#TILFF2024 เทศกาลหนัง LGBTQ+ ในไทย นำเสนอความหลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก จัดฉาย 28 เรื่อง ทั้งดูฟรีและในราคาเข้าถึงได้ วันที่ 6 – 10 ก.ย. 67 ที่ Paragon Cineplex 

ได้เวลาฉลองสมรสเท่าเทียมกับ ‘THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ+ FILM & TV FESTIVAL 2024’ หรือ TILFF 2024 เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQ+ ครั้งแรกของประเทศไทย เทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ ผ่านเรื่องราวความหลากหลายในสังคมจากทั่วทุกมุมโลก ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับกลุ่มคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ TILFF 2024 มาพร้อมกับไฮไลต์น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดฉายภาพยนตร์ 28 เรื่องที่ได้รับรางวัลจาก 14 ประเทศ เช่น Before I Change My Mind จากแคนาดา, Big Boys และ Framing Agnes จากสหรัฐอเมริกา, I Don’t Want to Sleep Alone จากไต้หวัน, Splendid Isolation จากโปแลนด์ รวมไปถึง รักแห่งสยาม และ ฉันผู้ชายนะยะ […]

The Cursed Land คนต่างแดนที่ถูกสาปด้วยความแตกต่างในพื้นที่ ความเชื่อ วัฒนธรรม และสิ่งเร้นลับของชาวไทยมุสลิมในสายตาชาวไทยพุทธ

ตั้งแต่เริ่มต้น ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถือว่าเป็นโปรเจกต์ภาพยนตร์ไทยที่น่าสนใจ ตั้งแต่พลอตเรื่องของพ่อลูกชาวไทยพุทธที่ย้ายเข้าไปอยู่ในชุมชนชาวไทยมุสลิม และถูกคุกคามโดยบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เหนือกว่าความเข้าใจของศาสนา เรื่องราวแบบพหุวัฒนธรรมของชาวไทยแบบที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอมากนักบนจอภาพยนตร์ นอกจากนี้ แดนสาปยังเป็นผลงานจาก 2 บุคลากรในวงการภาพยนตร์อย่าง ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่รับบทบาทเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้ และ ‘ก้อง ฤทธิ์ดี’ ที่ลองข้ามจากดินแดนนักวิจารณ์ภาพยนตร์มาเป็นผู้เขียนบท และยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อทั้งคู่ต่างเป็นชาวไทยมุสลิม เคยมีผลงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตคนมุสลิมไทยอย่าง มูอัลลัฟ (2008), Baby Arabia (2010) และ กัดดาฟี (2013) ทำให้มีสายตาของชาวไทยเชื้อสายมุสลิมที่จับจ้องเห็นถึงประเด็นความเป็นมุสลิมบางอย่างในสังคมไทยที่จะได้รับการนำเสนอออกมาจากคนใน เพียงแต่คราวนี้มาในรูปแบบของหนังสยองขวัญ แรกเริ่มแม้จะมีดราม่าของการโปรโมตที่ก่อให้เกิดประเด็นอันทำให้หลายคนมองตัวหนังผิดไป แต่เมื่อได้ชมตัวหนังจริง มันเป็นสิ่งที่ต่างจากการโปรโมตในเชิงภาพผีอิสลามอย่างชัดเจน อีกทั้งยังสื่อสารว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังจะได้รับชมนี้ไม่ใช่เรื่องราวของผีแต่เป็นความลี้ลับแบบอื่น ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่แปลกประหลาด แต่เป็นสายตาอคติของคนภายนอก ‘แดนสาป The Cursed Land’ ถูกระบุเรื่องราวไว้อย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นในย่านหนองจอก ที่ซึ่งถูกเรียกขนานนามว่าเป็น ‘ดงแขก’ เพราะมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเสียยิ่งกว่าชาวไทยพุทธตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวมลายู ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณขอบเกือบจะหลุดออกนอกของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร อันเต็มไปด้วยชุมชนมัสยิดของชาวมุสลิมที่ใช้ชีวิตกันเสมือนยังเป็นชนบทต่างจังหวัดมากกว่าเมืองแบบภาพกรุงเทพฯ ในความคิดของหลายคน เมื่อสืบค้นข้อมูลพื้นที่ดังกล่าวลงไปจะค้นพบว่าเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์อันบอบช้ำในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เพราะเชลยศึกจากปัตตานีถูกกวาดต้อนมาใช้เป็นแรงงานในการขุดคลองแสนแสบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี และคลองสามวา ที่นี่เองคือถิ่นฐานที่สองพ่อลูก […]

สำรวจความรุนแรงในครอบครัว ผ่านเสียงร้องของวาฬกับความโดดเดี่ยวในสังคม ในหนัง ‘52 Hertz คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’

วันหนึ่งเราอาจเป็นวาฬหรือวาฬอาจอยู่รอบตัวเรา ‘วาฬ 52Hz’ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกนิยามว่าเป็นสัตว์ที่เหงาที่สุดในโลก เนื่องจากคลื่นเสียงที่วาฬตัวนี้ส่งออกมาเป็นความถี่ที่สูงกว่าวาฬทั่วไปใช้ในการสื่อสาร ทำให้วาฬ 52Hz ไม่สามารถสื่อสารกับฝูงได้ มันต้องอยู่อย่างเดียวดายท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ และกลายเป็นภาพแทนความโดดเดี่ยวของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ‘52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’ เป็นภาพยนตร์ดราม่าจากญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อเดียวกัน เล่าเรื่องของ ‘คิโกะ มิชิมะ’ หญิงสาวที่พยายามเอาตัวเองออกมาจากอดีตอันขมขื่นและย้ายมาอยู่ในเมืองเล็กๆ ริมทะเล จ.โออิตะ ก่อนจะได้พบกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้เธอนึกถึงอดีตของตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนในสังคมต่างมีอิทธิพลต่อกัน แต่บางคนอาจต้องหลบซ่อนตัวตนหรือความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการต่อต้านจากสังคม บางคนมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นแต่กลับถูกทำร้ายต่อเนื่อง ขณะที่บางคนเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ยินดีกับการมีชีวิตอยู่ของเขา ตัวละครเหล่านี้ต่างเหมือนวาฬที่พยายามส่งคลื่นเสียง 52 Hz ของตนเอง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะมีคนที่มีคลื่นเสียงตรงกันรับรู้และตอบกลับมาในความถี่เดียวกัน นอกจากความเหงาและความโดดเดี่ยว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสอดแทรกประเด็นความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ในสังคมญี่ปุ่น โดยเล่าผ่านคิโกะที่ต้องเผชิญความรุนแรงทั้งจากแม่ พ่อเลี้ยง และคนรัก ซึ่งล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่ตัดสินใจเอาตัวออกมาได้ยาก ถึงอย่างนั้น คนที่เจอความโชคร้ายซ้ำซ้อนแบบคิโกะกลับผ่านทุกเหตุการณ์มาได้เพราะมีคนที่คอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจ และไม่ทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวบนโลกที่กว้างใหญ่ รับชมภาพยนตร์ 52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน ได้แล้ววันนี้ ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major Cineplex และ House Samyan หมายเหตุ : ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว […]

Furiosa : A Mad Max Saga มหากาพย์เด็กสาวผจญโลกบ้าคลั่งของชายชาตรี ในดินแดนรกร้างว่างเปล่าที่ผู้คนสูญสิ้นความเป็นคน

หนึ่งในภาพยนตร์ที่ถูกจดจำในยุคสมัยใหม่นี้ ทั้งแง่ของการเป็นหนังอาร์ตขวัญใจนักวิจารณ์ และหนังที่มีความบันเทิงแบบบล็อกบัสเตอร์อยู่เต็มเปี่ยม คงหนีไม่พ้น Mad Max : Fury Road (2015) หนังที่อัดแน่นไปด้วยซีนแอ็กชันสูบฉีดอะดรีนาลีนแบบ Non-stop ตั้งแต่ต้นเรื่องยันท้ายเรื่อง และภาพเชิงสัญญะที่เปิดช่องว่างให้คนดูตีความกันได้ ไหนจะงานสร้างสุดอลังการที่เนรมิต Wasteland ดินแดนรกร้างหลังโลกาวินาศออกมาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ฉากแอ็กชันขับเคลื่อนเรื่องราวที่สมจริง ทั้งยานยนต์ทั้งหลาย บรรดาสตันท์ผาดโผน ความรุนแรงต่างๆ นานา มันจึงสมกับความบ้าคลั่งของโลกในภาพยนตร์สุดๆ อย่างที่ไม่เคยมีเรื่องไหนทำได้มาก่อน หนึ่งสิ่งที่ผู้ชมต่างจดจำในภาคนี้คือตัวละคร Furiosa ที่แสดงโดย Charlize Theron ผู้ลงทุนโกนหัวสกินเฮดจนกลายเป็นที่จดจำไปโดยปริยายเสียยิ่งกว่าตัวละคร Max Rockatansky ผู้เป็นตัวเอกของหนังชุด Mad Max เสียอีก คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงหากจะบอกว่าฟูริโอซ่าเป็นตัวละครที่ Empower ผู้หญิงอย่างแนบเนียน สมเป็นหนึ่งในตัวละครหญิงแกร่งไอคอนิกของยุคสมัยใหม่ ประจักษ์ได้จากการที่เธอเป็นผู้นำลุกขึ้นสู้กับอำนาจในโลกที่ปกครองโดยผู้ชาย และปลดแอกการกดทับที่มีต่อบรรดาตัวละครหญิงในเรื่อง ซึ่งผู้ชมบางส่วนอาจไม่ทันรู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้หากไม่ได้ตั้งใจมองลึกลงไป เพราะด้วยความที่ Fury Road เน้นไปที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เล่าเรื่องด้วยภาพมากกว่าคำพูดที่มีไม่กี่ถ้อยคำ นำมาสู่ช่องว่างที่เปิดโอกาสให้เรื่องราวประวัติของสิ่งต่างๆ มากมายในโลก Wasteland ที่ไม่ได้เล่า จนนำมาทำเป็นเรื่องราวส่วนขยายได้ ด้วยประการฉะนี้ ภาพยนตร์ […]

สำรวจอำนาจภายในรั้วโรงเรียน ที่สะท้อนถึงการจัดการปัญหาของสังคม ในหนังเยอรมนี The Teachers’ Lounge

ครั้งนี้ครูจะต้องได้เจอ ‘บทเรียน’ เมื่ออำนาจในโรงเรียนไม่ได้อยู่ที่การกะเกณฑ์บังคับผ่านการแต่งกายหรือกฎระเบียบเท่านั้น แต่ยังเคลือบอยู่กับท่าที การตัดสินใจ หรือกระทั่งการลงโทษ ซึ่งเราสัมผัสได้อย่างชัดเจนจากการชม The Teachers’ Lounge (ห้องเรียนเดือด) หนังสัญชาติเยอรมันโดย อิลเคอร์ ชาทัค ผู้กำกับชาวเยอรมันเชื้อสายตุรกี ลูกศิษย์คนเก่งของผู้กำกับ วิม เวนเดอร์ส ที่ติดอันดับหนังยอดเยี่ยมของนักวิจารณ์หลายคนในปี 2023 อีกทั้งยังเป็นหนัง 5 เรื่องสุดท้ายที่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์นานาชาติ บนเวทีออสการ์ปีล่าสุด The Teachers’ Lounge เป็นหนังที่ว่าด้วยเรื่องราวปัญหาภายในโรงเรียน โดยมีจุดเริ่มต้นจากเหตุลักขโมยซ้ำแล้วซ้ำเล่าและไม่สามารถหาคนผิดได้ ทำให้ความรู้สึกกดดันกลายเป็นความเดือดดาล และพุ่งทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ความน่าสนใจคือ ประเด็นการตัดสินคนผิด-ถูกที่สะท้อนผ่านภาพในรั้วโรงเรียนเล็กๆ ถูกขยายไปมากกว่าใครเป็นคนร้ายตัวจริง ทำให้เราเห็นถึงผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินคนผิดที่ไม่ใช่แค่บุคคลที่โดนกล่าวหา ทว่ารวมไปถึงปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมที่ตอบรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนั่นทำให้เรานึกถึงการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) เมื่อผู้คนต่างเห็นพ้องตรงกันว่าคนผิดสมควรถูกลงโทษ (แม้จะยังไม่รู้แน่ชัดว่าผิดจริงไหมก็ตาม) มากไปกว่านั้น ยังมีมิติความสัมพันธ์ของครูที่ตั้งใจจะทำให้โรงเรียนโปร่งใส กับนักเรียนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย โดยไม่ได้แสดงออกผ่านถ้อยคำ แต่เห็นผ่านการกระทำที่เปิดช่องว่างให้คนดูคิดถึงความจริงใจของทั้งสองคนนี้ได้เป็นอย่างดี คล้ายเป็นการต่อสู้ของคนตัวเล็กสองคนที่เข้าอกเข้าใจกัน รับชมภาพยนตร์ The Teachers’ Lounge ได้แล้ววันนี้ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major […]

Skyline Film ธุรกิจหนังกลางแปลงของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการดูหนัง

ประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของคุณถูกนิยามไว้แบบไหน ต้องอยู่ในห้องที่เงียบและมืดสนิท แอร์เย็นฉ่ำ เก้าอี้นุ่ม หรือมีป็อปคอร์นเสิร์ฟตลอดการฉาย ตามประสาคนรักหนัง เราเคยคิดว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยสร้างอรรถรสได้ไม่น้อยเช่นกัน จนกระทั่งได้รู้จักกับ Skyline Film Bangkok กิจกรรมฉายหนังที่ป็อปขึ้นมาบนหน้าฟีดเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าคุณเคยเห็นเหมือนกัน อาจพอรู้ว่า Skyline Film Bangkok นั้นเป็นการฉายหนังบนดาดฟ้า มองเผินๆ แล้วไม่ต่างอะไรจากหนังกลางแปลงที่เราคุ้นเคย แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ พวกเขาจัดฉายหนังบนดาดฟ้าที่เน้นขายบรรยากาศ ความสะดวกสบาย และสร้างประสบการณ์แบบใหม่ที่นักดูหนังอาจไม่เคยได้รับจากที่ไหนอย่างการดูหนังเอาต์ดอร์แล้วสวมหูฟังของตัวเอง ไหนจะมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ เครื่องดื่มพิเศษ โฟโต้บูท ให้มาทำคอนเทนต์รอดูหนัง ธรณ์ พิทูรพงศ์ และ แมน-พลัฏฐ์ เหมะจันทร์ คือสองชายหนุ่มที่อยู่เบื้องหลังอีเวนต์นี้ ซึ่งบอกเลยว่ากำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเทรนดี้และนักท่องเที่ยวสุดๆ จากการฉายครั้งแรกที่กะทำเอาขำๆ พวกเขาขยับขยายให้กลายเป็นธุรกิจจริงจัง เปลี่ยนภาพจำเกี่ยวกับประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของหลายคนไปตลอดกาล ข้างหลังจอภาพ Skyline Film Bangkok เริ่มต้นด้วยวิธีคิดแบบใด และอะไรทำให้การฉายหนังของพวกเขาพิเศษขึ้นมา เราขอชวนคุณหย่อนก้นนั่ง ใส่หูฟัง แล้วตามไปฟังเคล็ดลับของพวกเขากัน จากไต้หวันสู่เมืองไทย บทเรียนภาษาจีนคือสิ่งที่ดึงดูดธรณ์ให้เดินทางไปไต้หวัน แต่ขากลับนอกจากสกิลภาษา เขาได้ธุรกิจติดมือมาประเทศไทยด้วย หลายปีก่อนระหว่างที่ไปลงคอร์สเรียนภาษา ชายหนุ่มสมัครงานพาร์ตไทม์ทำ เขาได้งานในบริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพไต้หวันที่อยากมาลงทุนในไทย […]

เปิดตัวเลขการถ่ายหนัง ปี 2566 ในไทย จุดหมายของกองถ่ายทั่วโลก

จะว่าไปประเทศไทยของเรานั้นเนื้อหอมไม่เบา เพราะแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนติดโผเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนมากที่สุดอยู่ตลอด ต้องขอบคุณอาหารแสนอร่อยและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลากหลายที่มัดใจนักท่องเที่ยวรอบโลกไว้อยู่หมัด แต่ใช่ว่าประเทศไทยจะดึงดูดแต่นักท่องเที่ยว เพราะกองถ่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ มิวสิกวิดีโอจากนานาประเทศก็เลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการถ่ายทำ ยกตัวอย่าง ซีรีส์ King the Land จากเกาหลีใต้ที่พาเที่ยวกรุงเทพฯ แบบจัดเต็ม ซีรีส์สายลับ The Sympathizer ที่เนรมิตเมืองหาดใหญ่เป็นไซ่ง่อนยุคสงครามเย็น หรือที่ผ่านไปไม่นานกับมิวสิกวิดีโอ Supernova สุดปั่นจากสี่สาว aespa ที่ยกกองมาขายขำกันถึงเมืองไทย คอลัมน์ City by Numbers วันนี้เลยชวนมาดูสถิติกันหน่อยว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยดึงดูดกองถ่ายจากต่างประเทศได้มากแค่ไหน โดยอ้างอิงจากสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2566 จากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) งบลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทุบสถิติ จากสถิติปีที่ผ่านมา มีกองถ่ายภาพยนตร์เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยจำนวนกว่า 466 เรื่อง มีงบประมาณลงทุนสูงกว่า 6,602 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย โดย 5 ประเทศที่ลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยสูงที่สุดคือ 1) สหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนถ่ายทำกว่า 3,184 ล้านบาท2) […]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.