เคลียร์กองดอง บริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองเปรม วันนี้ – 30 เม.ย. 66

หลายคนไม่รู้ว่ากิจกรรมที่เป็นหนึ่งในความรื่นรมย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำคือการอ่านหนังสือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมที่เคยถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากคดีทางการเมือง เคยเล่าว่า การอ่านหนังสือคือกิจกรรมที่เขาทำมากที่สุดตอนอยู่ในเรือนจำ โดยอ่านทุกอย่างตั้งแต่วรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ ยันนิตยสารรถยนต์ หลังหยุดยาววันสงกรานต์ที่ผ่านมา ชวนทุกคนเคลียร์กองดอง แยกหนังสือที่อ่านจนหนำใจแล้ว หรือซื้อหนังสือใหม่อ่านสนุก ส่งไปยังโครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.) ที่เปิดรับบริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือตำรา สารคดี หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ก็นำมาบริจาคได้หมดที่ กล่องรับบริจาคบริเวณหน้าศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชั้น 1 ของคณะนิติศาสตร์ ส่วนคนที่ไม่สะดวกเดินทาง ทางโครงการฯ ก็เปิดให้ส่งหนังสือที่อยากบริจาคมาที่ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12121 บริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง โครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.)

AG Campus โครงการเชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติ ด้วยห้องเรียนสีเขียวใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

จากกระแสที่สังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวของเมืองและความยั่งยืนกันมากขึ้น ทำให้ ‘AG Insurance’ บริษัทประกันภัยสัญชาติเบลเยียมตัดสินใจรีโนเวตอาคารสำนักงานใหม่ เพื่อให้บริเวณชั้นใต้ดินและชั้นหนึ่งเป็นเหมือนห้องเรียนสีเขียวที่เชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติในชื่อ ‘AG Campus’ AG Campus ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ภายในประกอบด้วยห้องเรียน ห้องประชุม พื้นที่เลานจ์ และ 2 หอประชุมขนาดใหญ่ ที่ออกแบบโดยมีเป้าหมายหลักคือการเล่นกับแสงสว่าง พื้นที่ว่าง และเชื่อมต่อกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานอาคาร และสร้างความยั่งยืนในโลกของเรา AG Insurance ออกแบบอาคารโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการกักเก็บน้ำฝนสำหรับนำมาใช้ในอาคาร รวมถึงสร้างหลังคาสีเขียวขึ้นจากพืชคลุมดิน และสวนสาธารณะขนาดเล็กภายในพื้นที่ว่างที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 1,500 ตารางเมตร คำแนะนำทั้งหมดเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและระบบต่างๆ ที่มีความยั่งยืนของ AG Campus ต่างได้รับความช่วยเหลือจาก ‘Rotor’ สตูดิโอออกแบบที่สร้างแนวปฏิบัติการออกแบบอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อให้ AG Campus แห่งนี้เป็นเหมือนโครงการตัวอย่างสำหรับการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนในอนาคต Sources : ArchDaily | t.ly/0UZYArchiweek | t.ly/O-Sy

ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย

สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]

Urban Eyes 32/50 เขตสายไหม Sai Mai

สัปดาห์นี้โปรเจกต์ Bangkok Eyes อยู่กันที่เขตสายไหม ซึ่งเป็นเขตที่เราแทบไม่เคยผ่านไปเลย แถมแหล่งท่องเที่ยวก็แทบไม่มี เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยวและหมู่บ้าน แทบไม่มีห้างฯ ใหญ่อยู่ในเขตนี้ แหล่งช้อปปิงส่วนใหญ่เป็นตลาดเปิด มีคอมมูนิตี้มอลล์อยู่หนึ่งแห่งถ้วน และสวนสาธารณะขนาดเล็กมาก ขนาดที่พี่วินมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ยังไม่รู้เลยว่าเขตสายไหมมีสวนด้วย ด้วยความที่เขตนี้ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง ทำให้ขนส่งสาธารณะมีน้อย จะเดินเท้าอย่างเดียวคงลำบาก เราจึงต้องพึ่งพารถยนต์ส่วนตัว และทั้งหมดนี้คือสถานที่ที่เราไปเก็บภาพผ่านสายตาแนวสตรีทโฟโต้ วัดเกาะสุวรรณาราม ━ เป็นวัดขนาดกลาง ผู้คนเข้ามากราบไหว้ยักษ์ทั้งสี่อยู่เรื่อยๆ แถมยังมีการประดับประดาวัดที่สวยงามน่าสนใจ บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งชุมชน มีคนเดินผ่านไปผ่านมาอยู่เรื่อยๆ ตลาดออเงิน ━ ที่นี่เป็นเหมือนตลาดในร่ม ขายของจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ส่วนใหญ่เน้นไปทางร้านขายอาหารและของสด ช่วงตอนเย็นๆ บรรยากาศก็คึกคักพอสมควร ตลาดวงศกร สายไหม ━ ตลาดที่นี่จะคล้ายๆ ตลาดออเงินแต่มีขนาดใหญ่กว่า ร้านรวงก็มีจำนวนมากกว่า ช่วงเย็นบางวันก็มีตลาดนัด ดูเป็นแหล่งค้าขายที่คนในเขตสายไหมน่าจะเคยมากัน สายไหม อเวนิว (Saimai Avenue) ━ คอมมูนิตี้มอลล์เพียงแห่งเดียวของเขตนี้ ถ้าใครอยากทานอาหารขึ้นห้างฯ ต้องมาที่นี่เลย ตอนเย็นๆ ที่นี่แดดจะลงผ่านอิฐบล็อกสวยมาก เป็นสถานที่หนึ่งที่น่าจะถ่ายภาพแนว Portrait […]

‘Sabus’ รถบัสเก่าที่เปลี่ยนให้เป็นซาวน่าเคลื่อนที่ ออกเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ 

เมื่อไม่มีการนำไปใช้งานต่อ ‘รถบัสรุ่นเก่า’ อาจต้องจอดทิ้งไว้เฉยๆ เพื่อรอการแยกชิ้นส่วน แต่บริษัทสตาร์ทอัปในประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ยังใช้งานได้ของรถโดยสารประเภทนี้ จึงเกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสานการชมวิวผ่านหน้าต่างรถและการอบซาวน่าไว้ในรถคันเดียวกัน ‘OSTR’ บริษัทสถาปัตยกรรมในโอซาก้าได้ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัป ‘Sauna Ikitai’ ในการเปลี่ยนรถบัสเก่าให้กลับมาใช้งานได้ แต่เป็นในรูปแบบของซาวน่าเคลื่อนที่ ที่จะเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ ซาวน่าติดล้อนี้มีชื่อว่า ‘Sabus’ เป็นรถบัสที่ได้รับการปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกระดับความร้อนได้จากตำแหน่งที่นั่งและระยะห่างจากเพดาน โดยแถวแรกจะอยู่ใกล้เตาที่สุดและได้รับความร้อนโดยตรง ซึ่งสามารถควบคุมปุ่มทำความร้อนเองได้ แถวที่สองจะมีพื้นสูงและอยู่ใกล้เพดานมากที่สุด และแถวสุดท้ายจะนั่งสบายที่สุด ด้วยม้านั่งแบบยาวที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการยืดขาหรือจะนอนก็ยังได้ อุปกรณ์ซาวน่าส่วนใหญ่ทำขึ้นจากการนำชิ้นส่วนในรถบัสมาใช้ใหม่หรือปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นราวจับที่ติดกับที่นั่งที่นำป่านมาหุ้มเพื่อให้รู้สึกสบายยิ่งขึ้น สายสำหรับห่วงจับถูกนำมาใช้กับเทอร์โมมิเตอร์เพื่อบอกอุณหภูมิภายใน กล่องตั๋วที่มีหมายเลขก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำหอม ส่วนบริเวณด้านหน้าของรถบัสยังถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนและเก็บสัมภาระ โดยรถคันนี้ยังคงรักษาหน้าต่างขนาดใหญ่เอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ชมวิวทิวทัศน์ระหว่างที่ซาวน่าเคลื่อนตัวไปด้วย สำหรับรูปลักษณ์ด้านนอกนั้นยังคงลักษณะของรถบัสสีส้มเอาไว้ แต่มีการเพิ่มเติมองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เติมเส้นสีฟ้าอ่อนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างซาวน่ากับอ่างน้ำเย็น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการใช้งานใหม่ และป้ายข้อมูลไฟฟ้าด้านหน้ารถบัสที่เปลี่ยนให้เป็น ‘ซาวน่าไอน้ำ 37’ ซึ่งหมายถึงซาวน่าที่จะพกพาไปยังที่ต่างๆ รวมไปถึงรูปสัญลักษณ์ของรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญลักษณ์ของห้องซาวน่าแทน Sources :Designboom | bit.ly/3zP5bdyOSTR | bit.ly/3ZWpnVySauna Ikitai | bit.ly/3mrI6dW

โรงเรียนอนุบาลใต้ทางรถไฟยกระดับในโตเกียว บรรยากาศอบอุ่น มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้ง ไอเดียเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์และปลอดภัย

ในความหนาแน่นของเมืองและผู้คน การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยคือหนึ่งในโจทย์สำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกยังคงหาทางออกอยู่เสมอ วันนี้เราอยากพาไปดูหนึ่งไอเดียสำหรับการออกแบบพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สถานที่แห่งนี้คือ ‘โรงเรียนอนุบาล’ ที่ตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับในมาจิยะ ใจกลางเมืองโตเกียว ทางรถไฟที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อมีการเกิดขึ้นของทางรถไฟยกระดับแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือมีร้านค้าและบ้านเรือนถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ทางด้านล่าง ก่อเกิดเป็นภูมิทัศน์ใจกลางเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย  ในเวลาต่อมา ชาวเมืองถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับการเสริมโครงสร้างยกระดับจากแผ่นดินไหว สถานที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างให้ว่างเปล่าเป็นเวลานาน และได้เริ่มต้นนำกลับมาใช้ใหม่โดยปรับปรุงพื้นที่ด้วยการสร้างโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เมืองกำลังขาดแคลนเพราะไม่มีที่ทางจะสร้างนั่นเอง โดยโครงสร้างทางยกระดับที่ตัดผ่านตัวเมืองแห่งนี้มีคานที่สูงประมาณ 3.9 เมตร และมีระยะความกว้างระหว่างเสาประมาณ 6 เมตร ซึ่งกว้างขวางพอเหมาะมากสำหรับการสร้างพื้นที่ห้องเรียนหรือห้องอเนกประสงค์ต่างๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และทางสถาปนิกก็ยังทำการออกแบบหลังคาขนาดใหญ่ยาว 70 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกันระหว่างขนาดของโครงสร้างยกระดับและขนาดของสถาปัตยกรรม รวมถึงยังทำผนังของโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ให้ปลอดภัยและห่างไกลอันตรายจากความเร่งรีบของการจราจรบนท้องถนน ภายใต้สะพานยกระดับซึ่งเป็นหลังคาขนาดใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้งที่ไม่เหมือนใคร สร้างขึ้นจากการซ้อนทับของโครงสร้าง และโครงสร้างที่สูงก็กลายเป็นหลังคาช่วยปกป้องสนามเด็กเล่นจากแดดจ้า ฝนชุ่มช่ำ และทำให้แสงยังสอดส่องได้อย่างเพียงพอ นอกจากเครื่องเล่นแล้ว โรงเรียนอนุบาลยังมีลานซักล้างและลานจอดจักรยานด้วย จากพื้นที่ที่คนเมืองรู้สึกอันตรายอย่างใต้ชายคาทางยกระดับ ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยและกลายเป็นอีกสถานที่ในเมืองที่ทำให้ผู้คนได้เพลิดเพลินไปกับดอกไม้และต้นไม้ที่ปลูกบริเวณโรงเรียน และเมื่อมีการสัญจรผ่านไปบนท้องถนนก็จะทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นชีวิตประจำวันของเด็กๆ เป็นเสมือนฉากการเติบโตขึ้นของอนาคตประชากรของเมืองที่เลื่อนเปลี่ยนผ่านไปในทุกวัน Source :ArchDaily | t.ly/Oq4jd

Faces of Amata Nakorn ‘อมตะนคร’ นครนิรันดร์

‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่

ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร

‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]

เมืองที่ออกแบบไม่ดี ทำให้คนขี้เกียจ กับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.24

รู้ไหมว่าการที่คนญี่ปุ่น คนออสเตรเลีย หรือคนในแถบสแกนดิเนเวีย มีนิสัยชอบเดิน ชอบขยับตัว มีความคล่องแคล่วว่องไวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุจากค่านิยมหรือการปลูกฝังต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่เหตุผลสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การออกแบบเมืองที่ดี กระตุ้นให้คนเดินได้และเดินดีนั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อเราสามารถเดินทางด้วยสองเท้าของเราได้ในเมือง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ สั่งเดลิเวอรี หรือไม่ออกไปข้างนอก เพราะถนนหนทางที่ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญกับผู้คน ได้รองรับสองเท้า ไม้เท้า หรือกระทั่งล้อวีลแชร์ไว้เรียบร้อยแล้ว ยังไม่นับรวมพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแอ็กทีฟอื่นๆ อีก ใครที่อยากรู้ว่าการออกแบบเมืองทำให้คนคล่องแคล่วหรือขี้เกียจได้อย่างไร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จะมาอธิบายถึงประเด็นนี้อย่างเจาะลึกให้ฟัง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/anrELk5j5_A Spotify : http://bit.ly/3KUMJX2 Apple Podcasts : http://bit.ly/3o9nibm Podbean : http://bit.ly/3KSdUSn

‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูแม่เหล็ก ที่ทุบแตกกี่ครั้ง ก็ประกอบใหม่ได้

ถ้าถามถึงความเศร้าหนึ่งที่เราต้องเผชิญในวัยเด็ก คงเป็นการหยอดกระปุกออมสินหมูมานานแรมปี แต่เมื่อต้องทุบหมูเซรามิกเพื่อเอาเหรียญที่หยอดไว้ออกมากลับทำใจไม่ได้ซะอย่างนั้น เพื่อให้ฝันของเด็กไม่ต้องสลายไป ‘Dario Narvaez’ จึงได้ออกแบบกระปุกออมสินหมูขึ้นมาใหม่ โดยมีความพิเศษคือสามารถทุบเพื่อนำเศษเหรียญออกมา และประกอบกระปุกออมสินเข้าด้วยกันใหม่ได้ โดยตั้งชื่อให้การออกแบบนี้ว่า ‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูสีขาวล้วนที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่แตกร้าวแทนที่จะปกปิดไว้อย่างแนบเนียน เป็นกิมมิกเล็กๆ ของ The Penny Piggy Bank ที่ Dario Narvaez ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยทองและยางไม้ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ เมื่อออกแรงทุบไปที่ The Penny Piggy Bank รอยแตกร้าวดังกล่าวจะแบ่งตัวกระปุกออมสินหมูออกเป็นชิ้นส่วน PVC ทั้งหมด 12 ชิ้น ที่ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อรอยขีดข่วนที่เกิดจากการทุบกระปุกออมสินซ้ำๆ และสามารถประกอบขึ้นใหม่ได้ตลอดการใช้งานด้วยแม่เหล็กที่ถูกซ่อนไว้ภายใน นอกจากนี้ The Penny Piggy Bank ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับเด็กผ่านการประกอบกระปุกออมสินขึ้นมาใหม่ เพราะโครงสร้างที่ไม่เหมือนใครของกระปุกออมสินจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ได้หลายพันวิธี ผ่านการจัดเรียงหรือหมุนชิ้นส่วนบางชิ้นในลักษณะต่างๆ คล้ายตัวการ์ตูน Mr. Potato Head ในเรื่อง Toy […]

สนทนาถึงปัญหาสัตว์จรจัดกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ แห่งบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’

ในขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์เลี้ยง’ แทนการมี ‘ลูก’ มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตัวเองได้ แต่จากการพูดคุยกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ เจ้าของบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’ หรือหลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าในชื่อเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ ช่องทางที่ให้ความช่วยเหลือแมวและสัตว์จรจัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เรากลับพบว่าการที่คนให้ความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นแต่ขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสัตว์จรจัดไม่ต่างจากในอดีต แถมยังเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำในช่วงโรคระบาด จากสาเหตุนี้เอง ทำให้ Catster by Kingdomoftigers หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าบ้านพักพิงแมวจร ที่รับดูแลตั้งแต่การปรับนิสัย ปรับพฤติกรรม รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของแมวเพื่อรอการหาบ้าน มีแมวจรจัดต่อคิวเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก “ปัจจุบันคนรักสัตว์มีเยอะขึ้น แต่คนที่ไม่รักและมองว่าสัตว์ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือก็ยังมีอยู่ เราอยากให้คนมีความรู้เกี่ยวกับแมวจรมากขึ้น เพราะเวลาสัตว์เป็นอะไรนิดๆ หน่อยๆ คนจะเริ่มกังวลและไม่ดูแล เอาไปทิ้งก็เยอะ” จากเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ กลายมาเป็น ‘Catster by Kingdomoftigers’ ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของ Catster by Kingdomoftigers มาจากการที่เราทำเพจทูนหัวของบ่าวมาประมาณ 10 กว่าปี และพบว่าแม้เราจะพยายามช่วยเหลือสัตว์จรจัด […]

บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัด สำหรับครอบครัวที่ไม่สะดวกพาไปเอง กับเพจเฟซบุ๊ก ‘ลูกสาวพาหาหมอ’

เมื่อถึงวัยหนึ่ง การไปหาหมอตามนัดอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่พออายุมากขึ้น การจะไปไหนมาไหนเองคงไม่สะดวก ลูกหลานก็อาจไม่ว่างพาไปหาหมอทุกครั้ง บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัดจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ข้อนี้ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ คือธุรกิจให้บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดขึ้นจาก ‘เอมี่-อมรรัตน์ ขันตยาภรณ์’ และลูกสาวผู้ทำหน้าที่พาผู้สูงอายุในบ้านไปหาหมอเป็นประจำ เนื่องจากญาติคนอื่นๆ มักไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ทั้งคู่นึกถึงครอบครัวอื่นๆ ที่คนในครอบครัวอาจประสบปัญหาไม่ว่างพาผู้สูงอายุไปหาหมอ จนเกิดเป็นไอเดียที่อยากให้บริการนี้ขึ้นมา หน้าที่ของ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จะเริ่มต้นตั้งแต่รับผู้สูงอายุจากที่บ้าน พาไปโรงพยาบาล ดำเนินการเรื่องเอกสาร เข้าพบคุณหมอพร้อมกับผู้ป่วยด้วยหากเป็นเคสที่ต้องการ ไปจนถึงพากลับบ้านอย่างปลอดภัย โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการอัปเดตความคืบหน้าให้ญาติผู้สูงอายุทราบอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากเป็นงานที่ต้องนัดล่วงหน้า ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จึงไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ รวมถึงผู้ป่วยเองต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น พูดคุยสื่อสารและเดินได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่รถยนต์ ทำให้พวกเธอไม่สะดวกรับผู้ป่วยที่นั่งวีลแชร์ตลอดเวลาได้ อัตราค่าบริการนี้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อ 8 ชั่วโมง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางที่เริ่มต้นด้วย 300 บาท หรือคิดตามระยะทางระหว่างบ้านลูกค้าถึงโรงพยาบาลทั้งขาไป-ขากลับ ซึ่งหากใครต้องการใช้บริการต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนถึงวันนัด เพราะถ้าจองช้าคิวอาจเต็มก่อนได้ ปัจจุบัน ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ เน้นการให้บริการเพียงพาผู้สูงอายุไปหาหมอเท่านั้น แต่ในอนาคต หากลูกค้ามีความต้องการอื่นๆ ก็อาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การพาไปซื้อของหรือบริการอื่นๆ […]

1 80 81 82 83 84 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.