
LATEST
เที่ยวเกาหลีใต้แบบโลกคู่ขนานตามซีรีส์ ‘The King : Eternal Monarch’
หากใครเป็นแฟนซีรีส์เกาหลีตัวยง ตั้งแต่การดูผ่านจอแก้วตลอดวันหยุดสุดสัปดาห์ มาจนถึงการสตรีมมิ่งผ่านช่องทางออนไลน์แล้วล่ะก็ คงรู้เกี่ยวกับเทรนด์ ‘ตามรอยซีรีส์เกาหลี’ ที่มีมาตั้งแต่ยุคป๋าเบยองจุน และชเวจีอู จาก ‘Winter Sonata (เพลงรักในลมหนาว)’ ที่ทำเอา ‘เกาะนามิ’ ดังเป็นพลุแตก หรือจะเป็นยุค ‘Dae Jang Geum (แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง)’ ที่เพิ่มความป็อปปูลาร์ให้กับ ‘อาหารเกาหลี’ แถมยังเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในเกาหลีใต้ ปี ค.ศ. 2003 เพื่อตามรอยแดจังกึมมากกว่า 4.75 ล้านคน จนเกิดเป็นกระแสเกาหลี (Korean Wave) หรือ ฮัลรยู (Hallyu) ให้บูมไปทั่วโลก
เปลี่ยน ‘เศษผ้าจากชุดว่ายน้ำ’ ให้กลายเป็นเซ็ตกระเป๋าแฟชั่น
พูดคุยกับ ‘เนย-สุนัดดา นรสาร’ นักออกแบบสิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อม เจ้าของแบรนด์ ‘@Mamawell’ ที่สานต่อวิทยานิพนธ์ ด้วยการหยิบ ‘เศษผ้าจากชุดว่ายน้ำ’ มาแต่งแต้มดีไซน์จนสวยเก๋ ให้กลายเป็นไอเท็มกระเป๋าสุดชิคที่สามารถใส่ของกระจุกกระจิก หรือพกใส่ของจริงจังก็ได้ แถมยังเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นสินค้าชิ้นใหม่ที่สร้างประโยชน์ได้มากกว่าการทิ้งเปล่าอีกด้วย !
10 คำถามคาใจ อะไรจะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 จบลง
Urban Creature จึงเกิด 10 คำถามคาใจที่อยากชวนทุกคนมาร่วมแก้ไขหาคำตอบด้วยกัน ตั้งแต่รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ? การปรับตัวของอาคารสำนักงาน ? ผู้คนจะหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ? หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ จะกลายเป็นของที่ทุกคนมีติดกระเป๋า ? การดีไซน์เมืองจะเปลี่ยนไป ? รวมถึงร้านอาหารที่นั่งน้อยลง เน้นส่งเดลิเวอรี่ ? ไปจนถึงพลังงานทดแทนจะเข้าถึงง่ายขึ้น ?
แปลงโฉม ‘เต็นท์’ เป็น ‘ห้องเรียน’ แบบมีระยะห่างทางสังคม
‘Curl la Tourelle Head Architecture’ กับโปรเจกต์การออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนรูปแบบเต็นท์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
หน้ากากอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย
ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย
ได้ใช้เมื่อไหร่ ? ‘ฟ้าทะลายโจร’ ความหวังยุคโควิด-19
‘สมุนไพรฟ้าทะลายโจร’ ทีมแพทย์ของไทยเองนเล็งเห็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร จึงหยิบนำมาศึกษาในหลอดทดลอง ปรากฎว่าสามารถต้านและยับยั้งไวรัสได้ ขั้นตอนต่อไปคือทดลองในผู้ป่วยจริง อย่างนี้แล้วคนไทยจะมียารักษาโควิด-19 เร็วๆ นี้ไหม ?
ปรับตัวเพื่ออยู่รอดในยุค ‘Digital Disruption’ คุยกับ ‘ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา’
นี่คือยุค digital disruption ที่เทคโนโลยีสามารถทำได้ทุกอย่าง ถึงเวลาต้องเลือกระหว่าง ให้โลกกำหนดคุณ หรือ คุณจะชิงปรับตัวเองก่อนที่ใครจะมาแซงหน้า ?
‘Keret House’ แคบแต่ครบ บ้านที่เล็กสุดในโลก
คำว่า ‘ที่สุดในโลก’ มักจะมาพร้อมกับความพิเศษเสมอ อย่างบ้านหลังหนึ่งในประเทศโปรแลนด์ที่ชื่อว่า ‘Keret House’ เป็นบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่แทรกอยู่ระหว่างตึกเก่าสองหลังในใจกลางกรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
ทนได้ไหม? ถ้าต้องเว้นระยะห่างทางสังคมและ ‘อยู่เงียบๆ’ คนเดียว
คนเราจะอยู่เงียบๆ คนเดียวโดยไม่ทำอะไรเลยได้กี่นาที?
ภาชนะ ‘ECO’
ปริมาณขยะจาก ‘ภาชนะ’ กองมหึมา ทั้งวัสดุพลาสติก และโฟมที่ไม่เคยลดลงเสียที รวมถึงการ ‘ย่อยสลาย’ ที่กินเวลานับร้อยปีกว่าจะหมดจด แถมยังส่งผลเสียต่อโลก แต่ก็คงไม่เหลือบ่ากว่าแรงมนุษย์ที่จะคิดค้นทางเลือก อุปกรณ์กิมดื่มใหม่ๆ ที่สามารถกินดื่มได้อย่างสบายใจ และปลอดภัย โดยเฉพาะภาชนะที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอดทั้งเดือนพฤษภาคมนี้ เราจะพาทุกคนไปดูว่า ภาชนะ Eco มีอะไรบ้าง และดีต่อ ‘โลก’ อย่างไร ?
เพนกวินทัวร์มิวเซียมแบบส่วนตัว
ในสถานการณ์ COVID-19 ที่หลายสถานที่ต้องปิดให้บริการ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการสัมผัส หรือ Social Distancing อยู่นั้น จนทำให้อาการกักตัวอยู่ที่บ้านนานๆ เกิดเป็นความเครียดสะสมได้ ซึ่งไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่โหยหาพื้นที่กว้างๆ หรือกิจกรรมให้ทำแก้เบื่อ แต่บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ก็ต้องการเช่นกัน ไม่นานมานี้ทางพิพิธภัณฑ์ ‘Nelson-Atkins’ ที่ปิดบริการอยู่ ได้เปิดทัวร์ส่วนตัวให้เจ้าเพนกวิน 3 จากสวนสัตว์แคนซัสซิตี้ที่ปิดบริการอยู่เช่นกัน ให้น้องๆ ได้เข้ามาเดินชมผลงานศิลปะกันอย่างน่ารัก ซึ่งเจ้าเพนกวินทั้ง 3 ตัวมีชื่อว่า ‘บับเบิ้ล’ อายุ 5 ขวบ ‘แม็กกี้และเบิร์กลีย์’ อายุ 7 ขวบ ก็ดูจะชอบผลงานของ ‘Caravaggio’ มากกว่าผลงาน ‘Monet’ เลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นทัวร์ทัศนศึกษาที่มิวเซียมให้ผ่อนคลาย ก่อนที่สวนสัตว์จะเปิดขึ้นอีกครั้งนั่นเอง แล้วมนุษย์อย่างเราจะมีวิธีคลายเครียดกับสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ไปส่องความน่ารักของน้องเพนกวินได้ที่ลิงก์นี้ Source : artnet news | bit.ly/3dYxNns Photo : Gabe Hopkins.
‘โรงรับจำนำกรุงเทพฯ’ ที่พึ่งยามขัดสนเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินบรรเทาโควิด
หากพูดถึงที่พึ่งยามข้าวยากหมากแพง สถานที่แรกที่คนจะนึกถึงคงเป็น ‘โรงรับจำนำ’ หรือ ‘โรงตึ๊ง’ ในอดีตโรงรับจำนำเป็นที่ที่ใครก็หลีกเลี่ยงด้วยตัวโรงรับจำนำเป็นผนังทึบ มีลูกกรงเหล็ก ดูน่ากลัวไม่เป็นมิตร และหวาดหวั่นว่าจะถูกกดราคา มิหนำซ้ำเดินออกมายังรู้สึกอับอายหรืออับจนหนทาง ทั้งที่ในความเป็นจริงโรงรับจำนำเป็นแหล่งเงินกู้ที่ได้เงินเร็วและง่าย ขอแค่มีทรัพย์สินมาค้ำประกัน อีกทั้งดอกเบี้ยยังถูกกว่าบัตรเครดิต สินเชื่อ หรือเงินกู้นอกระบบ เรียกว่าเป็นมิตรแท้ที่พึ่งพายามทุกข์ยาก