ในวันที่คนสำคัญสิ้นสุดลมหายใจ ภาพงานศพเคล้าน้ำตาในวัดและพวงหรีดดอกไม้ที่วางหน้าโลงศพเป็นสิ่งที่พบง่ายเกือบทุกงานศพไทย แต่เคยตงิดใจกันบ้างไหมว่าดอกไม้แสนสวยบนพวงหรีด จบพิธีแล้วไปไหน ไปเป็นขยะหรือเปล่าหว่า
จินา โอสถศิลป์ ผู้บริหารค่ายหนังอารมณ์ดี GDH เจ้าของธุรกิจต้นไม้ ‘ปักกิ่งดี’ มองเห็นปัญหาการสร้างขยะหลังงานศพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพวงหรีดดอกไม้ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะนำไปปลูกต่อไม่ได้ เธอจึงใช้ความอารมณ์ดีผสมความใจดี (ต่อโลก) ทำพวงหรีดจากต้นไม้พร้อมจัดส่งให้ถึงงานศพในชื่อ ‘หรีดต้นไม้’ หรือ Wreath for Breath โดยต้นไม้ที่เลือกใช้จะเป็นไม้กระถาง เจ้าของงานหรือแขกเรือนสามารถนำกลับไปปลูกต่อทั้งหมด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนดีๆ แทนของชำร่วยให้คนที่ยังอยู่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น
นอกจากต่อลมหายใจให้คน ที่นี่ยังมีบริการรับดูแลต้นไม้ต่อในกรณีที่เจ้าภาพบางคนแบกกลับบ้านไม่ไหว โดยรายได้ 5% จากการขายหรีดต้นไม้ยังมอบให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อนำไปปลูกป่าเพื่อต่อลมหายใจให้ผืนป่าอยู่กับเราไปนานๆ อีกด้วย
ป.ล. สำหรับแฟนเพจ Urban Creature เพียงแจ้งปักกิ่งดีว่าตามมาจากเพจเรา รับส่วนลดไปเลย 10% ทุกรายการ ตลอดเดือนมีนาคม ปี 2564
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.packkingdee.com
RELATED POSTS
ภารกิจออกแบบเพื่อความยั่งยืนโดย Sprinkle | Urban Vision
เรื่อง
Urban Creature
ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากถึง 2 ล้านตันต่อปี ใช้ขวดพลาสติกเป็นหมื่นล้านขวด แล้วมันจะไปอยู่ที่ไหน คุยกับคุณเบียร์-กฤตวิทย์ เลาหธนาพร กรรมการบริหาร น้ำดื่มสปริงเคิล ผู้เรียนจบด้าน Product Design ที่นำเอาการออกแบบมาใช้แก้ปัญหาจนได้มาเป็นขวดน้ำดื่ม Sprinkle ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์.Urban Vision รายการใหม่จาก Urban Creature ที่จะชวนไปสำรวจวิสัยทัศน์จากผู้บริหารชั้นนำถึงภาพในอนาคต แผนการเตรียมพร้อมที่ยั่งยืนต่อสินค้าและบริการ ที่ไม่เพียงมอบความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค แต่ยังมอบอนาคตที่ดีต่อโลกด้วย
โครงการ Urban Yard ย่าน RCA บ้านหลังใหม่ของชาว Urban Creature ที่มีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ และพื้นที่สีเขียว
เรื่อง
Urban Creature
หลังจากเป็นชาวเอกมัยมาอย่างยาวนาน วันนี้ชาว Urban Creature ได้ย้ายมาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่ที่โครงการ Urban Yard Bangkok ในย่านรัชดาฯ RCA เรียบร้อยแล้ว ด้วยทางเข้าอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหากใครไม่เคยมาอาจจะสับสนว่าบรรยากาศแสนร่มรื่นที่สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้และทางเดินหินนี้คือที่ไหน มากไปกว่านั้น ที่นี่ไม่ได้มีเพียงออฟฟิศของเรา แต่ยังมีร้านกาแฟชื่อดัง ANONYMOUS COFFEE BKK ที่ตกแต่งร้านแนว Glass House สีขาว มีความโปร่งโล่งสบาย เข้ากันได้ดีกับต้นไม้ในสนามเล็กๆ หน้าร้าน และยังมีร้านอาหารรสชาติดี Wang Hinghoi ที่เสิร์ฟเมนูจากวัตถุดิบคุณภาพดี ฝีมือเชฟนิค ที่ตั้งใจให้ร้านนี้เป็นพื้นที่หลบภัยเล็กๆ ท่ามกลางความวุ่นวายของเมืองหลวง พร้อมกันกับคาเฟ่อย่าง WH Cafe และร้าน Beastie อยู่ในพื้นที่เดียวกันนี้อีกด้วย นอกจากนั้น โครงการนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตาอย่างสนามฟุตบอล STB Academy เป็นพื้นที่ฝึกซ้อมให้เหล่าเยาวชนได้เตรียมตัวเป็นนักบอลทีมชาติในอนาคต ใครอยากแวะเวียนมาหาพวกเราก็มาพบกันได้ที่บ้านหลังใหม่ พร้อมชิมกาแฟ อาหารรสชาติดีในบรรยากาศสวนสวยกลางใจเมืองหลวงที่ Urban Yard Bangkok maps.app.goo.gl/Tg5kje6QXPVCkgUr6
สวน Grønningen-Bispeparken ที่ปรับปรุงจากพื้นที่รกร้างในโคเปนเฮเกนให้เป็นสวนที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ
เรื่อง
Urban Creature
ด้วยสภาพอากาศโคเปนเฮเกนที่มีความแปรปรวนสูง จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่ Grønningen-Bispeparken ให้เป็นสวนสาธารณะที่สอดคล้องกับสภาพอากาศซึ่งทั้งล้ำสมัยและใหญ่ที่สุดของโคเปนเฮเกน โดยแปลงพื้นที่หญ้าโล่งขนาด 20,000 ตารางเมตรที่รกร้างให้กลายเป็นสวนธรรมชาติในเมืองที่มีชีวิตชีวา สนุกสนาน และมีความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมสำหรับการใช้งานของทุกคน เดิมทีพื้นที่นี้เป็นโครงการบ้านพักอาศัยตั้งแต่ปี 1950 ก่อนกลายเป็นสนามหญ้ารกร้างที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจนทรุดโทรม เต็มไปด้วยวัชพืช ดูไม่ปลอดภัย ไม่มีกิจกรรมการใช้งานหรือสนามเด็กเล่นสำหรับเด็กๆ และผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น และสำคัญที่สุดคือ สนามหญ้าที่มีอยู่เดิมไม่สามารถจัดการหรือรองรับน้ำฝนได้ ปี 2020 เทศบาลเมืองโคเปนเฮเกนจึงเฟ้นหาบริษัทออกแบบให้มาเสนอราคากัน จนได้ SLA สตูดิโอออกแบบแนวธรรมชาติของเดนมาร์กมาปรับปรุงพื้นที่กลางแจ้งกว่า 20,000 ตารางเมตร ให้กลายเป็นสวนภูมิอากาศแห่งใหม่ที่จะช่วยป้องกันพื้นที่จากพายุฝนฟ้าคะนองและน้ำท่วม รวมทั้งยังเพิ่มคุณค่าทางสังคม ธรรมชาติ และวัฒนธรรมให้กับชุมชนและผู้อยู่อาศัยด้วย ด้วยแนวคิดที่ไม่ได้มองว่าฝนเป็นศัตรูแต่เป็นทรัพยากรสำคัญของเมือง SLA จึงพยายามออกแบบวิธีเก็บกักน้ำฝนด้วย ‘ทางน้ำฝน’ และ ‘หลุมต้นไม้’ (BioSwales) จำนวน 18 แห่งเชื่อมต่อกันทั่วทั้งพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ลาดเอียง ที่สามารถเก็บน้ำฝนมากกว่า 3,000 ลูกบาศก์เมตรตลอดทั้งปี รวมถึงมีการปลูกต้นไม้ 149 ต้น จาก 23 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งล้วนเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่แห่งนี้ยังออกแบบให้ใช้งานเชิงสังคมได้อีกด้วย โดยมี Common […]
ร่วมลงชื่อทบทวนการผ่านร่างกฎหมาย ม. 69 กับการอนุญาตให้ใช้อวนตาถี่ล้อมจับสัตว์น้ำในเวลากลางคืน
เรื่อง
Urban Creature
หลังจากสภาฯ ผ่านการแก้ไขร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ มาตรา 69 ว่าด้วยการห้ามใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ในเขต 12 ไมล์ทะเลนับจากทะเลชายฝั่ง ซึ่งเหมือนจะเป็นกฎหมายห้ามทั่วๆ ไปที่ดีและช่วยรักษาระบบนิเวศสัตว์น้ำ แต่แท้จริงแล้วการแก้ไขร่างกฎหมายนี้กำลังอนุญาตอย่างกลายๆ ให้จับปลาด้วยอวนล้อมขนาดเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ในเขตไกลกว่า 12 ไมล์ทะเลได้ ซึ่งจากตัวอย่างอวนแหนั้นมีความเล็กได้ถึง 3 – 5 มิลลิเมตร เป็นขนาดที่ปลายปากกาผ่านไม่ได้ด้วยซ้ำ และยังอนุญาตให้จับสัตว์น้ำในเวลากลางคืนได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องใช้ไฟล่อ ทำให้ปลาตัวเล็กตัวน้อย ลูกปลาหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาติดอวนได้ง่ายขึ้น เมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ ผลที่ตามมาคือ เหล่าสัตว์น้ำวัยอ่อนจะถูกตัดตอนการเจริญเติบโตโดยอัตโนมัติ และยังทำลายห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ เพราะการใช้อวนล้อมสัตว์น้ำในเวลากลางคืนจะมีลูกสัตว์น้ำติดมาราว 50 เปอร์เซ็นต์ และทำลายระบบนิเวศปลาไทย จนอาจกล่าวได้ว่า หลังจากนี้เราอาจไม่มีปลาไทยกินกันอีกเลย สถานการณ์ปัจจุบันของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ หลังจาก สว. ได้รับวาระ 1 เข้าสภาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาแก้ไขร่างเพิ่มเติม และจะเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภา วาระ 2 และวาระ 3 ต่อไป หากผ่านครบแล้วก็จะบังคับใช้ตามขั้นตอน หลายภาคส่วนจึงออกมาคัดค้านการแก้ไขร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ […]