‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

ฝนตก รถติด รู้ก่อน เลี่ยงได้ เช็กการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องวงจรปิดของ กทม.

ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับมรสุมฝนตกหนักต่อเนื่อง จนหลายพื้นที่กลายเป็นทะเลกรุงเทพฯ ไปแล้ว จะกลับบ้านตอนเย็นทีไร ก็ต้องตามอ่านสถานการณ์จากในออนไลน์ หรือไปเสี่ยงดวงระหว่างทางว่าวันนี้รถจะติด ฝนจะตก หรือน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนทุกที วันนี้เราเลยอยากแนะนำอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้วางแผนการเดินทางในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งตามท้องถนนและทางแยกในกรุงเทพฯ  เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.bmatraffic.com หรือแอปพลิเคชัน @CCTVBANGKOK ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร แล้วเลือกกล้องวงจรปิดในถนนส่วนที่ต้องการเห็นภาพการจราจร แค่นี้ก็จะเช็กภาพสถานการณ์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์จากบริเวณดังกล่าวได้แบบฟรีๆ ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะไม่ได้คมชัดถึงขั้นมองเห็นเลขทะเบียนรถ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอให้เห็นถึงสถานการณ์จราจร และสภาพน้ำท่วมได้แบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนเส้นทางกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องการหลักฐานอีกด้วย เพราะปัจจุบันทางกรุงเทพฯ เปิดให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลขอไฟล์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยจะได้รับไฟล์ภาพภายใน 24 ชั่วโมง ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ไม่เกินระยะเวลา 7 วันหลังเกิดเหตุ และขอข้อมูลได้ไม่เกินครั้งละ 6 กล้อง รวมเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากกรณีที่ต้องการไฟล์ภาพมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปหรือไฟล์ต้นฉบับ สามารถขอได้ที่ศูนย์ CCTV ทั้ง 13 แห่ง ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็นขั้นตอนที่สะดวกขึ้นมาก เนื่องจากเดิมทีต้องใช้เวลานานถึง […]

M-Flow คืออะไร ทำไมกลายเป็นปัญหาของคนใช้รถใช้ถนน

สัปดาห์นี้มีกระแสข่าวดราม่าเกี่ยวกับการให้บริการ M-Flow ที่เพิ่งเปิดใช้ได้ไม่นาน ซึ่งเจ้าระบบนี้ หลายๆ คนอาจยังสับสนว่ามันคืออะไรกันแน่ จาก Official Website ของ M-Flow อย่าง mflowthai.com อธิบายไว้ประมาณว่า ระบบ M-Flow เป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยการใช้เทคโนโลยี AI มาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ แทนการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบระบบไม้กั้น  ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ขับขี่ผ่านบริเวณด่านฯ โดยไม่ต้องหยุดชะลอรถ ด้วยความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. ช่วยระบายรถได้ 2,000 – 2,500 คัน/ชม./ช่องทาง เร็วขึ้นกว่าระบบเดิมที่ใช้ห้าเท่า รองรับการใช้งานกับรถยนต์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือทางพิเศษ  โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หลังใช้บริการ หรือ ระบบ Post Paid ทั้งแบบชำระเป็นรายครั้งหรือชำระตามรอบบิล รวมไปถึงการจ่ายผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของระบบ M-Flow และการชำระด้วย QR Code และผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ นำร่องให้บริการผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ของกรมทางหลวง ได้แก่ ด่านทับช้าง 1, […]

ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ

Traffic Parks พื้นที่เด็กเล่นและเรียนรู้กฎจราจร ในสวนสาธารณะญี่ปุ่น

วินัยจราจรไม่ใช่เรื่องของคนใช้รถเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ ‘ทุกคน’ ในสังคมที่ต้องเรียนรู้กฎระเบียบร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่การจะทำให้ทุกคนเข้าใจกฎเดียวกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยังต้องมีการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงด้วย  ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการทำใบขับขี่ และมีบทลงโทษค่อนข้างหนักสำหรับคนที่ทำผิดกฎจราจร แต่นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ที่ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการปลูกฝังเรื่องกฎจราจรให้กับเด็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาลเป็นต้นไป เพื่อให้เด็กในวันนี้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพกฎจราจรได้ในวันหน้า เหตุที่ต้องปลูกฝังเรื่องกฎจราจรตั้งแต่เด็กเป็นเพราะว่าใน ค.ศ. 1960 มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในญี่ปุ่นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน ค.ศ. 1970 มีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ประมาณ 17,000 ราย และจากจำนวนทั้งหมดเหล่านี้ พบว่าผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จึงทำให้รัฐบาลต้องหันกลับมาหาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเด็กๆ  กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้เพิ่มเรื่องกฎจราจรเข้าไปในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้ความรู้ในการใช้ถนนตั้งแต่เด็กๆ และจัดตั้ง ‘Traffic Parks’ ที่เพียงแค่เปลี่ยนสวนสาธารณะใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัยหลายแห่งในญี่ปุ่นให้เป็นสวนจำลองการจราจรสำหรับเด็ก เพื่อให้ได้เรียนรู้กฎจราจรได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน และได้เรียนรู้ของจริงนอกห้องเรียน  สวนสาธารณะ Traffic Parks ออกแบบมาเพื่อจำลองการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน มีทั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายสัญลักษณ์ที่ควรรู้ กฎระเบียบต่างๆ บนท้องถนน นอกจากนี้ยังมียานพาหนะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จริงผ่านการเล่น เช่น รถยนต์ขนาดเล็กสำหรับเด็กและรถจักรยาน เพื่อช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กฎขั้นพื้นฐานในการขับรถ ถ้าไม่ได้นำจักรยานมาเองจากที่บ้าน บางสวนก็มีจักรยานให้ยืมด้วย รวมถึงเด็กๆ จะได้รู้วิธีข้ามถนนที่ถูกต้อง […]

MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก

“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี”  คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข  เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ  3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.