LATEST
12 สถานที่พักผ่อนร่างกายและภายใน ฮีลตัวเองให้พร้อมลุยในวันต่อไป
ใกล้จบเดือนแรกของปี 2023 แล้ว ใครที่ตั้ง New Year’s Resolution เอาไว้ ทำสำเร็จกันไปกี่อย่างแล้วนะ ถ้ายังไม่ได้เริ่มหรือรู้สึกว่าอะไรหลายๆ อย่างดูไม่ค่อยเป็นใจให้ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ลองเริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่าง ‘การพักผ่อน’ ก่อนไหม การพักผ่อนที่ว่าไม่ได้หมายถึงนอนหลับเท่านั้น แต่รวมถึงการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ช่วยให้เรารู้สึกถึงการพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในอย่างเต็มอิ่ม ตามที่ ‘Dr.Saundra Dalton-Smith’ แพทย์และนักค้นคว้าเรื่องการพักผ่อนชื่อดังเคยเล่าไว้ว่า การพักผ่อนนั้นมีอยู่ 7 ประเภท ตั้งแต่การพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนผ่านประสาทสัมผัส ไปจนถึงการพักผ่อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban’s Pick ขอรวบรวม 12 สถานที่ทั่วกรุงเทพฯ ที่เหมาะแก่การใช้เวลาพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในมาให้ทุกคนไว้ใช้เป็นตัวเลือกในการเยียวยารักษาตัวเองกัน 01 | Physical Healingพักผ่อนร่างกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เราขอเริ่มหมวดหมู่แรกด้วยการพักผ่อนร่างกาย พูดอย่างนี้หลายคนคงคิดไปถึงฟิตเนสหรือการไปนวดคอบ่าไหล่แก้อาการ Office Syndrome แต่ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ ยังมีสถานที่สำหรับพักผ่อนร่างกายอีกหลายแบบที่รอให้เข้าไปสัมผัสอยู่ Yunomori Onsen & Spa ‘Yunomori Onsen & Spa’ คือออนเซ็นและสปา ที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมการแช่บ่อน้ำแร่ร้อนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้ากับบริการสปาอันเลื่องชื่อของไทย […]
นายเองก็เป็นได้นะ โปเกมอนการ์ดเทรดเดอร์น่ะ | Urban เจอนี่ เจอ โลกการ์ดเกม
โลกแห่งการ์ดเกมไม่ใช่แค่สถานที่เท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อกลางที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันด้วย Urban เจอนี่ ตอนนี้เราได้รับคำท้าจากผู้เล่นระดับโปรของ Pokémon Trading Card Game ให้มาประชันกันที่ร้านการ์ดเกมใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง Sedai 4.5 นอกจากการแข่งขัน Pokémon Trading Card Game ครั้งแรกกับ Pro Player ตัวจริงแล้ว เรายังจะได้สำรวจโลกแห่งการ์ดเกมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Magic the Gathering, ดราก้อนบอล, Flesh & Blood หรือ Tabletop Game ยอดฮิตอย่าง Warhammer มาดูกันว่าเขาแข่งขันกันระดับไหน คอมมูนิตี้ยิ่งใหญ่อย่างไร และนอกจากการเล่นการ์ดเกมสนุก ๆ แล้ว ประสบการณ์อะไรที่เหล่า Player จะได้รับเมื่อมาเยือนร้าน Sedai 4.5 ที่ The EmQuartier แห่งนี้ #UrbanCreature #URBANเจอนี่ #PokémonTCG #TCG #CardGame […]
จากเด็กกลางกรุง สู่ผู้ใหญ่ที่อยากทำให้คนกลับมารักกรุงเทพฯ อีกครั้ง | คนย่านเดียวกัน EP.7
หลังจากที่ไปพูดคุยเรื่องถิ่นที่อยู่กับหลายตัวละคร วันนี้รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ขอชวนคนใกล้ตัวแบบสุดๆ อย่าง ‘เตอร์-วันชนะ จิตต์การงาน’ Editor-in-chief & Co-founder แห่ง Urban Creature ผู้เติบโตในย่านกลางเมืองอย่างบางรัก-สี่พระยา มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตที่ยึดโยงกับพื้นที่อยู่อาศัยกันบ้าง เพราะได้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงมีความเชื่อว่าเมืองดีกว่านี้ได้ ทำให้ชายคนนี้ปลุกปั้น Urban Creature ขึ้นมา เพื่อร่วมเป็นเสียงหนึ่งที่ทำให้ผู้คนกลับมารักเมืองอีกครั้ง และอยากทำให้มันดีขึ้น ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/1lLkwtAv3iY Spotify : http://bit.ly/4080Fmf Apple Podcasts : http://bit.ly/3XYU3Vt Podbean : http://bit.ly/3kOBkO7
Urban Farming Office เปลี่ยนสำนักงานตึกสูงเป็นสวนแนวตั้ง แวดล้อมด้วยธรรมชาติ ผักผลไม้ และสมุนไพร
ภายใต้การขยายของเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คอนกรีตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีหลากหลายปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดพื้นที่สีเขียวจากธรรมชาติ มลพิษทางอากาศ น้ำท่วมและนำไปสู่สภาวะน้ำเค็ม ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ สตูดิโอสัญชาติเวียดนาม ‘Vo Trong Nghia Architects’ ได้ออกแบบและสร้าง ‘Urban Farming Office’ ออฟฟิศสำนักงานใหญ่ของตัวเองในนครโฮจิมินห์ เป็นอาคารโครงคอนกรีตที่ปกคลุมด้วยฟาร์มแนวตั้ง แวดล้อมไปด้วยพรรณไม้สีเขียวอย่างผักผลไม้และสมุนไพร แกนกลางของอาคารสำนักงานสร้างโดยใช้โครงคอนกรีตเปลือย ในขณะที่โครงสร้างภายนอกทำจากเหล็กบางๆ ทำหน้าที่คล้ายชั้นวางเหล่ากระถางต้นไม้ เพื่อเอื้อต่อการจัดเรียงต้นไม้ใหม่อย่างยืดหยุ่น หรือในกรณีที่ต้นไม้เติบโตขึ้น อาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ด้วยการมีผนังต้นไม้ที่ปกคลุมด้านทิศใต้ของอาคาร เป็นตัวช่วยทำหน้าที่กรองแสงแดดและอากาศ ป้องกันความร้อนที่สูงเกินไป ทั้งยังสร้างร่มเงาและช่วยตกแต่งภายในสำนักงานอีกด้วย ภายในออฟฟิศ พื้นที่ทำงานถูกจัดไว้รอบๆ โถงกลาง และมีประตูกระจกบานเลื่อน เพื่อเปิดไปยังระเบียงสำหรับเคลื่อนย้ายพืชหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตจากกระถาง พร้อมสวนบนชั้นดาดฟ้าสำหรับปลูกพืชที่ต้องการได้อีกในอนาคต นอกจากนี้ ตัวโครงสร้างคอนกรีตยังถูกปล่อยให้เปิดโล่งทั้งหมด โดยเสริมด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้มและไฟประดับแบบมินิมอล เพื่อให้ตัดกับเหล่าต้นไม้ใบเขียวสดใสของฟาซาดอาคารที่เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ Urban Farming Office โดย Vo Trong Nghia Architects ถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเป็นได้มากกว่าแค่สำนักงานอย่างแท้จริง Source :Dezeen | bit.ly/3XCW4XN
โอม อาหารจงอร่อยขึ้น! ‘SpoonTEK’ ช้อนกินข้าวไฟฟ้า เปลี่ยนอาหารรสชาติคลีนให้กินอร่อย
แม้จะไม่มีน้องเมดมาร่ายเวทย์ ‘โอม จงอร่อยขึ้น’ ให้อาหาร แต่เราก็สามารถกินอาหารที่อร่อยขึ้นได้ราวกับมีใครมาร่ายเวทมนตร์ ด้วยช้อนกินข้าวไฟฟ้า ‘SpoonTEK’ ช้อนกินข้าวไฟฟ้าแบบพกพาที่มีน้ำหนักเบา คือผลงานการออกแบบของสองพ่อลูก ‘Ken Davidov’ และ ‘Cameron Davidov’ ที่ทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมอาหารมาตั้งแต่ปี 1999 จนทำยอดขายได้ถล่มทลายกว่าหนึ่งล้านบาทในระยะเวลาไม่ถึงเดือนหลังเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ SpoonTEK ทำให้อาหารรสชาติดีขึ้นด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ที่ไปกระตุ้นประสาทสัมผัสของลิ้นให้รับรสชาติได้ดีขึ้น ทำให้อาหารที่เรากินผ่านช้อนมีความนุ่มนวลและรสชาติเอร็ดอร่อย จากการทดสอบในคลินิกทางการแพทย์พบว่า SpoonTEK ช่วยปรับปรุงรสชาติของอาหารโซเดียมต่ำให้มีรสชาติเค็มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า ทำให้ผู้บริโภคดื่มด่ำไปกับรสชาติที่อร่อยถูกใจได้ แม้จะอยู่ในช่วงควบคุมอาหาร ทำให้เหมาะสำหรับผู้บริโภคอาหารโซเดียมต่ำที่ต้องการตัวช่วยทำให้รสชาติและสัมผัสอาหารดีขึ้น โดยจะใช้งานได้เป็นอย่างดีเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารประเภทซุป ไอศกรีม และโยเกิร์ต ใครที่สนใจ สั่งซื้อช้อนไฟฟ้า SpoonTEK ได้ที่เว็บไซต์ spoontek.com/products/spoontek-the-spoon-that-elevates-taste ในราคา 29 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 950 บาท) และในอนาคตคู่พ่อลูกยังมีแพลนเปิดตัวชามและตะเกียบไฟฟ้าด้วย Sources : Designboom | t.ly/0INnIndiegogo | t.ly/49lBSpoonTEK | spoontek.com
เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด
ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้ 1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]
Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO
‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย 1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]
ญี่ปุ่นเตรียมทดลองกำจัดหิมะด้วยการเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด แทนการนำไปทิ้งลงในทะเล
เนื่องจากบ้านเราไม่มีหิมะตก จึงอาจทำให้นึกไม่ออกว่าเมื่อหิมะตกลงมาทับถมกันนั้นสร้างความเดือดร้อนให้เมืองแค่ไหน อย่างในจังหวัดอาโอโมริ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่หิมะตกสูงที่สุดในประเทศ เพราะมีหิมะตกสูงถึง 312 นิ้วในแต่ละปี ทำให้รัฐบาลต้องใช้ทรัพยากรและเงินจำนวนมากในการกำจัดหิมะออกจากอาคาร บ้าน และถนน เพื่อนำไปทิ้งลงทะเล อย่างเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2565 มีค่าใช้จ่ายในการกำจัดหิมะสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 5.9 พันล้านเยน หรือประมาณ 1.5 พันล้านบาท ทีมวิจัยจาก Forte บริษัทสตาร์ทอัปในเมืองอาโอโมริและมหาวิทยาลัย Electro-Communications (UEC) ในเมืองโตเกียว มองหาวิธีการกำจัดหิมะที่ดีกว่าการทิ้งลงทะเล และค้นพบว่าหิมะเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย จึงลองใช้หิมะจำนวนมากกับอากาศภายนอกเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ด้วยการใช้ท่อความร้อนในการจ่ายอากาศเย็นจากหิมะและอากาศร้อนจากอากาศภายนอกไปที่กังหันผลิตไฟฟ้า ความแตกต่างของอุณหภูมิทำให้เกิดกระแสพาความร้อนในของเหลวหล่อเย็นของกังหัน ทำให้กังหันหมุนและผลิตไฟฟ้าออกมาได้ ยิ่งความแตกต่างของอุณหภูมิหิมะและอากาศมีมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทีมวิจัยมองว่าการผลิตไฟฟ้าจากหิมะอาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และอาจคุ้มค่ากว่าด้วย ทั้งนี้ การทดสอบการผลิตพลังงานจากหิมะจะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม หากการดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดีก็อาจมีการนำระบบการผลิตพลังงานนี้ไปใช้กำจัดหิมะในประเทศและทวีปอื่นๆ ได้ แต่ขณะเดียวกัน พลังงานสะอาดจากหิมะก็ยังมีข้อจำกัดอยู่นั่นคือ มันสามารถให้พลังงานได้แค่อุปกรณ์ขนาดเล็กเท่านั้น ไม่ใช่กังหันใหญ่ๆ ที่เราเคยเห็นกัน อีกทั้งยังต้องใช้พื้นที่กว้างขวางในการติดตั้งและจัดเก็บอุปกรณ์สำหรับสร้างพลังงาน และอาจเป็นเรื่องยากที่จะรักษาการไหลเวียนของอากาศร้อนให้คงที่ในสภาพอากาศหนาวเย็นอีกด้วย Sources : DesignTAXI | bit.ly/3XxCRqj Interesting […]
สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง
คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]
เปลี่ยนก้นกรองบุหรี่ให้เป็นตุ๊กตา หมอน และกระดาษ โดย Code Effort บริษัทในอินเดีย
ทุกปีทั่วโลกจะผลิตบุหรี่ถึง 6 ล้านล้านตัว โดยมีก้นกรองบุหรี่กว่า 4.5 ล้านล้านตัวต่อปีที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดไปตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะบนท้องถนน ท่อระบายน้ำ ในสวนสาธารณะ รวมไปถึงแม่น้ำ ลำคลอง และมหาสมุทร บุหรี่หนึ่งตัวประกอบด้วยยาสูบที่มีสารก่อมะเร็งกว่า 60 ชนิด เช่น ท็อกซิน, นิโคติน, เอทิลฟีนอล, สารหนู, ยาฆ่าแมลง, ทาร์, คาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนออกไซด์ เป็นต้น และก้นกรองบุหรี่หนึ่งตัวใช้เวลาย่อยสลายราว 15 ปี ดังนั้น การทิ้งก้นกรองบุหรี่ไม่เป็นที่ จะกลายเป็นขยะที่มีส่วนทำให้สารเคมีต่างๆ ตกค้าง ปนเปื้อน และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตอย่างมหาศาล องค์การอนามัยโลกประเมินว่า เกือบ 267 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ของอินเดียที่เสพยาสูบ โดยส่วนมากทิ้งก้นกรองบุหรี่เกลื่อนถนนในเมือง ด้วยเหตุนี้ ทำให้ ‘Naman Gupta’ ชาวอินเดียก่อตั้งบริษัท Code Effort ในเมืองนอยดา (Noida) รัฐอุตตรประเทศ เพื่อนำขยะก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ โดยสามารถรีไซเคิลก้นบุหรี่ได้นับล้านชิ้นในแต่ละปี วิธีการคือ […]
สวัสดิการเด็กแรกเกิดเวอร์ชันไทย | Now You Know
ในยุคปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่อยากมีลูกน้อยลงเรื่อยๆ เพราะเชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจและสังคมไม่เอื้ออำนวยในการสร้างครอบครัวแม้แต่น้อย การหาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดในไทยจึงค่อยๆ กลายเป็นเรื่องไกลตัวของคนเมือง รายการ Now You Know เอพิโสดนี้จะมาสรุปให้ทุกคนฟังสั้นๆ ว่า การคลอดลูกในประเทศไทยตอนนี้ ภาครัฐมีสิทธิหรือสวัสดิการอะไรมอบให้บ้าง แต่ละประเภทเบิกเงินได้กี่บาท และหากคนไทยต้องการใช้สิทธิ์จะต้องทำอย่างไร อย่างน้อยถ้าเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกละหุกขึ้นมา จะได้ไม่ต้องรีบหาข้อมูลให้วุ่นวาย เอกสารที่ใช้ในการเบิกสิทธิประกันสังคม : http://bit.ly/3R3koiJเว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ : www.nhso.go.th
7 กลุ่มโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด
เดือนแห่งการเริ่มต้นใหม่เวียนกลับมาอีกครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ ‘สุขภาพ’ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายคนอยากปฏิวัติให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะหากละเลยหรือปล่อยให้สุขภาพย่ำแย่ วันใดวันหนึ่งอาจล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แย่ที่สุดคือการเป็นโรคร้ายที่รุนแรงถึงชีวิต ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีปลอดโรคกันทั้งนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คอลัมน์ City By Numbers จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า โรคใดบ้างที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และต้นตอสาเหตุของโรคต่างๆ มาจากอะไร เผื่อใครลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายเหล่านี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปี 2564 เปิดเผยว่า หากจำแนกตามอัตราเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน สามารถแบ่งสาเหตุการเสียชีวิตได้เป็น 7 กลุ่มโรคร้ายดังต่อไปนี้ 1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน3) ปอดบวม 49.70 คน4) หัวใจขาดเลือด 33.50 […]