
LATEST
หนี้สาธารณะ ภาระหนี้ที่ส่งผลต่อทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่น จนอาจยาวนานถึงหลับตาตาย
‘หนี้สาธารณะ’ คำคุ้นหูที่ทำหลายคนส่ายหัว และอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าบอกว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อค่ารถสาธารณะที่เราใช้บริการทุกวัน หรือค่าอาหารกลางวันที่เรากินทุกมื้อ สิ่งเหล่านี้มีราคาต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ คือมีเงินเท่าเดิม แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้น แล้วแบบนี้หนี้สาธารณะยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไหม? หนี้สาธารณะกำลังอยู่รอบตัวเรา และอาจทำให้โปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างรัฐสวัสดิการ อินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อประชาชน ระบบขนสาธารณะราคาถูก ระบบการศึกษาที่ดี อาจเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป รายงานล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2564 สะท้อนว่าปัจจุบันคนไทยกำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับหนี้สาธารณะที่เกาะบนหลังจำนวนกว่า 8,825,097.81 ล้านบาท เมื่อเทียบสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) จะอยู่ที่ 55.20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขเหล่านี้ทวีความสำคัญกับชีวิตของเรามหาศาล เราจึงต้องรู้และเข้าใจข้อมูลชุดนี้แบบห้ามละสายตา เรื่องยากๆ ชวนปวดหัวเหล่านี้ทำให้เราต้องไปพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัต สุขกำเนิด’ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อคลายข้อสงสัย และเปลี่ยนเรื่องหนี้ให้กลายเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น หนี้สาธารณะ หนี้ที่ไม่ได้ร้องขอ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยจ่ายทุกสลึง กล่าวให้ง่ายที่สุด หนี้สาธารณะตอนนี้คือหนี้ที่รัฐบาลก่อ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐใช้เงินในแต่ละปีมากกว่ารายได้ที่หามา เรียกง่ายๆ ว่า ‘งบประมาณขาดดุล’ หรือภาษาชาวบ้านว่า เงินช็อต สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเงินไม่พอใช้ คือการที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างสมดุลของบัญชีรายรับ-รายจ่าย […]
They Saw the Sun First หนังสั้นที่ใช้เสียงของคนชราในนิวยอร์ก ให้หนุ่มสาวหมดไฟฟัง
“ถึงคนหนุ่มสาว ที่ตอนนี้คุณมีงานล้นมือเต็มไปหมด เพราะงานที่ใหญ่ที่สุดซึ่งคุณสามารถมีได้ก็คือความชรา” “ถ้าคุณมัวแต่มองย้อนกลับไป คุณอาจพลาดสิ่งที่อยู่ตรงหน้า” ข้างต้นเป็นเสียงส่วนหนึ่งของหญิงชรา และชายชราในมหานครนิวยอร์ก บนวิดีโอหนังสั้นความยาว 8 นาที ในชื่อ ‘They Saw the Sun First’ จากผู้กำกับ Stefan Hunt ที่สะกิดใจให้วัยรุ่นซึ่งกำลังท้อ และขาดความมั่นใจบางอย่างได้แรงบันดาลใจ พยักหน้าตาม และยิ้มรับวันข้างหน้า เพราะแต่ละประโยคที่ผู้สูงอายุหลายท่านพูดในหนังสั้นชิ้นนี้ เป็นเหมือนครูสอนวิชาชีวิต ที่บอกว่าชีวิตมันก็แค่นี้แหละ อยากทำอะไรก็ทำ They Saw the Sun First เป็นหนังสั้นที่ฉายภาพชีวิตวัยหนุ่มสาวหลายคนผ่านการเต้นรำ ซึ่งออกแบบท่าเต้นโดย Vanessa Varghese ล้อไปกับเสียงสัมภาษณ์ของผู้สูงอายุในนิวยอร์กที่พูดเรื่องการใช้ชีวิต ความกลัว และความตาย แม้จะเล่าจากความแตกต่างของช่วงวัย แต่ชีวิตของหนุ่มสาว และผู้สูงอายุกลับคล้ายคลึงกัน ราวกับว่าหนุ่มสาวในวันนี้ ก็คือคนสูงวัยในวันข้างหน้า “ผมเริ่มทำโปรเจกต์นี้ เมื่อสังเกตว่าชีวิตขาดความเป็นผู้ใหญ่” Stefan Hunt เล่าว่าช่วงกลางปี 2019 เขารู้สึกอยากได้คำแนะนำชีวิตจากใครสักคน ทว่าเกือบทั้งหมดในโซเชียล พอดแคสต์ หรือจดหมายข่าว กลับมีแต่เสียงของคนหนุ่มสาว […]
Vlog คนรักงานบ้าน ที่ปลุกพลังให้ลุกขึ้นมาจัดบ้านในวันหยุด
หลังจากอยู่บ้าน Work from Home มานาน เริ่มรู้สึกว่ามองไปทางไหนก็ขัดหูขัดตา ตรงนี้ก็รก ตรงนั้นก็เละ เพราะยิ่งอยู่แทบจะตลอดเวลา ยิ่งมีไอเทมใหม่งอกมาเรื่อยๆ ซื้อของกินมาตุน และซื้อของใช้มาเพื่ออำนวยความสะดวกชีวิตในบ้านให้ได้มากที่สุด จากบ้านที่เคยมินิมอลก็กลายเป็นมินิมาร์ตได้ในช่วงนี้ สิ่งหนึ่งที่เราพบจากการอยู่บ้านนานๆ คือภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome พาลให้รู้สึกหมดกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันตามไปด้วย ไม่อยากตื่นมาทำงาน ไม่อยากตื่นขึ้นมาใช้ชีวิต แม้แต่ซีรีส์ที่เคยติดหนึบก็ยังไม่อยากดู ตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกอยากลุกขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวัน คือการดู Vlog ชีวิตประจำวันต่างๆ ของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะ Vlog ประเภททำงานบ้าน ทำความสะอาด จัดตู้เย็น ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ดูแล้วมีพลังบางอย่างทำให้เราทนไม่ไหว ต้องลุกขึ้นมาดูแลบ้านตัวเองบ้าง สารภาพตามตรงว่าไม่ใช่คนรักงานบ้านเลยสักนิด แต่พอได้เอาแรงไปลงกับงานบ้าน ได้เสียเหงื่อก็ทำให้ร่างกายหลั่งเอ็นโดรฟิน สมองโล่ง ที่สำคัญคือหมดแรง หัวถึงหมอนก็หลับไปเลย บางวันทำงานบ้านได้แค่ครึ่งวันเช้าต้องงีบก่อนค่อยลุกมาทำต่อ เป็นจังหวะชีวิตแบบใหม่ที่ปกติคนทำงานหนักและเลิกงานดึกอย่างเราไม่เคยสัมผัสมาก่อน จึงอยากชวนทุกคนมาเข้าลัทธิคนจัดบ้านด้วยกัน และอยากชวนดู 7 Vlog ใน YouTube ที่คัดสรรมาแล้ว เผื่อจะทำให้จิตใจที่ฟุ้งซ่านสงบลงได้บ้างในช่วงนี้ 1. Hamimommy […]
Once Upon a Book ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ที่ให้ใครก็ได้มาปล่อยเช่า
กาลครั้งหนึ่ง ‘ร้านเช่าหนังสือ’ เคยเป็นแลนด์มาร์กที่ทำให้บางคนพบหนังสือเล่มโปรดราวกับว่าเป็นพรหมลิขิต และเป็นสถานที่อัปเดตนิยายแจ่มใส มังงะโชโจ ค้นหนังสือคลาสสิกจนมือเปื้อนหมึก คุยกับเฮียเจ้าของร้านจนได้ส่วนลด หรือเป็นแหล่งนัดเจอชาวแก๊งหลังเลิกเรียนยอดฮิต…พูดแล้วก็คิดถึง จากที่เคยเป็นพื้นที่เบาใจของนักอ่านหนังสือ เผลอแป๊บเดียวช่วงหลายปีมานี้ ราคาหนังสือสูงขึ้นสวนทางกับค่าครองชีพที่ต่ำ ร้านเช่าหนังสือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยกระชับช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้คนเข้าถึงหนังสือได้โดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจประเทศซบเซา วันที่ไม่สามารถบอกเพื่อนได้ปุ๊บปั๊บว่า “มึง วันนี้ไปยืมหนังสือร้าน…กัน” และแทบหาร้านเช่าหนังสือใกล้บ้านได้ยาก ‘Once Upon a Book’ ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ของ ไข่มุก-แพรวา สุจริตกุล แพรว-พลอยไพลิน เมืองสิทธิ์ และ มายด์-รัชนนท์ สามารถ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นพื้นที่ทวงคืนเรื่องเล่ากาลครั้งหนึ่งในหนังสือให้กลับมาโลดแล่นในใจนักอ่านอีกครั้งด้วยราคาที่เอื้อมถึง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถเลือกเช่าหนังสือได้บนเว็บไซต์ และไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมหนังสือตัวยงที่ชั้นเก็บหนังสือเต็มแล้ว ร้านเช่าหนังสือออนไลน์แห่งนี้มีบริการให้คุณ และใครก็ได้มาปล่อยเช่า 01 หนอนหนังสือที่โตมากับร้านเช่าหนังสือ ไข่มุก แพรว มายด์ เป็นยอดนักอ่านที่ทุกงานเทศกาลหนังสือจะเจอพวกเธอขนหนังสือกลับบ้านอย่างต่ำ 10 เล่ม อย่างมาก 80 เล่ม จนแทบจะต้องใช้กระเป๋าลากมาช่วยขน ‘ไข่มุก’ ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญา หรืออะไรก็ได้ที่ภาษาสละสลวย […]
แต่งบ้านให้เหมือนดำดิ่งลงใต้น้ำ ด้วย WAVE BALL บรรจุขยะทะเลเชจู ย้ำซ้ำๆ ว่าพลาสติกกำลังยึดครองทะเล
“มีกองขยะอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก” “พลาสติกยึดครองทะเล” “มีการเก็บขยะในทะเลทุกปี เทียบเท่ารถบรรทุกขนาด 20 ตัน 5,700 คัน” สิ่งเหล่านี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเราโดยเฉพาะในทะเลที่มีขยะมากกว่าครึ่งเป็นพลาสติก ซึ่งเมื่อถูกคลื่นซัดจะทำให้แตกเป็นไมโครพลาสติกที่สิ่งมีชีวิตในทะเลกินเข้าไป จนในที่สุดก็วนกลับมาสู่โต๊ะอาหารของเรา Grafen แบรนด์สินค้าบำรุงและดูแลร่างกายจากเกาหลีใต้ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่อุดมไปด้วยสารอาหารจากน้ำทะเลเชจู จึงเริ่มให้ความสนใจกับทะเลเชจูอันเป็นสถานที่สำคัญของเกาหลีใต้ที่ได้รับการจดทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก และตัดสินใจริเริ่มทำแคมเปญทะเลเชจูของตัวเองขึ้น Grafen และ etc_blank ร่วมกันทำโปรเจกต์ ‘Make Wave’ชุบชีวิตขยะพลาสติกจากท้องทะเลเชจู โดยหยิบเอามาสร้างสรรค์เป็น Jeju ocean waste collection object : WAVE BALL ผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งความสวยงาม และเป็นเครื่องตอกย้ำว่าในทะเลมีขยะที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์มากแค่ไหน ก่อนจะเริ่มทำ WAVE BALL ขั้นตอนแรกต้องเก็บขยะด้วยการ Ploving กับ Ploving Korea โดยคำว่า ‘Ploving’ เป็นการรวมกันของคำภาษาสวีเดนคือ ‘Plocka Upp’ และ ‘Diving’ ซึ่งหมายถึงการดำน้ำฟรีไดฟ์วิงและเก็บขยะใต้ทะเลนั่นเอง ขั้นตอนต่อมา เป็นการร่วมมือกับ etc_blank แบรนด์ที่จัดการกับขยะในทะเลโดยทำกิจกรรม Upcycling กับแบรนด์ต่างๆ […]
เครียด เศร้า เหงา เซ็ง ไม่รู้จะบอกใคร มาระบายให้นกน้อย HATO รับฟัง และส่งกำลังใจให้กันแบบนิรนาม
‘เครียด เศร้า เหงา เซ็ง ต้องการกำลังใจแต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร’ อยากระบายเรื่องราวในใจให้ใครสักคนฟัง โดยไม่ต้องแคร์ว่าคนอื่นจะมองเราอย่างไรเราขอแนะนำให้รู้จักกับนกน้อย ‘HATO’ แพลตฟอร์มในไลน์ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามาเขียนจดหมายระบายเรื่องราวที่หนักใจ เมื่อคุณแอดไลน์ @hatochat จะมีข้อความทักทายจากนกน้อย HATO เข้ามาว่า “ยินดีที่ได้รู้จักเราชื่อ “HATO” ตั้งแต่วันนี้เราจะมาเป็นนกประจำตัวของเธอ ที่จะเข้ามารับฟังเรื่องราวไม่สบายใจในแต่ละวัน ถ้าเธออยากระบายอะไรออกมา ลองเขียนจดหมายเล่าให้เราฟังได้นะ และ HATO จะส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ที่พร้อมรับฟังเรื่องราวของเธอให้เอง” นอกจากนี้ นกน้อย ‘HATO’ ยังทำให้คุณได้ช่วยตอบจดหมายแลกเปลี่ยนมุมมอง ให้กำลังใจเพื่อนๆ ที่กำลังเครียด หรือเศร้ากับปัญหาในชีวิต ผ่าน 3 ฟีเจอร์หลักอย่าง 1. Morning Balloon ฟีเจอร์สำหรับเขียนข้อความให้กำลังใจคนอื่นในทุกเช้าแบบฉบับโปสต์การ์ด ให้ผู้อ่านได้เริ่มต้นชีวิตในแต่ละวันด้วยกำลังใจที่เต็มเปี่ยม 2. Feel & Relieve ฟีเจอร์เขียนระบายเรื่องราวต่างๆ ผ่านจดหมายเพื่อให้ใครสักคนบนโลกใบนี้ได้รับฟังเรื่องราวของเราในวันนี้ เพราะเราเชื่อว่าการได้เขียนระบาย เป็นเหมือนการยกเรื่องราวไม่สบายใจออกจากหัวไม่มากก็น้อย 3. Mailbox ฟีเจอร์ที่ชวนคุณมารับบทเป็นพี่อ้อยพี่ฉอด ตอบกลับจดหมายของเพื่อนๆ คนอื่นที่ส่งมาขอกำลังใจ ให้คนที่คุณไม่รู้จักได้ถูกโอบกอดและปลอบโยนด้วยถ้อยคำตัวอักษร ที่คุณอยากมอบให้ เพราะคำตอบของคุณอาจจะหมายถึงรอยยิ้มที่เกิดขึ้นบนหน้าในแต่ละวันของผู้อ่าน […]
หนึ่งชีวิตที่ไม่ควรถูกหลงลืม ‘แสนสิริ’ เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง ปลูกอาหารให้ช้างไทย
หยิบอะไรก็ได้ขึ้นมาสักอย่าง ปาลงไปตรงไหนก็ได้ในประเทศไทย คงยากที่จะหล่นไปในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นที่ทราบกันดีครับว่าตอนนี้ภาคการท่องเที่ยวไทยหยุดชะงักมาเกือบ 2 ปี แถมส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมไล่ตั้งแต่สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ และแม้แต่ปางช้างก็หนีไม่พ้น เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อประเทศปิดตัวก็ยากที่จะหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องช้าง “หยิบหญ้าเนเปียร์สักหลายกำ ปาลงไปในแปลงเกษตร ที่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่รกร้างรอการพัฒนา ช้างอีกหลายเชือกที่เชียงใหม่จะได้อิ่มท้อง” ใช่ครับ อาจจะเป็นสุภาษิตที่คุ้นเคยแต่เนื้อหาไม่คุ้นเลย จนต้องขออนุญาตพาเข้าเรื่องครับว่า Urban Creature กำลังจะเล่าเรื่องพันธมิตรที่น่ารักของเราอย่างแสนสิริ ที่ได้แบ่งปันที่ดินรอการพัฒนาจำนวน 70 ไร่ ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้กับสมาคมสหพันธ์ช้างไทยใช้ในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง โดยใช้ชื่อโครงการว่า Sansiri Backyard for Elephants เพราะมองเห็นร่วมกันแล้วว่าตอนนี้ปางช้างกำลังขาดรายได้ และลำพังอาศัยการบริจาคอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในระยะยาว จึงปรับเอาพื้นที่รกร้างที่ตอนนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใคร มาช่วยช้างที่กำลังขาดรายได้ ช้างไทยยามไร้การท่องเที่ยว นอกจากเกาะสวย หาดทรายขาว ธรรมชาติบนดอย และแหล่งแฮงเอาต์ยามค่ำคืน ‘ช้าง’ ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทย แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปากท้องของช้างก็ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายต่อจำนวนประชากรช้างในไทย ซึ่งต้องบอกว่าก่อนหน้านี้มีสถิติไม่สู้ดีมาอยู่แล้ว เห็นได้จากในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยมีช้างอยู่ราว 12,500 เชือก […]
แฟลตลังเหล็ก ที่พักคนไร้บ้านยามโควิด-19 จากตู้คอนเทนเนอร์
ตู้คอนเทนเนอร์เก่าทำอะไรได้มากกว่า ‘กำแพงเหล็ก’ เพราะ ‘County Supervisor’ ของเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาผุดโครงการบ้านพัก The Hilda L. Solis Care First Village บนย่านดาวน์ทาวน์ เพื่อดูแลประชาชนที่ประสบปัญหาไร้บ้าน โดยแบ่งเป็น 2 อาคารและใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 66 ตู้มาแบ่งเป็นยูนิตและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปจนเหมือนบ้าน เดิมทีมันถูกแพลนไว้เป็น ‘เรือนจำใหม่’ จนกระทั่งปี 2019 ก็เปลี่ยนแผนยกใหญ่อีกครั้ง เพราะประชาชนในลอสแอนเจลิสมากกว่า 60,000 คน กำลังประสบปัญหาการ ‘ไร้บ้าน’ ทำให้ภาครัฐต้องการสร้างที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านมากกว่า ประจวบกับวิกฤตโรคระบาดที่เพิ่มจำนวนคนไร้บ้านขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีความเสี่ยงติดเชื้อสูง จึงเป็นตัวเร่งให้ ‘แฟลตลังเหล็ก’ แห่งนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด โดยมี ‘NAC Architecture’ และ ‘Bernards’ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง The Hilda L. Solis Care First Village ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,946 ตร.ม. ประกอบไปด้วยอาคาร 3 […]
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน
ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]
Rocks2Dogs ธุรกิจเชือกจูงน้องหมาของนักปีนผาอายุ 16 ปี
ไอเดียในการทำธุรกิจมักจะมาจากสิ่งรอบตัวหรืออยู่ในชีวิตประจำวัน ธุรกิจสายจูงสุนัขของ Alexander Tsao นักปีนผาอายุ 16 ปี ผู้ก่อตั้ง Rocks2Dogs ก็เช่นกัน ธุรกิจนี้เริ่มต้นเมื่อ Tsao อายุเพียง 16 ปี ช่วงที่ไปปีนผาบ่อยๆ เขามักจะสังเกตเห็นว่าเชือกที่ใช้ในการฝึกซ้อมถูกเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง วันนี้ใช้สีหนึ่ง พรุ่งนี้กลับมาซ้อมที่เดิมแต่เปลี่ยนสีอีกแล้ว เขาสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเชือกเส้นเก่า จึงไปถามเจ้าของโรงยิมและได้คำตอบว่าโรงยิมจำเป็นต้องเปลี่ยนเชือกเป็นประจำเนื่องจากข้อบังคับด้านความปลอดภัย ซึ่งเชือกที่ไม่ใช้แล้วจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ ทำให้ Tsao อยากลดขยะจากเชือกเหล่านี้ Tsao ได้ไอเดียขึ้นมาว่าเขาจะเปลี่ยนเชือกเหล่านี้ให้เป็นสายจูงสุนัข และนำรายได้ส่วนหนึ่งไปบริจาคให้กับองค์กรที่ดูแลสัตว์ ทำให้ได้ช่วยเหลือทั้งสิ่งแวดล้อมและสัตว์ไปพร้อมๆ กัน เพราะ Tsao ได้รับการปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนมาตั้งแต่เด็ก และยังมีสุนัขกู้ภัยคู่ใจชื่อ Jinger อายุ 11 ปีที่เป็นเหมือนเพื่อนที่เติบโตมาด้วยกัน และเป็นผู้ใช้จริงที่ช่วยทดสอบสายจูงให้กับ Tsao ด้วย เมื่อคิดแผนธุรกิจได้ Tsao ก็ติดต่อกับโรงยิมปีนเขาทั้งหมดในรัฐวอชิงตัน เพื่อเสนอแนวคิดในการที่จะนำเชือกปีนเขาที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ในตอนนั้นเจ้าของโรงยิมหลายแห่งยังไม่เชื่อในไอเดียของเขา แต่ก็ตกลงที่จะบริจาคเชือกเหลือทิ้งให้ Tsao ทำให้เขามีโอกาสได้พัฒนาสายจูงสุนัขและเริ่มก่อตั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไรในที่สุด ถึงแม้ไอเดียของ Tsao จะฟังดูดี แต่ในช่วงแรกที่เริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจ เขาบอกว่าผู้คนไม่ได้สนใจในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่เลย แต่หลังจากที่เพื่อนๆ […]
2029 Start Up เอเชียจะปัง ส่วนไทยอาจจะพัง?ชวนมองปัจจัยที่ทำให้ไทยไม่ตกขบวน
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้เราอยู่ในช่วง 10 ปีทองของธุรกิจสตาร์ทอัปในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเตรียมพร้อมหรือยังนะ ที่จะคว้าโอกาสนี้! ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ และต่างชาติเองก็เริ่มทยอยถอนตัวการลงทุนในไทย อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ KKP Research เกียรตินาคินภัทรปี 2021 กล่าวว่าในปัจจุบันไทยเริ่มไม่ใช่จุดสนใจของโลก และต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง ด้วยการพัฒนาคนและเทคโนโลยีต่ำ รวมไปถึงกฎระเบียบไม่เอื้อในการส่งเสริมการตลาด เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่เริ่มฟื้นฟูตัวได้อย่างเวียดนามสวนทางกับวงการสตาร์ทอัปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในช่วงเติบโตอย่างทวีคูณไปจนถึงปี 2029 อ้างอิงข้อมูลจากบริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัดปี 2021 รวมถึงรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2564 (Asian Development Outlook 2021) ให้ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศเอเชียกำลังพัฒนาและคาดจะเติบโต 7.7% ในปี 2021 และ 5.6% ในปี 2022 10 ปี เอเชียแหล่งเวลคัม ‘เทคโนโลยีใหม่’ สาเหตุที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นแหล่งเนื้อหอมในยุคนี้ อ้างอิงข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของ Kevin Aluwi ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Gojek ปี 2021 เผยว่าแถวบ้านเรามีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก และมีไลฟ์สไตล์เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ใช้ในพื้นที่มากมาย […]
ไม่ใช้แล้วไม่เป็นไร IKEA รับซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสอง หวังช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์
ซื้อมาแล้วไม่เข้าท่า ไม่พอดีกับห้อง หรือพยายามคุมโทนยังไงก็ไม่ไหว ต่อไปนี้ถ้าตัดสินใจผิดหรือเบื่อของเก่ายังมีโอกาสแก้ตัวเพราะ IKEA เพิ่งเปิดตัวบริการรับซื้อเฟอร์นิเจอร์คืนที่สหรัฐอเมริกา หลังจากก่อนหน้านี้ได้เริ่มโครงการนำร่องใกล้กับสำนักงานใหญ่ที่เมืองคอนโชฮอกเกน รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์มือสอง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านชื่อดังจากสวีเดน พยายามลดภาระต่อโลกและกลายเป็นองค์กร Carbon Positive ให้ได้ภายในปี 2030 “เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย เราต้องมองหาบริการที่จะทำให้ลูกค้าสามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ออกไปได้” Jennifer Keesson ผู้จัดการด้านความยั่งยืนของ IKEA ในสหรัฐอเมริกาบอกว่าการรับเฟอร์นิเจอร์คืนก่อนจะนำไปจำหน่ายให้กับผู้ที่ต้องการเป็นทางออกที่ดีและยั่งยืนกว่ามากถ้าเทียบกับการฝังกลบ แม้จะยังไม่มีวี่แววในไทย แต่บริการนี้เปิดให้ใช้งานแล้วในหลายประเทศเช่นอังกฤษ หรือสิงคโปร์ วิธีการทำงานคือเมื่อมีคนต้องการจะขายเฟอร์นิเจอร์ตัวเก่า ต้องกรอกแบบฟอร์มลงไปในเว็บไซต์ แล้ว IKEA จะเสนอราคาโดยประมาณกลับมา จากนั้นเมื่อลูกค้านำเฟอร์นิเจอร์มือสองมาส่งที่ร้าน พนักงานก็จะตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งแล้วจ่ายเงินเป็นเครดิตสำหรับการซื้อสินค้าของ IKEA แต่ถ้าสภาพเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้แล้วสามารถนำกลับบ้าน หรือจะให้พนักงานช่วยกำจัดทิ้งที่นี่ก็ได้ หลังจากที่ IKEA นำเฟอร์นิเจอร์มือสองกลับเข้ามาในระบบแล้ว พนักงานจาก Recovery Department ก็จะตรวจสอบให้แน่ใจอีกทีว่าสินค้าดังกล่าวปลอดภัยที่จะขายต่อ แต่จะไม่ปรับปรุงเพื่อความสวยงามใดๆ และขายออกไปตามสภาพ โดยจะทำเครื่องหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าที่มาเลือกซื้อของแยกความแตกต่างได้ “นี่คือการเดินทางและเป็นการเปลี่ยนแปลงสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่ผู้ค้าปลีก ลูกค้า แต่รวมถึงนโยบายและรัฐบาลด้วย” Jennifer ทิ้งท้ายถึงความพยายามในการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ และการใช้งานผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้คุ้มค่าที่สุด