‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ

“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Ordinary and Extraordinary ความ (ไม่) ธรรมดา

ในเมืองที่แสนวุ่นวาย ผู้คนมากมายอย่างกรุงเทพมหานคร ผมเลือกที่จะมองหาความธรรมดาที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายผ่านการตีความด้วยภาพถ่าย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่มันอยู่ด้วยกันอย่างถูกที่ถูกเวลา ทั้งหมดจะส่งเสริมกันและกัน กลายเป็นเสน่ห์ที่มองได้ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

นัดรวมพลคนศิลปะมาเติมสีสันให้เมือง ในงาน Colorful Bangkok Expo 2024 วันที่ 18 – 21 ม.ค. 67 ณ ลานคนเมือง

มางานเดียวจัดเต็มทุกกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ไม่ว่าใครก็มีส่วนร่วมได้ กับงาน ‘Colorful Bangkok Expo 2024’ หรือ ‘เทศกาลรวมพลคนศิลปะกรุงเทพฯ’ ที่รับไม้ต่อจากปีที่แล้วได้อย่างสวยงาม ด้วยการรวบรวมศิลปินและนักสร้างสรรค์ มาแต่งแต้มสีสันจากศิลปะหลายแขนงให้กับกรุงเทพมหานคร เพราะงานนี้ทางกรุงเทพฯ ได้เนรมิตลานคนเมืองให้เป็นพื้นที่ที่เหล่าคนทำงานด้านศิลปะร่วมสมัยจัดกิจกรรมมากมายให้ผู้สนใจเข้าร่วมงานฟรี ตั้งแต่บูทภายในงานที่จัดแสดงโชว์เคสจากหน่วยงานและองค์กรด้านศิลปะและการออกแบบ ไปจนถึงสินค้างานดีไซน์หรืองานคราฟต์ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้อันหลากหลายและความสร้างสรรค์ รวมกว่า 90 บูท พร้อมทั้งเปิดให้ชมการแสดง หนังกลางแปลงโดยทีม ‘กรุงเทพกลางแปลง’ เสวนาเรื่องศิลปะในกรุงเทพฯ และคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อาทิ Earth Patravee, LANDOKMAI, Stoondio, 2 Days Ago Kids, PURPEECH ฯลฯ ก่อนจะส่งท้ายค่ำคืนของทุกวันด้วยการ Mapping ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครอย่างยิ่งใหญ่ งาน Colorful Bangkok Expo 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 – 21 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ ลานคนเมือง […]

กทม. ชวนเช็กสภาพรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน วันนี้ – 29 ก.พ. 67

ปลายปีแบบนี้ มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผู้คนรอบตัวเริ่มทยอยป่วยเพราะปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ แถมเจ้าฝุ่นที่ว่านี้ยังมีต้นเหตุหลักมาจากควันรถยนต์ที่จราจรบนท้องถนน กทม. ที่พยายามแก้ปัญหานี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนค่ายรถยนต์ผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทย จัดทำโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ เพื่อจัดโปรโมชันลดค่าบริการตรวจสอบสภาพรถ ทั้งการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมัน และตรวจเช็กรถยนต์กว่า 35 รายการฟรี ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น​ของคนกรุงเทพฯ​ และทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 โปรโมชันนี้ออกมาสำหรับรถยนต์ที่อายุการใช้งานตั้งแต่ 2 – 15 ปี เรียกได้ว่ายิ่งอายุรถยนต์มาก บริษัทที่เข้าร่วมก็จะให้ส่วนลดมากขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนที่มีรถยนต์เก่าเข้ามารับบริการบำรุงรักษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของรถยนต์นั่นเอง รถของบ้านไหนที่เข้าเกณฑ์ เจ้าของรถสามารถเข้าร่วมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึงเข้ารับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน และหากใครมีแพลนเดินทางในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูง ติดตามการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า รวมถึงรายละเอียดส่วนลดและระยะเวลาเข้าร่วมโครงการของแต่ละบริษัทได้ที่เพจ กรุงเทพมหานคร

‘สดชื่นสถาน’ บริการพื้นฐานให้คนไร้บ้านเข้าถึงชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น ผ่านการอาบน้ำ ซักผ้า และอบผ้าฟรี

ด้วยแนวคิดที่อยากให้ ‘กรุงเทพฯ’ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ไม่ทิ้งใครให้ต้องลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางอย่างเด็ก ผู้พิการ ผู้สูงวัย หรือคนไร้บ้าน และเพื่อให้เมืองแห่งนี้น่าอยู่มากขึ้น ทางสำนักงานกรุงเทพมหานคร จับมือกับ ‘มูลนิธิกระจกเงา’ ร่วมกันเปิด ‘สดชื่นสถาน’ โครงการความสะอาดเพื่อคนไร้บ้าน ที่ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งพระนคร ‘สดชื่นสถาน’ คือบริการพื้นฐานที่จะทำให้คนไร้บ้านเข้าถึงการใช้ชีวิต​ประจำ​วันได้อย่างมีคุณภาพ​มากขึ้น​ ผ่านการทำความสะอาด​และการรักษา​สุขอนามัยอย่าง​บริการซักผ้า​ อบผ้า​ หรืออาบน้ำฟรี​ ฯลฯ โดยมี ‘บริษัทบุญถาวร’ ที่มาช่วยจัดสร้างห้องน้ำสาธารณะ แบ่งเป็นห้องสุขาชาย-หญิงอย่างละ 2 ห้อง และห้องอาบน้ำชาย-หญิงอย่างละ 2 ห้อง รวมทั้งหมด 8 ห้อง เปิดให้ใช้งานทุกวัน แบ่งเป็นวันจันทร์-ศุกร์ 05.00 – 21.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ 08.30 – 16.00 น. โดยมีแม่บ้านหลายคนที่เคยเป็นคนไร้บ้านมาก่อนคอยดูแลความสะอาดตลอดทั้งวัน และยังมีบริการรถซักอบผ้าจาก ‘Otteri’ ให้คนไร้บ้าน ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 15.00 […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

นักวิจัยเมืองชี้วิกฤตเมืองในอนาคตจากปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน จะทำให้คนอยู่ยาก-ลำบาก-เครียด

เมื่อไม่นานนี้ มีการจัดเสวนา ‘MQDC Sustainnovation Forum 2022 เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร’ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรสำคัญด้านการพัฒนาเมือง ได้แก่ FutureTales LAB, RISC, Creative Lab และ Unisus-EEC โดยได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยสภาพเมืองแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง พร้อมระดมวิธีการแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนเพื่อเตรียมรับมือวิกฤตต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ในฐานะ Resilient City ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนมากที่สุด  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB ได้นำเสนอการคาดการณ์อนาคตเมืองปี 2050 โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อัตราการใช้พลังงาน และพฤติกรรมของผู้คน พบว่า โลกในอนาคตจะเต็มไปด้วยมลภาวะที่ทำให้การอยู่อาศัยของมนุษย์ยากกว่าในปัจจุบันอย่างเทียบไม่ติด เนื่องจากอุณหภูมิทุกแห่งจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร ผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนต้องย้ายถิ่นฐาน และกว่า 400 ล้านคนต้องประสบภัยพิบัติจากการขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมถึงภัยแล้งสุดขั้ว ซึ่งประเทศไทยเองก็หนีวิกฤตเหล่านี้ไม่พ้นแน่นอน เพราะการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันล้วนเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก […]

กทม.เปิดโครงการ #ไม่เทรวม ชวนแยกขยะก่อนทิ้งแบบง่ายๆ แค่แยกขยะทั่วไปและเศษอาหาร

การแยกขยะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ทำเองได้ไม่ยาก กับนโยบายใหม่ของกรุงเทพมหานครอย่าง #ไม่เทรวม โครงการที่ชวนประชาชนทุกคนเริ่มต้นแยกขยะแบบง่ายๆ ก่อนทิ้ง เพื่อรณรงค์การแยกและการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความเคยชินกับการแยกขยะให้แก่ผู้คนด้วย  วิธีแยกขยะตามนโยบายใหม่นี้ทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่แยก ‘ขยะทั่วไปหรือขยะแห้ง’ ลงใน ‘ถุงดำ’ และ ‘ขยะเศษอาหาร’ ลงใน ‘ถุงใสหรือถุงเขียว’ ซึ่งบนรถขยะเองก็จะติดตั้งถังขยะสำหรับใส่ขยะเศษอาหารแยกไว้ด้วย มั่นใจได้เลยว่าขยะที่ทุกคนช่วยกันแยกเอาไว้จะไม่ถูกเทรวมกันที่ปลายทาง  การแยกขยะแบบนี้จะช่วยให้จัดการกับขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งขยะไปรีไซเคิล, ทำปุ๋ยหมัก หรือทำเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) และช่วยลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ตามมา โดยโครงการ #ไม่เทรวม นี้จะเริ่มเส้นทางทดลองใน 3 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตหนองแขม เขตปทุมวัน และเขตพญาไท แต่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่เขตไหนหรือจังหวัดใด ทุกคนสามารถเริ่มแยกขยะแบบง่ายๆ ตามแนวทางของ กทม. ได้ทันที ไม่แน่ว่าในอนาคต ประเทศไทยอาจเปลี่ยนให้การแยกขยะกลายเป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้ ที่สำคัญ กรุงเทพมหานครยังมีคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจการแยกขยะฉบับมือใหม่กันด้วย ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ bit.ly/3x0qPdJ และ bit.ly/3CWuoW2 ติดตามรายละเอียดโครงการ #ไม่เทรวม และกิจกรรมอื่นๆ […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจ พัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐของกรุงเทพฯ หรือเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ เพื่อศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์ กรุงเทพฯ เปิดโอกาสให้คุณเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นนี้แล้ว ‘BMA Open Data Survey’ เป็นแบบสำรวจขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ เพื่อนำไปปรับปรุงมาตรฐานและพัฒนาการทำงานของสำนักกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งนี้อาจช่วยให้ชาวเมืองสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเรียกดูข้อมูลต่างๆ เพื่อรับทราบความเป็นไปของโครงการต่างๆ ที่ทาง กทม.รับผิดชอบอยู่ ที่สำคัญแบบสำรวจนี้ใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น ผ่านการตอบคำถามสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ‘ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม’ ซึ่งผู้ทำแบบสำรวจจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลบางส่วน โดยจะนำไปใช้ภายใต้การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ส่วนที่สองเป็นชุดคำถาม ‘ขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ’ เช่น ชุดข้อมูลที่ต้องการให้กรุงเทพฯ ให้บริการบน data.bangkok.go.th เหตุผลที่กรุงเทพฯ ควรเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ และเรื่องสำคัญใดที่ควรแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเมืองในปัจจุบันที่สุด เป็นต้น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงด้านการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ และพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นได้ที่ bit.ly/3A4TYp2 

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.