ร่วมออกแบบอนาคตจังหวัดของตัวเอง UNDP ชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่องทำแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ถือเป็นเป้าหมายที่หลายภาคส่วนต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างรอบด้านในระยะยาว แต่แนวคิดนี้จะเกิดขึ้นได้จริงและพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนช่วยกันส่งเสียงและระบุต้นตอปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง เพราะเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน โครงการ SDG Localization จาก UNDP อยากชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ร่วมกันทำแบบสอบถามเพื่อออกแบบสังคมที่ยั่งยืนในจังหวัดของตัวเอง UNDP จะนำข้อมูลเกี่ยวกับความเร่งด่วนของปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้รับจากแบบสอบถามนี้ ไปร่างและออกแบบแผนพัฒนาระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับปัญหาที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป ร่วมทำแบบสอบถามออนไลน์และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องความยั่งยืนได้ที่ bit.ly/3TtWjoN

เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน เสวนาชี้ปัญหาช้างๆ ในสังคมไทย ภายใต้โครงการ SDG Localization

เพราะประเทศไทยยังมีปัญหาและความท้าทายอย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) UNDP Thailand จึงจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 บริเวณชั้น 3 ตึกสามย่านมิตรทาวน์ ภายในงานมีการจัดแสดงภาพถ่ายของเยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อเดียวกัน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความท้าทายสังคมไทยที่รู้ว่ามีอยู่ แต่กลับไม่แก้ไขอย่างตรงจุด ผู้ร่วมเสวนาครั้งนี้มาจาก 4 วงการ ได้แก่ ‘เชอร์รี่ เข็มอัปสร’ นักแสดงและนักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเพื่อสังคม ‘ดร.เพชร มโนปวิตร’ นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ‘ศุภณัฐ มีนชัยนนท์’ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ ‘นันทกร วรกา’ เยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด’ เพื่อร่วมตีแผ่ประเด็นสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนต่อด้วยความหวัง โดยประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาแต่ละคนให้ความสำคัญ มีดังนี้ ดร.เพชร มโนปวิตร กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการประเมินตัวชี้วัดในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศที่เหมาะสม […]

‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

FYI

มารู้จักองค์กรลับ ‘เซ็นทรัล ทำ’ โครงการเพื่อสังคมที่เน้น ‘ทำ’ มากกว่าพูด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลพวงมาจากระบบทุนนิยม ซึ่งสร้างช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างกันมาก ระหว่างคนรวยที่รวยเอา ส่วนคนจนก็จนลงและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่เรานำมาใช้ก็ร่อยหรอลงไปทุกที รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่สร้างมลพิษมาทำร้ายโลกมากขึ้นทุกวัน

ล่องเรือสำรวจ “คลองลาดพร้าว” ส่องโมเดลพัฒนาชุมชนแออัด กับความหวังในการมีชีวิตที่ดีของคนริมคลอง

ในอดีต “คลอง” เป็นดั่งสายเลือดของคนกรุงเทพฯ เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม และเชื่อมโยงผู้คนไปมาหาสู่ แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา การเข้ามาของความเจริญ ทำให้คนหันไปพัฒนาถนนหนทาง คลองถูกลดบทบาทกลายเป็นหลังบ้านของใครๆ เป็นที่ระบายน้ำเสีย ผู้คนรุกล้ำพื้นที่ริมคลองจนเกิดชุมชนแออัด

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.