The Great Galleria of Luck ดูงานศิลปะและเสริมพลังมงคลรับตรุษจีนที่ centralwOrld

ตรุษจีนปีนี้ ไปดูงานศิลปะและรับพลังมงคลด้วยกันไหม?  เมื่อใกล้ถึง ‘เทศกาลตรุษจีน’ เรามักจะเห็นร้านค้า ร้านอาหาร และสถานที่ต่างๆ ตกแต่งด้วยโคมไฟสีแดง ป้ายคำอวยพรภาษาจีน และสัญลักษณ์แห่งโชคลาภสีแดงและสีทอง เพื่อสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของประเพณีนี้ สำหรับปีนี้ หากใครอยากสัมผัสบรรยากาศวันตรุษจีนแบบใหม่ เราขอพาทุกคนไปฉลองต้อนรับเทศกาลตรุษจีนอย่างยิ่งใหญ่ กับแคมเปญ “2022 POWER OF THE GREAT TIGER ขาลรับพลังโชคดี สุขอินฟินิตี้ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล” เปิดประสบการณ์ฉลองตรุษจีนในรูปแบบ ‘Digital Lifestyle x Art Exhibition’ ที่ผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับงานแสดงศิลปะ เปลี่ยนศูนย์การค้าให้เป็น The Great Galleria of Luck สร้าง Art & Cultural Landmark ฉีกกรอบการตกแต่งแบบเดิมๆ โดยผสมผสานเทคโนโลยี ศิลปะ และโหราศาสตร์เข้าด้วยกันที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แลนด์มาร์กตรุษจีนแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ  ความพิเศษแบบคูณสองคือตรุษจีนปีนี้ตรงกับโอกาสที่เซ็นทรัลพัฒนาครบรอบ 40 ปี ทางศูนย์การค้าเซ็นทรัลจึงจัดไฮไลต์พิเศษต้อนรับปีเสือ ชวน ‘หมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา’ ซินแสชื่อดัง และ […]

‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

The Female Gaze นิทรรศการโปสเตอร์หนังที่ออกแบบผ่านสายตาผู้หญิง

ในโลกนี้มีอุตสาหกรรมและสายงานที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายอยู่จำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ เห็นได้ตั้งแต่ผู้กำกับ ตากล้อง และทีมโปรดักชัน มากไปกว่านั้นบนเวทีรางวัลน้อยใหญ่คณะกรรมการก็มักเป็นผู้ชาย และถ้าสังเกตสักหน่อยคุณคงเห็นผู้ได้รับรางวัลที่มักเป็นผู้ชายด้วยเช่นเดียวกัน วงการคนทำงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์เองก็ไม่ต่างกัน ถ้าไปไล่ดูรายชื่อนักออกแบบบรรดาโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งฟอร์มใหญ่ฟอร์มเล็กที่ผ่านๆ มา จะพบว่านักออกแบบมักเป็นผู้ชายเสียส่วนมาก บวกกับด้วยความที่นักออกแบบชายยึดสนามงานนี้มาอย่างเนิ่นนาน ทำให้นักออกแบบหญิงมักถูกละเลยมองข้ามไป Eileen Steinbach หรือที่รู้จักในชื่อ SG Posters นักออกแบบและนักวาดภาพประกอบจากเยอรมนีที่มีลูกค้าตั้งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์อินดี้ไปถึงสตูดิโอใหญ่ๆ อย่าง Disney และ Pixar ทั้งยังคลุกคลีกับคอมมูนิตี้ศิลปินคนอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นประจำ จึงคิดไอเดียทำโปรเจกต์โปสเตอร์ภาพยนตร์ชื่อ THE FEMALE GAZE ขึ้น เธอเล่าว่าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ได้เข้ามาในคอมมูนิตี้คนทำโปสเตอร์ภาพยนตร์ เธอเจอนักออกแบบผู้หญิงน้อยมาก อีกนัยหนึ่งคือสายงานนี้เป็นสนามที่ผู้ชายครอบงำ จนเมื่อไม่นานมานี้ เธอได้เห็นผู้หญิงเริ่มเข้ามาทำงานในสายงานนี้มากขึ้น “มันเป็นความรู้สึกดีจริงๆ ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดก็จุดประกายฉันให้เกิดไอเดียโปรเจกต์โปสเตอร์นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองให้ศิลปินเจ๋งๆ เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าผู้หญิงผู้แข็งแกร่งในโลกภาพยนตร์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังกล้อง” THE FEMALE GAZE คือโปรเจกต์ออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบผู้หญิงส่งผลงานออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ (ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ที่ตัวเอกเป็นผู้หญิง) มาจัดแสดงในเว็บไซต์ poster-project.com พร้อมกับคำอธิบายถึงตัวเองและช่องทางในการติดต่อ แม้จำนวนโปสเตอร์ภาพยนตร์จะยังไม่เยอะมากนัก […]

สำรวจสถานการณ์บ้านเมือง ผ่านเสียงคนทำสิ่งพิมพ์ Bangkok Art Book Fair 2021

หลังจากที่กรุงเทพฯ ห่างหายจากการเป็นเมืองอีเวนต์มาเนิ่นนานจากโรคระบาดที่กินเวลาเป็นหลักปี จนมาถึงช่วงนี้ที่กลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง งานต่างๆ ก็เริ่มทยอยกลับมาจัดกันอย่างคึกคัก หนึ่งในนั้นคือเทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Art Book Fair (BKKABF 2021) ที่เราแสนคิดถึง เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา BKKABF 2021 ได้กลับมาจัดแบบออนไซต์แล้วหลังจากย้ายไปจัดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เมื่อปีก่อน ครั้งนี้ถือเป็นปีที่ 4 แล้วที่เทศกาลหนังสือศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในไทยจัดงานต่อเนื่องกันมา  นอกจากจะแปลกตากับการขยายพื้นที่จัดงานไปสู่ด้านนอกอาคารของสถานที่จัดงานอย่าง Bangkok CityCity Gallery แล้ว ในงานยังอบอวลไปด้วยสถานการณ์การเมืองภายใต้ธีม ‘DON’T KEEP YOUR DREAM AT HOME’ ที่ทางแกลเลอรีมอบพื้นที่ให้ Exhibitor ตั้งคำถามและท้าทายประเด็นร่วมสมัยต่างๆ ทั้งเชิงสังคมและการเมือง ส่วนใครที่พลาดโอกาสไป ไม่ต้องเสียดาย เราไปทัวร์และคัด 5 เรื่องที่น่าสนใจมาให้ทุกคนเที่ยวทิพย์แล้ว ปีหน้าอย่าลืมปักหมุดมาเจอกันนะ! 1. ซัปพอร์ตสิ่งพิมพ์เพื่อประชาธิปไตย What is happening in Thailand Illustration […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

FYI

PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra อนาคตแห่งการอยู่อาศัย ในวันที่โลกหมุนไปไม่หยุด

ปัจจุบันโลกของเรากำลังผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนด้วยอัตราเร่งที่เร็วกว่าครั้งไหน แม้สถานการณ์โลกมีแนวโน้มจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ แต่รูปแบบการใช้ชีวิตของเราได้เปลี่ยนไปเรียบร้อยและหน้าตาของที่อยู่อาศัยก็กำลังจะเปลี่ยนตามไปด้วย  บ้านสำหรับอนาคตอาจจะเปรียบได้กับผืนผ้าใบสีขาว ที่พร้อมให้เราแต่งแต้มและสะบัดแนวทางการใช้ชีวิตลงไปเติมเต็มให้สมบูรณ์ PROVIDENCE LANE Ekkamai-Ramintra คือโครงการบ้านระดับลักซูรี ที่นำเสนอความเป็นตัวเองออกมาเป็นอันดับแรก ลดทอนทุกส่วนที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างสำหรับทุกจินตนาการและพร้อมสำหรับทุกความเป็นไปได้ในอนาคต  Translucent Design อนาคตบ้านคือที่ทำงานของเรา  ต้นไม้กระถางเล็กที่มุมโต๊ะไว้เติมสีเขียว ข้างๆ กันมีรูปจากทริปผจญภัยครั้งล่าสุดไว้กระตุ้นความโปรดักทีฟ ถัดไปมีโปสเตอร์หนังโรแมนติก-คอเมดี้ไว้เติมกำลังใจหลังมีตติ้งรอบบ่ายอันหนักหน่วง ก่อนจะต้องฝ่ารถติดออกไปสนทนาภาษาธุรกิจระหว่างมื้อเย็นใจกลางเมือง  ย้อนกลับไปราวสองปีที่แล้วเราคุ้นกับการปรับสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นมิตรกับตัวเองมากที่สุด แต่เมื่อเวลาหมุนไปชีวิตก็ไม่ได้ผูกติดอยู่ที่ออฟฟิศอีกแล้ว การทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น Work from Home จะเป็นเทรนด์สำคัญในอนาคตที่จะกลายเป็นความปกติใหม่และอยู่กับเราไปอีกนาน  งานวิจัยหลายชิ้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการทำงานอยู่ที่บ้านช่วยกระตุ้นให้กระตือรือร้นและจดจ่อกับงานได้มากขึ้น แต่มีข้อเสียคือทำให้ชีวิตทางสังคมหายไป หลายบริษัทจึงเลือกที่จะทำงานแบบไฮบริด คือเข้าออฟฟิศมาเจอกันบ้างแต่จะอาศัยการทำงานที่บ้านเป็นหลัก ทีนี้เมื่อการทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น แทนที่จะแต่งแค่โต๊ะหรือห้องทำงานส่วนตัว เรามีบ้านทั้งหลังไว้คอยรองรับไอเดียที่เอ่อล้นอยู่เต็มหัว บ้านที่ดีจึงต้องพร้อมที่จะตอบรับทุกฟังก์ชันการใช้งานในอนาคตตามไปด้วย  ตอบอีเมลรอบเช้าที่ Café Area กับกาแฟร้อนหอมกรุ่น ประชุมรอบสายในพื้นที่ส่วนตัวเพื่อขับสมาธิให้พุ่งถึงขีดสุด PROVIDENCE LANE ออกแบบอย่างสอดคล้องให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ก็ไม่ละทิ้งสุนทรียะของผู้อยู่อาศัย เรียกได้ว่าคุณสามารถปรับสมดุลชีวิตให้คล่องแคล่วไม่ติดขัด และเพลิดเพลินกับการอยู่บ้านไปได้พร้อมกัน  เพราะใช้ปรัชญาการออกแบบที่ลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปทั้งหมด จนสามารถสร้างสรรค์การใช้งานที่เหมาะกับตัวเองได้ทันที มีพื้นที่การใช้งานที่เชื่อมทะลุถึงกัน เพื่อกระชับมิตรสังคมภายในบ้านให้แน่นแฟ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่มากและเพียงพอสำหรับการแยกกันทำงาน และเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างอิสระตามคอนเซปต์ Defining Me ที่สะท้อนถึงตัวตนของเราได้ในทุกตารางเมตร  […]

Little Amal หุ่นเชิดเด็กหญิงชาวซีเรีย เดินทางข้ามยุโรปถึงอังกฤษ เพื่อสะท้อนปัญหาผู้ลี้ภัยเด็ก

วิกฤตผู้ลี้ภัยคือปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะ ‘ผู้ลี้ภัยเด็กและเยาวชน’ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องอพยพไปยังประเทศอื่นๆ ทำให้พวกเขากลายเป็นพลเมืองชั้นสอง (หรือสาม) ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย และไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในประเทศนั้นๆ ได้ องค์กรต่างๆ จึงพยายามสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นอ่อนไหวนี้ เพื่อให้ผู้คนรับรู้ เข้าใจ และยื่นมือเข้าไปช่วยเด็กที่ได้รับผลกระทบมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่ใช้ก็คือการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านศิลปะ อย่างเช่น หุ่นเชิด หุ่นเชิดตัวนี้มีชื่อว่า ‘Little Amal’ เด็กหญิงสัญชาติซีเรีย อายุ 9 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ ‘The Walk’ ที่จัดขึ้นโดย Good Chance องค์กรอิสระที่ทำงานด้านการแสดง ร่วมกับศิลปินจากทั่วโลก เพื่อสะท้อนปัญหาผู้ลี้ภัยเด็กและเยาวชน และทำให้แน่ใจว่า โลกจะไม่ลืมเด็กหลายล้านคนที่ต้องอพยพออกจากประเทศบ้านเกิด เนื่องจากวิกฤตทางการเมือง สงคราม ความรุนแรง ความยากจน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ Little Amal เป็นผลงานศิลปะที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ เพราะหุ่นเชิดสูง 3.5 เมตรตัวนี้สามารถเคลื่อนไหวได้จริงๆ โดยการสวมทับหุ่นลงบนตัวคนเพื่อควบคุมการเดิน ส่วนมือและใบหน้าก็มีคนคอยเชิดอยู่ด้านข้างคล้ายหุ่นกระบอก ทำให้หุ่นเชิดตัวนี้เหมือนมีชีวิตจริงๆ และกลายเป็นจุดสนใจของผู้พบเห็นทั่วไป ซึ่งผู้ออกแบบและสร้างหุ่นเชิดตัวนี้ก็คือ Handspring Puppet Company บริษัทด้านการแสดงและออกแบบหุ่นกระบอกจากแอฟริกาใต้ […]

ทางม้าลายเปลี่ยนไป Yinka Ilori เติมสีให้ถนนลอนดอนสนุก

ทางม้าลายลอนดอนเปลี่ยนไป๋ เมื่อ Yinka Ilori ดีไซเนอร์หนุ่มชื่อดังตัดสินใจพลิกโฉมทางม้าลายธรรมด๊า ธรรมดา 18 แห่งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เต็มไปด้วยสีสัน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประจำปีอย่าง London Design Festival ปี 2021  Ilori ได้ลงมือเปลี่ยนแปลงแถบสีขาวและดำบริเวณทางแยก 11 แห่งบนถนน Tottenham Court ย่านใจกลางลอนดอนให้เต็มไปด้วยความสดใส ซึ่งแต่งแต้มด้วยสีน้ำเงิน ส้ม ชมพู ม่วง และเขียว นอกจากนี้ นักออกแบบหนุ่มยังได้แท็กทีมกับนักศึกษาจาก University of the Arts London เพื่อออกแบบทางแยกอีก 7 แห่ง โดยมีอาสาสมัครใจดีมาช่วยทาสีต่างๆ อย่างเต็มใจ ซึ่งแยกเจ็ดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ Queen Street นอกสำนักงานใหญ่ของ Bloomberg บริษัทผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ  โปรเจกต์สุดน่ารักนี้เรียกว่า Bring London Together ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสุขสันต์ให้กับชาวเมืองลอนดอนหลายพันคนที่ใช้ท้องถนนทุกๆ วัน งานศิลปะแสนสนุกบนถนนในซีรีส์นี้ ไม่ได้มีแค่ทางเท้าหลากเฉดสีของ Ilori […]

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

อีสานซิ่ง เมื่อคนอีสานใช้ศิลปะเล่าว่าบ้านเฮามีดี

วิถีชีวิตอีสานไม่ได้เท่ากับความแร้นแค้นอีกต่อไป เมื่อคอมมูนิตี้และกิจกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ กำลังผุดขึ้นมาในภูมิภาคเป็นดอกเห็ด ซึ่งให้ทั้งความรู้สึกม่วนอีหลี (สนุกจริงๆ) น่าสนใจ และยังมีตัวเลือกการเสพที่หลากหลาย  เห็นแล้วมันมีแฮง (ชื่นใจ) เพราะล่าสุดชุมชนคนอีสานรุ่นใหม่จับมือกับ TCDC จังหวัดขอนแก่น จัดงาน Isan Creative Festival 2021 อีสานโคตรซิ่ง เทศกาลสร้างสรรค์ของคนในภูมิภาคที่ปรุงรสงานเทศกาลจนออกมาแซ่บอีหลีเด้อ โดยเฉพาะ Weaving Factory หนึ่งในนิทรรศการหลัก ฝีมือกลุ่ม FOUNDISAN ที่ถ่ายทอดงานสิ่งทอและงานจักสานภูมิปัญญาชาวท้องถิ่น ผ่านมุมมองความรักในรูปแบบต่างๆ ของคนในชุมชนตัวเอง กลุ่ม FOUNDISAN ก่อตั้งปี 2560 มีสมาชิกตั้งต้นเป็นคนรุ่นใหม่ 3 คน ได้แก่ ‘อีฟ-ณัฐธิดา พะศักดิ์’ สาวอุบลฯ เจ้าของ Zao (ซาว) ร้านอาหารอีสานรสนัวที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล, ‘ตั้ว-พุฒิพงษ์ พิจิตร์’ ดีไซเนอร์มืออาชีพจากกรุงเทพฯ และ ‘พลัง-วรพัฒน์ ดวงศร’ ลูกศิษย์ของอีฟ ซึ่งทั้งสามคนได้ทำงานร่วมกับบรรดาแม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญงานหัตถกรรมทั่วทั้งอีสาน ด้วยการผลักดันงานคราฟต์และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีคุณค่าสูง และไปต่อได้ไกลในแง่โอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ […]

RIP ร่วมวางดอกไม้จันทน์ให้ตัวละครที่ตายจากมังงะเรื่องโปรด ณ สุสานในนิทรรศการ 2 D Afterlife

‘2 D Afterlife’ นิทรรศการจากศิลปนิพนธ์ของ จิณห์นิภา นิวาศะบุตร ผู้จัดงานไว้อาลัยให้การ์ตูนตัวโปรดที่ตายเป็นงานศิลปะ

‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า

คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น  ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ  ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี  ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน  “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.