ส่องเสื้อยืดและหมวกผลิตจากขยะสิ่งทอของคอลเลกชัน ‘ReWear ReCare’ ที่ PT ร่วมกับ CIRCULAR และ Yuedpao

ตั้งแต่ปี 2566 หากใครแวะเวียนไปที่สถานีบริการน้ำมัน PT จะพบ ‘ตู้แจกแต้ม’ โดยให้สมาชิกแมกซ์ การ์ด นำเสื้อผ้าใช้แล้วมาบริจาคเพื่อแลกเป็นแต้มสะสม ซึ่งเสื้อผ้า 1 ชิ้นจะได้รับ 10 แต้ม หลังจากนั้นเสื้อผ้าทั้งหลายจะถูกส่งต่อให้ CIRCULAR แบรนด์เสื้อผ้าผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปแปรสภาพให้กลายเป็นเส้นด้ายและนำมาถักทอเป็นผ้าผืนใหม่ ซึ่งการรีไซเคิลเสื้อผ้า 1 ตัว ช่วยประหยัดการใช้น้ำถึง 2,700 ลิตร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.9 กิโลกรัม ลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการปลูกฝ้าย ตลอดจนลดการใช้สารเคมีในการฟอกย้อม โดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมามียอดบริจาคเสื้อผ้ารวมมากถึง 17,500 กิโลกรัม ปีนี้ (2567) โครงการจึงขยายความร่วมมือกับแบรนด์ยืดเปล่า (Yuedpao) ให้มาร่วมออกแบบคอลเลกชันรักษ์โลก ‘ReWear ReCare – ทุกการใส่ใส่ใจโลก PT x CIRCULAR x Yuedpao’ เป็นเสื้อและหมวก ECOTECH TIMELESS เพื่อรณรงค์การหมุนเวียน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์​ Fast Fashion รวมถึงให้คุณค่ากับสินค้าที่มีความยั่งยืนสูง หากใครสนใจคอลเลกชัน ReWear […]

บอกลาความคันที่ต้นคอด้วย ‘LUKE’ เครื่องตัดป้ายติดคอเสื้อชิ้นแรกของโลก มาพร้อมแอปฯ บอกวิธีการดูแลเสื้อผ้า

หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาป้ายติดคอเสื้อที่ทำให้รู้สึกคันจนต้องตัดทิ้ง แต่ทุกครั้งที่ตัดออกก็มักจะเหลือบางส่วนติดอยู่ที่คอเสื้อ เพราะหากตัดชิดเสื้อเกินไปก็อาจทำเสื้อขาดได้ ด้วยปัญหานี้ ทาง ‘LUKE’ ได้ออกแบบเครื่องกำจัดป้ายติดคอเสื้ออัตโนมัติ ที่นับว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของโลกที่ช่วยแก้ปัญหาตัดป้ายติดคอเสื้ออย่างสมบูรณ์ โดยที่ไม่ทำลายเสื้อให้เสียหาย เพียงแค่หนีบอุปกรณ์ชิ้นนี้ลงบนป้าย ความร้อนจากเครื่องก็จะตัดป้ายออกอย่างเรียบเนียน ไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้รำคาญใจด้วยการเย็บตะเข็บเก็บงานได้อย่างสวยงาม แต่ขณะเดียวกัน ข้อมูลวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้าส่วนใหญ่ก็ดันอยู่บนป้ายที่ตัดทิ้งไป LUKE จึงแก้ปัญหานี้ด้วยแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้เรารักษาเสื้อผ้าให้ยั่งยืนผ่านการถ่ายรูปจากป้ายติดคอเสื้อก่อนตัดทิ้ง หรือถ่ายรูปเสื้อผ้าเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุดนั้นๆ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องการเข้าถึงข้อมูลเสื้อผ้าเหล่านั้น เพียงแค่เปิดเข้ามาในตู้เสื้อผ้าดิจิทัลหลังนี้ก็จะเจอฮาวทูทั้งหลายที่เราบันทึกไว้ทันที มากไปกว่านั้น แอปฯ ยังทำหน้าที่เป็นสไตลิสต์ช่วยออกแบบลุคจากข้อมูลเสื้อผ้าที่เราเก็บไว้ในฐานข้อมูลได้ด้วย Sources :Indiegogo | tinyurl.com/papfp6jtLUKE | tinyurl.com/yzhhs5svYanko Design | tinyurl.com/2738f8jm

‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสแห่งอนาคต ที่ปรับขนาดให้พอดีได้ด้วยความร้อน เพื่อลดขยะในการผลิตและสต๊อกส่วนเกิน

กว่าจะมาเป็นเดรสสักตัวที่วางขายตามหน้าร้านเสื้อผ้า เบื้องหลังการผลิตล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยเศษผ้าเหลือทิ้งและสต๊อกของชุดแต่ละไซซ์ที่จำเป็นต้องผลิตออกมาเพื่อให้ครอบคลุมการสวมใส่ จนเกิดเป็นขยะเสื้อผ้าจำนวนมาก เพื่อลดจำนวนขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งจากการผลิต นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ร่วมมือกับ Ministry of Supply แบรนด์แฟชั่นเครื่องแต่งกายสัญชาติอเมริกัน ผลิต ‘4D-Knit Dress’ ชุดเดรสจากเส้นด้ายพิเศษที่สามารถปรับขนาดให้พอดีกับทรวดทรงผู้สวมใส่ได้ด้วยความร้อน 4D-Knit Dress สร้างขึ้นจากเส้นใยไนลอนที่ผสมกับเส้นใยวิสโคส (Viscose) และโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่ได้รับการพัฒนาโดย Self-Assembly Lab ให้สามารถปรับแต่งขนาดชิ้นงานได้จากการกระตุ้นด้วยความร้อน อีกทั้งยังมีการขึ้นรูปเสื้อผ้าด้วยการถักแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่คล้ายกับการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่จะแตกต่างจากการสร้างเสื้อผ้าโดยทั่วไปในอดีตที่ขึ้นแพตเทิร์นแบบ 2 มิติ ก่อนนำมาตัดเย็บให้กลายเป็น 3 มิติในภายหลัง จึงทำให้เกิดขยะส่วนเกินตามมา 4D-Knit Dress จะวางขายที่หน้าร้านของแบรนด์ Ministry of Supply ในกรุงบอสตัน ในลักษณะชุดเดรสท่อนยาวแบบตรงๆ ที่ไม่โค้งรับกับสัดส่วนการสวมใส่ แต่เมื่อมีการซื้อขาย ชุดเหล่านี้จะถูกนำไปผ่านความร้อนที่ปล่อยจากแขนหุ่นยนต์ เพื่อสร้างชุดเดรสตัวเก่งให้เหมาะสมกับสรีระและความต้องการของผู้สวมใส่อย่างสมบูรณ์แบบ ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดขยะจากผ้าและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตเสื้อผ้า นอกจากนี้ ผู้สวมใส่ยังไม่ต้องกังวลในการสวมใส่ซ้ำ เนื่องจากชุดที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณโดยเฉพาะจะยังคงสภาพได้เป็นอย่างดี และซักด้วยน้ำเย็นเพื่อนำมาใส่ซ้ำได้แบบไม่รู้จบ […]

แค่สแกน QR Code ก็รีไซเคิลได้ ด้วยป้ายเสื้อฮู้ด FOR TOMORROW ติดตามการเดินทางของสินค้าจนครบลูป

ขยะเสื้อผ้าจำนวนมากที่เกิดจากกระแสฟาสต์แฟชั่น มักลงเอยด้วยการเป็นขยะฝังกลบ ซึ่งไม่ใช่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและไม่ได้ถูกแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างที่ควรจะเป็น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนวัตกรรมที่เข้ามาทำให้การทิ้งเสื้อผ้าไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยรีไซเคิลให้เสื้อผ้าเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ‘SixR’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเสื้อผ้าออนไลน์ จับมือกับวิทยาลัย ‘George Brown’ และสถาบัน ‘Brookfield Sustainability Institute’ เปิดตัวคอลเลกชันเสื้อฮู้ด ‘FOR TOMORROW’ ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับกระแสฟาสต์แฟชั่น โดยเสื้อในคอลเลกชันนี้จะถูกสกรีนคิวอาร์โค้ดลงบนป้ายเสื้อ เพื่อให้เราติดตามการเดินทางของฮู้ดตัวนั้นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัสดุที่เลือกใช้ในการผลิต กระบวนการออกแบบและการผลิต ไปจนถึงการส่งสินค้าที่ไม่ต้องการใส่แล้วกลับคืนสู่แพลตฟอร์ม SixR อีกครั้ง และแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำสินค้าเหล่านี้กลับไปรีไซเคิลให้ แถมตัวผู้บริโภคเองยังติดตามสถานะการรีไซเคิลผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมกับได้รับเงินส่วนลดเพื่อนำไปซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้ SixR ยังมีความพยายามที่จะใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าคอลเลกชันอื่นๆ ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความตั้งใจของแพลตฟอร์ม เสื้อฮู้ด FOR TOMORROW มีทั้งหมด 4 สี ประกอบด้วยสี Midnight, Sky, Moon และ Sand โดยมีไซซ์ให้เลือกตั้งแต่ XS ไปจนถึง 2XL ในราคา 69 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400 บาท) […]

‘Or Collective’ บริการเช่าเสื้อผ้าแบบสมัครสมาชิกสำหรับเด็กเล็ก ลดขยะเสื้อผ้าจากการที่เด็กโตขึ้น

ปัญหาที่พ่อแม่ลูกเล็กหลายบ้านต้องเผชิญ ส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นการต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่จำนวนมากในแต่ละปี เนื่องจากเด็กในวัยแรกเดินจนถึงประมาณ 4 ขวบนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเผลอแป๊บเดียวเสื้อผ้าที่ซื้อมาก็ใส่ไม่ได้ กลายเป็นขยะเสื้อผ้าทิ้งไว้ให้จัดการ จากปัญหานี้ Studio Parallel เอเจนซีด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์ ตัดสินใจสร้างแบรนด์เสื้อผ้าเด็กที่ให้บริการเช่าโดยสมัครสมาชิกขึ้นในชื่อ ‘Or Collective’ โดยที่ Or ย่อมาจากคำว่า On Rotation ที่หมายถึงการหมุนเวียน เสื้อผ้าภายใน Or Collective ถูกออกแบบอย่างเรียบง่ายและอ่อนโยนต่อผิวเด็กตั้งแต่ทารกจนถึง 4 ขวบ อีกทั้งราคายังสบายกระเป๋าผู้ปกครองด้วยแผนการสมัครสมาชิกรายเดือนที่มีให้เลือกถึง 4 ขนาด ตั้งแต่ 5 ชิ้นต่อเดือนไปจนถึง 20 ชิ้นต่อเดือน ในราคาเริ่มต้นเพียง 22 ปอนด์ต่อเดือน (ประมาณ 970 บาท) ตามความต้องการและเงินในกระเป๋า นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังสามารถปรับแผนสมาชิกได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเสื้อผ้าและขนาดได้อย่างอิสระ หยุดการต่อสมาชิกรายเดือนแบบชั่วคราวหรือถาวรเมื่อไหร่ก็ได้ หรือถ้ามีเสื้อผ้าชิ้นไหนถูกใจอยากจะซื้อเก็บไว้เป็นของตัวเองก็ทำได้เช่นกัน แถมในการส่งคืนแต่ละครั้งยังไม่ต้องกังวลถึงเรื่องคราบสกปรกจากการเล่นของเด็ก เพราะ Or Collective จะไม่เรียกเก็บเงินเพิ่มเติมในกรณีเกิดคราบหรือเสื้อผ้าสึกหรอ เพื่อให้ตรงตามความตั้งใจของ Or Collective ที่ต้องการต่อสู้กับปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

มีอะไรมันพังไป หนักเบาเราซ่อมได้! WonWon เว็บฯ รวมร้านซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ส่งเสริมสังคมแห่งการใช้ซ้ำที่ไม่รู้จบ

เมื่อไม่นานมานี้ Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ที่มีความตั้งใจในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ได้เปิดตัวเว็บแอปพลิเคชัน ‘WonWon (วนวน)’ เพื่อส่งเสริมการบริโภคแฟชั่นที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลก วนวนเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่แสวงกำไร ที่มีเป้าหมายช่วยให้ทุกคน ‘ซ่อมและใช้ซ้ำ’ สิ่งของได้ง่ายขึ้น โดยฟีเจอร์แรกที่เปิดตัวคือ ‘การค้นหาร้านซ่อมเสื้อในกรุงเทพฯ’ โดยเมื่อกดเริ่มใช้งาน ตัวเว็บไซต์จะแสดงผลรายชื่อร้านซ่อมในบริเวณนั้นทั้งหมดพร้อมกับข้อมูลครบครัน เช่น ระยะห่างจากผู้ใช้งาน เขตที่ตั้ง เวลาบริการ รวมถึงรีวิวที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ปัจจุบันวนวนมีข้อมูลร้านซ่อมราว 100 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หลักๆ ของกรุงเทพฯ ได้แก่ ประเวศ วัฒนา พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน สวนหลวง บางนา คลองเตย และห้วยขวาง ที่สำคัญ เว็บฯ วนวนยังยึดมั่นในพันธกิจของ Reviv ที่จะ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ในตลาดการซ่อมแซมที่มีร้านซ่อมของเหล่าคุณลุงคุณป้าอยู่แล้ว ซึ่งวนวนจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงช่างซ่อมตัวเล็กๆ ฝีมือดีในพื้นที่กับลูกค้าทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและคืนกำไรสู่ชุมชน ทาง Reviv เชื่อว่า เว็บฯ วนวนจะมีส่วนทำให้ผู้บริโภคทุกคนเข้าถึงการซ่อมและใช้ซ้ำได้ง่ายขึ้น เกิดความคุ้นชินและใช้บริการบ่อยขึ้นจนเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้สังคมของเราเข้าใกล้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) […]

‘WOODEN T SHIRT’ จาก VOLLEBAK เสื้อยืดที่เส้นใยและหมึกพิมพ์ทำจากไม้ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน

ถ้าคุณกำลังมองหาแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ เราอยากแนะนำให้คุณรู้จักกับ ‘VOLLEBAK’ แบรนด์เสื้อผ้าที่นิยามตัวเองว่าไม่ใช่เสื้อผ้าสำหรับฤดูกาล แต่เป็นของศตวรรษหน้า เมื่อปี 2019 ทาง VOLLEBAK ได้เปิดตัวเสื้อยืด Plant and Algae ที่ทำจากต้นตำแย บลูเบอร์รี และหัวผักกาด รวมถึงเสื้อยืดที่ย้อมด้วยสาหร่ายสีดำ และในปี 2022 แบรนด์กลับมาอีกครั้งด้วยความเป็นไปได้ใหม่จากไอเดียการสร้างเสื้อยืดสีดำที่ทำจากไม้ และสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ‘WOODEN T SHIRT’ คือเสื้อยืดที่ทำจากเยื่อไม้ยูคาลิปตัส ส่วนยอดของสาหร่ายสีน้ำตาล ‘Knotted Wrack’ และเส้นใยที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์ภายใน 6 เดือน โดยไม่ปล่อยสารพิษใดๆ จนได้ออกมาเป็นเสื้อยืดที่ให้ความรู้สึกนุ่มสบายขณะสวมใส่ ไม่ต่างจากเสื้อยืดตามท้องตลาดทั่วไป อีกหนึ่งความพิเศษคือ WOODEN T SHIRT ยังพิมพ์ด้วยหมึกสีดำที่ทำขึ้นจากเศษไม้ ซึ่งผลิตขึ้นผ่านระบบการผลิตแบบปิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จากการทำงานร่วมกับ ‘Nature Coatings’ บริษัทสตาร์ทอัปในแคลิฟอร์เนียที่ใช้ระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนากว่า 20 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าหมึกพิมพ์นี้จะไม่ก่อสารพิษแก่ผู้ใช้งาน และสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย WOODEN T SHIRT […]

จากของฝากสู่เวทีมิสแกรนด์ ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee แบรนด์ที่ส่งต่อวัฒนธรรมภูเก็ตผ่านผืนผ้า

ในฐานะคนที่รักเสื้อผ้าแนวมินิมอลเป็นชีวิตจิตใจ มีไม่กี่ครั้งหรอกที่เราจะเห็นเสื้อผ้าสีสันสดใส เต็มไปด้วยลวดลาย แล้วจะรู้สึกใจเต้น ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee คือหนึ่งในนั้น เหมือนกับใครหลายคน-ครั้งแรกที่เราเห็นชุดผ้าสีสดใสแบรนด์ยาหยีคือในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ปีล่าสุด ที่โบกี้-เณอริสา ธนะ มิสแกรนด์จังหวัดปัตตานีใส่เข้ากอง และนั่นเปลี่ยนภาพจำเดิมๆ เกี่ยวกับชุดผ้าปาเต๊ะของเราไปทันที ไม่ใช่แค่การแมตช์สีที่ถูกใจทั้งคนรุ่นใหญ่และคนรุ่นใหม่ หรือการดีไซน์ลวดลายที่ทั้งละเอียดลออและสอดแทรกเรื่องราวชาวภูเก็ตลงไปพร้อมกัน แต่เรื่องราวเบื้องหลังการสร้างแบรนด์ยาหยีจากรุ่นแม่มาสู่รุ่นลูกก็น่าสนใจมาก พวกเขาทำให้ผ้าปาเต๊ะที่เคยเป็นของเก่าป็อปปูลาร์ได้อย่างไร ภูมิ-พงศ์พิวิชญ์ ทั่วไตรภพ ทายาทรุ่นสองของยาหยีรอเราอยู่พร้อมคำตอบ ปาเต๊ะ 101 ปาเต๊ะอาจเป็นคำที่คนไทยคุ้นหูมานาน และภาพที่หลายคนชินตาคือผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด รังสรรค์จากการปิดเทียน แต้ม ระบาย และย้อมสีให้สดใส แต่หากย้อนกลับไปดูในประวัติศาสตร์ อาจเห็นได้ว่าหลายประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นหรืออินเดีย มีศิลปะประเภทที่ใช้ปากกาเขียนเทียนทองเหลืองหรือเปลือกไม้ต่างๆ มาสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าเช่นกัน โดยอาจมีคำเรียกและแพตเทิร์นที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่นเดียวกับศักดิ์และสิทธิ์ของผ้าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย  ปาเต๊ะเคยเป็นผ้าที่คนทั่วไปสวมใส่ และครั้งหนึ่งมันเคยเป็นผ้าพิเศษของสุลต่าน มีช่วงใหญ่ที่ห้ามวาดรูปสัตว์บนผ้าเพราะผูกโยงกับความเชื่อทางศาสนา กระทั่งยุคที่มาเลเซียและอินโดนีเซียทำการค้าขายร่วมกัน วัฒนธรรมผ้าปาเต๊ะได้เผยแพร่ไปยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเต็มไปด้วยคนจีนโพ้นทะเลที่ย้ายเข้ามาตั้งรกราก ทำให้เกิดวัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่เปลี่ยนให้ปาเต๊ะกลายเป็นผ้าสีสันสดใสและเต็มไปด้วยลวดลายสัตว์มงคลอย่างหงส์ฟ้า ไก่ฟ้า มังกร หรือนกฟีนิกซ์  สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ เพื่อนบ้านของเราเรียกปาเต๊ะว่า บาติก (บา แปลว่า ศิลปะ ส่วนติกแปลว่า จุด […]

Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

ปลายทางของเสื้อผ้าที่ขายไม่ออก ภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาในทะเลทรายชิลี ผลกระทบจากอุตสาหกรรม Fast Fashion

สินค้า Fast Fashion ได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสไปทั่วโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าแฟชั่นต่างๆ ออกมาอย่างรวดเร็ว ในราคาที่ต่ำที่สุด เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการแต่งตัวตามกระแสและเน้นใส่เพียงไม่กี่ครั้ง แต่กระแสนิยม Fast Fashion ก็ถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลและยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย Fast Fashion กำลังเป็นปัญหาระดับโลก เห็นได้จากกองภูเขาขยะเสื้อผ้ามหึมาที่ถูกทิ้งร้างในทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก เสื้อผ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผลิตในจีนและบังกลาเทศ ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังยุโรป เอเชีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนชิลีคือปลายทางสุดท้าย ทำให้ชิลีกลายเป็นศูนย์กลางของเสื้อผ้ามือสองและเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว ในแต่ละปีมีเสื้อผ้าจากทั่วโลกประมาณ 59,000 ตัน ถูกส่งมายังท่าเรืออิกิเก (Iquique Port) ในเขตปลอดอากร อัลโต ฮอสปิซิโอ (Alto Hospicio Free Zone) ทางตอนเหนือของชิลี เสื้อผ้าจำนวนหนึ่งมีบรรดาพ่อค้าเดินทางมาซื้อเพื่อไปขายต่อ ขณะที่บางส่วนถูกลักลอบส่งต่อไปยังประเทศแถบลาตินอเมริกา  ทั้งนี้ จะมีเสื้อผ้าราว 39,000 ตันที่ไม่สามารถขายได้และต้องมาจบลงที่กองขยะในทะเลทรายอาตากามา ทำให้ขยะแฟชั่นกองพะเนินอย่างที่เห็น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าไม่มีใครจ่ายภาษีให้กับเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้ สินค้าแฟชั่นเหล่านี้จึงต้องอยู่ในเขตปลอดภาษีต่อไป โดยสาเหตุสำคัญที่ชิลีมีภูเขาขยะเสื้อผ้าขนาดยักษ์ก็เพราะว่า สินค้าเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ (Non-biodegradable) และยังมีสารเคมี […]

loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองที่ทำให้การซื้อ-ขายเป็นเรื่องง่ายและได้ช่วยโลก

หากใครที่ติดตามกระแสสังคมอยู่แล้วคงทราบว่าในช่วง 1 – 2 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแวดวงแฟชั่นมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อถกเถียงกันถึงการสร้างค่านิยมบริโภคนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากขยะสิ่งทอไปจนถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าใหม่แต่ละชิ้น  นอกจากคนทำงานเพื่อสังคม แอ็กทิวิสต์ และคนมีชื่อเสียงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็ตื่นตัวกับปัญหานี้ เกิดเป็นบทสนทนาการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงฮาวทูการลดการใช้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) การใส่เสื้อผ้ายังไงให้ยั่งยืน และชี้แหล่งแลกเปลี่ยนกับซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อหาทางดูแลรักษาโลกไปพร้อมๆ กับการสนุกกับการแต่งตัว ถ้าเป็นในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร หลายประเทศเองมีแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งต่อเสื้อผ้าและของมือสองให้คนได้เลือกใช้งาน จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนว่ายังมีตัวเลือกไม่มากนัก แหล่งซื้อขายที่มีก็ไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่เท่าไหร่ ไหนจะความยุ่งยากของการซื้อ-ขายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นคนขายถ่ายภาพเสื้อผ้าไม่ดี ระบุรายละเอียดไม่ครบ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ ไปจนถึงไม่กล้าซื้อเพราะไม่รู้ว่าเจ้าของก่อนหน้าเป็นใคร เป็นเสื้อผ้าคนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฯลฯ ทำเอาบางคนถอนหายใจล้มเลิกการซื้อเสื้อผ้ามือสองไปซะก่อน ทั้งๆ ที่ก็อยากลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่เช่นกัน หรือสุดท้ายแล้วซื้อมาก็กลายเป็นขยะในตู้เสื้อผ้าเพราะวัดไซซ์ผิด แทนที่จะได้ใช้เสื้อผ้ามือสองวนไป แต่กลับต้องทิ้งไว้เพราะได้ของไม่ตรงปก เพราะประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราจึงอยากแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองหน้าตาดูดีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของแพลตฟอร์มนี้คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการ รวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้ว โดยที่ตัวผู้ซื้อ-ผู้ขายแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แถมตัวเว็บไซต์เองก็ใช้งานง่ายเหมือนเว็บไซต์ขายเสื้อผ้ามือหนึ่งทั่วไปที่บอกรายละเอียดยิบย่อยอย่างชัดเจน แตกต่างจากปกติที่ร้านเสื้อผ้ามือสองเน้นการซื้อมาขายไป ไม่ถ่ายรูปหรือระบุรายละเอียดชัดเจนขนาดนี้ สอดคล้องกับสโลแกน ‘เราจะทำให้การส่งต่อเสื้อผ้าเป็นเรื่องง่าย ดีต่อใจ และดีต่อโลก’ ด้วยเหตุนี้ […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.