UK Pavilion อาคารที่สร้างบทกวีด้วย AI และได้แรงบันดาลใจจาก Stephen Hawking

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นพาวิลเลียนของ World Expo หรือ Expo 2020 Dubai  งานแสดงนวัตกรรมระดับโลกที่ต้องเลื่อนมาจัดแสดงในปี 2021 กันไปหลายประเทศแล้ว อีกหนึ่งประเทศที่เราอยากพาไปดูเบื้องหลังการออกแบบคือ UK Pavilion ของสหราชอาณาจักรที่สร้างบทกวีด้วย AI (Artificial Intelligence) และได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจาก Stephen Hawking ปีนี้ UK Pavilion ออกแบบโดย Es Devlin ศิลปินและดีไซเนอร์ผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักรที่ได้ออกแบบพาวิลเลียน ตั้งแต่งานนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1851 ซึ่งผลงานของเธอก็ได้เปิดตัวใน Expo 2020 ที่ดูไบเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2021 ที่ผ่านมาและจะจัดแสดงจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2022  พาวิลเลียนในปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนึ่งในโปรเจกต์สุดท้ายของ Stephen Hawking นักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ที่มีชื่อว่า ‘Breakthrough Message’ โครงการที่มุ่งศึกษาจริยธรรมในการส่งข้อความไปยังห้วงอวกาศ ผ่านการออกแบบข้อความดิจิทัลที่สามารถสื่อสารจากโลกไปยังสิ่งมีชีวิตนอกโลกได้ จุดประสงค์ของโครงการนี้คือการสนับสนุนให้มนุษย์โลกคิดร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว และจุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับจริยธรรมในการส่งข้อความออกไปนอกโลก ตัวอาคารทรงกรวยนี้จะเป็นนิทรรศการที่แสดงบทกวีอยู่ตลอดเวลา […]

Google Maps เพิ่มเลเยอร์ติดตามไฟป่า ที่ระบุบริเวณเพลิงไหม้ ระดับความรุนแรง และแจ้งข่าวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ไฟป่า

Google Maps เพิ่มเลเยอร์ติดตามไฟป่า ที่ระบุบริเวณเพลิงไหม้ ระดับความรุนแรง และแจ้งข่าวให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ไฟป่า

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

โควิดหลบไป ฟินแลนด์จะผลิตวัคซีนแบบพ่นจมูก

ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกเซอร์ไพรส์สุดๆ ว่าวัคซีนอะไร ทำไมถึงใช้พ่นทางจมูกได้นะ แต่นี่คือเรื่องจริงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะโลกของเรากำลังจะได้ยลโฉมเจ้าวัคซีนชนิดนี้แบบเต็มตา นวัตกรรมนี้มาจากฐานการวิจัยของสองพันธมิตรอย่าง ‘มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ’ และ ‘มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นฟินแลนด์’ ในประเทศฟินแลนด์ และอีกไม่นานเกินรอนัก การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนก็จะเริ่มต้นขึ้นในปลายปีนี้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นพอๆ กับวัคซีนแบบละออง ก็คือการที่ศูนย์วิจัยในฟินแลนด์ใช้หัวมนุษย์เทียมในห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยได้ตรวจสอบกลไกของการหยด และการส่งละอองวัคซีนเข้าไปในจมูก ศีรษะประดิษฐ์สุดล้ำนี้ เปิดตัวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งหายใจ ไอ จามได้ และเหมาะกับการทดสอบละอองลอยในรูปแบบต่างๆ มาก ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยของการทดลองวัคซีน ยังนำมาช่วยด้านการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจในท้องตลาดได้อีกด้วย ผู้ออกแบบสเปรย์เล่าว่าส่วนประกอบของวัคซีนพ่นจมูกสำหรับป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์ตัวนี้ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงฤดูร้อน (ก.ค. – ก.ย.) เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะช่วยป้องกันเราจากสายพันธุ์ไวรัสโดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำโปรเจกต์ที่เป็นศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอย่าง Kalle Saksela บอกว่านอกจากจะพ่นวัคซีนทางจมูก เป้าหมายสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 สายพันธ์ุต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยก็ไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพราะในเบื้องต้น เจ้าวัคซีนที่นำเข้าสู่ร่างกายคนผ่านรูจมูกตัวนี้ยังได้เงินทุนประมาณ 9 ล้านยูโรจากนักลงทุนมาพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น แถมยังได้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองทางคลินิกเข้ามาช่วยซัปพอร์ตทีม สำหรับวัคซีนเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดนั้น พบว่าจะช่วยเรื่องการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยัง…ยังไม่จบแค่นั้น ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ยังมีฟังก์ชันที่ใช้งานเป็นวัคซีนเสริม […]

สายเนื้อต้องลอง! เนื้อสัตว์สเต็มเซลล์ เนื้อวากิวสังเคราะห์จากห้องแล็บ ที่ออกแบบรสชาติ หน้าตาได้ตามต้องการ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอาหารทุกวันนี้ไปไกลมาก ปัจจุบันมีเทรนด์อาหารชนิดใหม่ที่เรียกว่า ‘เนื้อสัตว์สเต็มเซลล์’ นับเป็นอาหารทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าเก่า เพราะมีวิธีการผลิตที่ใช้สเต็มเซลล์จากสัตว์และเพาะเลี้ยงด้วยสารอาหารต่างๆ ทำให้ได้สารอาหารใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ โดยไม่จำเป็นต้องฆ่าสัตว์อีกต่อไป  ทว่ากรรมวิธีดังกล่าวอาจจะถูกใจบรรดาคนรักสัตว์ แต่ก็ยังคงไม่เป็นที่พอใจสำหรับคนรักเนื้อ เพราะทำให้ได้เนื้อที่ค่อนข้างหยาบ จึงนิยมนำไปบดรวมกับวัตถุดิบและเครื่องปรุงอื่นๆ อาทิ แฮมเบอร์เกอร์ เป็นต้น แต่รสชาติอาจจะยังไม่ใกล้เคียงกับที่ต้องการ  แต่ก้าวสำคัญของวงการเนื้อสังเคราะห์ได้เริ่มขึ้นเมื่อนักวิจัยจาก Osaka University สามารถผลิตเนื้อวากิวสังเคราะห์ ที่มีความซับซ้อนของเนื้อ และชั้นไขมันเสมือนลายหินอ่อน ของโปรดปรานของเหล่าคนรักเนื้อทั่วโลกได้แล้ว โดยใช้โครงสร้างทางจุลกายวิภาคของเนื้อวากิว จำลองเป็นพิมพ์เขียว และใช้เทคโนโลยี 3D-printing ผลิตเส้นใยของเนื้อเยื่อ เส้นใยของไขมัน และเส้นใยของหลอดเลือดในลักษณะเป็นเส้น ก่อนจะนำมาวางเรียงกัน ซึ่งเรียกขั้นตอนนี้ว่า The Marbling Process ในลักษณะเหมือนเส้นสปาเกตตีเส้นเล็กจำนวนมากที่ถูกมัดเข้ารวมกัน ความพิเศษจึงเกิดขึ้น ด้วยกรรมวิธีการดังกล่าวที่เราสามารถที่จะเรียงลำดับเส้นใยของเนื้อและไขมันได้อย่างอิสระ ซึ่งลำดับการจัดวางที่แตกต่างระหว่างไขมันกับส่วนของเนื้อ ย่อมส่งผลต่อรสชาติที่เกิดขึ้น ทำให้เราสามารถออกแบบหน้าตาและรสชาติของเนื้อได้ตามต้องการ ถึงแม้ว่าในตอนนี้เทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถผลิตเนื้อวากิวสังเคราะห์ได้เพียงชิ้นเล็กๆ ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี แต่นับเป็นก้าวสำคัญของวงการอาหารโลกที่จะนำไปสู่การพัฒนาอาหารเพื่อตอบโจทย์การขาดแคลนอาหารในอนาคต และลดการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น บนโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กัน Source : Freethink | https://www.freethink.com/science/lab-grown-beef

ปี 2025 โซลจะมีสวนวัฒนธรรมริมน้ำที่ตอบโจทย์ทุกคน

กรุงเทพฯ มี ‘โอ่งอ่าง’ คลองที่สวยที่สุดในเมืองกรุง แต่ในปี 2025 ‘โซล’ เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้กำลังจะมีสวนสาธารณะวัฒนธรรมริมน้ำ ที่มีสามดีเทลสำคัญเป็นหัวใจหลักของการดีไซน์พื้นที่ หนึ่ง. ศิลปะ  สอง. วัฒนธรรม สาม. สเปซที่เชื่อมต่อทั้งย่าน Seongdong เข้าด้วยกันให้เดินไปมาหาสู่กันได้แบบทะลุปรุโปร่ง  ทั้งสามรายละเอียด ถูกคิดค้น ออกแบบเพื่อตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ทุกคนเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และได้พักผ่อนหย่อนใจ คลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ในปี 2025 เรากำลังจะได้ยลโฉมสเปซบริเวณลำธาร Jungnangcheon (중랑천) ซึ่งจะถูกแปลงโฉมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเกาหลีได้มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมริมน้ำแห่งใหม่ ซึ่งผสมผสานระหว่างศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว  คลองหรือลำธารจุงนังเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำฮัน มีต้นกำเนิดมาจากหุบเขา Dorak ใน Yangju จังหวัด Gyeonggi ซึ่ง Cheonggyecheon ก็เป็นลำน้ำสาขาของ Jungnangcheon ลุ่มน้ำทั้งหมดมีพื้นที่ 299.9 ตารางกิโลเมตร ลำธารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองอึยจองบูและกรุงโซล อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาลโซล (The Seoul Metropolitan Government) ครั้งนี้จะมีการสร้างถนนใต้ดินระหว่างสะพาน Changdonggyo และสะพาน Sanggyegyo ภายใต้ลำธาร […]

ล้ำไปอีกขั้นกับเทคโนโลยีไร้สาย เมื่อนักวิจัยจีนสร้างเสื้อผ้า ที่ชาร์จโทรศัพท์ได้

เป็นอีกก้าวสำคัญของยุคอุปกรณ์ไร้สาย เมื่อเสื้อผ้าสามารถชาร์จไฟให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในตัว  กลุ่มนักวิจัยจาก Fudan University ประเทศจีนได้พัฒนาเส้นใยชนิดพิเศษ โดยหยิบเอาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่มีข้อจำกัดในเรื่องของความยืดหยุ่น และไม่ทนต่อน้ำ มาพัฒนาต่อในรูปของเส้นใย ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำอุปกรณ์สวมใส่และเก็บสะสมไฟฟ้าได้ วิธีการที่ใช้คือผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนรูปเส้นใยโดยการพันลวดอะลูมิเนียมที่เคลือบด้วยลิเทียมโคบอลต์ออกไซด์และห่อแบบพิเศษเพื่อป้องกันการลัดวงจรของแผงไฟ นอกจากเก็บพลังงานได้แล้วเส้นใยเหล่านี้ยังสามารถใช้เพื่อชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในตัว อาทิ โทรศัพท์ สมาร์ตวอตช์ เป็นต้น ซึ่งเก็บสะสมกระแสไฟฟ้า ได้ถึง 85.69 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง มากกว่าความจุของ iPhone 12 Pro Max ซึ่งเพียงพอต่อการชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน แต่ความพิเศษของเสื้อผ้าตัวนี้ไม่จบแค่นั้น เพราะมีการทดสอบแล้วว่าระบบไฟยังสามารถทำงานได้ดีแม้ว่าเสื้อจะถูกพับ ล้าง หรือถูกเจาะด้วยของมีคม เทคโนโลยีนี้อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเครื่องนุ่งห่มในอนาคต ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังอยู่ในขั้นทดลองแต่ภายใน 2 – 5 ปี วัสดุประเภทนี้จะถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นอย่างแน่นอน และอาจจะเปลี่ยนบทบาทของเครื่องนุ่งห่มไปตลอดกาล Source : VICE | https://www.vice.com/en/article/z3x9xy/fiber-battery-wireless-charge

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

KWANGYA เมืองทิพย์รวมไอดอล SM และแฟนๆ แบบ Marvel

หลังปล่อยให้แฟนๆ เคป็อปหลายคนสงสัยอย่างมากว่า KWANGYA (광야) คืออะไรกันแน่ ภาพของเมืองล้ำจินตนาการที่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง SM Entertainment ลงมือสร้างสรรค์ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่แฟนๆ ชาวไทยบางคนก็ยังพูดติดตลกว่าจักรวาลที่มีดินแดนกวางยาของลุงหมาน (อี ซู-มัน) ผู้บริหารค่ายเอสเอ็มนั้นก็คือเมืองทิพย์ดีๆ นี่เอง หลายครั้งคำว่ากวางยานั้นมักจะสอดแทรกอยู่ในเนื้อเพลงของไอดอลวงดังจากทางค่าย อาทิ วง aespa, NCT และ EXO ซึ่งส่วนใหญ่กวางยาถูกหยิบยกมาบอกเล่าในบริบทของเรื่องราวไซไฟ-แฟนตาซีน่าตื่นเต้น ผ่านบทเพลงอิเล็กทรอนิกป็อปและส่วนผสมทางดนตรีมันๆ ซึ่งมีเนื้อหาอัศจรรย์หลุดโลก ถึงขนาดที่คนเกาหลีใต้ยังงงว่านี่มันเพลงอะไรกันวะเนี่ย ถ้าลองค้นคำว่ากวางยาในดิกชันนารีเกาหลีจะมีคำแปลว่าเป็นที่ราบหรือทุ่งโล่ง ซึ่งอาจตรงกับภาพทิวทัศน์พื้นที่ราบโล่งในวิดีโออินโทรซึ่ง SM นำเสนอผ่านคลิป SMCU the Origin ในขณะที่ถ้ามองกวางยาจากคำบอกเล่าและเรื่องราวของวงเกิร์ลกรุ๊ป aespa ชื่อนี้คือฉากหลังของดินแดนสักแห่งที่พวกเธอ และเหล่า æ aespa ร่างอวตารต้องทำภารกิจพิชิตเจ้า Black Mamba งูดำจอมวายร้ายที่มาสร้างความปั่นป่วนให้โลก ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ค่ายเอสเอ็มแฝงละติจูดกวางยาเอาไว้ในมิวสิกวิดีโอของสี่ไอดอลสาวเฟี้ยส ยิ่งตอกย้ำว่าในโลกของพวกเรามีกวางยาอยู่ในอีกมิติจริงๆ และเมื่อนำละติจูดไปเสิร์ชในแผนที่ก็ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้ชาว SM Stan อย่างมาก เพราะจริงๆ แล้วมันคือที่ตั้งสำนักงานสุดหรูแห่งใหม่ของบริษัทเอสเอ็ม บริเวณเขต Seongsu ในโซล ว่ากันง่ายๆ […]

TikTok ออกมาตรการสำหรับเยาวชน เพิ่มความเป็นส่วนตัว และลดการใช้งาน ที่มากเกินไปในเด็กอายุ 13 – 17 ปี

TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่วัยรุ่นนิยมใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 3 พันล้าน ทว่าในช่วงปีที่ผ่านมา TikTok ถูกปรับหลายล้านดอลลาร์ จากข้อหาการละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ล่าสุด TikTok จึงได้ปรับเปลี่ยนนโยบายเตรียมออกฟีเจอร์ใหม่ สำหรับผู้ใช้งานเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 13 – 17 ปี เพื่อให้พวกเขามีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ปลอดภัยในการใช้งาน และลดการใช้งานที่อาจมากเกินไป นโยบายนี้จะเริ่มจากปิดกั้นการส่งข้อความโดยตรงหาผู้ใช้งานที่เป็นเยาวชน เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ จำกัดการแจ้งเตือน (Notification) เพื่อลดการใช้งาน โดยผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี จะถูกจำกัดตั้งแต่เวลา 21.00 น. และผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 16 – 17 ปี จะจำกัดตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป และจะไม่ได้รับข้อความแจ้งเตือนเลยจนกว่าจะถึงเวลา 8.00 น.  พร้อมทั้งแสดงหน้าจอแจ้งเตือนเมื่อเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี โพสต์วิดีโอเป็นครั้งแรก เพื่อจำกัดว่าใครสามารถรับชมวิดีโอนี้ได้บ้าง เช่น ผู้ติดตาม (Followers) เพื่อน หรือแค่ตัวเอง […]

CATL เปิดตัว ‘แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน’ แบตฯ EV ชนิดใหม่ที่ชาร์จไว แถมราคาถูก

เตรียมตัวปฏิวัติโลกของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เมื่อ Contemporary Amperex Technology (CATL) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นซัปพลายเออร์แบตเตอรี่ให้ทั้ง Tesla และ Volkswagen เปิดตัว ‘แบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน’ แบตฯ ชนิดใหม่สำหรับ EV ทั้งชาร์จไว ปลอดภัย ราคาถูก แถมมีปริมาณแร่มากกว่าลิเทียม-ไอออนที่ใช้ในปัจจุบันหลายเท่าตัว! ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน หรือแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออน ต่างใช้พลังงานระหว่างแคโทดและแอโนดเหมือนกัน แต่เมื่อมานั่งชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสีย ต้องบอกว่าการขุดลิเทียมนั้นมีราคาแพง และใช้น้ำราวๆ 2 ล้านลิตรหรือ 500,000 แกลลอนต่อลิเทียมหนึ่งตัน และเป็นแร่หายาก วิธีการสกัดก็ทำได้น้อย บวกกับความต้องการล้นตลาด ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้นอีก ขณะที่โซเดียม-ไอออนชาร์จแบตเตอรี่ได้ 80% ภายในระยะเวลา 15 นาทีจากปกติต้องใช้เวลา 30 นาทีที่อุณหภูมิห้อง อีกทั้งปริมาณแร่โซเดียมมีมากกว่าลิเทียมถึง 1,000 เท่า แถมราคาถูกกว่า 20 – 30% และที่สำคัญคือมันทนร้อนทนหนาวได้ดี ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าเวลาขับนานๆ จะเกิดไฟไหม้ อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่โซเดียม-ไอออนยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เช่น ตัวแบตเตอรี่หนักกว่าเพราะความหนาแน่นอยู่ที่ […]

Agnos แอปฯ ช่วยประเมินอาการโควิด-19 ฟรี โดยทีมแพทย์อาสา

ติดโควิด-19 แล้วเตียงไม่พอต้องทำอย่างไรต่อดี? เราเชื่อว่าในสถานการณ์นี้หลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้หลายครั้ง เพราะตัวเอง เพื่อน ครอบครัว และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะดูแลตัวเองดีแค่ไหนก็มีโอกาสเป็นกลุ่มเสี่ยงและติดโควิด-19 กันได้ทั้งนั้น  ตอนนี้จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นถึง 2 หมื่นคนต่อวันและยังไม่ลดลงง่ายๆ จำนวนคนไข้มีมากกว่าจำนวนเตียง และสถานที่ตรวจโควิด-19 มีไม่เพียงพอ เราจึงอยากแนะนำ Homecare by ‘Agnos’ ไว้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีอาการและต้องการคำแนะนำทางการแพทย์  Agnos (แอ็กนอส) เป็นแอปฯ ที่ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพด้วย AI พัฒนาโดยทีมแพทย์และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ใช้สามารถใส่อาการเบื้องต้น พร้อมข้อมูลความเสี่ยงส่วนบุคคล ระบบจะทำการซักประวัติเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และให้คำแนะนำผู้ใช้งานว่าควรเข้าพบแพทย์เพิ่มเติมหรือไม่ สำหรับช่วงโควิด-19 ทางแอปฯ ได้เปิดตัว Homecare by ‘Agnos’ เพื่อให้คำแนะนำผู้ป่วยที่รอเข้าระบบและช่วยเหลือผู้ป่วยที่เข้าไม่ถึงการรักษาแบบฟรีๆ ผู้ใช้งานสามารถตรวจความเสี่ยงโควิด-19 ได้ด้วยการกรอกข้อมูลให้ละเอียด แอปฯ จะประมวลผลให้และมีคำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้ได้ทันที และสำหรับผู้ป่วย Home Isolation ที่กำลังรอเตียง กลุ่มเสี่ยงโควิดที่ต้องกักตัว หรือกลุ่มเสี่ยงที่กำลังรอตรวจ สามารถลงทะเบียนผู้ป่วยได้ในช่องระบบ Home.Care และมีบริการจัดยาบรรเทาอาการให้ที่ร้านขายยาใกล้บ้านผู้ป่วย (ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล)  แพลตฟอร์มนี้จะมีแพทย์คอยประเมินอาการ และทีมเจ้าหน้าที่คอยให้การช่วยเหลือ […]

1 7 8 9 10 11 20

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.