LATEST
Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่
ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]
รู้จักและสนับสนุนผ้าไทยผ่านแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทย จัดทำโดย ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม
คนไทยรู้ ทุกคนรู้ว่าผ้าไทยงดงามไม่แพ้ใครในโลก นอกจากนี้ ลายผ้าแต่ละลายยังล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ จนนับเป็นอัตลักษณ์จังหวัดได้ เช่น ลายจกไทลื้อ ของจังหวัดเชียงราย หรือลายผ้าขาวม้าอ่างทอง ของจังหวัดอ่างทอง เป็นต้. เพราะมีความรักในผ้าทอและต้องการสนับสนุนผ้าถักทอ ผ้าพื้นเมืองของไทย ให้เป็นที่รู้จัก ‘ร้านแพรอาภา ห้องผ้าไหม’ ที่จัดจำหน่ายและจัดแสดงผ้าไหมมาเป็นเวลายาวนาน จึงจัดทำแผนที่ผ้าประเทศไทย ในรูปแบบอัลบั้มภาพในเพจเฟซบุ๊กของร้าน เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้ผู้ที่สนใจผ้าไทย ทางร้านได้ศึกษาหาความรู้จากหนังสือและข้อมูลตามอ้างอิง อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ด้านผ้า แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตามประวัติความเป็นมาและการเป็นที่รู้จักยอมรับในวงกว้าง ส่วนจังหวัดใดที่ไม่มีการทอผ้าหรือหาข้อมูลอ้างอิงไม่ได้ ทางร้านได้ใช้ลายผ้าประจำจังหวัดที่ออกแบบใหม่ในปีนี้ทดแทน ทั้งนี้ ในแผนที่เวอร์ชันล่าสุด ร้านแพรอาภาได้ปรับปรุงข้อมูลและถ่ายภาพลายผ้าใหม่ เพื่ออัปเดตฐานข้อมูลให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากตัวแผนที่ที่ใช้ลายผ้าซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสื่อสารถึงจังหวัดนั้นๆ แล้ว ยังมีการจัดแสดงข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพลายผ้า ชื่อลายผ้า และชื่อจังหวัด ให้ได้ศึกษากันชัดๆ อีกด้วย หลายลายงดงามมากจนอยากเห็นของจริงเลย ใครที่สนใจ ชมภาพและศึกษาแผนที่ลายผ้าพื้นเมืองประเทศไทยได้ที่ https://tinyurl.com/2f9x3w6d หรืออุดหนุนร้านแพรอาภาได้ในช่องทางออนไลน์หรือหน้าร้าน ย่านคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ (โทร. 08-1702-4552)
Bangkok eyes 02/50 เขตหนองจอก
หนองจอกเป็นเขตที่ลึกลับมากเพราะเราแทบไม่เคยไปแถวนั้นเลย นี่จึงทำให้การลงพื้นที่ถ่ายรูปครั้งนี้น่าสนใจสุดๆ ก่อนออกเดินทาง เราต้องรีเสิร์ชเพื่อทำความรู้จักหนองจอกให้มากขึ้นก่อน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตนั้นแทบไม่ได้ช่วยเราเท่าไหร่ แต่เราก็นึกขึ้นได้ว่ามีรุ่นน้องชื่อ ‘เหลิม’ ที่ถ่ายภาพด้วยกันอยู่เขตนั้น เลยขอให้เหลิมไปเดินถ่ายรูปด้วยกันซะเลย มีคนในพื้นที่ไปด้วยย่อมอุ่นใจกว่าอยู่แล้ว พอไปถึงสถานที่จริงก็ไม่ผิดหวัง ช่วงเช้าเราไปเดินที่ตลาดหนองจอก มอเตอร์ไซค์ที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัวด้วยการทำที่นั่งให้ผู้โดยสารนั่งสบายๆ มีเบาะพิเศษและช่องว่างสำหรับวางเท้าและสิ่งของ นอกจากนี้ ด้วยความที่ตลาดสดมีทั้งพื้นที่ด้านในและด้านนอก ทำให้มีช่องที่แสงส่องเข้ามาได้ทางเดียว เกิดเป็นเงาที่มีเฉดความเข้มแตกต่างกัน ดูมีมิติมากขึ้น ใกล้ๆ ตลาดมีชุมชนเล็กๆ และตลาดริมน้ำที่จะเปิดในวันหยุด หรือถ้าเดินไกลออกมาจากตลาดอีกหน่อย แถวนั้นก็มีฟาร์มแพะ ที่เจ้าของอนุญาตให้เราเข้าไปดูและถ่ายภาพแพะได้อย่างใกล้ชิด วันที่เราไปมีแพะที่เพิ่งคลอดออกมาเมื่อคืน เสียงของมันน่ารัก คล้ายๆ กับเสียงร้องของเด็กทารกเลย ถึงแม้ที่นี่จะเป็นฟาร์มเล็กๆ แต่ถ่ายรูปสนุกมาก อาจเพราะบางจังหวะแพะจะทำท่าเพี้ยนๆ ออกมาเรื่อยๆ ด้วย อีกสถานที่ที่น่าสนใจไม่น้อยคือ สุสานวัดนักบุญเทเรซ่า สุสานนี้มีหลุมฝังศพที่เป็นเอกลักษณ์ เพราะมีสัญลักษณ์สื่อความหมายที่โดดเด่นและชัดเจนอยู่เป็นจุดๆ แถมยังมีทั้งไก่และห่านที่คนแถวนั้นเลี้ยงไว้ ออกมาเดินป้วนเปี้ยนเพิ่มความน่าสนใจให้ซีนเงียบๆ ของเราเป็นอย่างดี แนะนำว่าไปในช่วงที่มีแดดเช้าๆ นะ เส้นสายเงาของที่นี่สวยเชียว ถ้าไปก็อย่าลืมให้ความเคารพสถานที่กันด้วย เราพบว่าผู้คนในเขตหนองจอกมีความหลากหลายมาก เพราะผสมผสานกันระหว่างชาวพุทธ ชาวคริสต์ และชาวอิสลาม การแต่งตัวของผู้คนเลยมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ บวกกับฉากหลังที่เป็นเหล่าสถานที่เจ๋งๆ ที่เราไปเยือน ทำให้ถ่ายภาพสตรีทได้ง่ายและสนุกขึ้นมากๆ
Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional
เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ
ร้านอาหารมังสวิรัติในอังกฤษ เพิ่มข้อมูล Carbon Footprint บนเมนู ให้ผู้คนนึกถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เราอาจจะเคยชินกับการเลือกสั่งอาหารจากปริมาณแคลอรีที่พ่วงท้ายชื่ออาหารบนเมนู แต่ตอนนี้นอกจากการระบุหน่วยวัดพลังงานของอาหารแต่ละจานแล้ว ร้านอาหารมังสวิรัติในเมืองบริสโตล ประเทศอังกฤษ อย่าง ‘The Canteen’ ก็ได้เพิ่มปริมาณ ‘Carbon Footprint’ หรือปริมาณการปล่อยและการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ต่อท้ายแต่ละเมนูเพื่อให้ลูกค้าใช้ประกอบการพิจารณากันด้วย โดย The Canteen เป็นร้านอาหารแห่งแรกในอังกฤษที่เข้าร่วมการทดลองนับปริมาณคาร์บอนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างองค์กรการกุศลเรื่องมังสวิรัติในสหราชอาณาจักร Viva และองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนทางอาหาร My Emissions ในการระบุปริมาณ Carbon Footprint ของแต่ละจานบนเมนูอาหาร ซึ่งปริมาณคาร์บอนที่ว่านั้นยังรวมไปถึงระยะทางการขนส่งวัตถุดิบ, วัตถุดิบตามฤดูกาล และการปล่อยมลพิษระหว่างการผลิตและประกอบอาหาร ดังนั้นทางร้านจึงพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุดด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน และเตรียมอาหารด้วยกระบวนการที่สร้างขยะอาหาร (Food Waste) ให้น้อยที่สุดด้วย จากการศึกษาล่าสุดของ Nature Food พบว่า อุตสาหกรรมอาหารนั้นมีส่วนทำให้สภาพอากาศเสียหายประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หากอ้างอิงจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้ว การหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาหารได้ ตัวอย่างเช่น เบอร์เกอร์เนื้อในสหราชอาณาจักรสามารถสร้างคาร์บอนได้ถึง 3,050 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเบอร์เกอร์มังสวิรัติที่ปล่อยก๊าซดังกล่าวเพียง 300 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเท่านั้น The Canteen เปิดเผยว่าโครงการนี้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคค่อนข้างมาก โดยทางร้านเชื่อว่าการระบุข้อมูล […]
‘ทำไมสตาร์ทอัปไทยยังไประดับโลกไม่ได้’ คุยกับยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup คนล่าสุด
โมงยามที่แดดยามบ่ายกำลังสาดแสงเต็มแรง ลิฟต์ของห้างฯ ICONSIAM พาเราขึ้นมาบนชั้น 7 ภาพมวลชนขวักไขว่ในงาน Techsauce Global Summit 2022 คือสิ่งแรกที่ทักทายเราหลังก้าวผ่านประตู เสียงบรรยายว่าด้วยเทคโนโลยีดังมาแต่ไกล สมเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่รวมหัวกะทิเรื่องเทคฯ และผู้สนใจจากทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับสตาร์ทอัปไทยหลายเจ้าที่มารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และคอนเนกชัน-สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจไม่มีไม่ได้ แต่วันนี้ เราไม่ได้จะมาแลกเปลี่ยนอะไรกับใคร อันที่จริง หากมีสิ่งที่พอจะนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้คือ เรามีนัดกับ ‘ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์’ ชายหนุ่มที่หลายคนอาจรู้จักในบทบาทการเป็นอาจารย์วิชากฎหมายภาษี ไม่ก็บทบาทของผู้ก่อตั้ง iTAX สตาร์ทอัปที่นำเทคโนโลยีมาช่วยให้คนไทยคิดคำนวณภาษีกันได้ง่ายๆ โดยไม่เปิดตำรา แต่บทบาทที่พาให้เรามาคุยกับเขาในวันนี้ คือนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยคนล่าสุด สรุปอย่างย่นย่อให้คนที่ไม่เคยรู้จักสมาคมนี้มาก่อน สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยหรือเรียกสั้นๆ ว่า THAI STARTUP คือสมาคมที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 8 ปี มีสมาชิกเป็นสตาร์ทอัปรายน้อยใหญ่กว่า 100 ราย และทำหน้าที่ในการผลักดัน ส่งเสริม รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้สตาร์ทอัปไทยได้เติบโต เฉิดฉายได้ในระดับสากล แต่พูดก็พูดเถอะ ในยุคแห่งโรคระบาดที่ไม่ได้คร่าแค่ชีวิตผู้คนแต่ยังคร่าธุรกิจสตาร์ทอัปให้ปิดตัวลงหลายราย คนในวงการตอนนั้นแทบจะมองไม่เห็นอนาคต นั่นจึงทำให้เรามานั่งคุยกับ ผศ. ดร.ยุทธนา วันนี้ ว่าด้วยทิศทางของสตาร์ทอัปไทยในยุค Post-Covid และการกอบกู้ความเชื่อมั่นของสตาร์ทอัปไทยให้กลับมาแข็งแกร่ง […]
‘ปันเป๋ากัน’ ส่งต่อกระเป๋าสภาพดีเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาให้น้องๆ วันนี้ – 30 ก.ย. 65 ที่ร้านปันกันทุกสาขา
‘ปันเป๋ากัน’ ส่งต่อกระเป๋าสภาพดี เปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาให้น้องๆ วันนี้ – 30 ก.ย. 65 ที่ร้านปันกันทุกสาขา ใครที่มีสิ่งของสภาพดีแต่ไม่ได้ใช้ หรืออาจจะใช้น้อยครั้งจนหลงลืมไปแล้วว่าเคยมีอยู่ อยากให้สำรวจดูอีกครั้งว่ามีอะไรบ้างที่อาจไม่จำเป็นในเวลานี้แล้ว และอยากแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ คือการระดมทุนในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ด้วยการเปิดหน้าร้านรับสิ่งของสภาพดี ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ทุกคนสามารถนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นสินค้าในร้านให้คนที่ชอบมาช้อปไป และเงินที่ได้ก็จะกลายเป็นโอกาสทางการศึกษาของเด็กๆ ในมูลนิธิยุวพัฒน์ โดยทางมูลนิธิจะมอบทุนให้เยาวชนผู้ขาดแคลนโอกาสทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนสิ่งของสภาพดีที่ขายไม่ได้จะส่งต่อให้บ้านเด็กกำพร้าหรือโรงเรียนในชนบทได้ใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับเดือนกันยายนนี้ ร้านปันกันเลือกจัดแคมเปญ ‘ปันเป๋ากัน’ โดยชวนทุกคนมาส่งต่อกระเป๋าที่ไม่สปาร์กจอยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าแฟชั่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ หรือกระเป๋าแบบไหนก็ได้ ขอเพียงมีสภาพดีเหมาะแก่การนำไปจำหน่าย ช่องทางการปัน มีดังนี้ 1) ร้านปันกันทั้ง 16 สาขา 2) ส่งพัสดุไปรษณีย์หรือนำมาบริจาคด้วยตัวเองที่คลังสินค้าแบ่งปัน 3) บริการรถปันกัน 4) […]
Wander Around ระหว่างทางของเส้นทางชีวิต
ภาพถ่ายชุดนี้บันทึกสิ่งที่เราพบเจอระหว่างการเดินทางจากประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เราพาตัวเองออกไปเจอสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ให้ลองเดินหลงไปในย่านที่ไม่รู้จัก ลองทักทายคนแปลกหน้าแบบที่ตอนอยู่ไทยคงไม่กล้าทำ แล้วกดถ่ายรูปแบบไม่ต้องคิดอะไร นอกจากมองหาสิ่งที่ตัวเองชอบ
ปรับ Mindset เปลี่ยนสังคม ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ไปกับ Together To Net Zero
ในภาวะที่โลกเรากำลังเสี่ยงพบกับหายนะทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งภาวะหิมะตกหนัก ฮีตเวฟ น้ำท่วม และภัยแล้ง ล้วนมาจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องตระหนักรู้ แต่เป็นทั้งโลกที่ต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือกัน เกิดเป็นการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ขึ้น โดยภายในการประชุมมี 132 ประเทศได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2050 ส่วนประเทศไทยก็ได้มีการวางเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ก่อนปี 2065 เช่นเดียวกัน ทำให้ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดเวที ‘GC Circular Living Symposium 2022: Together To Net Zero’ เวทีการประชุมระดับนานาชาติที่รวมพลังขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เพื่อ Update Trend แนวทางการลดโลกร้อนผ่าน Speakers ชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ไม่ใช่แค่บรรลุเป้าหมายขององค์กรในการลดก๊าซเรือนกระจก หากแต่ยังช่วยสนับสนุนภาพใหญ่ของไทยและโลกใบนี้ผ่านการสร้างการตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนได้ตื่นตัว โดยภายในงาน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืน GC […]
Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย
“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]
ความเสี่ยงและโรคภัย ที่มาพร้อมวิถีชีวิตคนเมือง กับหมอภัทรภณ | Unlock the City EP.09
ไทยคือหนึ่งในประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตในช่วงวัย 30 – 60 ปี หรือที่เรียกว่า ‘ตายก่อนวัยอันควร’ ค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น เราสามารถออกแบบนโยบายสุขภาพหรือแม้กระทั่งออกแบบผังเมือง เพื่อป้องกันการเกิดโรคในคนกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อแก่ตัวไป พวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เจ็บป่วย ช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและเมือง Unlock the City เอพิโสดนี้ ชวนฟังบทสนทนาของ ‘ภัทรภณ อติเมธิน’ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวช ที่มาแลกเปลี่ยนถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเมือง ที่นับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทวีความรุนแรง เนื่องจากวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้แข่งขัน ภายใต้ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยทุ่นแรง ซึ่งอีกแง่หนึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ ‘เนือยนิ่ง’ ในหมู่คนรุ่นใหม่ ยังไม่นับเปอร์เซ็นต์ของโรคติดต่อ-โรคไม่ติดต่อ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามกลุ่มการพัฒนาของประเทศทั่วโลก เพราะหากลงลึกถึงปัญหาจริงๆ แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน อาหารการกิน การคมนาคมขนส่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาวะผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ไม่มากก็น้อย ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/zXOicJq9-5Q Spotify : https://spoti.fi/3qg5kSi Apple Podcasts : […]
‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว
ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]