ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

Unlock the City EP.01 : ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยเราได้จริงหรือ

ประเดิมรายการแรกของ Urban Podcast ด้วย ‘Unlock the City’ ที่จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเมืองผ่านเสียงของผู้อยู่อาศัยในหลากหลายแง่มุม ดำเนินรายการโดยหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ นายกสมาคมนักผังเมืองไทยอย่าง พนิต ภู่จินดา ประเด็นแรกของ Unlock the City คือ บทบาทหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม. ที่แท้จริงแล้วตำแหน่งนี้ทำอะไรได้บ้าง ขอบเขตอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. มีมากน้อยแค่ไหน รวมถึงปัญหาใดของกรุงเทพฯ ที่ควรได้รับการดูแลแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเพื่อนร่วมเมืองที่จะมาร่วมพูดคุยใน EP. แรกนี้คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเวลาโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ เราอยากชวนมาทำความเข้าใจถึงภาพรวมของผู้ว่าฯ กทม. แบบแน่นๆ กันอีกสักรอบ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube: youtu.be/_OSsHsdNnV8 Spotify: open.spotify.com/show/08bQ1XnO8QNuIlYTWDj08l Apple Podcasts: podcasts.apple.com/us/podcast/urban-podcast/id1624842718 SoundCloud: […]

วาร์ปกรุงเทพฯ 2569 เมืองจะพัฒนาแบบไหนในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ขออาสาพาชาวกรุงฯ ไปสำรวจเมืองในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 7 ท่านที่มีแนวคิดโดดเด่นอยากจะปรับเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นในปี 2569 ระยะเวลา 4 ปีของการทำงาน พวกเขาจะพัฒนาเมืองอะไรบ้างด้วยแนวคิดของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นเมืองคนเท่ากัน เมืองแห่งความสุข เมืองสวัสดิการทันสมัย เมืองแห่งความหวัง เมืองหยุดโกง เมืองน่าอยู่ และเมืองมั่งคั่ง ตามไปดูกัน! เมืองคนเท่ากันเบอร์ 1 | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประเดิมเมืองแรกยินดีต้อนรับเข้าสู่ ‘เมืองคนเท่ากัน’ ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 จากพรรคก้าวไกลที่มีเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียม จากการมีสิทธิ์เข้าถึงสวัสดิการดีๆ ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 1. สร้างที่อยู่ไม่เกิน 10,000 บาทใจกลางเมือง ด้วยราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ แพงมากจนคนทั่วไปซื้อไม่ไหวและต้องย้ายออกไปอยู่นอกเมือง ทำให้เกิดปัญหาวนลูปทั้งแบกค่าโดยสารแพงและรถติดสุดเรื้อรัง วิโรจน์จึงสร้างโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยในเมือง 10,000 ยูนิตราคาไม่เกิน 3,500 – 9,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัว) เริ่มจากขอเช่าที่ราชพัสดุหรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้คนเมืองในระยะยาว 2. ใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้าทุกสาย ตั๋วรถเมล์จ่าย […]

(ไม่ใช่) คน กทม. ขอเลือกตั้งด้วย WeVis เปิดคูหาออนไลน์ให้ผู้อยู่อาศัยใน กทม. ได้ลองเลือกผู้ว่าฯ แม้ไม่มีทะเบียนบ้าน

ใกล้เลือกตั้งผู้ว่าฯ และ สก. กรุงเทพฯ เข้ามาทุกที แน่นอนว่าสำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านคงเตรียมตัวเลือกตั้ง พร้อมจับปากกากากบาทผู้สมัครที่ใช่กับนโยบายที่ชอบแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ประชากรแฝงอีก 4 – 5 ล้านคนที่เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ เพื่อเรียนและทำงานกลับไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องฝากฝังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้คนกลุ่มที่กล่าวไปข้างต้น เพียงเพราะไม่มีทะเบียนบ้าน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าความจริงแล้วกรุงเทพฯ ต้องการผู้ว่าฯ และ สก. คนไหนกันแน่ กลุ่ม WeVis ที่ทำงานด้านข้อมูลทางการเมืองเพื่อนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจ จึงสร้างแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เสมือนคูหาเลือกตั้งออนไลน์ให้ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัดสามารถเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ สก. ได้ วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งก็ไม่มีอะไรซับซ้อน แค่เข้าเว็บไซต์ wevotebkk.wevis.info แล้วเลือกเขต กทม. ที่คุณพักอาศัย จากนั้นจะมีข้อมูลของผู้สมัครผู้ว่าฯ และผู้สมัครสมาชิกสภา กทม. โชว์ขึ้นมา โดยคุณสามารถศึกษาข้อมูลพื้นฐานกับประวัติการทำงานของผู้สมัครคนนั้นๆ ได้เพียงแค่คลิกลิงก์เพิ่มเติม ปิดท้ายก่อนหย่อนบัตรลงคะแนน ด้วยการให้พิสูจน์ความเป็นคนต่างจังหวัดด้วยการกรอกจังหวัดภูมิลำเนา แม้การโหวตนี้จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ WeVis ก็ต้องการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนที่ใช้ชีวิตใน กทม. แม้ไม่มีทะเบียนบ้าน มีสิทธิ์ออกแบบเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัย อีกทางหนึ่งก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นโพลเลือกตั้งมหาชนว่าใครกันแน่ที่คนกรุงเทพฯ อยากให้มาบริหารจัดการเมืองหลวงแห่งนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้ […]

เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง แคมเปญจากกลุ่ม We’re all voters ที่รณรงค์ให้ทุกจังหวัดมีสิทธิ์เลือกตั้ง

ในขณะที่ผู้สมัครตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และเมืองพัทยากำลังหาเสียงด้วยนโยบายที่ถูกใจประชาชนและดีต่อเมือง อีก 75 จังหวัดกลับยังมีผู้ว่าฯ แบบแต่งตั้งจากส่วนกลาง หลายคนไม่ใช่คนในพื้นที่ด้วยซ้ำ ทั้งที่เป็นจังหวัดของตัวเองแท้ๆ แต่ประชาชนในพื้นที่กลับไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพราะเห็นถึงความไม่แฟร์ บวกกับอยากเลือกตั้งผู้ว่าฯ แบบคนกรุงเทพฯ บ้าง จึงมีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันภายใต้ชื่อกลุ่ม We’re all voters: เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง โดยมี ‘สันติสุข กาญจนประกร’ เป็นผู้ก่อตั้งแคมเปญเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ สันติสุขได้ยกตัวอย่างถึงหลายเหตุผลที่ประชาชนควรมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ ให้เราฟัง ดังนี้  – การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทำให้เกิดการแข่งขันในการเสนอนโยบายที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ เนื่องจากคนที่มีศักยภาพจะมาแข่งกันนำเสนอนโยบายที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่มากที่สุด  – เกิดการกระจายทรัพยากรที่ทั่วถึง เพราะผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้งจะสามารถกำหนดได้ว่าในวาระ 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งนั้นจะทำอะไรบ้าง และจัดสรรงบได้เอง  – ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น เพื่อป้องกันการทุจริตได้ตลอดเวลา เพราะเมื่อมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ย่อมเกิดกลไกที่เรียกว่า ‘สภาพลเมือง’ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ความโปร่งใสแก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ อย่างการที่แต่ละจังหวัดจะได้ผู้ว่าฯ ที่เข้าใจปัญหาท้องถิ่นของตนอย่างแท้จริง คนธรรมดามีสิทธิ์ลงรับเลือกตั้ง ตัดปัญหาผู้ว่าฯ ถูกโยกย้ายแบบตรวจสอบไม่ได้ และยังเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยและความเจริญก้าวหน้าของประเทศโดยรวม สันติสุขอธิบายต่อว่า […]

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

“ทำไมคุณต้องอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง ที่ต้องอ้อนวอนร้องขอกับราชการ ทั้งที่เงินนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน” ประโยคสนนทนาที่แทงใจ จากการที่เราพูดคุยกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’หรือที่หลายคนรู้จักจากฉายา ดาวเด่นสภา วันนี้เขาเดินทางอีกหนึ่งบทบาทในฐานะ  1 ในผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถึงแม้กรุงเทพฯ จะมีปัญหามากมาย แต่ในสายตาวิโรจน์ เชื่อว่า กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ถึงเวลาแก้ไขกรุงเทพฯ แบบตรงไปตรงมาในแบบฉบับวิโรจน์ จะเป็นอย่างไรนั้น ร่วมพูดคุยไปพร้อมกับเราในคลิปนี้เลย!

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ l Bangkok Hope EP.1

“ถ้าเกิดเรายังทำกรุงเทพฯ ให้ดีไม่ได้ ก็ยากที่ทำประเทศให้ดีได้”  Bangkok Hope Ep.1 ขอพามานั่งคุยกับ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการในฐานะผู้สมัครอิสระ ตลอดการพูดคุย ได้เห็นประเด็นกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยปัญหา ตั้งแต่รถติด น้ำท่วม ฟุตพาทเดินไม่ได้ ไฟติดๆ ดับๆ พื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ ฯลฯ แต่ในสายตาของ ‘ชัชชาติ’ ยังมีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้ดีได้เสมอ ทำไมชัชชาติถึงมอง กรุงเทพฯ ยังมีหวังที่จะเปลี่ยนแปลง ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในวีดีโอนี้เลย! #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ชัชชาติสิทธิพันธุ์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ 

Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?

คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ .  เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย!  . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive  #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]

นายกฯ ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น ชวนลงชื่อแก้ไข ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

คุณรู้หรือไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2562 ที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้มาจากเสียงของประชาชน แต่มาจากการเห็นชอบของ 250 ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา ที่ประยุทธ์มีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ขององค์กรนี้ที่คนอาจจะนึกถึงคือ การกลั่นกรองและตรวจสอบกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง ทว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้กำหนดให้ ส.ว. มีอำนาจอื่นที่สำคัญเพิ่มขึ้นมาด้วย เช่น อำนาจให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อำนาจตั้งกระทู้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไปจนถึงอำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีอำนาจในประเทศไทยมาจนถึงตอนนี้ เพราะอำนาจนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่กำหนดให้นายกฯ ต้องมาจากการเลือกด้วยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งการให้ ส.ว. มีอำนาจในการเลือกนายกฯ นั้นทำให้ ส.ว. ขาดความเป็นกลางทางการเมือง จึงทำให้เกิดแคมเปญ ‘ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี’ เพื่อคืนอำนาจนี้กลับสู่มือประชาชน หลักการของแคมเปญคือ ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว โดยกลุ่มผู้จัดทำแคมเปญได้ให้เหตุผลถึงการแก้ ม.272 ว่าถ้ามีการเลือกตั้งครั้งหน้า รัฐบาลชุดต่อไปจะทำหน้าที่ได้อย่างภาคภูมิตามวิถีประชาธิปไตย ส.ว. เองก็ทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกมองเป็นนั่งร้าน สืบทอดอำนาจ อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.