่างเขตพระนคร พื้นที่ที่ขึ้นชื่อว่า ‘สมบูรณ์แบบ’ ที่สุดของกรุงเทพฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Cloud Cuckoo Country ได้รับเลือกให้ไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์ Osaka Asian Film Festival 2022 ล่าสุดชาวกรุงเทพฯ จะได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ชั้น 5 ห้องออดิทอเรียม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) […]

วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ศาลยืนข้างประชาชน พิจารณาคดีการเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ และอนุญาตปล่อยตัวผู้ต้องหา 112 ชั่วคราว

26 พฤษภาคม 2565 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวังวัย 20 ปี ผู้ต้องหาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยมีกำหนดระยะเวลา 1 เดือน พร้อมเงื่อนไข 5 ข้อ หลังจากที่ตะวันอดอาหารประท้วงความยุติธรรมมานานถึง 37 วัน จนร่างกายอยู่ในสภาพย่ำแย่ ทั้งนี้ ตะวันควรได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่ 37 วันที่แล้ว โดยปราศจากการวางเงื่อนไขที่ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมไปถึงการเดินทาง เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหลบหนี ผู้ต้องหาทุกคนมีสิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นหลักแม่บทในเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาในทุกคดี สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เปิดเผยสถิติที่ชี้ให้เห็นว่า สำหรับคดีอื่นๆ ประเทศไทยใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ โดยมอบสิทธิ์ในการประกันตัวให้ผู้ต้องหาถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของคดีทั้งหมด รวมถึงการให้ประกันตัวในคดีข่มขืนของ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ก็เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ใช้หลักการนี้เช่นกัน แต่สำหรับคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 กลับไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และปัจจุบันยังมีผู้ต้องหาทางการเมืองอีก 10 คนที่ยังอยู่ในเรือนจำและยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเหตุนี้จึงทำให้หลายคนตั้งคำถามกลับไปยังต้นทางแห่งความยุติธรรมอย่างองค์กรศาลหรือผู้พิพากษา ที่ควรรักษาความยุติธรรมและเป็นที่พึ่งให้ประชาชน การที่ประชาชนถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิด […]

ชวนรำลึกเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 กับนิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม’ ที่ Palette Artspace วันนี้ – 29 พ.ค. 65

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ หรือ ‘พฤษภาฯ 2535’ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เกิดเหตุการณ์ประชาชนรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นไม่นาน รัฐบาลได้สั่งทหารปราบปรามผู้ชุมนุมจนนำไปสู่ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการจำนวนมาก และสิ่งที่หลายคนอาจหลงลืมก็คือ ‘ผู้สูญหาย’ ซึ่งไม่มีตัวเลขบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ สำหรับบางคน พฤษภาฯ 35 อาจเป็นเพียงเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์ แต่สำหรับญาติของผู้สูญหาย พวกเขายังคงรอคำตอบจากภาครัฐเกี่ยวกับชะตากรรมของพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือลูกของพวกเขา ก่อนคำว่า ‘สูญหาย’ จะทำให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเลือนรางมากกว่านี้ เราอยากชวนทุกคนไปรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีก่อนที่นิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม (Lost, and life goes on)’ จัดขึ้นโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เพื่อนำเสนอเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 ผ่านเรื่องราวการ ‘สูญหาย (Lost)’ และ ‘ชีวิต (Life)’ ของญาติผู้สูญหายที่ยังคงดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลา 30 ปี  ภายในงานมีการจัดแสดงศิลปะ […]

กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.