รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

ยุโรปเผชิญวิกฤตคลื่นความร้อนรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 200 ปี อังกฤษทุบสถิติร้อนทะลุ 40 องศาฯ 

หลายคนคงสังเกตได้ว่าช่วงนี้พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก ทั้งพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน ไปจนถึงอากาศร้อนอบอ้าวสุดขีด จนหลายๆ คนไม่อยากขยับตัวหรือก้าวเท้าออกจากบ้าน แต่ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่เจอสภาพอากาศร้อนจนแทบทนไม่ไหว เพราะวิกฤต ‘คลื่นความร้อน (Heatwave)’ ลักษณะนี้กำลังแผ่ปกคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาค ‘ยุโรป’ ที่มหันตภัยคลื่นความร้อนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวยุโรป และยังก่อให้เกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า ความถี่และความรุนแรงของคลื่นความร้อนในยุโรปกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ด้านนักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า คลื่นความร้อนยุโรปตะวันตกอาจปกคลุมพื้นที่ไปอีกหลายสัปดาห์ พร้อมเตือนว่าครั้งนี้อาจเป็นวิกฤตคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่ พ.ศ. 2300 หรือในรอบกว่า 260 ปี หนึ่งในประเทศที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือ ‘อังกฤษ’ อย่างเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 อังกฤษทุบสถิติอากาศร้อนครั้งใหม่ วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 40.3 องศาเซลเซียส เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศที่อุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียส  สภาพอากาศที่ร้อนจัดติดต่อกันหลายวันทำให้รัฐบาลอังกฤษประกาศแนะนำให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถไฟที่แล่นผ่านพื้นที่สีแดงซึ่งกำหนดโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาอังกฤษ เนื่องจากคลื่นความร้อนอาจทำให้โครงสร้างพื้นฐานของระบบคมนาคมอย่างรางรถไฟ สายเคเบิล และสัญญาณจราจร เสียหายได้ โดยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 หนึ่งในผู้ดำเนินงานระบบรางรถไฟของอังกฤษอย่าง Network Rail ได้แชร์ภาพรางรถไฟที่กลายเป็นสีดำหลังเกิดเหตุไฟไหม้ และยังมีรูปสัญญาณรถไฟที่ละลายเพราะโดนแดดเผา […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.