‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้

เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง  ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

ย่าน ‘ทรงวาด’ ในวันที่ถนนสายเครื่องเทศเปลี่ยนไปสู่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ

‘ทรงวาด’ ในอดีตคือย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความสำคัญพอๆ กับไชน่าทาวน์เยาวราชที่อยู่ถัดไปไม่ไกลกัน เป็นถนนที่เต็มไปด้วยโกดังกักเก็บสินค้า โดยเฉพาะเครื่องเทศที่ขึ้นชื่อลือชา จนได้รับการขนานนามว่า ‘ถนนสายเครื่องเทศ’ ทรงวาดในวันนี้ยังคงสถานะย่านพาณิชย์ แม้ภาพเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าจะหายไป แต่ก็แทนที่ด้วยรถราขนส่งที่วิ่งกันจอแจ ร้านค้าเก่าแก่ยังพอเปิดกิจการอยู่บ้าง ทว่าที่เพิ่มเติมมาคือร้านรวงเก๋ๆ คาเฟ่เท่ๆ และอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ มากมายที่มาเสริมเติมแต่งเมืองเก่า ใต้ชายคาของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เรียงรายอวดความงามอยู่สองฟากฝั่งถนน เบื้องหลังการคืนลมหายใจของย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่กำลังค่อยๆ ซบเซาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทั้งรุ่นใหม่และวัยเก๋าในนาม ‘Made in ทรงวาด’ ที่ช่วยกันหยิบเอาของดีของเด็ดประจำถิ่นมานำเสนอ พัฒนาย่านร่วมกันอย่างตั้งใจ จนทำให้ย่านนี้กลายเป็นอีกย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอชวนกลับไปสำรวจถนนทรงวาด เดินทะลุตรอกออกซอยต่างๆ ของถนนสายเครื่องเทศอีกครั้ง สนทนากับเหล่าคนนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในย่านนี้ ทั้งพูดคุยกับนักเขียนอิสระเจ้าของผลงานทรงวาดไกด์บุ๊ก แวะสตูดิโอออกแบบและรีไซเคิลพลาสติกของสองสาวเจ้าของคาเฟ่รุ่นบุกเบิก และปิดทริปด้วยการเยือนร้านชาของคนไต้หวันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยวานิช 1 ฟังเรื่อง ‘ทรงวาด’ ผ่านสายตาของนักเขียนทรงวาดไกด์บุ๊ก ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน Urban Creature เคยไปสำรวจทรงวาดมาแล้ว ตอนนั้นวี่แววในการเป็นทรงวาดแบบทุกวันนี้อาจไม่ชัดเจนนัก แต่พอจับสัญญาณได้จากการเริ่มมีกิจการรุ่นใหม่ๆ เปิดกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี โฮสเทล บาร์ และคาเฟ่ ไม่นานมานี้ พอ Made […]

NIA และ กทม. มุ่งหน้าใช้ ARITech เปลี่ยนย่านอารีย์เป็นย่านนวัตกรรม รองรับการลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน

คนกรุงเทพฯ ย่อมรู้ว่า ‘อารีย์’ เป็นย่านแห่งไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อมากที่สุดในเมือง มีความเป็นชุมชนกึ่งเก่ากึ่งใหม่ ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าอาคารที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านค้าประเภทมัลติแบรนด์ ที่สร้างสีสันและความมีชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ จนกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและทำเลทองของนักธุรกิจยุคใหม่ แต่ในอีกมุมหนึ่ง อารีย์ก็เป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โคเวิร์กกิงสเปซ ไปจนถึงออฟฟิศให้เช่าชั่วคราว ซึ่งส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จึงเลือกพัฒนาย่านนี้ให้เป็นย่านนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ดีขึ้น การพัฒนาครั้งนี้ได้นำเทคโนโลยีเชิงลึกด้านอารีเทค (ARITech) ได้แก่ AI, Robotics, Immersive และ IoTs มาผลักดันย่านสู่เมืองฉลาดรู้ และยกระดับให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่เพื่อรองรับธุรกิจนวัตกรรม การลงทุนจากภาครัฐ-เอกชน กลุ่มธุรกิจเทคจากต่างประเทศ และนำร่องให้ย่านอารีย์ได้เป็นพื้นที่ทดสอบทดลองนวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบสำคัญของย่านอารีย์ที่หากเชื่อมโยงกันแล้วจะทำให้ย่านเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบด้วย 1) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นที่ตั้งของบริษัท หน่วยวิจัย และสตาร์ทอัพ ARITech ที่กระจายตัวภายในย่าน ครอบคลุมบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ2) สินทรัพย์ทางกายภาพ จากการเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง มีการเข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีความสะดวก และการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสาน3) สินทรัพย์ทางเครือข่าย จากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มองค์กรทางสังคม ที่มีความสนใจในการร่วมพัฒนาย่าน4) สินทรัพย์ดิจิทัล […]

ลัดเลาะ ‘ท่องธน’ ผจญภัยล่าขุมทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่ใน ‘บางกอกใหญ่’

เชื่อว่านิยามคำว่า ‘ฝั่งธนฯ’ ของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ไม่ว่าอาณาเขต ‘ธนบุรี’ ในความรู้สึกนึกคิดของคุณจะกว้างใหญ่เพียงใด เพียงแค่ฟากซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ไกลจรดทะเลบางขุนเทียน หรือยาวไปถึงชายแดนกรุงเทพฯ ติดปริมณฑลอย่างบางแค-หนองแขม ก็ตามที รู้หรือไม่ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เริ่มที่ย่านบางกอกใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรี ราชธานีเก่าของเมืองไทย คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้เลยขออาศัยไกด์บุ๊กนำทางติดกระเป๋า พร้อมแอปพลิเคชันเกม ‘ท่องธน’ (Game of Thon) สวมบทนักผจญภัย โดยมีสมาชิกกลุ่มยังธนและผู้พัฒนาเกมเป็นคนนำทีม เปิดแมปฝั่งธนฯ ตะลุยบางกอกใหญ่ ในชุมชนวัดนาคกลาง หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ทั้งโบราณสถาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สัญลักษณ์เมืองไทยอย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนริมคลองมอญและร้านรวงของคนในย่านที่เป็นเสมือน Hidden Gem หากอยากลองชิมลางร่วมตี้ แค่โหลดเกมและจัดทีมก็ออกมาร่วมสนุกได้ หรือหากอยากรู้จักฝั่งธนฯ แบบทะลุปรุโปร่ง หยิบไกด์บุ๊กท่องธนใส่กระเป๋าแล้วออกย่ำเท้าไปพร้อมกัน เมื่อจบภารกิจท่องธนครั้งนี้แล้ว ไม่แน่ว่าคำนิยามและความรู้จักของคุณที่มีต่อฝั่งธนฯ อาจเปลี่ยนไป เรานั่งย้อนเขียนถึงเรื่องราวการผจญภัยนี้ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปไม่ไกลคือ ‘วังเดิม’ ศูนย์กลางการปกครองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของกรุงธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ หากอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพไป เกิดการสถาปนาเมืองแห่งใหม่ขึ้นมาไม่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ก่อนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้มีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

ปลุกความสร้างสรรค์ที่ย่าน ‘เจริญรัถ’ แหล่งค้าหนังและอุปกรณ์งานคราฟต์ของกรุงเทพฯ

ถ้าอยากทำกระเป๋าหนังสักใบ หรือหาอะไหล่นำกลับไปทำงาน DIY ที่บ้านในวันที่ไอเดียพรั่งพรู เหล่านักประดิษฐ์ตัวยงหรือดีไซเนอร์มือฉกาจต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจริญรัถ’ คือคำตอบชนิดที่มาครบจบในที่เดียวได้ ย่านเจริญรัถ ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในฝั่งธนบุรี เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมกิจการร้านค้างานหนังแบบครบวงจรที่ขึ้นชื่อลือชามานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหนังแท้และหนังเทียม สารพัดอุปกรณ์ตัด ตอก หรืออะไหล่ตกแต่งกระเป๋าให้สวยเก๋ ไปจนถึงร้านลับคมกรรไกรที่แทบไม่ค่อยเห็นแล้วในทุกวันนี้ ต่างแทรกตัวอยู่บนถนนเจริญรัถทั้งสิ้น คอลัมน์ Neighboroot ชวนสาวเท้าก้าวตามเจ้าของโรงเรียนสอนทำกระเป๋าบนถนนเจริญรัถ ฟังความเป็นมาของย่าน ทำความรู้จักร้านขายหนังและสารพัดอุปกรณ์รุ่นเก๋าที่เด็ดดวงสุดในย่าน จากปากของคนพื้นที่ที่คัดสรรมาให้แล้ว   MHA Art & Craft : โรงเรียนสอนทำกระเป๋าหนังแห่งย่านเจริญรัถ “เคยพูดเล่นๆ ว่า ถ้าหาหนังแล้วที่อื่นไม่มี และที่นี่ก็ไม่มี ก็ไม่ต้องหาละ” เจ้าของ MHA Art & Craft โรงเรียนสอนทำกระเป๋าอย่าง ‘พี่แบงค์-บุญชัย บุญนพพรกุล’ บอกอย่างติดตลก ถึงนิยามความเป็นย่านเจริญรัถ ย่านค้าหนังอันเลื่องชื่อของไทย  บทสนทนานี้เกิดขึ้นใต้ชายคาของตึกแถวที่เป็นทั้งโรงเรียนสอนทำกระเป๋า คาเฟ่ และประตูบานแรกก่อนเข้าสู่ถนนเจริญรัถ จากปากของทายาทโรงงานทำกระเป๋าหนังส่งออกและเจ้าของโรงเรียน เวิร์กช็อปสเปซสำหรับผู้สนใจและหลงใหลในงานหนัง ซึ่งเข้าสู่ขวบปีที่สิบแล้วในวันนี้ “ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ใหม่ คนสร้างแบรนด์เองง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย จังหวะนั้นก็เลยเกิดโรงเรียนของเรา […]

Bangkok Dating Routes เส้นทางเดินเดตที่ได้ทั้งชมเมืองและคุยกับเธอ

เวลาดูหนังรักที่ตัวละครเดินเดตกันท่ามกลางเซตติงที่เป็นประเทศหรือเมืองน่ารักๆ เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยอยากมีโมเมนต์เดินชมบรรยากาศเมือง พูดคุยกันแบบ Deep Talk และแวะกินดื่มที่ร้านอาหารหรือผับบาร์เจ๋งๆ ระหว่างทาง แม้กรุงเทพฯ จะไม่ได้เป็นเมืองที่โรแมนติกนัก แต่ใช่ว่ามันจะไม่มีพื้นที่ให้เราชวนคนใกล้ตัวไปเตร็ดเตร่ใช้เวลาร่วมกันแบบนี้ซะทีเดียว จากที่เราใช้ชีวิตและทำงานเรื่องเมืองมาไม่น้อย ก็ค้นพบว่ากรุงเทพฯ ยังมีย่านและเส้นทางน่ารักๆ ให้ไปเดินเล่นสำรวจเมืองเพื่อชุบชูหัวใจได้เสมอ ตั้งแต่เส้นทางเขตเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองที่มีแต่อะไรสนุกๆ ให้แวะเวียน ไปจนถึงตรอกซอกซอยที่เป็นสถานที่เดตประจำ ในเดือนแห่งความรักนี้ ถ้าอยากเปลี่ยนแนวจากชวนคนใกล้ตัวไปเดินห้างฯ หรือนั่งจุมปุ๊กอยู่ที่ไหนสักแห่งนานๆ มาเป็นเดินเดตรับลมในเมือง Urban Creature ทำคัมภีร์รวมรูตเดตจากผู้ใช้งานจริงที่อยากแบ่งปันมาให้แล้ว คอมฟอร์ตโซน ถนนพระสุเมรุเส้นทางเดต : ป้อมมหากาฬ-ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้ออร่อยเด็ด-สวนสันติชัยปราการระยะทาง : 2.1 กิโลเมตรชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator ด้วยความที่พักอยู่แถวราชเทวี-พญาไท ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมือง เดินทางได้หมดทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า และเรือ เราที่เอียนกับการไปสยามเต็มที ก็มักเลือกพาคนใกล้ตัวไปเดตที่รูตคอมฟอร์ตโซนของเรา เพราะนอกจากจะเดินทางง่าย ไปได้ทั้งรถเมล์และเรือคลองแสนแสบแล้ว มันยังเป็นพื้นที่ที่ไปกี่รอบก็ไม่เคยเบื่อ เนื่องจากความน่ารักของบรรยากาศเมืองเก่าที่ผสมผสานกับสถานที่เจ๋งๆ ของเมืองอย่างร้านหนังสือ แกลเลอรี มิวเซียม และสวนสาธารณะ รูตคอมฟอร์ตโซนของเรามักเริ่มต้นที่ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าฯ […]

ทัวร์ย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ แบบอินไซด์ทั้งสายกินสายเก๋าฉบับชาวสุนาเนี่ยน

ไม่กี่ปีมานี้ ‘สุขุมวิท-บางนา’ ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สุขุมวิทเป็นย่านธุรกิจ CBD (Central Business District) ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตทันสมัย และแหล่งรวมคาเฟ่ทุกสไตล์ตามซอกซอยต่างๆ หรือเมื่อขยับออกไปอีกนิดแถบชานเมืองอย่างบางนา ก็เต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนเก่า รวมทั้งศูนย์รวมงานอีเวนต์ที่ไบเทค บางนา ที่คึกคักอยู่ตลอดปี เพราะสุขุมวิท-บางนา มีขนาดที่ใหญ่มาก ไหนจะยังมีย่านรองอย่างเช่น ลาซาล พระโขนง อุดมสุข ปุณณวิถี ฯลฯ ที่ล้วนอัดแน่นไปด้วยสถานที่และเรื่องราวต่างๆ อีกเพียบ  สบโอกาสเปิดศักราชใหม่ คอลัมน์ Neighboroot ได้เจ้าบ้านย่านนี้อย่าง SUNAneighbormove แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ที่ตั้งใจสร้างคอมมูนิตี้ย่าน ‘สุนา’ (สุขุมวิท+บางนา) ให้เป็นที่รู้จักและขับเคลื่อนชุมชนให้สนุกกว่าเดิม มาเป็นผู้พาออกสำรวจและทำความรู้จักความพิเศษของย่านนี้มากขึ้น ผ่านสถานที่ต่างๆ แบบพอเรียกน้ำย่อย เพื่อช่วยปรับมุมมองที่มีต่อย่านนี้ใหม่ เพราะโซนสุนายังมีอะไรมากมายที่ชวนให้ค้นหา ทั้งเรื่องราววัฒนธรรมย่อย ร้านรวงอาหารรสเด็ด และธุรกิจของคนในย่านที่กำลังโตวันโตคืน เป็นมูฟเมนต์ใหม่ๆ ที่กำลังเติมชีวิตชีวาให้ย่านนี้มีสีสันยิ่งขึ้นกว่าที่เคย เริ่มต้นวันดีๆ ที่ ‘Roots’ ร้านกาแฟเมล็ดไทยที่ใส่ใจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ก่อนจะเริ่มต้นสำรวจย่านสุนา หากได้เครื่องดื่มเย็นๆ ปลุกความสดชื่นสักแก้วคงจะดีไม่น้อย พอดีกับที่ทางเพจ SUNA พาเรามาเริ่มต้นทริปที่ Roots […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.