LATEST
ลองเขียนหนังสือด้วยดินสอรักษ์โลก ‘GRIND Z’ ไส้ดินสอจากกากกาแฟที่ให้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ตลอดการเขียน
แม้ ‘กากกาแฟ’ จะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่เพราะการบริโภคที่มากเกินไปจากทั่วโลก ทำให้สุดท้ายกากกาแฟกลายเป็นขยะที่ต้องฝังกลบจำนวนหลายล้านตันในทุกๆ ปี นำมาซึ่งการปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาล และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเราจึงเห็นหลายธุรกิจพยายามแปรรูปกากกาแฟออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อช่วยเปลี่ยนขยะไร้ประโยชน์ให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับ ‘Zirobio’ บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนโดยใช้วัสดุชีวภาพ กับการหยิบเอากากกาแฟเหลือใช้มาสร้างสรรค์ใหม่จนกลายเป็น ‘ไส้ดินสอ’ สำหรับใช้งาน ‘GRIND Z’ คือชื่อของดินสอกดที่ภายในบรรจุไส้ดินสอขนาด 5.6 มิลลิเมตรที่ทำขึ้นจากกากกาแฟรีไซเคิล แทนที่จะเป็นแร่แกรไฟต์ในแบบเดิมๆ แถมเมื่อเขียนแล้วยังให้สีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นของเมล็ดกาแฟ ไส้ดินสอนี้ประกอบด้วยกากกาแฟที่ไม่มีการเติมสีสังเคราะห์ใดๆ ในปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ รวมกับขี้ผึ้งและกาวอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นตัวยึดเกาะ เพื่อที่กากกาแฟจะอัดตัวกลายเป็นแท่ง ให้ใช้เหลาและขีดเขียนบนกระดาษได้เหมือนดินสอทั่วไป แต่เพิ่มเติมคือเราจะได้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ในทุกการจรดดินสอขีดเขียนอีกด้วย นี่น่าจะเป็นประสบการณ์การเขียนหนังสือที่หอมถูกใจคนเขียนเป็นที่สุด Sources : Kickstarter | t.ly/TIELFYanko Design | t.ly/eiVpWZirobio | www.zirobio.com/grindz
‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน
‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]
ย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงกับงาน ‘รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ วันที่ 4 ส.ค. ที่ชุมชนตรอกสลักหิน
หัวลำโพงคือย่านที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงหัวลำโพงจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังถูกจดจำไว้อย่างดีโดยชาวบ้านที่รอคอยโอกาสเล่าขานตำนานให้ผู้คนรับฟัง ชวนย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงไปด้วยกัน ในงาน ‘Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ กิจกรรมจากชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม งานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่อัดแน่นตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบสื่อเพื่อชุมชนจากนักศึกษา กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน การพาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหินโดยไกด์วัยจิ๋วของชุมชน และการเสวนาของกลุ่มคนหลายภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพง ถ้าหากใครสนใจไปรื้อฟื้นความหลังของหัวลำโพง ไปเข้าร่วมกันได้เลยที่พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น.
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567
“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]
กินแบบดีต่อใจ ช่วยสร้างไลฟ์สไตล์ยั่งยืนกันที่งาน ‘Soul Food, Good Life’ วันที่ 3 – 4 ส.ค. 67 ที่ The Corner House
อาหารที่ดีไม่ใช่แค่ช่วยสร้างสุขภาพกายให้แข็งแรงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดี และยังต่อเนื่องไปถึงการสร้างไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนอีกด้วย ทางคอมมูนิตี้ ‘The Corner House’ ร่วมมือกับคาเฟ่ ‘People of Small World’, ‘Vtopia’ ผู้จัดอีเวนต์เพื่อสนับสนุนการทานวีแกนและไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม และ ‘Loopers’ แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง เปิดพื้นที่จัดงาน ‘Soul Food, Good Life’ เพื่อรวบรวมเมนูที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ รวมถึงร้านค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้คนที่รักษ์โลกและรักสุขภาพได้มารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ ภายในงานมีร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และสินค้าไลฟ์สไตล์ให้เลือกสรรกันมากมาย ทั้งเมนูเครื่องดื่มพิเศษจากนมโอ๊ต จาก Goodmate, POHSOP ร้านอาหารมังสวิรัติจากเชียงใหม่ ที่จัดเต็มเมนูคาวหวานสไตล์โฮมมี่, CRANE Coffee Roaster ร้านกาแฟสเปเชียลตี้ ผู้ได้รางวัล Champion TNCIGS 2024 และ Champion TNC2023, O’ganic Concept ร้านอาหารโฮมเมดเพื่อสุขภาพจากย่านอารีย์ และร้านรวงอื่นๆ อีกมากกว่า 30 ร้านเลยทีเดียว […]
The Scoop ออฟฟิศรูปทรงแหวกแถวที่แหวกแนวอาคารให้โบสถ์เก่าเฉิดฉาย
คำตอบของการสร้างอาคารใหม่ให้เคารพอาคารเก่าข้างเคียงที่คุ้นเคยอาจหมายถึงการคุมโทนสี คุมโทนวัสดุอาคารใหม่ให้ใกล้เคียงอาคารเก่า แต่มันจะมีโซลูชันที่น่าตื่นเต้นกว่านี้อีกหรือเปล่า Corstorphine & Wright ออฟฟิศสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักร ออกแบบอาคาร ‘The Scoop’ ให้เว้าเข้าไปด้านใน เพื่อสร้างกรอบให้คนเดินถนนเห็นรูปโฉมของโบสถ์เก่าที่อยู่ข้างเคียง The Scoop เป็นอาคารออฟฟิศส่วนต่อเติมของอาคารอิฐหัวมุมถนนที่อยู่ติดกัน โดยอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของย่าน Southwark เมือง London และอยู่เคียงข้างโบสถ์คริสต์ ‘Catholic Church of the Most Precious Blood’ สไตล์โรมาเนสก์ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1892 การคว้านส่วนกลางของอาคารออก ทำให้ผู้คนที่สัญจรบริเวณหัวมุมถนน Union Street และ O’Meara Street เห็นบานหน้าต่างกลมหรือ Rose Window ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโบสถ์ แต่กว่าที่จะได้หน้าตาตึกอย่างที่เห็น สถาปนิกต้องขึ้นโมเดลตึกสามมิติเพื่อกะเกณฑ์ดูว่าจะต้องคว้านตึกไปเท่าไหร่คนถึงจะเห็นหน้าต่างโบสถ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ โมเดลสามมิติยังช่วยให้สถาปนิกคำนวณได้ว่าจะต้องวางอิฐอย่างไร และใช้อิฐขนาดแบบไหนมาเรียงเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ดั่งหวัง โดยก้อนอิฐที่หยึกหยักไปมาถูกยึดติดด้วยโครงเหล็กสเตนเลสอันซับซ้อนที่แอบซ่อนด้านใน หากมองตัวอาคาร The Scoop แบบโดดๆ ดูแล้วเป็นอาคารที่เท่ไม่เบา แต่เมื่ออาคารเปิดพื้นที่ความเท่ให้เพื่อนเก่า ความหล่อเหลาของ The Scoop […]
‘สมุดลายไทยประยุกต์’ อุปกรณ์การเรียนสุดคลาสสิกโฉมใหม่ มาพร้อมกับลวดลายที่ทันสมัยมากขึ้น
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก ‘สมุดลายไทย’ สุดคลาสสิก ที่มาพร้อมสีสันหลากหลายและปกหลังที่เป็นสูตรคณิตศาสตร์ หนึ่งในอุปกรณ์การเรียนที่นักเรียนไทยต้องเคยใช้งานมาบ้าง แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้สมุดลายไทยสุดคลาสสิกอาจจะดูตกยุคไปบ้าง ‘มิน-ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ’ หรือ ‘ItsMinute’ จึงอยากรีดีไซน์ปก ‘สมุดลายไทยประยุกต์’ โดยปรับลวดลาย สีสัน และเนื้อหาที่ปกหลังสมุดให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เดิมทีมินเป็นเด็กที่โตมากับบ้านที่ทำโรงงานผลิตสมุด ประจวบกับก่อนหน้านี้มินก็กำลังอยู่ระหว่างรอสอบเข้ามหาวิทยาลัยพอดี ครอบครัวเห็นว่าลูกมีความสามารถด้านการออกแบบกราฟิกอยู่แล้ว เลยเสนอให้มินลองออกแบบปกสมุดในแบบของตัวเอง “ช่วงนั้นสมุดลายไทยล็อตเก่าที่บ้านเราหมดพอดี ครอบครัวถามว่าเราอยากออกแบบลายใหม่ไหม เราเห็นว่าปกติกระดาษหนึ่งแผ่นสามารถพิมพ์เป็นปกสมุดได้แปดเล่ม แต่สมุดลายไทยดั้งเดิมเกือบทุกที่มีประมาณสี่ลาย เลยเกิดไอเดียว่า ไหนๆ ก็พิมพ์ได้ครั้งละแปดเล่มแล้ว ทำไมเราไม่ออกแบบให้สอดคล้องกับแปดวิชาบังคับของหลักสูตรการศึกษาไปเลย” มินเล่าถึงจุดเริ่มต้นการออกแบบสมุดลายไทยแบบใหม่ ด้วยพื้นฐานที่ชอบงานลายไทยอยู่แล้ว เมื่อได้โจทย์ออกแบบสมุดลายไทยใหม่ มินจึงศึกษาตำราลายไทยของพระเทวาภินิมมิต ศิลปินเอกของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 – 7 และค่อยๆ แกะลายพื้นฐาน ก่อนจะนำมาลดทอน จับคู่สี และหาสัดส่วนที่เหมาะสมทั้งหมด 8 ลาย เพื่อผลิตออกมาเป็นปกสมุดทั้ง 8 เล่ม 8 วิชา ส่วนเนื้อหาความรู้บนปกหลังของสมุดนั้น มินมองว่าความรู้จากวิชาอื่นก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสูตรคูณและมาตราการชั่ง ตวง วัด จากวิชาคณิตศาสตร์ มินจึงเลือกเนื้อหาจาก 8 […]
Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน
หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]
กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต
ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]
จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5
คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’
หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง
The Bangkok 2040 Summer Olympics ธีสิสพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้กลายเป็นฮับใหม่ สำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2040
นอกจาก ‘กีฬา’ จะเป็นยาวิเศษแล้ว กีฬายังเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติอีกด้วย ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกมาแล้วทั้งหมด 2 ครั้ง ทั้งการเสนอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 และยูธโอลิมปิก ปี 2010 แต่ก็ต้องคว้าน้ำเหลว เนื่องด้วยความไม่พร้อมในด้านต่างๆ แต่ความหวังยังไม่หมดไป หลายครั้งเราจึงเห็นคนบนโลกออนไลน์ออกมาถกเถียงกันในประเด็นนี้อยู่บ่อยๆ ว่า แล้วเราต้องทำอย่างไร ประเทศไทยถึงจะเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาของมวลมนุษยชาติกับเขาสักครั้ง เช่นเดียวกับ ‘จอม-ปภัสสร นพไพบูลย์รัตน์’ นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการพลิกฟื้นของเมืองได้ จนเกิดเป็น ‘The Bangkok 2040 Summer Olympics’ ธีสิสออกแบบวางผังและจัดทำแผนพัฒนาเมืองสู่การเสนอตัวมหกรรมกีฬากรุงเทพฯ โอลิมปิกในปี 2040 กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ จอมเล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนตัดสินใจทำธีสิสในหัวข้อเกี่ยวกับโอลิมปิกเกิดขึ้นเพราะสไลด์วิชาเรียนเกี่ยวกับการออกแบบเมืองในช่วงชั้นปีที่ 4 เพียงสไลด์เดียวที่พูดถึง ‘คน กิจกรรม และเมือง’ “ผมคิดว่าโอลิมปิกเป็นคำตอบสำหรับการพัฒนาเมืองที่เป็นไปได้และอิมแพกต์มากที่สุด เพราะการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมืองที่ช่วยแก้ไขปัญหา กระตุ้นการพลิกฟื้นของเมือง และขับเคลื่อนเมืองได้” เมื่อได้หัวข้ออย่างเป็นทางการ และหาข้อมูลไปได้ประมาณหนึ่ง จอมก็พบว่าความจริงแล้ว ประเทศไทยเคยยื่นเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันไปแล้วทั้งหมด 2 […]