ปลดล็อกวงการสุราไทย! สภาฯ โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า โอกาสของผู้ประกอบการรายเล็ก-สุราชุมชน

8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการ ‘ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต’ หรือ ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ วาระที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วย 137 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล พร้อมคณะ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน 60 วัน ก่อนจะส่งกลับมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้งเมื่อวานนี้  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า มีดังต่อไปนี้ 1) กำหนดให้ผู้ที่ผลิตสุราเพื่อการบริโภค ที่ไม่ใช่สำหรับการค้า เช่น การต้มสุราเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน (Homebrewing) หรือการทดลองต้มสุราเพื่อคิดค้นสูตรใหม่ สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่มีความผิดทางกฎหมาย 2) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา เช่น ต้องจดทะเบียนบริษัทหรือต้องมีทุนขั้นต่ำในการจดทะเบียน เปิดทางให้ผู้ประกอบการผลิตสุราที่มีเจ้าของเดียวหรือมีรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามารถเริ่มกิจการได้ 3) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกำลังการผลิต กำลังแรงม้า และจำนวนพนักงานในการขออนุญาตผลิตสุรา เป็นการเปิดโอกาสให้การผลิตสุราในชุมชน ที่แต่เดิมกำหนดว่า […]

ถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นอาจโดนฟ้อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มใช้ 1 มิ.ย. 65 ปรับสูงสุด 5 ล้าน

30 พฤษภาคม 2565 รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กยืนยันว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) จะบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ. 2562) หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (PDPA) ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ หลังจากเลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี กฎหมายฉบับนี้มีหลักสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนว่า ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ จะถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และได้รับการดูแลมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด โดยกำหนดให้ทุกองค์กรหรือบุคคลที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใดก็ตาม ต้องขอความยินยอมจากลูกค้าในการเข้าถึงและใช้ข้อมูล ต้องบอกวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลไปใช้ และใช้ข้อมูลให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุ นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข ขอสำเนา และขอให้ลบข้อมูลดังกล่าวได้ หากไม่ขัดกับหลักกฎหมายใดๆ และองค์กรที่ได้ข้อมูลส่วนบุคคลมาจะต้องมีมาตรการและมาตรฐานในการบริหารจัดการดูแลข้อมูลเหล่านี้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมาย PDPA คุ้มครองคือข้อมูลใดก็ตามที่สามารถช่วยให้ระบุตัวตนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ชื่อ-สกุล, […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน : สำรวจและเข้าใจ ม.112 ผ่าน INTRODUCTION TO NO.112

คุณคิดว่าตัวอักษร 153 ตัวทำอะไรได้บ้าง? อาจจะนึกออกยากสักหน่อย เราเลยอยากยกข้อความหนึ่งให้เห็นภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” สำหรับคนที่อ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ ข้อความเหล่านี้คือเนื้อหาของ ‘กฎหมายมาตรา 112’ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ กฎหมายหมิ่นเบื้องสูง กฎหมายหมิ่นฯ หรือชื่อใดๆ ก็ตามที่แต่ละคนจะสะดวกเรียก หากสื่อความหมายเดียวกัน ไม่นานมานี้ กระแสการพูดถึงกฎหมายมาตรา 112 นี้ลุกลามและเข้มข้นเคียงคู่ไปกับความร้อนระอุทางการเมืองที่ซัดกระหน่ำมากขึ้นทุกวัน  อาจเพราะมีผู้คนมากมายถูกตีตราต้องโทษ ไปจนถึงจองจำด้วยกฎหมายนี้ ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะความผิดแผกแปลกเพี้ยนของการตีความและการบังคับใช้ ที่หลายๆ ครั้งดูเป็นการตั้งใจปิดปากคนที่พูดเรื่องที่คนส่วนหนึ่งไม่อยากได้ยิน  อาจเพราะชุดตัวอักษรที่มีความยาวเพียง 2 บรรทัดเมื่อถูกพิมพ์ลงบนกระดาษ และสั้นกว่าหลายๆ สเตตัสเฟซบุ๊ก หรือทวีตในทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือกดขี่ ทำร้ายและทำลายชีวิตของใครหลายๆ คนอย่างไม่อาจหวนคืน เมื่อสิ่งที่เคยหลบซ่อนและตั้งอยู่บนที่สูงถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม การทำความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ดังนั้นแล้ว ทาง iLaw จึงจัดทำหนังสือ Introduction to No.112 : 12 คำถามเพื่อทำความเข้าใจกฎหมายอาญา […]

ปีหน้ามาแน่ ! ซานฟรานซิสโกออกกฎหมายห้ามใช้ก๊าซธรรมชาติในที่พักอาศัย เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

จากข้อมูลของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ “อีพีเอ” กล่าวว่าที่อยู่อาศัยและร้านค้า ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสหรัฐ ประมาณ 12% ของทั้งหมด

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.