กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

Trosten Floating Sauna แช่ซาวน่าลอยน้ำในวันที่หนาวเย็น ใจกลางเมืองออสโล

ในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ที่มีอากาศหนาวจับใจตลอดทั้งปี สุขใดเล่าจะเท่าการเข้าห้องซาวน่าร้อนๆ แล้วดูวิวเมืองสวยๆ ไปด้วย ‘Trosten Floating Sauna’ คือซาวน่าลอยน้ำใน Oslofjord (ออสโลฟยอร์ด) อ่าวน้ำใจกลางเมืองออสโล โดยคำว่า ‘Trosten’ ในชื่อ เป็นคำภาษานอร์เวย์หมายถึงนกวงศ์เดินดง (Thrush) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความโชคดีของคนที่นี่ ซาวน่านี้ออกแบบโดย estudio Herreros สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากสเปน ผู้เคยสร้างสรรค์ ‘พิพิธภัณฑ์ Munch’ ตึกสีเทาหลังโตที่ตั้งตระหง่านริมน้ำไม่ไกลกัน ตัวอาคารซาวน่าโดดเด่นด้วยรูปทรงยอดแหลมสองฝั่งดั่งปีกนก และผิวอาคารที่กรุด้วยแผ่นอะลูมิเนียมสีเขียวอ่อนงามตา ฝั่งหนึ่งของอาคารเป็นอัฒจันทร์ให้ผู้คนนั่งเล่นชมวิวเมือง หรือใช้จัดอีเวนต์ก็เหมาะ ภายในอาคารคือห้องซาวน่าที่ออกแบบให้คนนั่งวีลแชร์ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย พื้นไม่มีการปรับระดับ ทางเดินมีขนาดกว้างขวางพอให้รถเข็นเข้าออกได้ และในการออกแบบยังคำนึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ เช่น การปูพื้นด้วยกระเบื้องหินล้าง (Terrazzo) ขนาดใหญ่ที่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บอุณหภูมิ ทำให้ไม่เปลืองพลังงานความร้อน หรือการกรุผิวอาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียมรีไซเคิล Trosten Floating Sauna เป็นหนึ่งในซาวน่าลอยน้ำหลายหลังจาก ‘Oslo Sauna Association’ ที่มาพร้อมเป้าหมายคือการนำ ‘ซาวน่าใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น’ ซึ่งซาวน่าจาก estudio Herreros เป็นตัวอย่างที่ฉายภาพฝันขององค์กรได้ดีทีเดียว ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงคนพิการ […]

ชวนนักออกแบบคิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน ส่งประกวดเวที AYDA AWARDS 2024 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2567

AYDA Awards 2024 เป็นเวทีที่ ‘นิปปอนเพนต์’ เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้โชว์ทักษะการออกแบบ และสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงกับนักออกแบบชั้นนำของประเทศและเอเชีย นับเป็นปีที่ 17 ของเวทีนี้แล้วที่เปิดรับสมัครเหล่านักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน มาโชว์ศักยภาพและแสดงความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ Converge : Glocal Design Solutions หรือ การรวมกันเป็นหนึ่งจากแนวคิดวิถีท้องถิ่นสู่ระดับโลก ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท พร้อมโปรแกรมออกแบบ Sketchup Studio Education Software 2024 เป็นเวลา 1 ปี และโอกาสสำคัญในการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันในงาน AYDA Awards International Summit ที่ประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับเอเชีย จะได้เข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการออกแบบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา […]

‘AWHERENESS’ นำเสนอสถาปัตยกรรม 5 ย่านในกรุงเทพฯ ผ่านการแปลง ‘สัมผัส’ เป็น ‘ระบบภาษา’

ประสบการณ์ในชีวิตของคนเราประกอบขึ้นจากการประมวลผล 5 ประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน แล้วทำไมการนำเสนอสถาปัตยกรรมถึงหยุดอยู่แค่การนำเสนอผ่าน ‘รูป’ เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่และมองหาความเป็นไปได้ในการพรีเซนต์การออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต สี่พี่ติวสถาปัตย์จาก Artstudio ได้แก่ เรืองวิทย์ วีระพงษ์ (@tunascientifica), พิริยวรรษ ลันสุชีพ (@flulululuke), สิรวิชญ์ ศิริชัยพันธุ์ (@sirawich_om) และลภัสรฎา ปั้นดี (@lprdd) ได้มารวมกันในชื่อ ‘V/AD B/SUAL Team’ (อ่านว่าวิแอดไบชวล) ที่ผวนมาจากคำว่า Visual Bias การรวมตัวกันในครั้งนี้เป็นไปเพื่อส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ASA Experimental Design Competition 2024 พร้อมๆ กับน้องติว เพื่อนำผลงานมาเป็นตัวอย่างประกอบการสอน ให้น้องๆ ได้ดูเรื่องของวิธีการคิด การตีความโจทย์ และการหาไอเดีย ไปจนถึงการวางแผนทำเพลตนำเสนอ และเทคนิคการใช้โปรแกรมต่างๆ  เกิดเป็นการปฏิวัติการนำเสนอสถาปัตยกรรมจาก Architectural Visualization แบบเดิมๆ มาเป็น Architectural Sensualisation ที่นำเสนอสถาปัตยกรรมผ่านสัมผัสทั้ง 5 จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ […]

ส่องเทรนด์การออกแบบ ยกระดับสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’67 (Architect’24) วันนี้ – 5 พ.ค. 67 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กลับมาอีกครั้งกับงานที่เหล่านักออกแบบและสถาปนิกไม่ควรพลาด ‘สถาปนิก’67 (Architect’24)’ งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 36 ในธีม ‘Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์’ จุดประสงค์ของงานนี้คือ การมุ่งหวังสร้างการรับรู้ให้ผู้คนได้สัมผัส และเข้าใจงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ไร้ขอบเขตให้มากขึ้น และต่อยอดให้เกิดความเคลื่อนไหว (Movement) ที่ดีในสังคมและอนาคตร่วมกัน ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าและบริการด้านงานออกแบบ วัสดุก่อสร้าง การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรม ที่ครอบคลุมตั้งแต่สินค้านวัตกรรมความปลอดภัย ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และความยั่งยืน เพื่อตอบรับกับเทรนด์งานออกแบบสถาปัตยกรรมของปีนี้และอนาคต มากไปกว่านั้น งานนี้ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้อัปเดตเทรนด์ความรู้ ผ่านเวทีเสวนา ASA International Forum ในวันที่ 4 – 5 พฤษภาคม 2567 ที่จะเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ มาร่วมถอดรหัสวิพากษ์ภาษาสถาปัตยกรรมผ่านภูมิภาคนิยม (Critical Regionalism in Architecture) จากแนวคิดและผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับสากลของสถาปนิกไทยและต่างชาติ รวมไปถึงการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 22 ชาติ รวมประเทศไทย จากสภาสถาปนิกแห่งเอเชีย (Architects Regional Council […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

เสวนาหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ พร้อมชมนิทรรศการชิ้นงาน 365 ภาพ วันที่ 27 เม.ย. 67 ที่ G-OLD HOUSE คลองสาน

ใครที่อ่านหนังสือ ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ แล้ว หรือเป็นแฟนคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ เพจ Urban Creature หรือกระทั่งสนใจเรื่องเมืองๆ กับไอเดียการดีไอวายสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่าลืมมาพบกับ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Everyday Architect Design Studio ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ #สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด เพราะงานนี้ ชัชจะมาเปิดวงสนทนาพูดคุยถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์นี้ และไอเดียการริเริ่มเก็บภาพสิ่งของเรี่ยราดจนครบ 365 ภาพภายในหนึ่งปี จนออกมาเป็นหนังสือให้อ่านกัน โดยมี ‘เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา’ ผู้ดูแลคอนเทนต์จาก Urban Creature ร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังชมผลงาน 365 ภาพจากนิทรรศการ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ที่เคยจัดแสดงไปก่อนหน้านี้ในช่วง Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา ในรูปแบบของ Soft Launch แบบกันเองๆ ใครที่สนใจฟังเสวนาหนังสือหรืออยากชมนิทรรศการอีกครั้ง […]

ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.