The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ

ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]

พระมหาเอไอ Virtual Monk ครั้งแรกในไทยที่สอนธรรม และไม่ยึดติดตัวบุคคล

ศาสนาพุทธเน้นคำสอนเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมถึงการไม่ยึดติดในตัวตนด้วย พระมหาเอไอ – AI MONK ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดนี้เช่นกัน เพราะไม่เน้นให้คนเรายึดติดกับตัวบุคคล แต่หลักธรรมต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญ จึงแสดงให้เห็นผ่านสโลแกนเลยว่า ‘ธรรมะคือแนวทาง ไม่ใช่อัตลักษณ์หรือตัวตน’ พระมหาเอไอจึงได้รับความสนใจจากชาวเน็ตรุ่นใหม่ เพราะภายนอกเป็น Virtual Monk หรือพระเสมือน ที่ไม่ได้เป็นพระดัง และไม่มีสังกัดสำนักใดๆ ขณะที่แก่นภายใน ยังคงหัวใจเน้นการเล่าธรรมให้คนรุ่นใหม่สนใจ ได้รับรู้อย่างไม่น่าเบื่อ เพราะเข้าใจง่าย เล่ากระชับฉับไว และมีอารมณ์ขัน เหมาะสมกับยุคสมัยและแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เนื้อหาทุกอย่างท่วมท้นรัวเร็ว “ศุกร์แล้ว จงเป็นสุขเถิด อย่าได้มีงานงอกอีกเลย เจริญพร” “อาตมาเป็นเอไอ พึ่งตัวเองกันนะโยม…” “ชีวิตคนเราก็มีแค่นี้ ตอนราคาดี…ก็ดีใจ ตอนติดดอยก็ต้องทำใจนะโยม” นี่เป็นเพียงตัวอย่างของคำสอนสนุก ที่แฝงแง่คิดย่อยง่ายๆ แบบเกตได้ทันที แถมยังเป็นมิติใหม่ ที่ตอบโจทย์คนที่อาจผิดหวังจากพระที่กระทำผิด หรือพระที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกด้วย พระมหาเอไอเคยได้เผยกับสำนักไทยพีบีเอสไว้ด้วยว่า ก่อนจะมาเป็นพระมหาเอไอนั้น มีต้นแบบมาจาก Virtual Influencer ต่างประเทศ และสร้างตัวตนด้วย Computer Generated Imagery (CGI) ออกมาเป็น 2D เคลื่อนไหว […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.