อากาศร้อนเปรี้ยง ระเบิดอารมณ์ปัง! รับมืออารมณ์ของเราในหน้าร้อนอย่างไร ไม่ให้ต้องเสียใจภายหลัง

อากาศที่ร้อนจนเราหงุดหงิด เดือดปุดๆ ดั่งลาวาที่พร้อมปะทุ กระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้ออกมา นำไปสู่อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ เช่น รู้สึกรำคาญทุกอย่างไปหมด เหนื่อยล้าเหมือนไม่เคยได้พักอย่างเต็มที่ อ่อนไหวง่ายกว่าเดิม โกรธง่าย หมดความอดทน และโอกาสที่เพิ่มสูงขึ้นของความรุนแรงในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตใจ วาจา หรือร่างกาย ในงานวิจัยที่ Psych Central ได้รวบรวมมาบอกว่า ‘Heat (and extreme rain) brings out the worst in people.’ นั่นคือ ไม่ใช่แค่อากาศที่ ‘ร้อน’ มากๆ เท่านั้นที่ทำให้ผู้คนแสดงด้านแย่ที่สุดของตัวเองออกมา แต่ในอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักด้วยเหมือนกัน คีย์เวิร์ดสำคัญดูจะอยู่ที่ ‘ความสุดโต่ง’ หรือความ Extreme ของสภาพอากาศข้างนอก ที่จะดึงเอาอารมณ์ข้างในที่สุดโต่งหรือผิดแปลกออกไปจากอารมณ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาปกติของเราออกมา คอลัมน์ Mental Help ประจำเดือนนี้ ผู้เขียนเลยขอเขียนบทความนี้เป็นคู่มือฉบับย่อ เพื่อเป็นฮาวทูช่วยดักจับอารมณ์ที่ร้อนระอุ และเปลี่ยนให้ไม่กลายเป็นพฤติกรรมที่เราอาจเสียใจในอนาคต หัดไม่มองอะไรเป็นขาว-ดำ เมื่อรำคาญคนรอบตัวไปเรื่อยอย่างไม่มีเหตุผล อากาศร้อนทำให้ความสามารถในการคัดกรองพฤติกรรมที่แสดงออกไปลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งหนึ่งในอารมณ์ไม่พึงประสงค์คือ ความโกรธที่เกิดจากอคติเป็นทุนเดิม เช่น ฉันไม่ชอบคนนี้อยู่แล้ว […]

ฝึกเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเองทุกวัน เพื่อบอกว่า ‘ในวันที่โลกไม่น่ารัก ยังมีเราที่น่ารัก’

สมัยเป็นวัยรุ่นมัธยมฯ ผู้เขียนเชื่อว่า หลายคนคงเคยมีความทรงจำปั๊ปปี้เลิฟ เขียนจดหมายรักหารุ่นพี่หรือรุ่นน้องที่แอบชอบกันมาบ้าง กระทั่งบางคนอาจมีประสบการณ์เขียนจดหมายหารายการวิทยุหรือโทรทัศน์ หวังจะได้คุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ คิดถึงตอนนั้นแล้วก็ภูมิใจในความใจใหญ่ของตัวเอง แน่นอนแหละ มันคงไม่ถึงกับคำว่า ‘รักอย่างไม่มีเงื่อนไข’ เพราะเราก็คงแอบหวังให้คนที่ชอบเขาชอบเรากลับ หรือศิลปินคนโปรดได้รับรู้ถึงความปลาบปลื้มที่เรามีให้มานานบ้างไม่มากก็น้อย แต่คำว่า ‘ใจใหญ่’ ที่เราหมายถึงคือ การกล้าได้มากกว่าเสีย การที่ความสุขอัดแน่นจนหัวใจขยาย แล้วเรื่องน่ากลัวต่างๆ เช่น กลัวเสียฟอร์ม กลัวเขาไม่สนใจ กลัวเขาเห็นว่าเราเด๋อ ฯลฯ หดลดลง จะเป็นอย่างไรถ้าความรักที่เคยส่งต่อให้ใคร จะส่งกลับมาที่เราบ้าง ‘เอลิซาเบธ กิลเบิร์ต’ (Elizabeth Gilbert) นักเขียนชื่อดัง เจ้าของงานเขียน Eat, Pray, Love ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เธอออกมาเล่าถึงกิจกรรมปลอบประโลมหัวใจตัวเองที่ทำมานานหลายปีแล้ว นั่นคือ การเขียนจดหมายจากความรักถึงตัวเอง สิ่งนี้ช่วยพยุงเธอขึ้นจากจิตใจที่อ่อนล้ามาหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่เธออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก เธอเล่าว่า มีคนมากมายเคยทั้งเขียนจดหมายและเข้ามาคุยมาชมเธอ แต่มันก็ยังไม่ใช่ถ้อยคำที่เธอต้องการ เอลิซาเบธจึงเริ่มเขียน ‘จดหมายรัก’ ผ่านถ้อยคำจากความรักที่เธอเคยหวังว่าอยากให้มีใครสักคนมาพูดแบบนี้กับเธอ ‘คนอื่นเขาไม่สามารถอยู่กับเราตลอดเวลาได้ ถ้าเราไม่อยู่กับตัวเองในช่วงที่มืดหม่นที่สุดในชีวิต แล้วใครจะไปอยู่ตรงนั้นเพื่อเรา’ ความรักของเราหน้าตาเป็นแบบไหน ก่อนจะมีใครมาบอกว่าต้องทำยังไงถึงคู่ควรกับการได้รับความรัก “การเกลียดชังตัวเองเป็นเหมือนไวรัส” เอลิซาเบธพูดไว้ และบอกให้ผู้ฟังลองถามตัวเองว่า […]

เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

อย่าไปกลัวปีชง! ถ้าเราประคองใจให้มั่นคง จะกี่ปีชงก็ทำอะไรเราไม่ได้

แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ มาจากการที่ผู้เขียนเลื่อนเจอสเตตัสของรุ่นพี่คนหนึ่ง เล่าถึงความ ‘กระวนกระวายใจ’ ทุกครั้งที่เห็นคอนเทนต์ปีชง เพราะมันทำให้เขากลัว เนื่องจากไม่อยากให้ชีวิตโชคร้ายกว่าที่ผ่านมาอีกแล้ว เวลาเข้าโซเชียลมีเดีย รุ่นพี่ต้องเลื่อนฟีดผ่านเร็วๆ เพราะไม่อยากอ่านให้มันผ่านเข้ามาในใจ อีกอย่าง ทุกวันนี้เราเปิดรับข่าวสารที่ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเศร้าและน่ากลัวทุกวัน จนเรื่องร้ายต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่เราเผลอคาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้น ไม่กับเรา ก็กับสังคม ทีนี้พอมีเรื่องปีชงเข้ามา บวกกับพื้นฐานข่าวสารที่ได้รับ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจิตตก กังวลมากขึ้น ต่อให้เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ว่าปีนี้จะเป็นปีชงของเราหรือไม่ แต่ในทางสุขภาพจิตแล้ว ผู้เขียนในฐานะคนทำงานด้านจิตบำบัดก็อยากเสนอแนะวิธีช่วยประคับประคองจิตใจให้ผ่านด่านสนามทดสอบเรื่องโชคลางไปได้อย่างไม่วุ่นวายใจมากนัก 1) หมั่นสังเกตว่าตัวเองกำลังคาดหวังสิ่งที่ไม่ชอบให้เป็นจริงอยู่หรือเปล่า มีทฤษฎีหนึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-fulfilling Prophecy ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความเชื่อหรือความคาดหวังบางอย่างที่ทำให้เรายึดมั่นในสิ่งนั้นมากๆ จนส่งผลต่อการกระทำของเรา และทำให้ความเชื่อหรือความคาดหวังของเรานั้นเป็นจริง ยกตัวอย่าง เราเข้าทำงานที่ใหม่วันแรก เห็นผู้หญิงคนหนึ่งดูหน้าบึ้งตึงเป็นพิเศษ ​เราคิดไปเองว่าเธอคนนี้จะต้องไม่ชอบเราแน่ๆ เลยไม่อยากเข้าไปชวนคุยเพราะกลัวเธอจะยิ่งรำคาญ แถมเธอเองก็ไม่ได้สนใจเรา พร้อมกับเดินผ่านหน้าไปอีก ทำให้เราเชื่อว่า เธอคนนี้ต้องไม่ชอบหน้าเราแน่ๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วเธออาจจะโมโหหิวเฉยๆ ก็ได้ พอเชื่อแบบนี้ ก็อาจทำให้เราพูดจาหรือแสดงท่าทีที่เฉยเมย ไม่เป็นมิตรออกไป จนทำให้อีกฝั่งรู้สึกได้ถึงบรรยากาศลบๆ และไม่อยากยุ่งกับเรา สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การไม่ชอบกันจริงๆ ก็เป็นได้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งเราเชื่อในสิ่งไหนมากๆ นั่นไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นจริงเสมอไป แต่มันมีส่วนสูงมากที่ทำให้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น […]

‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’

กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]

ชวนคนเจ้าอารมณ์มาสาดความโกรธ เศร้า เหงา สุข กับ 5 โซนสนามอารมณ์ในงาน ‘GOOD MOOD’ ที่โกดังเสริมสุข

หากมีสักพื้นที่ให้เราได้ปลดปล่อยความคิด ระเบิดอารมณ์ และระบายสิ่งที่อัดอั้นมาทั้งปีก็คงจะดีไม่น้อย เพราะในแต่ละวันเราต่างเจอเรื่องราวมากมายที่ก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโกรธ เศร้า เหงา หรือสุข สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งถ้าเราเอาแต่เก็บความรู้สึกเหล่านี้ไว้ คงไม่ดีต่อสุขภาพใจในอนาคตแน่ๆ จึงเกิดเป็นงาน ‘GOOD MOOD’ กิจกรรมส่งท้ายปีที่เกิดจากความร่วมมือของ ‘Eyedropper Fill’ บริษัทออกแบบสร้างสรรค์ที่ใช้สื่อผสมผสานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สร้างสรรค์กิจกรรม ‘พาใจกลับบ้าน’ จนคว้ารางวัลจากงาน Adman Awards 2023 ไปครอง และ ‘Good Hood Services’ เทศกาลดนตรีพร้อมร้านอาหารที่จัดกันเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้เป็นการชวนคนเจ้าอารมณ์มาสานสัมพันธ์กันที่ ‘โกดังเสริมสุข’ เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ผ่านคำถามชวนคิดและกิจกรรมอินเตอร์แอ็กทีฟที่รับบทเป็น ‘สนามอารมณ์’ รองรับ 5 อารมณ์ ผ่าน 5 โซนกิจกรรมที่เปิดให้ทุกคนได้สาดอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน GOOD RAGE : เตะกระสอบทราย ระบายความโกรธ เริ่มต้นกันที่โซนแรกที่เต็มไปด้วยสีแดงซึ่งแสดงถึงอารมณ์โกรธอย่าง ‘GOOD RAGE’ ที่มากับคอนเซปต์ ‘รักห่วย ป่วยการเมือง เคืองเจ้านาย ไม่พอใจตัวเอง’ […]

เปิดสิ่งที่เก็บไว้ ปล่อยใจไปกับสนามอารมณ์ ในงาน GOOD MOOD ที่โกดังเสริมสุข วันที่ 1 – 4 / 8 – 11 / 15 – 17 ธ.ค. 66

ไม่มีช่วงเวลาไหนเหมาะกับการทบทวนอารมณ์ ย้อนรำลึกถึงเรื่องที่ผ่านมา เพื่อตกตะกอนตัวตนและความทรงจำสำหรับก้าวต่อไปในปีหน้าเท่าช่วงเวลาสิ้นปีแบบนี้อีกแล้ว ท่ามกลางสังคมที่บีบคั้น หวังให้คนโปรดักทีฟ การมี ‘พื้นที่’ ให้ระบายอารมณ์ พร้อมพบปะเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ น่าจะเป็นเรื่องดีไม่น้อย Eyedropper Fill จับมือกับ Good Hood Services ร่วมกันสร้างสรรค์งาน ‘GOOD MOOD’ งานออกแบบเชิงประสบการณ์ที่มอบ ‘สนามอารมณ์’ ให้กับทุกอารมณ์ได้มี ‘พื้นที่แสดงออก’ โดยชิ้นงานจะประกอบไปด้วยประสบการณ์ Interactive 5 โซนอารมณ์ ได้แก่ – โซน GOOD RAGE สวมวิญญาณเป็นบัวขาว เตะ ต่อยกระสอบทราย ระบายความโกรธที่สะสมมาทั้งปี– โซน GOOD JOY คาราโอเกะแบบตะโกน ร่วมร้องเพลงพร้อมกัน 16 ไมค์– โซน GOOD TEAR นอนฟังเพลงร่วมกันด้วยอุปกรณ์ Silent Disco กับเพลย์ลิสต์เพลงเศร้าที่เลือกมาแล้วว่าเศร้าสุดๆ– โซน GOOD LOVE ถ่ายรูปเปิดวาร์ปกันในโซน พื้นที่ให้คนเหงาลองเข้ามาตามหาคนที่ใช่– […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

ART101 พื้นที่หัดสร้างงานศิลปะที่ทั้งสนุก เยียวยาใจ และเสริมความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่ง

ในภาพจำของหลายคน สุขุมวิทคือย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องบ้านสวย เงาไม้ร่มรื่น และร้านเด็ด ใครจะคิดว่าวันหนึ่งย่านสุดคึกคักย่านนี้จะมีอาร์ตสเปซมาเปิด เปล่า เราไม่ได้หมายถึงอาร์ตสเปซที่เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะทั่วไป แต่คือพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาสร้างชิ้นงานศิลปะของตัวเอง ผ่านคอนเซปต์ที่ว่า ศิลปะไม่ควรมีกรอบ แต่ควรจะสนุกสนานและเข้าถึงได้ทุกคน ART101 คือสเปซของ ‘บิลล์-กรีรวิชญ์ ภาคจิตร’ และผองเพื่อนที่รวมตัวกันเปิดมาตั้งแต่ต้นปี ฟังจากชื่อก็พอเดาออกว่าที่นี่อ้าแขนต้อนรับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะมีความรู้ทางศิลปะหรือไม่ เราต่างมาตั้งต้นคลาส 101 พร้อมกัน ที่นี่จึงมีกิจกรรมสร้างงานศิลปะที่ลากไล่ไปตั้งแต่การเทสี การปาสี จนถึงการแกว่งสี มากไปกว่าความเชื่อว่าศิลปะไม่ควรมีกรอบ กรีรวิชญ์เชื่อว่าศิลปะคือหนทางเยียวยาและสร้างพลังงานที่ดีให้แก่คนที่ลงมือทำ แถมยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แข็งแรงได้ด้วย แนวคิดนี้ถ่ายทอดผ่านการออกแบบสเปซและกิจกรรมภายใน ART101 อย่างไร ตามคอลัมน์ Urban Guide ลัดเลาะไปในซอยสุขุมวิท 71 เพื่อหาคำตอบกับชายหนุ่มเจ้าของร้านกัน Healing Space ผิดไปจากที่เราสันนิษฐาน กรีรวิชญ์สารภาพว่าเขาไม่ใช่คนวาดรูปเก่ง และไม่ได้เป็น ‘สายอาร์ต’ อย่างที่เราคาดเดาไว้ อันที่จริงกรีรวิชญ์เพิ่งมีใจให้ศิลปะก่อนจะเริ่มก่อตั้ง ART101 ได้ไม่นาน  ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น ก่อนมีใจให้ศิลปะ เขามีใจให้การงานและธุรกิจส่วนตัวแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ “หลังจากเรียนจบ ป.โท จากอังกฤษ เราเข้าทำงานในหลายบริษัท […]

เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’

ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.