นกพิราบในเมือง อารยธรรมความเป็นเมืองที่เอื้อต่อพัฒนาการและปัญหานกพิราบล้นกรุง

ขึงตาข่าย งูปลอม หรือโมไบล์กระดิ่งลม ดูจะเป็นสิ่งของที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดีในฐานะเครื่องมือต่อกรกับ ‘นกพิราบ’ ที่มักมาทำรังบริเวณระเบียงตึกสูงและที่อยู่อาศัย ปัญหานกพิราบในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งในสเกลของที่อยู่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ จนถึงขนาดมีการออกกฎหมายและข้อระเบียบมาใช้ ภาพจำของนกกับธรรมชาติดูเป็นของคู่กัน แต่พวกมันกลับเจริญเติบโตได้ดีในเมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่คอนกรีต และดูเหมือนว่าอัตราการเพิ่มจำนวนของเจ้าสัตว์ชนิดนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมของโลก ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นกพิราบเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมความเป็นเมือง ตามไปดูกันในบทความนี้ โครงสร้างของตึกสูงคล้ายกับถิ่นกำเนิดของนกพิราบ ในอดีตนกพิราบมักอาศัยอยู่บริเวณปากถ้ำหรือหน้าผาหิน พัฒนาการของนกพิราบบนตึกจึงเหมือนเป็นการอยู่อาศัยบนหน้าผาจำลอง โดยเฉพาะตึกสูงที่มีระเบียงให้พวกมันเกาะหรือมีช่องให้ทำรัง อีกทั้งนกพิราบยังมีความสามารถในการจดจำเส้นทางได้ดีมาก ส่งผลให้การจดจำที่อยู่อาศัย หรือมองหาพื้นที่ทำรังในเมืองที่มีผังเมืองซับซ้อนแบบที่มนุษย์อย่างเราแค่มองยังปวดหัว ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกมัน และเมื่อจดจำเส้นทางได้ดี นกพิราบจึงควบตำแหน่งสัตว์ที่มีชื่อเสียงในการหาทางกลับบ้าน จนเคยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในฐานะเครื่องส่งข้อความหรือที่เรารู้จักในนาม ‘นกพิราบสื่อสาร’ ตั้งแต่ประมาณ 3,000 ปีก่อน ไม่แปลกเลยที่ฉายาเจ้าแห่งเส้นทางจะเป็นที่มาให้พวกมันสามารถเอาชีวิตรอดและเติบโตในเมืองใหญ่ได้ แหล่งอาหารนกพิราบ เศษซากของเหลือและความใจบุญสุนทาน โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตจะมาคู่กับห่วงโซ่อาหาร มีผู้ล่าและผู้ถูกล่า เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุล แต่สถานการณ์ของวงจรนกพิราบตอนนี้คือ ระบบนิเวศในเมืองกำลังขาดความหลากหลายของผู้ล่าอย่างเหยี่ยวหรืองู อีกทั้งนกพิราบยังเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ปริมาณจึงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสิ่งใดมาควบคุม ไม่มีผู้ล่าคอยควบคุมจำนวนก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกพิราบใช้ชีวิตในเมืองรุ่นสู่รุ่นได้คือ แหล่งอาหารของพวกมัน คนเมืองจำนวนมากน่าจะคุ้นเคยกับภาพการจิกหาอาหารตามลานโล่งของนกพิราบ โดยเฉพาะบริเวณสวนสาธารณะ ลานโล่ง หรือท่าเรือ พวกมันล้วนแล้วแต่มองหาอาหารที่ชอบ เช่น เมล็ดธัญพืช หนอน และแมลง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นบริบทของเมืองใหญ่ อาหารลักษณะนี้คงไม่ได้หาได้ง่ายนัก […]

ฮาวทูสร้างโอเอซิสในเมืองให้นกและสารพัดสัตว์มีพื้นที่เล่นน้ำ ช่วยผ่อนคลายร่างกายช่วงหน้าร้อน

ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเข้าสู่ช่วงที่สภาพอากาศร้อนแรงสุดๆ จนมีคำกล่าวหยิกแกมหยอกบอกว่า ประเทศไทยมีอยู่สามฤดู นั่นคือ หน้าร้อน หน้าร้อนมาก และหน้าร้อนโคตรๆ แต่ถึงจะร้อนขนาดไหน ผู้คนอย่างเราๆ ก็ยังเข้าไปหลบร้อนตามอาคาร ออฟฟิศ หรือสถานที่ที่มีพัดลมและแอร์เป็นตัวช่วยคลายร้อนได้ แต่กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น นก แมลง หรือกระรอก อาจไม่สามารถเข้าถึงสถานที่คลายร้อนได้ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ที่ธรรมชาติเหลือน้อยลงเต็มที วิธีการง่ายๆ ที่จะช่วยให้นกหรือสัตว์ต่างๆ ในเมืองเย็นขึ้นได้คือ ‘การสร้างบ่อน้ำ’ เพราะการมีบ่อน้ำขนาดย่อมหลายๆ จุด จะเป็นตัวช่วยบรรเทาให้ช่วงเวลาวิกฤตของเหล่าสัตว์ตัวน้อยในเมืองเย็นสบายขึ้น RSPB หรือ ราชสมาคมแห่งลอนดอนเพื่อการคุ้มครองนก ได้แนะนำวิธีการสร้างบ่อน้ำนกง่ายๆ ไว้ดังนี้ 1) ให้สร้างบ่อน้ำแบบตื้นที่มีความกว้าง เช่น จานรองกระถางต้นไม้แบบดินเผา ที่ทนต่อสภาพอากาศเมืองร้อน 2) หากบ่อน้ำมีความกว้างมากกว่า 30 เซนติเมตร อาจจัดโซนให้มีทั้งเขตน้ำตื้นและน้ำลึกที่ไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร 3) ใส่หินหรือก้อนกรวดไว้ในบ่อน้ำ เวลานกบินมาเกาะหรือสะบัดขนเล่นน้ำ บ่อน้ำจะได้มีความมั่นคงแข็งแรง  4) การยกบ่อน้ำนกให้สูงจากพื้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากสุนัข แมว หรือสัตว์เลื้อยคลานที่จะมากินนก 5) น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำฝนหรือน้ำประปา […]

Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น

ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.