LATEST
โควิด-19 วิกฤตแต่สุขภาพจิตต้องดี กรมสุขภาพจิตรุกลงพื้นที่แก้ความเครียดให้ระบายความอัดอั้นใน Sati App
ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา ทั้งสภาพแวดล้อม ฝุ่นควัน การเมืองที่ดุเดือด และโควิด-19 ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ดีขึ้นเลย เหล่านี้อาจจะทำให้คุณเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร อยากระบายออกไปให้ใครสักคนฟัง! กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นปัญหาตรงนี้จึงร่วมมือกับ HR ของบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิตแล้ว ลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เกิดภาวะเครียดสะสม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่รู้สึกหมดหวัง กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้ก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ หากใครไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแต่อยากขอคำปรึกษา กรมสุขภาพจิตยังมี ‘Sati App’ แอปพลิเคชันที่มีกลุ่มผู้ฟังอาสาที่ผ่านการอบรม ‘การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ’ พร้อมเป็นพื้นที่ให้คุณระบายความคับคั่งในใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องใดก็ตาม หากคุณต้องการคนรับฟัง ผู้ฟังอาสาเหล่านี้จะฟังทุกเรื่องของคุณโดยไม่ตัดสิน เพราะเชื่อว่าการเยียวยาจิตใจที่ดีที่สุดคือการใช้ใจรับฟัง เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปฯ สร้างบัญชีโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อจริง ระบบจะนำคุณไปที่หน้า ‘คุย’ และเชื่อมต่อกับผู้ฟังอาสาที่พร้อมจะรับฟังคุณ หรือถ้าใครสนใจเป็นผู้ฟังอาสาก็สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://www.satiapp.co/th/ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้วทั้งใน Google Play และ App Store Sources : FM91 BKK | https://www.fm91bkk.com/fm-91-103704กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | https://www.facebook.com/THAIDMH/
Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก
อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016 ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics) ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]
RIP ร่วมวางดอกไม้จันทน์ให้ตัวละครที่ตายจากมังงะเรื่องโปรด ณ สุสานในนิทรรศการ 2 D Afterlife
‘2 D Afterlife’ นิทรรศการจากศิลปนิพนธ์ของ จิณห์นิภา นิวาศะบุตร ผู้จัดงานไว้อาลัยให้การ์ตูนตัวโปรดที่ตายเป็นงานศิลปะ
จุดจบสายปลาส้ม หลังอาร์เจนตินา ห้ามทำฟาร์มแซลมอนเป็นที่แรกของโลก เพราะห่วงสิ่งแวดล้อม
ประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกไว้เลยว่า ‘อาร์เจนตินา’ เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายห้ามทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิล โดยรัฐสภาของรัฐเตียร์ราเดลฟวยโก (Tierra del Fuego) หมู่เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศมีมติในเรื่องนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ การทำฟาร์มแซลมอนเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อใช้ในทางพาณิชย์ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในหลายด้าน เพราะแซลมอนไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของแหล่งน้ำบริเวณนั้น แค่การนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาก็ส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์พื้นถิ่นอื่นๆ แล้ว ทั้งยังต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูเพื่อให้แซลมอนแข็งแรง สารเคมีจากยาแพร่กระจายในน้ำเป็นวงกว้าง รบกวนระบบนิเวศโดยรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่สัตว์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบเท่านั้น ผู้อยู่อาศัยที่มีวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของ Tierra del Fuego มาอย่างยาวนานก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน การตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลจึงถือเป็นการตระหนักประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้การปฏิเสธการทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิลในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าฟาร์มแซลมอนทุกแห่งในอาร์เจนตินาที่ดำเนินกิจการอยู่จะต้องปิดตัวลง แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่มีความหมายอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติของโลก เพราะ Tierra del Fuego เป็นหมู่เกาะที่มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ การออกกฎหมายในครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี ที่มีปัญหาเรื่องการทำฟาร์มแซลมอนเช่นเดียวกัน Sources : Patagonia works | https://tinyurl.com/2ephr8u6The Fish Site | https://tinyurl.com/72cz4x49
ชวนดูระบบ SMS ข้อความเตือนภัยฉุกเฉินจาก 4 ทวีปทั่วโลก
ข้อความฉุกเฉินเตือนภัยในแต่ละประเทศจะถูกแจ้งผ่านทางทีมรัฐบาล หรือส่งตรงจากนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วข้อความเหล่านี้ ถูกส่งผ่านระบบ ‘Cell Broadcast (CB)’ ที่เป็นวิธีการส่งข้อความผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ทั้งยังส่งได้ผ่านระบบไร้สายและตามสาย ด้วยความยาวสูงสุดได้ถึง 1,395 ตัวอักษร โดยการส่งต่อข้อความฉุกเฉินถึงผู้คนหลายล้านคน หลากหลายภาษา ตามมาตรฐานจะใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น ซึ่งกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับ Cell Broadcast ได้แล้ว แอบกระซิบว่าสามารถตั้งค่าในโทรศัพท์มือถือได้ทั้งระบบ iPhone และ Android ซึ่งในแต่ละทวีปจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน 01 | ทวีปยุโรป : EU-Alert / Everbridge Public Warning เราเริ่มต้นพาไปส่องการแจ้งเตือนภัยทางฝั่งยุโรป ที่มีเครือข่ายและพื้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ซึ่งมีชื่อว่า ‘EU-Alert’ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยการแทนอักษรย่อประเทศ เช่น NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์GR-Alert : ประเทศกรีซ LT-Alert […]
ทางออกวิกฤตเตียงล้นกรุงเทพฯ โครงการ ‘Back Home’ พาคนติดโควิดกลับบ้านเกิด
ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นทุกวันสวนทางกับจำนวนเตียงว่างรองรับผู้ป่วยในกรุงเทพฯ คนที่จะมาช่วยบรรเทาปัญหาในครั้งนี้ก็คงไม่พ้น ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ นักข่าวขวัญใจชาวไทยอีกเหมือนเคย ที่ร่วมมือกับหลายฝ่ายเริ่มโครงการ ‘Back Home’ ประสานหาพาหนะพาผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิด ไอเดียนี้ริเริ่มจาก ‘ศ. นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า’ อายุรแพทย์ระบบประสาท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม หอพักหญิงที่ 26 จังหวัดขอนแก่น ที่อยากให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิดที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด แต่อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดซึ่งยังพอรองรับผู้ป่วยได้ โดยเห็นว่าการให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิดเป็นประโยชน์ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยเอง และเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ด้วย โครงการนี้ได้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งรายการ ‘เรื่องเล่าเช้านี้’ เพจ ‘เราต้องรอด’ เพจ ‘หมอแล็บแพนด้า’ และอีกหลายองค์กรที่ช่วยประสานหาเตียงและพาหนะที่ได้มาตรฐานในการขนย้ายผู้ป่วยข้ามจังหวัด ผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายได้ต้องอยู่เฉพาะในกลุ่มสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น และต้องได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจากแพทย์ก่อนเคลื่อนย้าย โดยเริ่มจากติดต่อมายังเจ้าหน้าที่ของ ‘Back Home’ ก่อนถึงจะมีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อประเมินอาการ และติดต่อไปยังโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามในจังหวัดปลายทางเพื่อจัดหาเตียง ทั้งนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการนำตัวผู้ป่วยออกจากกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่สีแดง และการกักตัว 14 วันเมื่อเข้าถึงพื้นที่ปลายทาง โครงการ ‘Back Home’ จึงต้องประสานกับทางกรุงเทพฯ และภาครัฐต่อไปเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายสูงสุด ผู้ป่วยโควิดที่ต้องการเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาสามารถติดต่อโครงการนี้ที่ Line : @backhome หรือโทร […]
Alcohol is not a crime พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ ห้ามร้านเหล้าโฆษณาเหล้า คนดื่มก็ถูกปรับ
กรมควบคุมโรคแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ เพื่อให้การโฆษณาแอลกอฮอล์ถูกเปลี่ยนเป็นเชิงสร้างสรรค์สังคม และสนับสนุนการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการและร้านค้ารายย่อย ไม่ว่าจะผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทใด กำลังเผชิญและถกเถียงกันในตอนนี้คือ หากร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับนี้ ‘ผ่าน’ มติ อาจถึงคราวอวสานเสรีภาพในวงการนักดื่ม เช่น 1. มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 2. มาตรา 34(4) เจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่สามารถยึดหรืออายัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้ขายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ 3. มาตรา 43 ฝ่าฝืนถูกโทษจำคุกจาก 1 ปี เป็น 2 ปี หรือโทษปรับ จากสูงสุด 5 แสนบาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท เพิ่มโทษปรับรายวันเป็นวันละ 5 หมื่นบาท จากเดิมที่วันละ 1 หมื่นบาท 4. และหาก […]
หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว
เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]
3 สิ่งที่ HONNE คิดถึงประเทศไทย I Add to my list
Add to My List รายการใหม่จาก Urban Creature ที่เราจะชวนคนมาพูดคุยกันถึงลิสต์ต่างๆ ของพวกเขาว่าในแต่ละหัวข้อลิสต์ของเขามีอะไรบ้าง เปิดมาด้วยการเชิญวงดังจากอังกฤษขวัญใจชาวไทยอย่าง HONNE คู่หู Electronic Music ฟังเพลินที่นอกจากเป็นที่รักของแฟนเพลงชาวไทย เขายังเคยมาเล่นคอนเสิร์ตที่นี่ด้วย ในสถานการณ์โควิดแบบนี้ที่ชาวต่างชาติยังเข้ามาในประเทศเราไม่ได้ เราจึงชวน HONNE มาบอกเราหน่อยว่าในลิสต์ของเขาอะไรคือ 3 สิ่งที่เขาคิดถึงที่สุดในเมืองไทย และอะไรคือสิ่งที่อยากจะทำเมื่อได้กลับมา #UrbanCreature #AddToMyList #HONNE #WHATWOULDYOUDO #ReinventTheWayWeLive
Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ
Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว
Pulitzer มอบรางวัลให้สถาปนิกผู้ใช้ Street View เปิดโปงข้อมูลการสร้าง ค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน
Pulitzer Prizes รางวัลเกียรติยศของคนทำงานในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ มอบรางวัลให้ Alison Killing สถาปนิกชาวอังกฤษ ในสาขา International Reporting จากหัวข้อข่าวการเปิดโปงการสร้างค่ายกักขังชาวมุสลิมจำนวนมากที่ประเทศจีน จุดเริ่มต้นของรายงานการเปิดโปงฉบับนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ Alison ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปการสืบสวนสอบสวนออนไลน์ เธอได้พบกับนักข่าวจาก BuzzFeed ชื่อ Megha Rajagopalan ผู้เคยไปเยี่ยมค่ายกักกันแห่งหนึ่งที่ประเทศจีน แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าไปทำข่าวที่จีนอีกต่อไป จากความสนิทสนมระหว่างเวิร์กช็อปทำให้ทั้งสองตกลงที่จะสืบสวนเรื่องนี้จากระยะไกลต่อไป เธอนำเอาเครื่องมือที่ใช้อย่าง Street View ของเว็บไซต์ Baidu ในลักษณะเหมือน Google Maps มาใช้อ้างอิงเสาะแสวงหาไปยังพื้นที่ต่างๆ บนแผนที่ประเทศจีน สิ่งที่พบคือมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างขนาดใหญ่อาทิโรงเรียน โรงพยาบาล บ้านพักคนชราในรอบสามปี ไม่ว่าจะเป็นการขึงผ้าใบอุตสาหกรรมที่สนามฟุตบอลของโรงเรียน หรือการล้อมพื้นที่ด้วยลวดหนาม และพบความผิดปกติอื่นๆ เช่นไม่สามารถดูบางจุดบน Street View ได้ เหมือนถูกถอดออกจากภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงการได้สัมภาษณ์อดีตนักโทษที่รอดชีวิตจากค่ายกักกันถึงชีวิตความเป็นอยู่ภายในค่าย ยิ่งชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงและหลักฐาน ที่รัฐบาลจีนกระทำความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม และยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามปกปิดข้อมูลบางอย่างของรัฐบาลจีน ที่ไม่อยากให้ประชาชนโลกได้รับรู้
‘Dream Construction’ กาดสวนแก้ว ความฝันยุค 90 ที่ทรงจำของคนเมือง
ร.ต.ท. สุชัย เก่งการค้า ได้เนรมิตความฝันของตัวเองให้เป็นความจริง ด้วยความคิดที่จะสร้างพื้นที่การค้าและการท่องเที่ยวโดยตั้งอยู่บนฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติท้องถิ่น ควบรวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ‘อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว’ อุทยานการค้าที่ประกอบไปด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมจึงเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นที่รู้จักในนามศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ มีความทันสมัยและเป็นแหล่งรวมความบันเทิงที่หลากหลายแห่งยุค กลายเป็นจุดหมายที่ทำให้ผู้คนยุค 80 – 90 แวะเวียนเข้ามาสร้างความทรงจำร่วมกัน การได้ก้าวเข้าไปภายในส่วนของศูนย์การค้าแห่งนี้ครั้งแรกในอีกยุคสมัยหนึ่ง คือปัจจุบัน ทำให้เกิดบรรยากาศทางอารมณ์ที่หลากหลายต่อตัวฉัน การพยายามปรับปรุงพื้นที่ของกาดสวนแก้วเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเหลื่อมกันระหว่างร่องรอยของเค้าโครงสถานที่เดิม ร่องรอยของสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง และร่องรอยของสิ่งใหม่ๆ ที่อยู่ภายใต้ดินแดนแห่งนี้ ดึงดูดความสนใจให้ฉันได้ออกเดินทางสำรวจ ได้จินตนาการว่าตัวเองก้าวเข้ามาในโลกใบใหม่ ที่ในอดีตนั้นเคยเป็นหรือยังเป็นโลกใบเก่าของใครบางคน มันคือการผจญภัยที่ไม่สามารถทราบถึงจุดสิ้นสุดได้ในตอนนี้ ฉันคือตัวละครที่กำลังตามหาสิ่งที่น่าสนใจอยู่บนโลกแห่งความจริงที่คล้ายความฝัน ใช้สายตาสังเกต จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาด้วยภาพถ่าย ‘Dream Construction’ หรือ ‘ดินแดนแห่งฝัน’ ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของผู้คนที่เกิดขึ้นกว่า 30 ปี ของเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความรู้สึกของฉันที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย