ชวนคนเจ้าอารมณ์มาสาดความโกรธ เศร้า เหงา สุข กับ 5 โซนสนามอารมณ์ในงาน ‘GOOD MOOD’ ที่โกดังเสริมสุข

หากมีสักพื้นที่ให้เราได้ปลดปล่อยความคิด ระเบิดอารมณ์ และระบายสิ่งที่อัดอั้นมาทั้งปีก็คงจะดีไม่น้อย เพราะในแต่ละวันเราต่างเจอเรื่องราวมากมายที่ก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโกรธ เศร้า เหงา หรือสุข สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งถ้าเราเอาแต่เก็บความรู้สึกเหล่านี้ไว้ คงไม่ดีต่อสุขภาพใจในอนาคตแน่ๆ จึงเกิดเป็นงาน ‘GOOD MOOD’ กิจกรรมส่งท้ายปีที่เกิดจากความร่วมมือของ ‘Eyedropper Fill’ บริษัทออกแบบสร้างสรรค์ที่ใช้สื่อผสมผสานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สร้างสรรค์กิจกรรม ‘พาใจกลับบ้าน’ จนคว้ารางวัลจากงาน Adman Awards 2023 ไปครอง และ ‘Good Hood Services’ เทศกาลดนตรีพร้อมร้านอาหารที่จัดกันเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้เป็นการชวนคนเจ้าอารมณ์มาสานสัมพันธ์กันที่ ‘โกดังเสริมสุข’ เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ผ่านคำถามชวนคิดและกิจกรรมอินเตอร์แอ็กทีฟที่รับบทเป็น ‘สนามอารมณ์’ รองรับ 5 อารมณ์ ผ่าน 5 โซนกิจกรรมที่เปิดให้ทุกคนได้สาดอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน GOOD RAGE : เตะกระสอบทราย ระบายความโกรธ เริ่มต้นกันที่โซนแรกที่เต็มไปด้วยสีแดงซึ่งแสดงถึงอารมณ์โกรธอย่าง ‘GOOD RAGE’ ที่มากับคอนเซปต์ ‘รักห่วย ป่วยการเมือง เคืองเจ้านาย ไม่พอใจตัวเอง’ […]

เปิดสิ่งที่เก็บไว้ ปล่อยใจไปกับสนามอารมณ์ ในงาน GOOD MOOD ที่โกดังเสริมสุข วันที่ 1 – 4 / 8 – 11 / 15 – 17 ธ.ค. 66

ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะกับการทบทวนอารมณ์ ย้อนรำลึกถึงเรื่องที่ผ่านมา เพื่อตกตะกอนตัวตนและความทรงจำสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้าเท่าช่วงเวลาสิ้นปีแบบนี้อีกแล้ว ท่ามกลางสังคมที่บีบคั้น หวังให้คนโปรดักทีฟ การมี ‘พื้นที่’ ให้ระบายอารมณ์ พร้อมพบปะเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย Eyedropper Fill จับมือกับ Good Hood Services ร่วมกันสร้างสรรค์งาน ‘GOOD MOOD’ งานออกแบบเชิงประสบการณ์ที่มอบ ‘สนามอารมณ์’ ให้กับทุกอารมณ์ได้มี ‘พื้นที่แสดงออก’ โดยชิ้นงานจะประกอบไปด้วยประสบการณ์ Interactive 5 โซนอารมณ์ ได้แก่ – โซน GOOD RAGE สวมวิญญาณเป็นบัวขาว เตะ ต่อยกระสอบทราย ระบายความโกรธที่สะสมมาทั้งปี– โซน GOOD JOY คาราโอเกะแบบตะโกน ร่วมร้องเพลงพร้อมกัน 16 ไมค์– โซน GOOD TEAR นอนฟังเพลงร่วมกันด้วยอุปกรณ์ Silent Disco กับเพลย์ลิสต์เพลงเศร้าที่เลือกมาแล้วว่าเศร้าสุดๆ– โซน GOOD LOVE ถ่ายรูปเปิดวาร์ปกันในโซน พื้นที่ให้คนเหงาลองเข้ามาตามหาคนที่ใช่– […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

ART101 พื้นที่หัดสร้างงานศิลปะที่ทั้งสนุก เยียวยาใจ และเสริมความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่ง

ในภาพจำของหลายคน สุขุมวิทคือย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องบ้านสวย เงาไม้ร่มรื่น และร้านเด็ด ใครจะคิดว่าวันหนึ่งย่านสุดคึกคักย่านนี้จะมีอาร์ตสเปซมาเปิด เปล่า เราไม่ได้หมายถึงอาร์ตสเปซที่เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะทั่วไป แต่คือพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาสร้างชิ้นงานศิลปะของตัวเอง ผ่านคอนเซปต์ที่ว่า ศิลปะไม่ควรมีกรอบ แต่ควรจะสนุกสนานและเข้าถึงได้ทุกคน ART101 คือสเปซของ ‘บิลล์-กรีรวิชญ์ ภาคจิตร’ และผองเพื่อนที่รวมตัวกันเปิดมาตั้งแต่ต้นปี ฟังจากชื่อก็พอเดาออกว่าที่นี่อ้าแขนต้อนรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมีความรู้ทางศิลปะหรือไม่ เราต่างมาตั้งต้นคลาส 101 พร้อมกัน ที่นี่จึงมีกิจกรรมสร้างงานศิลปะที่ลากไล่ไปตั้งแต่การเทสี การปาสี จนถึงการแกว่งสี มากไปกว่าความเชื่อว่าศิลปะไม่ควรมีกรอบ กรีรวิชญ์เชื่อว่าศิลปะคือหนทางเยียวยาและสร้างพลังงานที่ดีให้แก่คนที่ลงมือทำ แถมยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แข็งแรงได้ด้วย แนวคิดนี้ถ่ายทอดผ่านการออกแบบสเปซและกิจกรรมภายใน ART101 อย่างไร ตามคอลัมน์ Urban Guide ลัดเลาะไปในซอยสุขุมวิท 71 เพื่อหาคำตอบกับชายหนุ่มเจ้าของร้านกัน Healing Space ผิดไปจากที่เราสันนิษฐาน กรีรวิชญ์สารภาพว่าเขาไม่ใช่คนวาดรูปเก่ง และไม่ได้เป็น ‘สายอาร์ต’ อย่างที่เราคาดเดาไว้ อันที่จริงกรีรวิชญ์เพิ่งมีใจให้ศิลปะก่อนจะเริ่มก่อตั้ง ART101 ได้ไม่นาน  ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น ก่อนมีใจให้ศิลปะ เขามีใจให้การงานและธุรกิจส่วนตัวแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ “หลังจากเรียนจบ ป.โท จากอังกฤษ เราเข้าทำงานในหลายบริษัท […]

เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’

ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]

‘ART101’ พื้นที่เยียวยาใจด้วยศิลปะ ‘Abstract Art’

ท่ามกลางความวุ่นวายและเร่งรีบภายในเมือง หลายๆ ครั้งก็ทำให้เราลืมสนใจจิตใจของตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้างในทุกๆ วัน ‘ART101’ คือพื้นที่เยียวยาจิตใจด้วยศิลปะ Abstract Art ที่ไม่มีถูกหรือผิด เพียงแค่ปล่อยให้ร่างกายนั้นขยับไปตามเสียงของหัวใจ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้นมาอย่างจิตไร้สำนึก เพราะที่นี่มีกระบวนการสร้างงานอันหลากหลายที่จะทำให้เราได้ปลดปล่อยความรู้สึกต่างๆ ที่ถูกกดทับไว้ในแต่ละวัน Urban Creature พาไปคุยกับ ‘บิลล์-กรีรวิชญ์ ภาคจิตร’ ผู้ก่อตั้ง ART101 ที่อยากเชิญชวนเราทุกคนให้มาปลดปล่อยความรู้สึกต่างๆ พร้อมยังได้ผลงานศิลปะและเรื่องราวใหม่ๆ ติดมือกลับไปด้วย #UrbanCreature #UrbanGuide #Art101 #Art #AbstractArt #Abstract #SplashArt #PendulumArt #Mental #Mentalhealth #ศิลปะ #ศิลปะนามธรรม

‘Inner Child’ ทำความเข้าใจตัวตนผ่านความเป็นเด็กในตัวเรา กับบาดแผลในวัยเยาว์ที่มาเจอเอาตอนโต

ในช่วงแรกๆ ที่ผู้เขียนเริ่มทำงานเป็นนักจิตบำบัด มีคนไข้อยู่ในช่วงวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมฯ จนถึงมหาวิทยาลัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งเวลาอยู่ในชั่วโมงบำบัดจะเกิดความรู้สึกที่แปลกมาก เพราะสังเกตว่าใจตัวเองเต้นตึกๆ รู้สึกร้อนผ่าวอยู่หลายครั้ง ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่อีกฝ่ายเขาเจออยู่ เมื่อได้มาคุยกับ Supervisor และค่อยๆ กะเทาะเข้าไปทำความเข้าใจตัวเองเรื่อยๆ ถึงได้รู้ว่า ความรู้สึกหนักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในชั่วโมงบำบัดนั้น มันคือความรู้สึกโดนกระทบแรงๆ (Triggered) ที่ทำให้ตัวเองย้อนกลับไปนึกถึงช่วงวัยรุ่นที่ผ่านเหตุการณ์ยากลำบากต่อจิตใจคนเดียว  ตอนนั้นไม่รู้จะเล่าให้ใครฟัง รู้สึกอาย และเชื่อว่าเรื่องราวของเราควรเก็บมันไว้ในใจ ไม่ให้ใครข้างนอกเห็นว่าเรามีจุดที่อ่อนแอ กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้ทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัดให้น้องๆ เหล่านั้น ความรู้สึกหนักๆ ก้อนใหญ่ได้เด้งกลับไปที่เจ้าเด็กมะเฟืองในช่วงวัยรุ่น ตอนนั้นเธอไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ทั้งที่ลึกๆ แล้วเธอก็อยากได้คนอย่าง Therapist มาคอยรับฟัง อยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ตัดสินอะไร และไม่ทำให้ผู้เขียนต้องรู้สึกแย่กับตัวเองกว่าเดิม เด็กคนนั้นโตมากลายเป็นเธอ เราอยากชวนทุกคนมารู้จักกับคำว่า ‘Inner Child’ ที่แปลง่ายๆ คือ ‘เด็กคนนั้นที่อยู่ในตัวเรา’ เพราะตอนที่เราเป็นเด็ก สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสนุก ความรัก และความรู้สึกปลอดภัย หากในวัยเด็กของเราเติบโตมาด้วยความรู้สึกขาดหรือโหยหาบางสิ่งที่เราอยากได้ แต่ในตอนนั้นเรามีตรรกะหรือความเข้าใจต่อโลกไม่มากพอที่จะรับมือกับความอัดอั้นในใจ จึงทำให้อธิบายออกมาเป็นคำพูดที่ต้องการไม่ได้ และหากเรามีความทรงจำวัยเด็กบางเหตุการณ์ที่ส่งผลให้จิตใจสั่นคลอน โดยเฉพาะความทรงจำที่เกิดขึ้นในครอบครัว และเราต้องเจอเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นประจำในระยะเวลานาน มันง่ายมากที่เราซึ่งเป็นเด็กในตอนนั้นจะกดบาดแผลที่มองไม่เห็นให้ลึกสุดใจ แต่ขณะเดียวกัน บาดแผลนั้นก็ยังไม่ไปไหน มันแค่แปลงร่างกลายเป็นเราในเวอร์ชันเด็กที่ซุกซ่อนอยู่ในเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่งของจิตสำนึก […]

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที

‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]

พักกายไปฟังใจ กลับมารักตัวเอง ในงาน ‘Homecoming พาใจกลับบ้าน’ วันที่ 1 – 30 มิ.ย. 66 ที่ River City

ในวันที่ทุกอย่างถาโถมใส่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นงานมากมายที่กองไว้ให้เรารับผิดชอบจนล้นหัว การเดินทางไปทำงานบนถนนที่เต็มไปด้วยรถติด แรงกดดันจากครอบครัวที่คาดหวังให้เราเป็นเสาหลักที่มั่นคงของบ้าน หรือความคิดฟุ้งซ่านก่อนนอนเกี่ยวกับอนาคตที่ทำให้เราต้องหลับไปพร้อมความหนักอึ้งในจิตใจ เรื่องมากมายเหล่านี้ทำให้เราไม่มีเวลาดูแลหัวใจตัวเอง เดือนมิถุนายนนี้ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) และ Eyedropper Fill จับมือกันชวนทุกคนไปฟังเสียงหัวใจของตัวเองอีกครั้งกับงาน ‘Homecoming พาใจกลับบ้าน’ นิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ X สุขภาพจิต ที่จะพาไปสำรวจจิตใจ และกลับมารักตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิม ในนิทรรศการนี้ ทุกคนจะได้พบกับ 1) อารามอารมณ์ : นิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ที่ร่วมปลดปล่อยอารมณ์ และตั้งคำถามต่อหัวใจของตัวเอง 2) Mental Verse จักรวาลใจ : ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการสำรวจ ‘โลกในจิตใจ’ ที่จะถ่ายทอดชีวิตของคนต่างวัย 5 คนที่มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นผลมาจากสังคมและประเทศที่ป่วยไข้ งาน ‘Homecoming พาใจกลับบ้าน’ จัดขึ้นที่ River City Bangkok ชั้น 2 Galleria 2 – 3 ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.