
LATEST
‘Sway’ เก้าอี้สำหรับนั่งบนพื้นที่ออกแบบตามสรีรศาสตร์ และช่วยซัพพอร์ตการนั่งให้ดี
จะมีอะไรสบายไปกว่าการนั่งบนพื้น เพราะจะนั่งตรงไหน ที่ไหนก็ได้ แค่ต้องแลกมากับความรำคาญบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพื้นแข็งๆ ที่ทำให้ปวดตัว ท่านั่งบางท่าที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ หรืออาจเป็นฝุ่นผงที่ทำให้เรามอมแมม ดีไซเนอร์ชาวอินเดีย ‘Ila Rani’ อยากช่วยให้ท่านั่งพื้นของทุกคนปลอดภัยและสบาย จึงออกแบบ ‘Sway’ เก้าอี้ที่ช่วยให้การนั่งบนพื้นง่ายและสะดวกสบายขึ้น สิ่งที่โดดเด่นของเก้าอี้ตัวนี้คือ พนักพิงที่เอนหลังพิงได้ และรูปทรงของเก้าอี้ที่มีความโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานโยกตัวแบบเบาๆ ได้โดยไม่ต้องกลัวล้ม แถมยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดไปในตัวอีกด้วย นอกจากนี้ Sway ยังมีที่วางแขนสองข้าง โดยชิ้นที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าจะทำหน้าที่เป็นที่วางข้อศอก ส่วนชิ้นล่างทำหน้าที่เป็นที่จับเพื่อความมั่นคงและปลอดภัยในการลุกนั่ง อีกทั้งยังรองรับการนั่งบนพื้นในหลากหลายท่านอกจากการนั่งขัดสมาธิ เพราะดีไซเนอร์เข้าใจดีว่า หลายคนอาจติดการนั่งไขว้ขาหรือนั่งไขว่ห้าง แม้จะนั่งอยู่บนพื้นก็ตาม เก้าอี้ตัวนี้จึงได้รับการออกแบบตามสรีรศาสตร์ ช่วยให้การนั่งท่าต่างๆ เหล่านี้มีความพอดี และซัพพอร์ตกับการนั่งที่ดีอีกด้วย Sources :Behance | tinyurl.com/52rz5db3Yanko Design | tinyurl.com/ye227fe3
‘Bloom for New Gen’ โปรเจกต์ออกแบบ E-Book และ AR ที่อยากชวนคนรุ่นใหม่มารดน้ำพรวนดินให้ปากคลองตลาดผลิบานกว่าที่เคย
กลิ่นกรุ่นดอกดาวเรือง เฟื่องฟุ้งด้วยไฮเดรนเยีย แม้นเช้าแสนงัวเงีย ทานตะวันกลับพร้อมรับแสง อีกเดซี่ฤากล้วยไม้ จัดวางไว้เป็นช่อดอก ม่วงขาวสวยไม่หลอก มีทุกตรอกบานไม่รู้โรย พร้อมรักแลมะลิ แสนปีติคู่มาลัย กุหลาบหอมลอยกลิ่นไกล เรียงข้างไว้ใกล้ดอกบัว ปัจจุบัน ‘ปากคลองตลาด’ กลายเป็นพื้นที่เช็กอินยอดฮิตด้วยดอกไม้สวยๆ สักช่อกับวิวสะพานพุทธฯ ก่อนพระอาทิตย์ตก แต่รู้หรือไม่ว่า 10 ดอกไม้ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเหล่าดอกไม้อัตลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้ “ตอนนี้คนรุ่นใหม่เข้ามาเที่ยวปากคลองตลาดเยอะมาก แต่เขายังไม่รู้ว่าที่นี่มีอะไรบ้างนอกจากขายดอกไม้ เพราะที่นี่ไม่มีป้ายบอกทาง ร้านอาหาร คาเฟ่อะไรก็เข้าถึงยาก ไม่รู้ต้องไปที่ไหน” ถ้อยคำบอกเล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ Bloom for New Gen ที่ ‘ชะเอม-ปัณรสี ศะศินิล’ นักศึกษาปริญญาโท ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับเพื่อนๆ นักออกแบบ WHITE HAT. Team ตั้งใจจัดทำ Guidebook ในรูปแบบ E-Book และ AR สำหรับพื้นที่ปากคลองตลาดขึ้นมา “เราเป็นนักวาดดอกไม้ […]
ส่งต่อสมบัติที่หมดใจให้เจ้าของใหม่ไปดูแล ด้วยการ ‘แลก’ ของกันแบบไม่ใช้เงินในงาน ตลาดนัด-แลก-พบ ครั้งที่ 2 วันที่ 11 ม.ค. 68 ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
เก็บบ้านแต่ละทีก็มักเจอกับสิ่งของที่มาพร้อมความทรงจำ ทั้งชิ้นที่เราสปาร์กจอยอยากเก็บเอาไว้ และชิ้นที่เราหมดใจไม่อยากใช้ต่อ แต่จะให้หยิบไปทิ้งก็ไม่กล้า ถึงเวลาหอบสมบัติที่หมดใจมา ‘แลก’ กันในงาน ili U BARTER SYSTEM FAIR ตลาดนัด-แลก-พบ ครั้งที่ 2 ครั้งนี้ไอแอลไอยูกลับมาพร้อมเพื่อนคนใหม่อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาช่วยกันเนรมิตตลาดนัด-แลก-พบ ให้เกิดขึ้น ในตอน ‘สมบัติผู้มี’ ขอชวน ‘ผู้มี’ สมบัติสภาพดีที่หมดใจกับมันมาแลกกันที่งานโดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท รายละเอียดสมบัติที่จะนำมาแลก ต้องเป็นของมือสองที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ยังมีสภาพดี นำของมาได้ทุกหมวด ยกเว้นอาหารและสัตว์เลี้ยง โดยผู้สนใจเลือกเข้าร่วมงานได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) สมัครมาเป็น ‘คนปูเสื่อรอ’ : เพื่อนำสมบัติมาจัดแผงรอแลกกับเจ้าของใหม่ที่จะเดินเข้ามาขอเจรจาแลกภายในขนาด 1 เสื่อ โดยคนปูเสื่อที่ได้มาออกงานนี้จะต้องสมัครผ่าน lin.ee/9i9ehSW และผ่านการคัดเลือกสิ่งของและเรื่องราวจากไอแอลไอยูเท่านั้น 2) มาในฐานะ ‘คนแลก’ : ที่จะถือสมบัติมากี่ชิ้นก็ได้ เพื่อมาแลกกับผู้ปูเสื่อรออยู่ก่อนหน้า เพียงแค่เจอสมบัติที่ถูกใจก็เดินไปเจรจาขอแลกด้วยสมบัติที่ตัวเองนำมาได้เลย โดยคนแลกเข้างานได้ฟรี เพียงลงทะเบียนกดบัตรล่วงหน้า และ 300 คนแรกที่มาถึงงาน ได้สิทธิ์แลกรับ […]
Gongdid Design รีโนเวตบ้านเก่ากลางสาทรให้เป็นโชว์รูมเสื้อผ้าสุดลื่นไหลเสมือนผ้าพลีต
แบรนด์ ‘Gongdid Design’ เริ่มต้นขึ้นมาจากความชอบในผ้าพลีตตั้งแต่เด็กของ ‘พีช-วิชชา โสภณพัฒนา’ ผู้หันจากการทำงานด้านหลักทรัพย์มาเปิดแบรนด์เสื้อผ้าแบบ One size fits all เป็นของตัวเอง ที่มีจุดเด่นอย่างการนำผ้าพลีตมาดีไซน์เป็นเสื้อผ้าหลากหลายแบบ หลังจากขายออนไลน์โดยไม่มีหน้าร้านมาได้สักพัก ก็ถึงเวลาที่ Gongdid Design จะขยับขยายที่ทางด้วยการรีโนเวตทาวน์เฮาส์เก่าขนาด 2 คูหา อายุกว่า 30 ปี ให้เป็นโชว์รูมเสื้อผ้าที่เปิดให้ผู้ที่มีใจรักในผ้าพลีตเหมือนกับพีชได้เข้ามาเยี่ยมชม Gongdid Design หลังนี้เกิดขึ้นจากการร่วมงานกับทีมสถาปนิกชาวเกาหลีอย่าง ‘Creative Studio Unravel’ จากความชื่นชอบส่วนตัวของพีชเองหลังมีโอกาสแวะไปเยี่ยมชมงานออกแบบร้านของสตูดิโอนี้ในหลากหลายประเทศ พีชรีโนเวตบ้านเก่าโดยเลือกเก็บโครงสร้างเดิม และชูจุดเด่นของห้องภายในบ้านที่มีหน้าต่างบานหนึ่งซึ่งมองทะลุไปเห็นลานซักล้างได้ จากคีย์เวิร์ด 3 คำที่สื่อถึงแบรนด์อย่าง ‘สงบ เรียบง่าย และคงความธรรมชาติในแบบที่เป็น’ จนออกมาเป็นโชว์รูมเสื้อผ้า 3 ชั้น ที่มีบันไดนอกอาคารที่สามารถขึ้นจากชั้น 1 ไปสู่พื้นที่ชั้น 2 ได้ทันที ด้านพื้นของชั้น 2 มีการปูทับพื้นเดิมด้วยลามิเนต ตกแต่งด้วยไฮไลต์ของร้านอย่างเก้าอี้จากไม้กันเกราขนาด 2.2 เมตร ที่ใช้เป็นที่นั่งและจุดวางสินค้าได้ และชั้น […]
City in Patterns ความซ้ำซ้อนของเมือง
ภาพชุดนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมือง มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ผ่านการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นรูปแบบซ้ำๆ เป็นตัวเดินเรื่อง โดยลดทอนความหลากหลายอันยุ่งเหยิง นำกลับไปสู่ความเรียบง่ายและดูเป็นระบบระเบียบ ถ้าหากพิจารณาให้ดีจะพบว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในพื้นที่เหล่านั้น เราจึงมองว่าความซ้ำซ้อนไม่เพียงแค่ทำให้เกิดเป็นภาพ แต่ยังฉายภาพที่ ‘ซับซ้อน’ ภายในใจของเราด้วย ติดตามผลงานของ พุทธิพงศ์ นิพัทธอุทิศ ต่อได้ที่ Facebook : amp.puttipongInstagram : amp_puttipong หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
SUETOMI AoQ Cafe Stand คาเฟ่วินเทจในเกียวโตที่มีความลึกเพียง 1 เมตร
คุณคิดว่าร้านกาแฟจะเล็กได้แค่ไหน ที่เกียวโตมีร้านกาแฟที่มีขนาดเพียง 10 ตารางเมตร ด้วยความลึกของร้านเพียง 1 เมตรเท่านั้น ‘SUETOMI AoQ Cafe Stand’ คือคาเฟ่ที่มีเจ้าของเดียวกันกับ ‘SUETOMI’ ร้านอาหารชื่อดังในเกียวโตจากผลงานการออกแบบของสตูดิโอ G architects studio และ Ryohei Tanaka ที่ตั้งอยู่บนหัวมุมถนน Matsubara-dori ติดกับร้านราเมน Chanponteiso Honkeshijokarasumaten ใกล้กับสถานีรถไฟ Shijō Station ความพิเศษคือ ที่นี่เป็นคาเฟ่ไม้ในรูปแบบวินเทจ ที่นั่งพักและด้านข้างของร้านมีการติดตั้งแผ่นทองแดงที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยซอสถั่วเหลืองและแอมโมเนียมคลอไรด์ในปริมาณเหมาะสมเพื่อให้เกิดการกัดกร่อน กลายเป็นสีสนิมออกโทนฟ้า คล้ายกับสี ‘Suetomi Blue’ ซึ่งเป็นสีประจำร้าน SUETOMI เดิมที่อยู่ห่างจากตัวคาเฟ่ไปเพียงสามนาทีเท่านั้น ทำให้นอกจาก SUETOMI AoQ Cafe Stand จะเป็นคาเฟ่คอนเซปต์เก๋ที่ดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นป้ายบอกทางเพื่อนำลูกค้าไปยังร้านเรือธงของ SUETOMI บนถนน Tamatsushimachō อีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ในช่วงนอกเหนือเวลาทำการ พื้นที่นั่งพักของ SUETOMI AoQ Cafe […]
‘อีสานเอิ้นหา (Isan Calling)’ เสพงานศิลป์พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมอีสาน ที่จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม นครราชสีมา วันที่ 7 ธ.ค. 67 – 1 ม.ค. 68
ก่อนหมดปีนี้ Urban Creature อยากชวนคนรักงานศิลปะออกเดินทางไปเสพงานอาร์ตท่ามกลางบรรยากาศดีๆ ที่ ‘จิมทอมสันฟาร์ม’ กับโครงการ ‘อาร์ต ออน ฟาร์ม ณ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลและคัดสรรโดยทีมงานหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ที่เชิญศิลปินเข้ามาทำงานและสร้างสรรค์ผลงานในฟาร์มมาตั้งแต่ปี 2552 สำหรับปีนี้อาร์ต ออน ฟาร์มมาพร้อมกับธีม ‘อีสานเอิ้นหา (Isan Calling)’ ที่รวม 17 ศิลปิน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ล้วนแล้วแต่เคยมีผลงานร่วมกับงานมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก เช่น ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย (2566) เวนิส เบียนนาเล่ (2566) เอเชีย แปซิฟิก ไทรเอ็นเนียล บริสเบน (2567) เป็นต้น มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่เชื่อมโยงงานศิลปะจากหลากหลายวัฒนธรรมกับพื้นที่ของฟาร์ม โดยเน้นเรื่องการใช้วัสดุพื้นถิ่น งานฝีมือ ความยั่งยืน และระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่จะทำให้เราเข้าใจถึงวัฒนธรรมอีสานมากขึ้น เช่น นิทรรศการลำโลก, นิทรรศการอเมริกันอีสาน ที่มาพร้อมแนวเพลงคันทรีเพื่อกล่อมเกลาบรรยากาศในโซนอเมริกันอีสาน, […]
เยี่ยมสเปซน่าสนใจในตึกแถว ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ โอลด์ทาวน์ที่น่าไปใช้ชีวิตและเป็นมิตรกับคนเมือง
เทศกาลแห่งการสังสรรค์ แสงสี และการรวมตัวกันของผู้คนในช่วงปลายปีใกล้เข้ามาทุกที แม้เป็นเพียงไม่กี่วันก่อนที่กรุงเทพฯ จะกลับสู่การเป็นเมืองที่มีคนเหงามากกว่าเสาไฟฟ้า ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตัวเองตามวิถีคนเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบจนขาดการปฏิสัมพันธ์กันก็ตาม คงดีไม่น้อยหากเมืองฟ้าอมรแห่งนี้เป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น มีพื้นที่ส่วนกลางให้มนุษย์กรุงเทพฯ ได้พบปะพูดคุยกันแบบเห็นหน้า พักผ่อนจากการงานที่แสนหนักหน่วง ได้วางโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสารในห้วงยามที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตจนคล้ายเป็นอวัยวะที่ 33 เพื่อใช้เวลาไปกับการพูดคุยกันสารพัดเรื่อง แลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจกับเพื่อนทั้งเก่าและใหม่ หรือรวมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน แต่เดิม ‘วงเวียน 22 กรกฎาคม’ ก็เป็นเหมือนโอลด์ทาวน์ทั่วไป ยังคงความเป็นชุมชนคล้ายกับหลายย่านเก่าในเมืองหลวง โดยมีธุรกิจอย่างอู่ซ่อมรถและร้านทำป้ายโฆษณาตั้งเรียงรายเป็นภาพจำของผู้คน ทว่าในวันนี้หากลองเดินเท้าสำรวจย่านเก่าอายุกว่าร้อยปีแห่งนี้จะพบว่า นอกจากซอยนานาที่โด่งดังมาก่อนหน้าแล้ว ในมุมอื่นๆ ของย่านก็มีกิจการใหม่ในตึกเก่าที่แทรกตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้คนเมืองมีกิจกรรมหลากหลายแวะเข้ามาทำมากขึ้นตั้งแต่กลางวันยันกลางคืน คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้ไม่ได้พาไปดูอู่รถหรือเข้าร้านป้าย แต่อยากชวนสำรวจ Creative & Community Space รอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ย่านที่วันนี้มีหลายสเปซน่าสนใจที่กวักมือเรียกผู้คนเข้ามาสัมผัสย่านในมุมมองใหม่ๆ ด้วยความตั้งใจของผู้ประกอบการที่อยากให้บ้านของเขาไม่เงียบเหงา และอยากเป็นเฉดสีอื่นๆ ที่แต้มแต่งเพิ่มเข้ามาในเมืองนี้ ในแง่ประวัติศาสตร์ เมื่อศตวรรษที่แล้วมีการตัดถนนสายใหม่ 3 สาย ผ่านชุมชนของชาวจีนในตำบลหัวลำโพงที่เกิดไฟไหม้ ตรงกลางของเส้นเลือดใหม่ที่วิ่งไขว้กันไปมาทำเป็นวงเวียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามทั้งถนนและวงเวียนว่า ‘22 กรกฎาคม’ เพื่อระลึกถึงวันเดือนที่ประเทศสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร […]
คุยเรื่องแสงไฟ ชีวิต และเมือง กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
เมืองยามค่ำคืนเต็มไปด้วยแสงสว่างจากหลากหลายที่ จนหลายครั้งก็อาจเป็นมลภาวะทางแสงให้กับเราโดยไม่รู้ตัว จะดีกว่าไหมหากเมืองเรามีการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยชีวิตเราได้ในทุกมิติ “การออกแบบแสงสำหรับเมือง มันก็จะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนในทุกมิติ” Urban Creature คุยกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถึงเรื่องแสงสว่างที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราและควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน
Hello Stranger คลายข้อสงสัย เหตุใดเราถึงไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง
ก่อนจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนเพิ่งเข้าไปใน TikTok และบังเอิญไปเจอหมอดูคนหนึ่งกำลัง Live เปิดไพ่อยู่ ก็เลยถามคำถามที่อยากรู้กับหมอดู ‘แปลกหน้า’ คนนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเขามาก่อน แต่เราก็ไว้ใจเหลือเกินที่จะให้เขาตอบหน่อยว่า “การเงินเดือนนี้จะเป็นอย่างไรคะ” โชคดีที่เป็นเรื่องเงิน ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนไม่ได้กลัวว่าจะได้ยินอะไรบาดใจ และโชคดีอีกที่คำตอบออกมาในระดับที่พอรับได้ “คุณไม่ต้องกังวลนะคะ มีพอใช้ ไม่ได้เยอะ แต่พอใช้แน่นอน” ตัดภาพมาที่คุณผู้หญิงอีกคนที่ถามคุณหมอดูว่า “สามีกำลังนอกใจอยู่หรือเปล่า” “นอกใจค่ะ เขาไม่ได้มีคุณคนเดียว” หมอดูเปิดไพ่อย่างรวดเร็ว แล้วรีบตอบแบบไม่มีการเกริ่นใดๆ จนถึงตอนนี้ ผู้เขียนก็ยังนึกถึงหญิงสาวคนนั้นอยู่ว่าจิตใจจะเป็นอย่างไรบ้างนะ การทำนายอนาคตคงต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ หากต้องการรู้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์นี้เป็นคนตอบให้ แต่ก็มีหลายเรื่องราวส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนและเจ็บปวดใจ ที่หลายคนไว้ใจให้คนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิท ไม่ได้เข้าใจความเป็นเราขนาดนั้น เป็นผู้รับฟังและช่วยชี้แนะ มอบกำลังใจ อะไรใน ‘ความไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว’ ของคนอื่น ที่ทำให้เราอยากเล่า ‘เรื่องราวส่วนตัว’ ให้ฟังขนาดนี้ เรากับคนแปลกหน้าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียทางความรู้สึกต่อกัน หลายครั้งหลายคราที่เรามีปัญหาเดิมๆ กับเรื่องเดิมๆ คอยฟังคำแนะนำ (หรือบางครั้งก็เป็นคำบ่น) จากคนที่สนิทกันจนชินชา กลายเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจมากพอที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะไม่ได้ชอบสถานการณ์ตอนนี้มากนักก็ตาม แต่พอได้ฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่เคยถามเขามาก่อน กลับรู้สึกเหมือนได้รับมุมมองแปลกใหม่ ไม่เคยลองมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้วยเลนส์นี้มาก่อน ราวกับได้รีเฟรช เห็นภาพชัดรอบด้าน […]
ขนหัวลุกกับน้าผี ไปเรียนรู้เรื่องไทยๆ ในช่วงค่ำคืนส่งท้ายปีกับงาน ‘What’s Thai วัดไทย 2024’ วันที่ 20 – 22 ธ.ค. 67 ที่ Museum Siam
Night at the Museum กลับมาชวนให้ทุกคนได้ออกมาใช้ชีวิตและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในช่วงค่ำคืนกันอีกครั้ง โดยในปีนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 14 แล้ว และแน่นอนว่าก็ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกมากมายทั่วกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมเทศกาลนี้ และเชื้อเชิญให้ชาวเมืองได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมสถานที่ในตอนกลางคืนกัน เช่นเดียวกับที่ Museum Siam ที่ในปีนี้มาพร้อมกับตอน ‘What’s Thai วัดไทย 2024’ ที่จะพาไปเรียนรู้เรื่องราวความเป็นไทยผ่านความสนุกในแบบไท้ป์ไทย จากปกิณกะ ประวัติศาสตร์ งานรื่นเริงของวัดไทย สื่อสารความเป็นไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของคนไทยผ่านทุนทางวัฒนธรรมที่กลายมาเป็นอำนาจทางวัฒนธรรมทั่วโลก รวมไปถึงยังมี ‘Ghost Power ส่งผีไทย ไปผีโลก’ เรื่องของผีไทยที่จะทำให้ทุกคนได้ใกล้ชิดและตามติดเรื่องราวในแง่ของตำนาน การแบ่งปันประสบการณ์ และการเล่าเรื่องราวของผีที่เราเองอาจไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมกิจกรรมชวนขนหัวลุกอื่นๆ อีกมากมายจัดแสดงขึ้นในห้องคลังความรู้อีกด้วย มากไปกว่านั้น ตลอดทั้งสามวันนี้จะมีกิจกรรมมากมายกว่าแค่เปิดห้องให้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นโชว์ต่างๆ ทอล์ก รวมไปถึงคอนเสิร์ต ที่ชวนให้มาสนุกกันฟรีๆ ตั้งแต่ 16.00 – 22.00 น. What’s Thai วัดไทย 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 – 22 ธันวาคม […]
ทำความเข้าใจ ‘บ้านเพื่อคนไทย’ โครงการใช้พื้นที่การรถไฟฯ สร้างเป็นบ้านให้ผ่อนเดือนละ 4,000 บาท อยู่ได้นาน 99 ปี
หลายคนอาจเห็นข่าวโครงการนี้ผ่านๆ ตากันบ้างแล้ว แต่อาจยังมีข้อสงสัยหรือรายละเอียดที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ วันนี้ Urban Creature ขอสรุปรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ‘บ้านเพื่อคนไทย’ ว่ามีความสำคัญ รายละเอียด รวมถึงไทม์ไลน์ความเป็นไปมาให้ทุกคน บ้านเพื่อคนไทยคืออะไร โครงการนี้สร้างขึ้นโดยใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีจุดเด่นคือ เป็นที่ดินที่เดินทางสะดวก ใกล้ขนส่งสาธารณะไม่ว่าจะเป็นรถไฟหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งพบว่าที่ดินรอบพื้นที่สถานีรถไฟหรือมีทำเลใกล้กับระบบรางแต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ มีอยู่ถึงประมาณ 38,000 ไร่ ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ไปจนถึงทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการสร้างเป็นคอนโดมิเนียม 2 ขนาด คือ 30 และ 45 ตารางเมตร และบ้านเดี่ยวขนาด 2 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ พร้อมลานจอดรถสองคัน พื้นที่ 50 ตารางวา เป้าหมายคือการเน้นสร้างบ้านคุณภาพดี ผ่อนเริ่มต้นที่เดือนละ 4,000 บาท ในระยะเวลา 30 ปี หลังจ่ายครบยอดสามารถถือครองได้ 99 ปีก่อนกลับคืนสู่มือรัฐบาล ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับโครงการที่อยู่อาศัยของหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ หรือ Housing & […]