ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน

เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้

Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

ได้เวลาเริ่มต้นเส้นทางศิลปินอาชีพ DS.RU.BAND และ Boy in love คว้าแชมป์ในรายการ THE POWER BAND 2024 SEASON 4

กว่า 6 เดือนที่เหล่านักล่าฝันฝ่าฟันกันมา ในที่สุดพวกเขาก็เดินทางมาถึงจุดหมายที่ปิดฉากไปอย่างสวยงามกับ ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ เวทีประกวดวงดนตรีสากลคุณภาพระดับประเทศ ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตาแห่งความยินดี ภายใต้คอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ คิง เพาเวอร์ ไทย เพาเวอร์ พลังคนไทย, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงชั้นนำ ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS ENTERTAINMENT, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่ร่วมมือกันผลักดันให้เกิดงานนี้มองว่า THE POWER BAND 2024 ที่เดินทางกันมาจนถึงปีที่ […]

เซฟเก็บไว้อ่านยามน้ำท่วม หนังสือ ‘คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด’ เปิดให้อ่านและดาวน์โหลดทางออนไลน์

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายๆ บ้านน่าจะประสบปัญหาฝนสาดน้ำท่วมกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าท่วมน้อยๆ แป๊บๆ แล้วน้ำลดก็คงไม่เป็นอะไร แต่บางบ้านไม่ใช่แบบนั้น เพราะต้องขนข้าวของขึ้นที่สูง อยู่กับน้ำท่วมเกือบครึ่งตัว และระบบต่างๆ ในบ้านใช้การไม่ได้เลย แต่เมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้น น้ำลดลง ปัญหาที่ตามมาต่อคือ แล้วจะทำยังไงกับบ้านและทรัพย์สินของเราที่เสียหาย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำ คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกและประชาชนที่สนใจในรูปแบบออนไลน์ การเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหาในเล่มจะเริ่มจากเรื่องที่สำคัญที่สุดไปยังสำคัญน้อยที่สุด โดยแนวทางและวิธีการที่นำเสนอนั้นเป็นหลักการเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นหลักการเตรียมตัวและดำเนินการ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม การดำเนินการ การจัดการระบบไฟฟ้า ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน การทำความสะอาด ระบบสุขาภิบาล ประตู หน้าต่าง พื้น ผนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และต้นไม้ อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ asa.or.th/handbook/home-affter-flood

เช็กตารางเดินรถในอ่างทองบนแพลตฟอร์ม ‘at-transit’ ช่วยลดระยะเวลารอรถโดยสาร

ปัญหาหลักๆ ของผู้โดยสารที่ใช้รถขนส่งสาธารณะในต่างจังหวัดคือ การรอรถอย่างไร้จุดหมาย โดยเฉพาะบางเส้นทางที่ไม่ได้มีเวลาแจ้งเอาไว้ชัดเจน ทำให้หลายคนต้องเสียเวลาในการรอไปโดยใช่เหตุ เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดอ่างทองด้วยเหมือนกัน ทำให้เจ้าของเพจ ‘เมื่อไรรถจะมา‘ ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่ประสบปัญหาได้สร้างเว็บไซต์ ‘at-transit’ ที่เป็นช่องทางในการแจ้งจุดรอรถ ตารางเวลา และเส้นทางรถในสถานีขนส่งต่างๆ ภายในจังหวัดขึ้นมา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เล่าให้ Urban Creature ฟังถึงจุดเริ่มต้นในการทำเว็บไซต์นี้ว่า มาจากปัญหาที่ได้เจอในฐานะของผู้โดยสารขาจรที่นานๆ ครั้งจะใช้รถโดยสารสักที แต่กลับพบว่าสายรถที่เคยใช้บริการไปก่อนหน้านี้มีการปรับเปลี่ยนเวลาบ้าง เปลี่ยนเส้นทางบ้าง หรือบางสายก็ยกเลิกเส้นทางการวิ่ง เช่น รถสองแถวหรือรถตู้ระหว่างจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน เลยคิดว่าคงมีอีกหลายคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน จึงได้ริเริ่มทดลองทำเว็บไซต์ at-transit ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารกันระหว่างผู้โดยสารกับรถโดยสาร จริงอยู่ที่รถบางสายจะมีการส่งต่อข้อมูลให้กับผู้โดยสารประจำบนโซเชียลมีเดียผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์ หรือโอเพนแชต หรือรถบางประเภทอาจจะต้องคอยสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งช่องทางเหล่านี้อาจไม่สะดวกต่อบางคน at-transit จึงสำรวจและเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเหล่านี้มารวบรวม พร้อมเผยแพร่ให้ผู้โดยสารโดยเฉพาะขาจรติดตามได้ง่ายขึ้น ด้วยการให้คนขับรถ เจ้าของคิวรถ หรือคนปล่อยรถ มากรอกเวลาการเดินทาง เพื่อส่งต่อข้อมูลที่อัปเดตขึ้นแสดงบนหน้าแพลตฟอร์ม และสามารถเซฟเป็นไฟล์รูปเพื่อนำไปส่งต่อบนแพลตฟอร์มอื่นๆ แม้ว่าข้อมูลรถที่มีจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไรนัก ด้วยความที่ช่วงนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลอยู่ แต่ at-transit ก็ได้รับคำชมจากกลุ่มผู้ขับรถโดยสารค่อนข้างมาก เพราะก่อนหน้านี้เคยมีการทำตารางเดินรถด้วยเหมือนกัน แต่ต้องหยุดไปในช่วงโควิด ดังนั้น at-transit ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยกระจายข่าวสารให้กับกลุ่มรถโดยสารเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ […]

‘สามย่านมิตรทาวน์’ 5 ปีของการเป็นพื้นที่แห่งความเป็นมิตรของคนเมือง และพร้อมเติบโตคู่ชุมชนสามย่าน

การพัฒนาของเมืองไม่มีวันหยุดนิ่ง เพราะทุกๆ ส่วนของเมืองมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นย่านเก่าหรือย่านใหม่ ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปในสักวัน เพียงแต่การพัฒนาโครงการต่างๆ นั้นจะทำอย่างไรให้ตัวพื้นที่ยังคงอยู่คู่กับประวัติศาสตร์พื้นที่ต่อไปได้พร้อมๆ กับการเข้ามาของสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบใหม่ๆ  เหมือนที่ ‘Frasers Property’ ออกแบบโครงการที่มาเติมเต็มย่านสามย่านให้สมบูรณ์แบบ โดยที่ยังไม่ทิ้งความเป็น ‘สามย่าน’ ไป ‘สามย่านมิตรทาวน์’ คือ Mixed-use ที่เต็มไปด้วยความพร้อมในการให้บริการหลากหลายรูปแบบ จัดสรรให้ครบทุกความสะดวกสบายที่ชาวเมืองต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นสามย่านในอดีตเอาไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของโครงการแห่งนี้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ได้มอบประสบการณ์มากมายให้กับผู้คนที่เข้าไปใช้บริการ คอลัมน์ Re-desire ขอพาทุกคนย้อนกลับไปดูจุดตั้งต้นของโครงการมิกซ์ยูสแห่งนี้ ที่ทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งมิตรที่เติบโตมาในย่านเก่าแก่ แต่ยังคงความเป็นสามย่านเอาไว้ได้ สามย่าน ย่านเก่าที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความคึกคัก หากพูดถึงสามย่าน นอกจากความเป็นย่านเก่าแล้ว เรายังนึกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบของชุมชนที่เต็มไปด้วยความคึกคักจาก ‘ตลาดสามย่าน’ ตลาดใหญ่ที่เชื้อเชิญให้เหล่าพ่อบ้านแม่บ้านมาเลือกซื้อสินค้าทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง รวมถึงผู้คนที่ตบเท้ากันมาอุดหนุนร้านอาหารภายในตลาด เพราะเมื่อตลาดสดปิด ตลาดอาหารก็จะเปิด ทำให้พื้นที่แห่งนี้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างจุดเด่นและสีสันให้กับตลาดสามย่านได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตลาดที่ทำให้ย่านมีผู้คนเดินกันขวักไขว่เท่านั้น แต่ยังแวดล้อมไปด้วยภัตตาคารชื่อดัง โรงภาพยนตร์ โรงเรียน ธนาคาร คาเฟ่ และอีกหลายสถานที่ที่อยู่กับสามย่านมาอย่างยาวนาน ด้วยความที่การเดินทางสะดวกสบาย ก็ยิ่งตอกย้ำความคึกคักของสามย่านที่เปิดรับผู้คนจากทั่วทุกพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการต่างๆ ภายในย่าน และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภายในย่านมีการพัฒนาพื้นที่ให้ทันสมัยมากขึ้น […]

ทำไมซอยแคบถึงเป็นตัวร้ายในการพัฒนาเมือง และเมืองที่จัดการกับความคับแคบให้กลายเป็นประโยชน์

‘ความแคบ’ เป็นคำที่ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ หลายต่อหลายคนเกลียดความแคบจนเกิดเป็นโรคกลัวที่แคบ เพราะใครจะอยากนำตัวเองเข้าไปในที่แสนอึดอัด โดยเฉพาะ ‘ซอยแคบ’ ที่ทั้งเดินเท้าลำบาก รถยนต์เข้ายาก แต่ดันง่ายต่อการหลงทางอย่างที่ Google Maps ก็ช่วยไม่ไหว ทางแคบเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดการจัดการผังเมืองที่ดีจนนำไปสู่ปัญหาซอยขนาดเล็กผุดขึ้นทั่วทั้งเมือง รวมถึงซอยตันซึ่งเกิดจากเอกชน เมื่อดินเริ่มพอกหางหมู ปัญหาอื่นๆ ก็เดินเท้าเรียงตามกันมา แต่ทุกเมืองย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน ในบางครั้งซอยแคบดันกลายเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาอย่างคาดไม่ถึงทั้งเรื่องความปลอดภัยและมลภาวะ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมองว่าซอยแคบเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ดังนั้นคอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลงเดินสำรวจซอยแคบทั่วโลก เพื่อส่องปัญหาและการจัดการในแต่ละบริบท จนไปถึงด้านสว่างของซอยแคบ ซอยแคบ ซอยตัน กับการเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ’ คือความโกลาหล ซอยเล็กถนนน้อยหรือตึกพาณิชย์ที่ตั้งติดกับบ้านคน อาจเรียกได้ว่าเราเริ่มผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก ซึ่งซอยแคบคือหนึ่งในผลพวงที่ตามมา ทั้งการจราจรที่ติดขัดในซอย ความปลอดภัยในการเดินเท้า ขนส่งสาธารณะที่เข้าไม่ถึง ทำให้รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น ยังไม่นับรวมความแออัดของชุมชน ลามไปถึงรถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถดับเพลิงที่บางครั้งไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะความคับแคบของถนน ‘ปัญหาเมืองแตก’ เรื้อรังอยู่กับกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน อีกทั้งการคิดแก้ปัญหาโดยการวางผังและรื้อเมืองใหม่ทั้งหมดยิ่งฟังดูเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตัวอย่างเมืองในต่างประเทศที่เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันคือ อิตาลีกับการมีซอยแคบในเขตเมืองเก่า ที่เกิดจากการตัดถนนในสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับรถยนต์ในการสัญจรบนทางรถม้าที่คับแคบและถนนไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางซอยแคบเสียจนยานพาหนะปัจจุบันไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้จราจรติดขัดอยู่เป็นครั้งคราว แต่จะให้มองเพียงแง่ร้ายคงไม่ได้ เพราะซอยแคบตัวแสบกลับใช้ข้อจำกัดของตัวเองสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้อย่างน่าสนใจในหลายๆ […]

‘reBAG’ ขอพลาสติกยืดคืนกลับมารีไซเคิลกับแคมเปญจากไปรษณีย์ไทย X TPBI หย่อนฟรี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขา

สำหรับใครที่เป็นนักช้อปออนไลน์ คงคุ้นเคยกับการรีไซเคิลกล่องพัสดุ แต่สำหรับซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกอื่นๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพวกมันก็รีไซเคิลได้เช่นกัน เพื่อสานต่อโครงการ Green Hub ที่ก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับแคมเปญ reBOX ที่ช่วยรีไซเคิลกล่อง ซอง และกระดาษไม่ใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 137,000 กิโลกรัมในปี 2566 ‘บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด’ จึงร่วมมือกับ ‘บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)’ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทำแคมเปญ ‘reBAG’ ขึ้น จุดประสงค์คือการชวนทุกคนเก็บรวบรวมซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วส่งคืนกลับมารีไซเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะฝังกลบ ลดโอกาสเกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสามารถวนถุงใบใหม่กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม แค่รวบรวมแล้วนำไปหย่อนหรือดรอปที่ ‘กล่องรับของโครงการ reBAG’ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขาทั่วประเทศฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ดูประเภทถุงและฟิล์มพลาสติกที่รับรีไซเคิลและสาขาที่ตั้งของกล่องรับของโครงการ reBAG เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Won

ผ่อบ้านเก่า แอ่วเมืองแป้ แลโบราณคดีชุมชน กับเมือง ‘แพร่’ ที่ไม่ได้มีแค่ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์

จุดหมายปลายทางของคนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือ มักจะหยุดอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย หรือถัดออกมาหน่อยคงเป็นน่าน แต่สำหรับ ‘แพร่’ จังหวัดเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสี่ทิศ อาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ ของใครหลายคน แต่ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบการเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชุมชน และสนใจเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี เชื่อเถอะว่าถ้าได้มาเยือนจังหวัดแพร่ด้วยตัวเองสักครั้งจะต้องติดใจ อยากกลับมาอีกแน่นอน เพราะที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคเหนือที่มีภาคประชาสังคมที่แข็งแรง และพร้อมผลักดันเมืองที่เต็มไปด้วยมนตร์เสน่ห์แห่งนี้ให้ก้าวไปข้างหน้า คอลัมน์ Neighboroot ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับแพร่ในแง่มุมต่างๆ ผ่าน 3 สถานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,500 ปี ‘อาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน (บ้านเขียว)’ พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของชาวแพร่ที่ถูกบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ และ ‘กาดกองเก่า’ กาดแลงประจำวันเสาร์ที่กลายเป็นจุดนัดพบของคนในท้องถิ่น ว่าสถานที่เหล่านี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร และเพราะอะไรจึงไม่ควรพลาดหากได้ไปเยือน เปิด ‘บ้านนาตอง’ โบราณคดีชุมชน แหล่งเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินทางครั้งนี้เราตั้งต้นกันที่ตัวเมืองแพร่ เพื่อนัดเจอ ‘ลุงไกร-วุฒิไกร ผาทอง’ หนึ่งในสมาชิกข่ายลูกหลานเมืองแพร่ เครือข่ายภาคประชาสังคมของจังหวัดแพร่ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนที่มีความรักในท้องถิ่นเมืองแพร่ ผู้จะเป็นคนนำเราไปเรียนรู้เรื่องราวของเมืองแพร่ในแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยมี ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ เป็นจุดหมายแรกของเราในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ถัดออกไปจากตำบลช่อแฮ ที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ […]

5 โรคฮิตที่คนเมืองเป็นกันไม่หาย คุณอาจไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’

ความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหลายๆ โรคที่คุณป่วยอยู่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ สิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน ระบบต่างๆ ในร่างกาย เพราะอวัยวะต่างๆ นั้นต่างต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง ระบบทางเดินหายใจ หรือแม้แต่การผลิตวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ ซึ่งภูมิต้านทานของคนเรามีมากถึง 70% ในลำไส้ หมายความว่า ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้เราไม่สมดุล ก็อาจจะส่งผลต่อโรคมากมายที่จะเกิดขึ้นมาตามมา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ลองมาดูว่าจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น มีผลกับอาการเจ็บป่วยอะไรบ้างที่คนเมืองยุคนี้เป็นกัน ถ้าคุณพยายามกินผักทั้งสวนแล้วก็ยังไม่ถ่าย หรือกินอะไรผิดสำแดงนิดหน่อยก็ท้องเสีย อาการแบบนี้เราเรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มักจะมีอาการท้องผูก, ท้องเสีย หรือเป็นทั้งสองอย่าง สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับสภาวะไม่สมดุลของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ ชื่อจุลินทรีย์ Methanogens ซึ่งสามารถสร้างก๊าซมีเทนได้ โดยผู้ป่วยจะมีจุลินทรีย์จำพวก Methanogens ในปริมาณมาก จะผลิตแก๊สมีเทนออกมามาก ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง มีก๊าซเกินในกระเพาะและลำไส้ โดยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างกรดไขมันที่จะช่วยลดการอักเสบของลำไส้ลงได้ ภูมิแพ้อากาศ จามบ่อยเป็นว่าเล่น แม้จะดูแลทำความสะอาดห้องใช้เครื่องฟอกอากาศก็แล้ว แต่อาการที่ว่าก็ยังไม่หายไปสักที สาเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในลำไส้เหมือนกัน เพราะคนที่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล มีโอกาสที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารอาหาร บรรดาสารพิษ สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรคจึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยไม่ผ่านการกรอง ซึ่งเรียกว่า “ภาวะลำไส้รั่ว” หรือ “Leaky […]

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

1 5 6 7 8 9 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.