อ่านหนังสือยังไงให้น่ารักสดใสสุดๆ ที่คั่นหนังสือลายดอกไม้จาก Reviv ฝีมือชาวม้ง ผลิตจากวัสดุผ้าอัพไซเคิล

หลังจากที่เราเคยนำเสนอที่คั่นหนังสือจากเศษผ้าฝีมือชาวม้งไปแล้ว ครั้งนี้ Reviv กลับมาอีกครั้งกับที่คั่นหนังสือลายใหม่ ‘ลายดอกไม้’ ที่มาพร้อม ‘โลโก้ Reviv’ ลวดลายสวยงาม ในคู่สีสดใส ชวนให้อยากหยิบมาคั่นหนังสือเล่มโปรด และต้อนรับขบวนงานหนังสือเล็กใหญ่ที่กำลังมาถึงนี้ และเหมือนเดิม ที่คั่นหนังสือคอลเลกชันนี้ก็เป็นฝีมือของน้องๆ และแม่ๆ ชาวม้งที่ปักและแมตช์คู่สีด้วยตัวเอง เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ออกมาเป็นโปรดักต์น่ารักๆ ที่จะทำให้การอ่านของเรารื่นรมย์ขึ้น แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วยเนื่องจากผลิตจากวัสดุเศษผ้าส่วนเกิน (surplus fabric) และปักเย็บด้วยเทคนิค Cross Stitch ซึ่งบางลายจะมีเพียง 1 ชิ้นในโลกเท่านั้น ที่คั่นหนังสือลายดอกไม้มีขนาด 4 x 11 เซนติเมตร เหมาะกับหนังสือขนาดพ็อกเกตบุ๊กที่พกพาสะดวก แถมมีหลายสีให้เลือกสรร ราคาชิ้นละ 189 บาท โดยรายได้ 40 – 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายจะนำไปแบ่งให้ช่างตัดเย็บแม่ๆ ชาวม้ง ตรงตามเจตนารมณ์ของ Reviv ที่ต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นยั่งยืนซึ่งมาพร้อมรายได้ที่เป็นธรรม นอกจากที่คั่นหนังสือแล้ว Reviv ยังมีโปรดักต์รักษ์โลกอื่นๆ ที่น่าสนใจและใช้งานได้ทุกวันอีกด้วย ตามไปอุดหนุนกันได้ที่ shop.line.me/@reviv_shop/product/1005392866

ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลกับโครงการ Upcycling Design Project ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท

‘คาเฟ่ อเมซอน’ ชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสนใจงานดีไซน์ ร่วมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล กับโครงการ ‘Upcycling Design Project’ เพื่อใช้ต่อยอดเป็นสินค้าสำหรับจำหน่ายในร้านคาเฟ่ อเมซอน และชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้เป็น Co-Partner ร่วมกับร้านคาเฟ่ อเมซอน เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการ ‘Upcycling Upstyling by GC’ ต่อไป พร้อมโอกาสพัฒนาผลงานร่วมกับดีไซเนอร์แฟชั่นแถวหน้าของประเทศไทย รายละเอียดเงินรางวัลมีดังนี้ – รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ผู้สนใจ ส่งใบสมัครโครงการ […]

ตกแต่งออฟฟิศให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วย Parthos เสาปูนดูดซับเสียง ทำจากเศษผ้าและพลาสติกรีไซเคิล 

Narbutas แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สำหรับสำนักงานได้เปิดตัวเสาปูนดูดซับเสียงชื่อ ‘Parthos’ ลงในคอลเลกชันเฟอร์นิเจอร์ดูดซับเสียง นอกจากความแปลกใหม่ของการใช้งานแล้ว Parthos ยังถูกออกแบบให้เป็นของตกแต่งภายในสำนักงานที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับการออกแบบเสาปูนทรงมินิมอลนี้ Narbutas เลือกใช้เศษผ้าและการหุ้มภายนอกด้วยสักหลาด PET ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้การดูดซับเสียงนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Parthos มีความสูงให้เลือกทั้งหมด 3 ระดับ และสามารถใช้เป็นที่วางสิ่งของได้ เท่านั้นยังไม่พอ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งตัวเสาปูนให้เป็นแท่นชาร์จโทรศัพท์ หรือจะใช้เกี่ยวตะขอสำหรับแขวนเสื้อผ้าและกระเป๋าต่างๆ ได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้ Parthos ตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่หลากหลาย อีกทั้งยังควบคุมปริมาณเสียงในพื้นต่างๆ ได้อย่างดี ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่ารื่นรมย์และมีประสิทธิภาพ

เปลี่ยนจากเช็ดเป็นอ่าน ‘Kamasutree’ วรรณกรรมจากกระดาษทิชชูรีไซเคิล เพื่อให้คนรักต้นไม้มากกว่าเดิม

ในแต่ละวัน ต้นไม้จำนวนกว่าหนึ่งล้านต้นถูกตัดมาทำเป็นกระดาษชำระ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก Serious Tissues บริษัทผลิตกระดาษทิชชูที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ของสหราชอาณาจักร จึงหาวิธีเพื่อให้คนหันมารักต้นไม้กันมากขึ้น Serious Tissues ได้ร่วมมือกับเอเจนซี VMLY&R เปิดตัววรรณกรรม ‘Kamasutree’ หนังสือที่จะส่งต่อวิธีรักต้นไม้ 24 แบบ ผ่านข้อความและภาพประกอบโดย Serge Seidlitz นักวาดจากลอนดอน Kamasutree เป็นหนังสือการ์ตูนที่ทำขึ้นจากทิชชูจากกระดาษรีไซเคิล ที่ไม่เพียงแต่มีคาร์บอนที่เป็นกลางและปราศจากพลาสติกเท่านั้น แต่ทุกๆ ครั้งที่มีการขายทิชชูหนึ่งม้วน ทาง Serious Tissues จะปลูกต้นไม้ทดแทนขึ้นหนึ่งต้นด้วย และในปัจจุบันได้มีการปลูกต้นไม้ไปแล้ว 1.7 ล้านต้นตั้งแต่ริเริ่มโครงการ หรือเทียบเท่าสวนสาธารณะไฮด์ปาร์กในลอนดอนถึง 6 แห่งเลยทีเดียว สำหรับการเปิดตัวโปรเจกต์นี้ Kamasutree ถูกพิมพ์ออกมาแบบ Special Edition จำนวน 69 เล่ม จัดทำขึ้นเพื่อมอบให้อินฟลูเอนเซอร์และลูกค้าที่ลุ้นรับได้ทาง Instagram ของแบรนด์ โดยจะเปิดให้อ่านแบบดิจิทัลบนเว็บไซต์ของ Serious Tissues ในรูปแบบ E-Book ด้วย […]

สำรวจการจัดการขยะใน 6 เมืองใหญ่กับนิทรรศการภาพถ่าย Wasteland ที่สวนลุมพินี วันนี้ – 25 ต.ค. 65

‘ขยะ’ ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อประหยัดงบประมาณกำจัดขยะและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากจะต้องจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ประเทศต่างๆ ยังจำเป็นต้องหาทางลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นในแต่ละปี เพื่อฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อไปด้วย เพราะเชื่อว่าปัญหาขยะคือเรื่องของทุกคน จึงเป็นที่มาของ Wasteland นิทรรศการภาพถ่ายของคาเดีย ฟัน โลฮูสเซิน (Kadir van Lohuizen) ช่างภาพข่าวแนวสารคดีชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั้งที่ถูกวิธีและไม่ถูกวิธี ผ่านชุดภาพถ่ายจาก 6 เมืองใหญ่ของโลก ได้แก่ จาการ์ตา โตเกียว ลากอส นิวยอร์ก เซาเปาโล และอัมสเตอร์ดัม ระหว่างที่ทำโปรเจกต์นี้ คาเดียได้ค้นพบว่า ประชากรโลกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การอุปโภคบริโภคจึงเพิ่มสูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือปริมาณขยะถูกสร้างขึ้นมากกว่าที่เคย ที่น่าสนใจก็คือ ภาพถ่ายชุดนี้ยังนำเสนอมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขยะของแต่ละเมือง เช่น การเผาขยะ การฝังกลบ ขยะอาหาร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คาเดียหวังว่า Wasteland จะสร้างความตระหนักเรื่องปัญหาขยะที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับขยะ และร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเสียที ใครสนใจเยี่ยมชมนิทรรศการ Wasteland ได้ฟรี ที่ลานตะวันยิ้ม สวนลุมพินี ตั้งแต่วันนี้ – 25 […]

รู้จักเทคโนโลยี Spray-on Fabric สร้างชุดจากสเปรย์เส้นใยผ้า ที่ซัก ใส่ และรีไซเคิลได้ไม่รู้จบ

กลายเป็นไวรัลชั่วข้ามคืนหลังจากที่แบรนด์ ‘Coperni’ ได้แสดงแฟชั่นโชว์คอลเลกชันฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน ปี 2023 โดยมีนางแบบสาว ‘เบลล่า ฮาดิด’ ร่วมเดินรันเวย์ในลุคกึ่งเปลือยเปล่า ก่อนมีทีมงานใช้สเปรย์สีขาวพ่นตัวเธอจนได้ออกมาเป็นชุดเดรสสีขาวพอดีตัว ความฮือฮาในครั้งนี้เป็นผลลัพธ์ของการร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ Coperni และบริษัท ‘Fabrican’ ที่นำเอานวัตกรรมในการสร้างเส้นใยผ้าด้วยการฉีดสเปรย์ด้วยเทคโนโลยี ‘Spray-on Fabric’ มาใช้รังสรรค์เสื้อผ้าให้เห็นกันแบบชัดๆ ในระยะเวลาสั้นๆ บนรันเวย์ ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการแฟชั่นครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง Spray-on Fabric เกิดขึ้นโดย ‘Manel Torres’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสเปนผู้ก่อตั้ง Fabrican บริษัทที่มองหานวัตกรรมแห่งอนาคตเพื่อมายกระดับวงการแฟชั่น ให้สามารถสร้างวัสดุที่ไร้รอยต่อได้รวดเร็ว สะดวกสบาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการทำสเปรย์เส้นใยผ้าจากวัสดุธรรมชาติ อย่างเศษผ้าที่เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมแฟชั่น รวมไปถึงพลาสติกพอลิเมอร์ และเส้นใยสังเคราะห์อื่นๆ ก่อนนำส่วนผสมทั้งหมดมาผ่านกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์จนออกมาเป็นของเหลว อัดไว้ภายในกระป๋องสเปรย์ หากต้องการใช้ก็เพียงฉีดไปยังบริเวณที่ต้องการ เมื่อของเหลวสัมผัสกับอากาศภายนอกจะเกิดปฏิกิริยาสร้างเป็นพันธะเส้นใยเกาะติดบริเวณพื้นผิวนั้นๆ Torres กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้นักออกแบบและผู้บริโภคมีความยืดหยุ่นในการประดิษฐ์เสื้อผ้าหลากหลายประเภทได้ด้วยตัวเองมากขึ้นในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะในวงการแฟชั่น เนื่องจากเสื้อผ้าที่ทำจากเทคโนโลยี Spray-on Fabric เป็นวัสดุ Zero Waste สามารถซัก ใส่ซ้ำ และรีไซเคิลด้วยการละลายเพื่อนำกลับมาสร้างเป็นเสื้อผ้าในรูปแบบใหม่ได้แบบไม่รู้จบ นอกเหนือจากในวงการแฟชั่น Fabrican […]

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม

เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]

ไปรษณีย์ไทยเปิดไดรฟ์ทรู 18 จุดทั่วประเทศ รับบริจาคกล่องและซองพัสดุไม่ใช้แล้ว ผลิตชุดโต๊ะ-เก้าอี้ให้โรงเรียน ตชด.

สายช้อปปิงออนไลน์คงคุ้นเคยกับปัญหาบ้านรกและเต็มไปด้วยกล่อง ลัง และซองพัสดุหลายขนาด จะทิ้งก็เสียดายเพราะสภาพยังดีอยู่ แต่จะใช้ประโยชน์ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคน ส่งต่อกล่องและซองไม่ใช้แล้วร่วมแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX #3’ เพื่อรีไซเคิลเป็นโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไปรษณีย์ reBOX #3 คือโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของไปรษณีย์ไทย และ SCGP ภายใต้แนวคิด ‘reBOX to School’ เพื่อรับบริจาคกล่องและซองพัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของอะไรก็ได้ ไม่จำกัดยี่ห้อ หลังจากนั้นจะนำไปผลิตเป็นชุดโต๊ะและเก้าอี้กระดาษ และส่งมอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในช่วงปลายปีนี้ ความพิเศษของปีนี้ ไปรษณีย์ไทยเผยมิติใหม่ของการบริจาค เปิดตัวจุด Drive & Drop ที่ทำการไปรษณีย์ 18 แห่งทั่วไทย เพื่อเอื้อให้การบริจาคง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู สามเสนใน  2) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู หลักสี่  3) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลาดพร้าว  4) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลำลูกกา  5) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู มีนบุรี  6) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู บางพลี                         […]

‘เก็บกลับ-รีไซเคิล’ ไทยเบฟ ส่งต่อไออุ่นผ่านผ้าห่มจากขวดพลาสติกรีไซเคิลแก่ผู้ประสบภัยหนาว

ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน.ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด.โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆเพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม.ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว.โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% […]

Peterson Stoop แบรนด์ที่คืนชีพสนีกเกอร์เก่าให้เป็นรองเท้าคู่ใหม่

รองเท้าเก่าคือขยะแฟชั่นอีกหนึ่งชนิดที่ถูกทิ้งทุกวันจนแทบจะล้นโลก เพราะคนหนึ่งคนมีรองเท้ามากกว่าหนึ่งคู่ และไม่ใช่รองเท้าทุกคู่จะถูกใช้จนสิ้นอายุขัย บางคู่ถูกทิ้งก่อนเวลาอันควรเพราะชำรุด ค้างสต็อก หรือถูกส่งต่อด้วยการบริจาค การจะจัดการกับ ‘ขยะ’ รองเท้าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ‘Peterson Stoop’ แบรนด์รองเท้าในอัมสเตอร์ดัมเห็นปัญหานี้และอยากหาทางแก้ไข จึงนำรองเท้าเก่าไปชุบชีวิตใหม่ให้ออกมาเป็นรองเท้าดีไซน์เก๋ไม่ซ้ำใคร แม้ว่าจะทำรองเท้าเพราะต้องการช่วยลดขยะ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติที่สำคัญคือความแข็งแรง ทนทาน และใส่เดินได้ไม่ต่างจากรองเท้ามือหนึ่ง  Peterson Stoop ก่อตั้งในปี 2016 โดย Jelske Peterson และ Jarah Stoop 2 คู่หูที่ได้สะสมความรู้ในการทำรองเท้าและการเลือกวัสดุจากการทำงานที่ร้านซ่อมรองเท้าและโรงฟอกหนังมาแล้ว และได้รับการสนับสนุนจากช่างฝีมือและเด็กฝึกงานร่วมกันสร้างสรรค์รองเท้าขึ้นมา  พวกเขาตั้งใจที่จะหาทางออกและนำพาอุตสาหกรรมแฟชั่นไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น จึงร่วมมือกับบริษัทในฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญในการรวบรวม คัดแยก รีไซเคิลสิ่งทอและรองเท้าทุกประเภท เพราะในศูนย์คัดแยกขยะสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส จะมีการคัดแยกสิ่งทอและเสื้อผ้ากว่า 50 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นรองเท้าเหลือทิ้งไปแล้ว 5 ตัน จึงเป็นขุมทรัพย์ชั้นดีที่ Peterson Stoop สามารถเข้าไปเลือกรองเท้าสภาพดีเพื่อนำไปแปลงโฉมใหม่ได้เลย โดยพวกเขาจะเข้าไปช้อปรองเท้าจากโรงคัดแยก นำรองเท้าไปแยกโครงสร้างออกจากกัน แล้วสร้างรองเท้าขึ้นใหม่ด้วยวัสดุธรรมชาติ โดยใช้ไม้ก๊อกและหนังเป็นส่วนประกอบ และประกอบร่างขึ้นมาเป็นรองเท้าคู่ใหม่ในพื้นผิวที่แปลกตา โปรเจกต์ล่าสุดที่พวกเขาเปิด Pre-order อยู่ในขณะนี้คือรองเท้า PS SYNERGY […]

เดนมาร์กแปลงสภาพใบพัดกังหันลมเก่าเป็นโรงจอดจักรยานในท่าเรืออัลบอร์ก

เดนมาร์กใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอย่าง ‘พลังงานลม’ จนเห็นกังหันลมเป็นส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ในท้องถิ่นไปแล้ว ซึ่งเดนมาร์กมีแพลนผลักดันให้ได้พลังงานจากพลังงานลมถึง 70% ภายในปี 2030 จากเดิมอยู่ที่ 40% เท่านั้น เมื่อแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องของความยั่งยืน แต่คงไม่สมเหตุสมผลถ้าจะทิ้งใบกังหันลมแบบเสียเปล่า แน่นอนว่ามันมีอายุการใช้งานเพียง 20 ปีและไม่สามารถย่อยสลายเองได้ ปกติกังหันลมเก่าส่วนใหญ่ใช้การกำจัด 2 วิธี คือการฝังกลบและการเผา ซึ่งไม่ยั่งยืนเท่าไหร่นัก จึงเป็นโจทย์ให้รัฐบาลเดนมาร์กมองหาลู่ทางกำจัดใบพัดชิ้นใหญ่อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และ ‘การรีไซเคิล’ คือคำตอบในช่วงเวลานี้ ทำให้พวกเขามอบหมายหน้าที่ให้บริษัทรีไซเคิลหลายแห่ง เพื่อเฟ้นหาแนวทางการนำโครงสร้างโลหะอันมหึมานี้กลับมาใช้ใหม่  โดย Re-wind เป็นหนึ่งโครงการที่ได้รับการคัดเลือก หลังจากพวกเขาได้ตรวจสอบโครงสร้างพบว่าใบกังหันลมเอามาใช้ในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ทำให้พวกเขาต้องการเปลี่ยนกังหันลมให้เป็น ‘โรงจอดจักรยาน’  Brian D. Rasmussen ผู้ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างท่าเรือและดูแลสิ่งแวดล้อมท่าเรืออัลบอร์ก เล่าถึงการนำใบกังหันลมมาทำให้ฟังว่าช่วงแรกเป็นเรื่องยาก เพราะใบพัดถูกออกแบบมาเพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานให้ได้มากที่สุด มันจึงมีน้ำหนักมากกว่า 20 ตัน พวกเขาจึงตัดส่วนที่ไม่จำเป็นของใบพัดออกไป เช่น ส่วนล่างสุด และปลายใบพัด เพื่อลดน้ำหนักลงและดัดรูปทรงได้ง่ายขึ้น ก่อนจะให้ช่างฝีมือท้องถิ่นมาตีเหล็กตามแบบติดตั้งช่องจอดจักรยานก็พร้อมใช้งานเรียบร้อย โรงจอดจักรยานจากใบกังหันลมเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ารัฐบาลสามารถหาทางทำให้ของเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ Cork Institute of Technology (CIT) จากประเทศไอร์แลนด์กำลังทดลองรีไซเคิลกังหันลมให้เป็นลานสเก็ต […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.