ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

ผลักดันคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด กับงานแฟร์ ‘CHANGE 2023’ วันที่ 1 – 2 ส.ค. 66 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

ช่วงหลังมานี้วงการสร้างสรรค์คึกคักขึ้นมาก นอกจากงานศิลปะที่หลากหลายขึ้นแล้ว แวดวงดีไซน์ที่รวมไปถึงการออกแบบคาแรกเตอร์ก็เริ่มมีที่ทางขึ้นมาก ซึ่งคาแรกเตอร์ที่ว่านี้ก็นำไปต่อยอดได้มากมาย ตั้งแต่การเป็นหน้าตาของแบรนด์ คอลแลบกับโปรเจกต์สนุกๆ หรือกลายไปเป็นอาร์ตทอยน่าเก็บสะสม หลังจากพยายามผลักดันการสร้างคาแรกเตอร์ (Character Design) มาพักใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก็ขอจัดงาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ เพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ไทยสุดน่ารัก รวมถึงเปิดเผยเบื้องหลังการทำงานและการสร้างรายได้จากงานออกแบบนี้ ภายในงานเราจะได้พบกับคาแรกเตอร์กว่า 30 ตัวผ่านการจัดแสดงสินค้า จัดจำหน่าย และกิจกรรมเสวนา เพื่อขยายโอกาสต่อยอดทางธุรกิจให้ครีเอเตอร์ไทยด้วยคาแรกเตอร์สุดเจ๋งให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ให้แก่ครีเอเตอร์ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเล่าถึงเบื้องหลังการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยมีเวทีเสวนาหลากหลายหัวข้อ เช่น ต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ด้วยคาแรกเตอร์ไทย, แบรนดิ้งให้สินค้าเกษตรด้วยคาแรกเตอร์ไทย และคาแรกเตอร์ไทย : สัญลักษณ์เมืองแห่งศตวรรษนี้ เป็นต้น งาน ‘CHANGE 2023 : งานแฟร์อึกทึกคึกคักรักคาแรกเตอร์ไทยไปให้สุด’ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2566 ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น […]

ประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิลกับโครงการ Upcycling Design Project ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท

‘คาเฟ่ อเมซอน’ ชวนนิสิต นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสนใจงานดีไซน์ ร่วมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล กับโครงการ ‘Upcycling Design Project’ เพื่อใช้ต่อยอดเป็นสินค้าสำหรับจำหน่ายในร้านคาเฟ่ อเมซอน และชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้เป็น Co-Partner ร่วมกับร้านคาเฟ่ อเมซอน เพื่อส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการ ‘Upcycling Upstyling by GC’ ต่อไป พร้อมโอกาสพัฒนาผลงานร่วมกับดีไซเนอร์แฟชั่นแถวหน้าของประเทศไทย รายละเอียดเงินรางวัลมีดังนี้ – รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 30,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ผู้สนใจ ส่งใบสมัครโครงการ […]

จาก ‘Quattro Design’ สู่ ‘qd’ กับภารกิจคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่ดึงตัวตนของผู้ใช้ผ่านสายตาดีไซเนอร์

เวลาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับแต่งบ้าน คุณคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง ความสวยงาม ความสบาย หรือฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือถ้าคุณกำลังแต่งบ้านแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ ‘เหมี่ยว-พราวพรรณ เลาหพงศ์ชนะ’ ผู้ก่อตั้ง กรรมการผู้จัดการ และดีไซน์ ไดเร็คเตอร์ของ ‘Quattro Design’ ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้า ออกแบบ และผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับพรีเมียม ที่ทำการตลาดในไทยจนครองใจผู้คนมานานกว่า 15 ปี แต่การเจอเหมี่ยวครั้งนี้ถือว่าพิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเราจะได้พบกับตัวตนใหม่ของ Quattro Design หลังจากรีแบรนด์ดิ้งเป็น ‘qd’ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดเฟอร์นิเจอร์ และทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การเลือกซื้อของตกแต่งบ้านที่ดียิ่งขึ้น เพราะ qd เชื่อว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัย ‘เฟอร์นิเจอร์’ จึงไม่ใช่แค่การตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ยังเป็นความสุนทรีย์ที่มีองค์ประกอบของเรื่องราว ความรู้สึก และฟังก์ชั่นที่ตอบสนองความต้องการ รวมไปถึงสะท้อน ‘ตัวตน’ ของผู้อยู่อาศัยออกมาได้ดีที่สุด รีแบรนด์ใหม่ เข้าใจตัวตนผู้บริโภคมากขึ้น เหมี่ยวเริ่มต้นเล่าว่า จากการอยู่ในวงการเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านภายใต้แบรนด์ Quattro Design มานานกว่า 15 ปี ทำให้เธอมองเห็นว่าผู้บริโภคมีมุมมองต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย

สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]

Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์

ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง  ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]

เที่ยวกรุงเทพฯ ไปกับพยัญชนะไทย คอลเลกชันโปสต์การ์ดและโปสเตอร์ โดยแบรนด์ดีไซน์ Phayanchana

เราอาจเคยเห็นภาพของกรุงเทพฯ ที่ถ่ายทอดผ่านภาพนิ่ง วิดีโอ ภาพวาด แต่มีใครบ้างที่เคยเห็นกรุงเทพฯ ผ่านตัวพยัญชนะไทย ก.ไก่ ข.ไข่ ค.ควาย ที่เราเรียนๆ กัน http://loans-cash.net หลังจากประสบความสำเร็จจากโปรเจกต์เปลี่ยน 44 พยัญชนะไทยให้กลายเป็นภาพกราฟิกที่สนุกสนาน ‘อังกูร อัศววิบูลย์พันธุ์’ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์นาม Phayanchana ก็สร้างสรรค์โปรเจกต์พิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 240 ปี โปรเจกต์ที่ว่านี้คือการที่ Phayanchana หยิบเอา 7 สถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ มาประยุกต์กับการออกแบบพยัญชนะอย่างที่เคยทำ เพื่อนำเสนอภาพของเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านพยัญชนะไทย โดยใช้ชื่อคอลเลกชันว่า ‘Krung Thep Maha Nakhon’ “ด้วยความที่ช่วงหลังๆ คัลเจอร์ของเอเชียได้รับความนิยมมาก เราเลยอยากทำให้ตัวอักษรไทยเป็นที่รู้จักเหมือนตัวอักษรจีนที่คนต่างประเทศเอาไปสัก เอาไปทำงานดีไซน์บ้าง เราเลยพยายามทำให้ผู้คนเข้าใจภาษาของเราด้วยวิธีง่ายๆ อย่างการปรับตัวอักษรให้เป็นวรรณรูป (การนำคำมาสร้างให้เกิดเป็นรูปภาพ)” อังกูรเล่าถึงที่มาที่ไปของการทำแบรนด์ Phayanchana หลังจากนั้น อังกูรต่อยอดไอเดียด้วยการผสมผสานการออกแบบตัวอักษรไทยกับสถานที่สวยๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอความเป็นไทยให้ครอบคลุมและสนุกขึ้น จึงเกิดเป็นคอลเลกชัน ‘Krung Thep Maha Nakhon’ อย่างที่เราเห็น เสาชิงช้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

สี Pantone แห่งปี 2022 PANTONE 17-3938 Very Peri

พอถึงช่วงสิ้นปีทีไร ราวกับธรรมเนียมที่แวดวงออกแบบทั่วโลกเป็นต้องได้ตื่นเต้นกันทุกครั้ง เพราะทุกปีจะมีการประกาศสีแห่งปีสีใหม่ล่าสุดจากทาง Pantone ออกมาอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเหมือนการบอกเล่าเทรนด์สีที่จะได้รับความนิยมต่อไปด้วย ซึ่งในปีนี้ Pantone Color of the Year 2022 ก็คือ… PANTONE 17-3938 Very Peri  หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านสีระดับโลกอย่าง PANTONE ได้ประกาศว่านี่คือสี Blue-ish สีใหม่ เจ้าสีล่าสุดนี้เป็น ‘สี Periwinkle Blue ที่มีไดนามิกและมีอันเดอร์โทนสีม่วงแดงแสนมีชีวิตชีวา’ ซึ่งแพนโทนได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า ‘เฉดสีฟ้าเปี่ยมความสุขและอบอุ่นที่สุดนี้เป็นการผสมผสานพลังของสิ่งใหม่ๆ เข้าด้วยกัน’  ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี นับตั้งแต่เปิดตัวโปรแกรม Color of the Year Pantone ขึ้นมา Laurie Pressman รองประธาน Pantone Color Institute กล่าว ถึงการสร้างสรรค์สีใหม่ล่าสุดอย่าง Very Peri ว่า “สีนี้สะท้อนถึงนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับโลก” “เมื่อเราทุกคนก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง การเลือก […]

Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก

จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.