Sigmund Fraud’s Fake Bookshop นิทรรศการร้านหนังสือปลอม (?) เสียดสีโลกทุนนิยม ในบ้านเก่าที่เคยเป็นร้านขายน้ำตาลปี๊บ ย่านท่าเตียน

ตอนที่เห็นโปสเตอร์งานนี้ครั้งแรก เรายังไม่ค่อยแน่ใจว่าคืออะไร จะเป็นนิทรรศการศิลปะ? หรือร้านหนังสือจริงๆ? แต่ชื่อก็บอกอยู่นี่นาว่า เป็นร้านหนังสือปลอม ไม่ปล่อยให้สงสัยนาน เราเลือกใช้วันสุดท้ายของวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์เดินทางไปพิสูจน์ด้วยตาตัวเองที่สเปซจัดงานแถวท่าเตียน ก่อนจะพบว่างานนี้คือนิทรรศการของ Sigmund Fraud ศิลปินที่ทวิสต์ชื่อล้อเลียนกับ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชื่อดังที่หลายๆ คนรู้จักเขาจากศาสตร์จิตวิเคราะห์ แม้จะใช้ชื่อคล้ายกัน แต่ Sigmund Fraud คนนี้เป็นนักจิตวิทยากำมะลอ ที่จะขอบำบัดตัวเองและสังคมแบบปั่นๆ ชวนหัว แต่ในขณะเดียวกันก็มีความตลกร้าย ขำขื่นจนต้องหัวเราะหึๆ กับการเปิดร้านหนังสือปลอมๆ ที่ขายหนังสือปลอมๆ กว่าร้อยเล่ม เพื่อบอกเล่าความแซดและโหดร้ายของโลกทุนนิยม ที่ทำให้ใจเราป่วยไข้ไปกับการแข่งขันในสังคมที่จะต้องโปรดักทีฟ ทำงานที่สองที่สาม มีเงินเก็บหลายล้าน ไปจนถึงการไม่ปล่อยให้เวลาสูญเปล่า เวลาว่างก็ต้องห้ามว่าง ในบรรดาหนังสือปลอม มีหลายเล่มที่แปลงมาจากหนังสือที่มีอยู่จริง แต่พอเป็นคอลเลกชันของตาซิกมุนด์ตัวปลอมก็กลายเป็นหนังสือขายดีเวอร์ชันจ๋อยๆ ชีวิตบัดซบไปเสียอย่างนั้น ส่วนใครที่ไม่รู้ว่าจะอ่านเล่มไหนก่อนดี ภายในงานก็มีควิซสั้นๆ ให้ทำเพื่อแนะนำหนังสือที่เหมาะกับเราด้วย (เราได้เล่ม How to not become an adult you hated โดย Greta Thunbear) […]

ชำแหละความงามในอุดมคติที่กำหนดโดยทุนนิยม บิวตี้สแตนดาร์ด และชายเป็นใหญ่ผ่าน THE SUBSTANCE

เทศกาลหนังเมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่เรียกความสนใจจากคอหนังมาต่อเนื่องทุกปี บรรดาภาพยนตร์ที่ปรากฏชื่อในเทศกาลนี้ล้วนแล้วแต่ได้รับการพูดถึงไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ยิ่งภาพยนตร์เรื่องไหนได้รับรางวัลจากเทศกาลนี้ จะกลายเป็นเครื่องการันตีคุณภาพของหนังระดับแปะ A must ว่าพลาดไม่ได้เด็ดขาด ซึ่งคานส์ขึ้นชื่อในเรื่องความเป็นศิลปะเป็นอย่างมาก พูดง่ายๆ ว่าหลายคนอาจบอกว่าหนังคานส์เป็น ‘หนังอาร์ต ดูยาก ดูไม่รู้เรื่อง’ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ฝีมือคนไทยอย่าง Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (2010) หรือ ลุงบุญมีระลึกชาติ ของ เจ้ย-อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แต่หลายครั้งก็เป็นหนังที่ทุกคนชื่นชมไปในทางเดียวกันอย่าง Parasite (2019) ของ บงจุนโฮ ซึ่งในปีนี้แม้ผู้ชนะรางวัลใหญ่ของงาน Palme d’Or จะเป็นภาพยนตร์เรื่อง Anora (2024) (ซึ่งชาวไทยจะได้ชมกันในเร็วๆ นี้) ของ Sean Baker เจ้าของผลงาน The Florida Project (2017) แต่หนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงลือลั่นฮือฮาบอกต่อกันมาถึงความแปลก […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.