กินอร่อยแถมสบายใจ ไม่สร้างขยะ ส่อง 600 ร้านอาหารบน ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ โครงการใหม่ที่ กทม.ปักหมุดร้านที่แยกขยะดี

หลังจากความสำเร็จของโครงการไม่เทรวม ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ กทม. และลดปริมาณขยะได้อย่างต่อเนื่อง จาก 11,000 ตันต่อวันในปี 2562 เหลือ 9,000 ตันต่อวันในปีนี้ และยังช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้ถึง 300 ล้านบาท ปีนี้ กทม.จึงทำโครงการใหม่ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดย ‘พรพรหม วิกิตเศรษฐ์’ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายถึงระบบการจัดการขยะของ กทม.ว่า มีการแบ่งขนาดเป็น S M และ L  ไซซ์ S คือการจัดการขยะของประชาชนทั่วไปตามบ้านเรือนต่างๆ ไซซ์ M คือร้านอาหาร ส่วนไซซ์ L คือห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ขนาดใหญ่ที่มีขยะจำนวนมาก ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีร้านอาหารกว่า 200,000 ร้าน และเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อย กทม.จึงเข้าไปดูแลขยะหลังครัวและหลังกินจากการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านโครงการ ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ ที่ร่วมมือกับร้านอาหารที่มีการจัดการขยะถูกต้อง พร้อมปักหมุดร้านที่เข้าร่วมโครงการบนเว็บไซต์ Greener Bangkok เพื่อให้ทุกคนเลือกอุดหนุนร้านที่แยกขยะดีๆ กันได้ง่ายขึ้น นอกจากเป็นการชี้เป้าร้านอาหารที่แยกขยะได้ดีแล้ว โครงการนี้ยังช่วยคาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดจากร้านอาหารและงบประมาณในการจัดการขยะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะรูปแบบใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2568 ตามประเภทผู้ก่อขยะ […]

Chicken Hero Pavilion เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาขยะอาหารด้วยการทำฟาร์มแบบยั่งยืน

ขยะอาหารกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศอินโดนีเซียหลังก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีปริมาณขยะอาหารมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนและอันดับสองของโลก โดยมีปริมาณขยะอาหารสูงถึง 1.6 ล้านตัน หรือประมาณ 300 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ด้วยเหตุนี้ อินโดนีเซียจึงเริ่มมองหาวิธีจัดการขยะอาหารพวกนี้ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หนึ่งในนั้นคือการสร้าง ‘Chicken Hero Pavilion’ เล้าไก่ใต้เนินเล็กๆ ในสวนบนเนินเขาของ Urban Forest Jakarta ที่กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์โดยรอบ จากการออกแบบของสตูดิโอ ‘RAD+ar’ โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถลดขยะอาหารในครัวเรือนและชุมชน ด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ภายใต้เนินมีลักษณะเป็นอุโมงค์คล้ายถ้ำ แบ่งตัวเล้าไก่ออกเป็นสองฝั่ง โดยมีพื้นที่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นทางเดินและช่องระบายอากาศ ช่วยให้อากาศไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม และมีอุณหภูมิคงที่สำหรับการเลี้ยงไก่ ส่วนโครงสร้างหลังคาทำจากไม้ไผ่รีไซเคิลที่ถูกสานกันเป็นแพเพื่อรองรับน้ำหนักของเนินไม่ให้ถล่มลงมาเมื่อเจอกับแรงกดทับบริเวณด้านบน และใช้ใบไม้แห้งภายในสวน Urban Forest Jakarta มาเป็นวัสดุรองพื้นภายในเล้าเพื่อช่วยลดความชื้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างไปแล้วก็ขยับมาที่ไก่ภายใน Chicken Hero Pavilion ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการขยะอาหารที่รับมาจากร้านอาหาร 6 แห่งในบริเวณใกล้เคียง ก่อนที่ขยะอาหารที่เหลือจะถูกนำไปหมักรวมกับใบไม้แห้งแปลงเป็นปุ๋ยหมักในสวนและปุ๋ยเชิงพาณิชย์ต่อไป และเมื่อไก่ออกไข่ ไข่เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกแจกจ่ายกลับไปยังร้านอาหารต้นทาง อีกส่วนหนึ่งจะเปิดให้ผู้เยี่ยมชมเก็บเป็นของที่ระลึกกลับบ้านกันแบบสดๆ รัฐบาลอินโดนีเซียและ RAD+ar หวังว่า Chicken Hero Pavilion จะสามารถทำลายอคติที่มีต่อการเลี้ยงสัตว์ปีก และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เยี่ยมชมหันมาจัดการขยะอาหารในครัวเรือน […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

น้ำขวดไหนหมดอายุ แค่กดก็รู้ได้ด้วย ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดน้ำอัจฉริยะไวต่ออุณหภูมิ 

เชื่อว่าในตู้เย็นของหลายบ้าน นอกจากจะมีมะนาวครึ่งซีกที่ใช้ไม่หมดวางไว้แล้ว ในช่องใส่ขวดน้ำก็ยังเต็มไปด้วยขวดน้ำที่เหลือครึ่งขวดวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือนม ครั้นนานๆ เข้าจะหยิบมากินก็เริ่มไม่มั่นใจว่าน้ำเหล่านั้นจะหมดอายุหรือยัง เพื่อไม่ให้คนหยิบเอาของเสียที่หมดอายุเข้าปาก หรือเผลอทิ้งของที่ยังไม่หมดอายุไปเพราะความกลัว สองบริษัทผลิตฝาผลิตภัณฑ์ ‘United Caps’ และ ‘Mimica’ จึงร่วมมือกันนำเสนอโซลูชันสุดล้ำสำหรับการรับรองความปลอดภัยของอาหาร ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดพลาสติกที่ออกแบบมาให้แยกผลิตภัณฑ์ที่ยังสดใหม่หรือเสียแล้วออกจากกันได้ หลักการทำงานของ Mimica Bump Cap ง่ายมาก แค่กดบริเวณฝาขวดโดยไม่ต้องเปิดขวดเพื่อดมกลิ่นหรือลิ้มรสให้ยุ่งยาก เพราะถ้าผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาพดีและบริโภคได้ ฝาจะอยู่ในสภาพเรียบเนียนเป็นปกติ แต่ถ้ากดลงไปแล้วรู้สึกถึงเทกซ์เจอร์ปุ่มนูนซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบภายในฝา แสดงว่าได้เวลาโยนเครื่องดื่มนั้นทิ้งได้แล้ว เนื่องจากการยุบตัวของฝาขวดเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเจลที่ทำจากพืชที่อยู่ภายในฝา ซึ่งถ้าผลิตภัณฑ์ภายในเน่าเสีย ตัวเจลจากพืชที่ไวต่ออุณหภูมิจะสลายตัวเป็นของเหลว ทำให้เรากดฝาจนรู้สึกถึงปุ่มนูนได้นั่นเอง ถือเป็นนวัตกรรมที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านความยั่งยืน ลดการเกิดขยะอาหารโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อผู้พิการทางสายตาได้มากกว่าการเขียนวันหมดอายุไว้ที่ข้างขวดแบบเดิมๆ Sources :Mimica | www.mimicalab.com/bumpcapinfoUnited Caps | www.unitedcaps-innovations.com/mimicaYanko Design | t.ly/i22Lj

Chiangmai Food Bank ขออาหารค้างตู้ที่ยังกินได้ ส่งต่อ 3 กลุ่มเพื่อหยุดความหิวโหย

ขอเวลาคนละ 10 นาที สำรวจตู้เย็น ตู้กับข้าว พอมีอาหารเหลือทิ้งที่ยังกินได้อยู่หรือเปล่า เพราะอาหารค้างตู้ของคุณ อาจกลายเป็นอาหารอีกมื้อของคนที่ขาดแคลนในตอนนี้!

Yindii ปรุงของเหลือให้มีมูลค่า เปลี่ยนโลกที่ดีกว่าด้วยการกิน l City Builder

ในวันที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น ทางเลือกในการกินอาจมีไม่มากนัก แต่คงดีไม่น้อยถ้าเราได้เลือกที่จะกินได้ตามใจแล้วยังได้ช่วยโลกไปด้วย

Food waste คือหนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน โดยคิดเป็น 8% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งจะตกค้างอยู่กับเรานานถึง 10 ปี และนี่คือปัญหาที่สร้างผลกระทบสู่มนุษย์โลกทุกคนเป็นวงกว้าง

City Builder จึงหยิบยก ‘Yindii’ เบื้องหลังคนสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรมมาแก้ปัญหาเมืองในประเด็นเรื่องการจัดการ Food waste โดยการนำอาหารที่กำลังจะหมดอายุ จากร้านอาหารหรือซูเปอร์มาร์เก็ต มาปรุงสุกและจัดส่งในราคาที่จับต้องได้ เราจึงชวนมาติดตามภารกิจที่จะเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนกับอาหารที่ดูเหมือนจะไร้ค่าให้กลายร่างเป็นสิ่งมีคุณค่าได้อย่างไรตามไปดูกัน!

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว