สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

‘เดินหลงในดงดอก’ เจอคน เจอดอก และชีวิตปากคลองตลาด

เดินหลงในปากคลองตลาด เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต ดอมดมกลิ่นดอกไม้ ตามหารูปถ่ายมนุษย์ปากคลอง และล่า AR ดอกไม้ฟูฟ่องตามจุดต่างๆ ที่กระจายทั่วตลาด แน่นอนว่าเราไม่พลาดไปเดินหลงมาแล้ว (หลงจริงนะไม่ได้พูดเล่น) แล้วมาดูกันสิว่า ทุกคนจะหลงทาง และหลงรักปากคลองตลาดเหมือนที่เราไปมาหรือเปล่า

9 แกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์สุดเจ๋ง ใจกลางเมืองย่านปทุมวัน

เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมกับ Pathumwan Art Routes (PARs Project) หรือจะเรียกเล่นๆ แบบคนสนิทว่า ‘PARs’ ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 9 แหล่งรวมผลงานศิลปะเจ๋งๆ ใจกลางปทุมวัน สามย่าน และบรรทัดทอง

Jean Jullien ศิลปินแดนน้ำหอมชื่อก้องโลกผู้รักการวาดภาพตลกร้าย

ทำความรู้จัก ‘ฌอง จูเลียง’ นักวาดภาพประกอบและศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างแรงบันดาลใจสนุกๆ ผ่านลายเส้นซุกซน

‘ไถจง’ เมืองที่ออกแบบให้คนใช้ชีวิตนอกบ้าน

ไถจง (台中) คือเมืองแห่งอุตสาหกรรมและศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับสามของเกาะไต้หวัน ตั้งอยู่ภาคกลางของเกาะ และเป็นที่ที่หากใครจะไปเที่ยว Sun Moon Lake ทะเลสาบสีมรกตสุดฮิตก็ต้องมาแวะที่นี่ก่อน แต่ถ้าได้ใช้เวลาทำความรู้จักไถจงเพิ่มสักวันสองวัน เดินเล่นในย่านใจกลางเมืองและแวะดูพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Spaces) ที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะกันแล้ว จะพบว่าไถจงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้เราได้เก็บแรงบันดาลใจกลับไปเต็มกระบุง

1 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.