‘Hair Room TOARU’ ร้านเสริมสวยในชนบทเมืองไซตามะ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งทำผมกลางธรรมชาติ

ร้านทำผมทั่วไปที่เราไปใช้บริการกันนั้นมักเป็นร้านที่แบ่งสัดส่วนและตกแต่งด้วยอุปกรณ์ทำผมหลากหลายชนิด แต่หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น อาจมีโอกาสได้เจอกับ ‘Hair Room TOARU’ ร้านทำผมที่สตูดิโอสถาปนิก ‘Ateliers Takahito Sekiguchi’ ปรับปรุงให้ออกมาสวยงามสะดุดตา แตกต่างจากร้านทำผมอื่นๆ ที่เคยเห็นกันมาก่อนหน้านี้ Hair Room TOARU ตั้งอยู่ริมถนนในพื้นที่ชนบทของไซตามะ และบริเวณโดยรอบของร้านนั้นล้อมรอบไปด้วยการจราจรและสภาพแวดล้อมป่าเขา การจัดเรียงข้าวของต่างๆ จึงอยู่ในลักษณะที่เหลื่อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์ไม้ ผนัง คอนกรีตเสริมเหล็ก และกระจกบานใหญ่ ทำให้มีช่องเปิดขนาดใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้กับตัวร้านและธรรมชาติด้านนอก โดยทีม Ateliers Takahito Sekiguchi เลือกใช้ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC) เพื่อป้องกันเหตุไฟไหม้ และใช้หลังคา CLT ที่ทำจากไม้ในท้องถิ่น ที่นอกจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้น้อยลง ซึ่งหลังคานี้มีการออกแบบให้ระบายอากาศตามธรรมชาติ และรับแสงเพื่อช่วยให้ภายในร้านสว่างแบบทางอ้อมอีกด้วย Sources :Ateliers Takahito Sekiguchi | takahitosekiguchi.comDesignboom | tinyurl.com/3vjrvwbf

Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

‘World Architecture Festival 2023’ เวทีระดับโลกของวงการสถาปัตยกรรม 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. ที่ประเทศสิงคโปร์

เวทีประกาศรางวัลในวงการต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นการการันตีความสามารถของผู้ผลิตผลงาน รวมถึงยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนในวงการเหล่านั้นมีกำลังใจในการผลิตผลงานดี ๆ ออกมาอีกด้วย เช่นเดียวกันกับวงการสถาปัตยกรรมก็มีงานระดับโลกอย่าง ‘World Architecture Festival’ งานประกาศรางวัลเพื่อเชิดชูผลงานและความสามารถของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก ที่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าเป็นงาน ‘Oscars’ ของวงการสถาปัตยกรรม World Architecture Festival เป็นงานใหญ่ในวงการสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เป็นแค่การมอบรางวัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก อีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสในการสร้างเครือข่าย      ต่าง ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นพื้นที่ให้กับเหล่าสถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ ได้แสดงผลงานสู่สาธารณะอีกด้วย ไม่ใช่แค่ WAF เท่านั้น แต่ยังมีงาน ‘Inside World Festival of Interiors’ ที่จัดควบคู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน ซึ่งงานนี้เป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจ และการแลกเปลี่ยนความรู้ในแวดวงการออกแบบภายใน สำหรับปีนี้ World Architecture Festival 2023 จะจัดขึ้นที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน – […]

‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก

เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  โดย […]

‘Biblio-dis-theque’ ห้องสมุดในรูปแบบรถเข็นเคลื่อนที่ ที่อยากให้เด็กในชุมชนเข้าถึงการอ่าน

ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทาง Urban Creature ได้มีโอกาสไปเดินเล่นในงาน ‘Placemaking Week 2023’ สัปดาห์การออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่ที่จัดขึ้นใน 5 ย่านของกรุงเทพฯ และไปสะดุดตากับ ‘Biblio-dis-theque’ ห้องสมุดเคลื่อนที่หน้าตาคล้ายกับรถเข็นผลไม้คันเล็กๆ ที่มีหนังสือจำนวนมากและของเล่นอัดแน่นอยู่ด้านใน รอให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาหยิบขึ้นมาอ่านมาเล่นกัน Biblio-dis-theque เป็นไอเดียที่ได้รับรางวัลจากทาง USL Town Hall ที่ ‘เกฟ-วิรากานต์ ระคำมา’ หนึ่งในทีมงานของ ‘Urban Studies Lab (USL)’ นำเสนอ ก่อนจะนำมาทดลองใช้งานจริงในย่านนางเลิ้งที่งาน Placemaking Week 2023 เมื่อวันที่ 20 – 29 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยภายในงานนั้นรถเข็นจะไปจอดอยู่สองจุดคือ หน้าบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีและในโรงเรียนสตรีจุลนาค เกฟบอกกับเราว่า จุดประสงค์ของการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์การทำงานในย่านนางเลิ้งที่ทำให้เธอเห็นว่าตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา เด็กๆ ในชุมชนขาดโอกาสเข้าถึงสิ่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย จึงอยากสร้างพื้นที่บางอย่างที่จะช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้ได้เล่น ได้เรียน ได้อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์ แต่ขณะเดียวกัน นางเลิ้งยังคงเป็นย่านที่มีปัญหาเรื่องการทับซ้อนและกรรมสิทธิ์ของที่ดิน ทำให้เป็นเรื่องยากในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ถาวร จึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้พื้นที่การเรียนรู้นี้สามารถเคลื่อนย้ายไปจอดที่ไหนก็ได้ […]

ครบรอบ 10 ปีงาน Galleries’ Nights ดื่มด่ำงานศิลปะร่วมสมัยยามราตรี ที่แกลเลอรีทั่วกรุงเทพฯ 10 – 11 พ.ย. 66

กลับมาอีกครั้งกับ Galleries’ Nights 2023 การท่องแกลเลอรียามราตรีจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ธีมปีนี้พิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของ Galleries’ Nights Galleries’ Nights ได้แรงบันดาลใจมาจากงาน ‘ราตรีสีขาวแห่งปารีส’ (Nuit Blanche Paris) ค่ำคืนที่อุทิศให้กับทัศนศิลป์และศิลปะร่วมสมัยที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก โดยงาน Galleries’ Nights ในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2013 และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นหนึ่งในงานเด่นด้านวัฒนธรรมช่วงท้ายปีที่ผู้รักในงานศิลปะและชื่นชอบความแปลกใหม่แวะมาเยี่ยมชมผลงานมากขึ้นทุกๆ ปี เป้าหมายหลักของงานนี้คือการสร้างแรงขับเคลื่อนทางศิลปะรูปแบบใหม่ ผ่านการส่งเสริมศิลปะท้องถิ่นร่วมกับศิลปะร่วมสมัยให้ผู้คนได้สัมผัสในวงกว้าง โดยหวังว่าในอนาคตกรุงเทพฯ จะกลายเป็นศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยเช่นเดียวกับมหานครอื่นๆ ทั่วโลก สำหรับ Galleries’ Nights 2023 มีแกลเลอรีเข้าร่วมกว่า 80 แห่ง พร้อมผลงานสร้างสรรค์จากศิลปินกว่า 220 คน โดยจะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ 2 คืน ใน 2 เส้นทางหลัก ดังนี้ 10 พฤศจิกายน 2566 – สีลม/สาทร/ริมแม่น้ำเจ้าพระยา11 พฤศจิกายน […]

James Nachtwey : MEMORIA นิทรรศการรวมผลงานตลอดชีวิตการทำงานกว่า 42 ปี ของช่างภาพสงครามระดับโลก ‘เจมส์ นาคท์เวย์’

ว่ากันว่าภาพถ่ายของ ‘เจมส์ นาคท์เวย์’ (James Nachtwey) สามารถเปลี่ยนหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกนี้ รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจแห่งสันติภาพให้มวลมนุษยชาติได้เช่นกัน ล่าสุดคนไทยจะได้สัมผัสและชมผลงานของช่างภาพสงครามระดับโลกคนนี้แบบใกล้ชิดแล้ว หลังเจมส์เลือกเมืองไทยจัดนิทรรศการ ‘James Nachtwey : Memoria’ ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก James Nachtwey : Memoria คือนิทรรศการที่รวบรวมผลงานภาพถ่ายตลอดชีวิตการทำงานเป็นช่างภาพข่าวและสงครามของเจมส์ นาคท์เวย์ กว่า 42 ปี ซึ่งแต่ละภาพบอกเล่าเรื่องราว สื่ออารมณ์ และแสดงภาพสะท้อนของชีวิตที่ยังคงได้รับผลกระทบจากร่องรอยของสงครามและภัยพิบัติ โดยเจมส์ นาคท์เวย์ ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมงานเปิดนิทรรศการด้วยตัวเองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ภายในนิทรรศการผู้ชมจะได้พบกับผลงานภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 126 ภาพ ซึ่งเป็นเสมือนโลโก้ประจำตัวของเจมส์ นาคท์เวย์ ที่ถ่ายในสงครามและภัยพิบัติต่างๆ ทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น เวสต์แบงก์, ยูกันดา, เอลซัลวาดอร์, เฮติ, เลบานอน, นิการากัว, เชชเนีย, โคโซโว, บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา, แอลเบเนีย, ซูดาน ฯลฯ ที่เคยนำไปจัดแสดงในเมืองใหญ่ทั่วโลกมาแล้ว ได้แก่ มิลาน ประเทศอิตาลี, […]

ปักหลัก

ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักจะไปเล่นซนตามสถานที่ต่างๆ ในละแวกบ้าน แต่คนในครอบครัวนั้นเป็นห่วงผมว่าจะเกิดอันตราย จึงกุเรื่องว่าสถานที่นั้นๆ มีผี และทำให้ผมกลัว ไม่กล้าไปเล่นแถวนั้นอีก ความกลัวในตอนนั้นยังคงติดอยู่กับผมจนถึงปัจจุบัน ผมจึงอยากหาวิธีลบล้างสิ่งนี้ และปักหลักเผชิญหน้ากับมัน โดยนำ ‘ไฟหลัก’ ของงานวัดที่เป็นภาพจำของความสนุกสนาน รื่นเริง เข้าไปติดตั้งในสถานที่เหล่านั้นตอนมืดๆ หรือใกล้ค่ำ สำหรับผม ไฟที่ปักลงท่ามกลางความมืดนั้นเปรียบได้กับความกล้าของตัวเองที่สร้างขึ้นท่ามกลางความกลัวในจิตใจ ติดตามผลงานของ พงศธร บุญโต ต่อได้ที่ Instagram : earthz.quake และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Vrå Children and Culture Center ศูนย์การเรียนรู้เล็กกลางป่าใหญ่ที่อยากให้เด็กเดนมาร์กได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติ

ว่ากันว่าเด็กๆ ควรจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก มากกว่าแค่การเรียนรู้จากตำราภายในห้องเรียน ‘Vrå Children and Culture Center’ จึงเป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้ที่เปิดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่ต้องการให้เด็กๆ ในประเทศเดนมาร์กได้เรียนรู้และใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น จากผลงานการออกแบบของ ‘JAJA Architects’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติเดนมาร์กที่ต้องการให้ Vrå Children and Culture Center ไม่ใช่แค่เพียงอาคารเรียนทั่วไป แต่ยังเป็นสถานที่ที่ท้าทายขอบเขตการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตรแบบเดิมๆ ด้วยรูปแบบอาคารที่ผสมผสานสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นใหม่ให้เข้ากับธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าสีเขียวใกล้เคียงและทะเลสาบธรรมชาติที่อยู่ถัดไปไม่ไกล ในขณะที่ตัวอาคารเองยังก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติประเภทไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการออกแบบเสาบริเวณโถงกลางของอาคารให้มีรูปร่างลักษณะเป็นเหมือนลำต้นของต้นไม้ใหญ่ โดยมีหลังคาเป็นเหมือนใบไม้ที่คอยสร้างร่มเงาให้แก่อาคารแห่งนี้ เพื่อให้เด็กได้สัมผัสกับความเป็นธรรมชาติได้ง่ายๆ แม้จะอยู่ภายใต้ตัวอาคาร Vrå Children and Culture Center ไม่เพียงแค่เปิดพื้นที่สำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆ เท่านั้น แต่ภายในยังประกอบไปด้วยห้องสมุด ห้องโถงสำหรับเล่นกีฬา และพื้นที่ทำกิจกรรมภายนอกอื่นๆ ที่คนในชุมชนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าใช้งานได้ด้วยเช่นเดียวกัน Vrå Children and Culture Center จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางสังคมที่เอื้อให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ พบปะผู้คนในชุมชนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมท้องถิ่นมากขึ้นกว่าในอดีต ในขณะที่ตัวอาคารยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ จนได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารด้านความยั่งยืนจาก DGNB (Deutsche Gesellschaft für Nachhaltiges Bauen) […]

จัดสวนขวดและตู้เลี้ยงไม้เยียวยาใจ ‘Curve Studio’ | THE PROFESSIONAL

“พอพื้นที่สีเขียวมันน้อยลง คนก็อยากได้พื้นที่สีเขียวเล็กๆ นี้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ควรจะมีพื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขามีภาพจำดีๆ แล้วอยากจะถ่ายทอดเก็บไว้ดูในวันอื่นของเขาบ้าง” ‘เอิร์ท-พลานนท์ จันทร์เซียน’ จาก ‘Curve Studio’ นักจัดสวนขวดและตู้เลี้ยงต้นไม้ อดีตผู้ไม่ชอบการปลูกต้นไม้เพราะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน แต่การลาออกจากงานที่ต้องทำด้วยความเครียดทำให้เขาได้ลองสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบดูบ้าง เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติจากการจัดสวนในขวดแก้ว กิจกรรมนี้ก็ช่วยปลดล็อกจากความเครียด จนเขาได้พบกับความสร้างสรรค์ การผ่อนคลาย และการเยียวยาจิตใจ THE PROFESSIONAL วันนี้พาทุกคนพักสายตาไปชมสิ่งน่าสนใจสีเขียวๆ ทำความรู้จักกับอาชีพ ‘นักจัดสวนขวด’

‘แพรรี่ ธัญพิชชา’ Set Designer คนไทยในฮอลลีวูดที่ได้ออกแบบฉากให้ซีรีส์ Netflix

ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพหญิงสาวผู้สวมแว่นตาที่นั่งอยู่หน้าคอมฯ บนหน้าจอเต็มไปด้วยภาพทำเนียบขาวของประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายประกอบอย่างละเอียด เร็วเท่าความคิด, ภาพทำเนียบขาวที่เธอดีไซน์ในหัวปรากฏขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่าข้างตัว…ถ้าเรื่องราวดำเนินในยุคนี้ มีตัวละครหลักเป็นคนนิสัยแบบนี้ ทำเนียบขาวควรจะมีหน้าตาเป็นยังไง…เธอออกแบบตั้งแต่ข้างนอกตึกไปจนถึงพื้นที่ภายใน ชั้นที่ 1 ถึง 5 เจาะลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆ กระทั่งสีผนังและกลอนประตู นี่คือสิ่งที่ ‘แพรรี่-ธัญพิชชา ไตรวุฒิ’ ต้องทำในซีรีส์ใหม่ของ Netflix เรื่อง The Residence ซึ่งว่าด้วยคดีฆาตกรรมในทำเนียบขาว ย้อนกลับไปราวต้นปี 2023 เธอได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในทีมนักออกแบบฉาก (Set Designer) ประจำโปรเจกต์นี้ ความเจ๋งคือเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่เป็นทีมงานเบื้องหลัง และเท่าที่เรารู้ เธอเป็นคนไทยหนึ่งในไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำงานให้หนังและซีรีส์ฮอลลีวูด ไม่เคยฝันว่าจะมาถึงตรงนี้ได้เหมือนกัน-เธอสารภาพกับเราในเช้าที่เราวิดีโอคอลคุยกัน ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวอดีตเด็กสาวช่างฝันผู้รักศิลปะ ผู้ที่กว่าจะค้นพบว่าตัวเองชอบออกแบบฉากก็ตอนได้ทำละคอนถาปัดในรั้วจามจุรี ก่อนจะตัดสินใจเดินตามฝันในวัยใกล้ 30 จนสำเร็จ แน่นอนว่าหลังจากฟังเธอเล่าจบ ภาพจำที่เรามีต่อฉากในหนังหรือซีรีส์ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซีนแรกกรุงเทพฯ, 2011 ภาพเฟดดำ ก่อนจะค่อยๆ ปรากฏภาพเด็กหญิงธัญพิชชาในโรงภาพยนตร์ หน้าจอปรากฏภาพจากหนังในตำนานอย่าง Star Wars และ Jurassic Park เด็กหญิงหัวเราะคิกคัก สนุกสนานไปกับเรื่องราว ไม่รู้หรอกว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโลกในจอ […]

‘Some Time Exhibition’ ส่องความทรงจำจากภาพเก่าในแชตเฟซบุ๊ก ที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ วันนี้ – 3 ก.ย. 66

ภาพถ่ายถือเป็นสิ่งที่ทำให้เราย้อนคิดถึงความทรงจำในอดีตได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง ‘Some Time Exhibition’ คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 2 ของ ‘เต้ย-ณัฐวุฒิ เตจา’ ช่างภาพอิสระที่สนใจการสำรวจวัตถุที่หลากหลาย และหลงใหลในการทำความเข้าใจสิ่งของและสถานที่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป งานจัดแสดงครั้งนี้จะพาคุณย้อนกลับไปในความทรงจำสมัยมัธยมปลายของเต้ย (ปี 2014 – 2016) ซึ่งเป็นช่วงที่เขาเพิ่งเริ่มหัดถ่ายรูปใหม่ๆ ผ่านภาพถ่ายความละเอียดต่ำที่ครั้งหนึ่งเคยทับถมอยู่ในแชตเฟซบุ๊กของตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีการสะสมภาพถ่ายที่เต้ยมักใช้เป็นประจำในสมัยที่ระบบคลาวด์ยังไม่เป็นที่นิยม แม้จะดูสะเปะสะปะและไม่เป็นหมวดหมู่ แต่ก็ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในตอนนั้นที่จะบันทึกทุกอย่างเอาไว้ ไม่ต่างจากการอัดรูปเป็นอัลบั้มของแม่หรือการเก็บภาพไว้ในฮาร์ดดิสก์ของพ่อ Some Time Exhibition นำภาพเหล่านั้นมาจัดและเรียบเรียงใหม่ภายในขอบเขตของศิลปะการถ่ายภาพ แนวคิดของภาพความละเอียดต่ำถือเป็นอีกมิติหนึ่งในการนำเสนอ เพราะภาพเหล่านี้มีศักยภาพในการกระตุ้นอารมณ์ ความคิด และจุดประกายการแสดงออกทางศิลปะ รวมถึงเป็นการเปลี่ยนข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ ให้มีเสน่ห์ ดึงดูดความสนใจ และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ทั้งยังเป็นการใช้ภาพถ่ายเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกัน คล้ายกับการพาผู้ชมสำรวจลึกลงไปในตัวตนในอดีตของเขา ที่อาจเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นสำคัญของชีวิตที่ส่งผลมาถึงตัวตนในปัจจุบัน ภายในงานผู้เข้าชมจะพบกับ 3 โซนภาพถ่าย ได้แก่ โซนภาพถ่ายขนาดเล็กที่สามารถพิมพ์ออกมาได้ในขนาดไม่กี่เซนติเมตรเพราะความละเอียดที่ต่ำมาก โซนภาพขนาดใหญ่ที่ใช้ AI เข้ามาช่วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้และบทบาทของเทคโนโลยี และโซนภาพเปรียบเทียบรูปแบบการถ่ายภาพที่ทำให้เห็นว่า หลายวิธีที่ช่างภาพใช้กันในปัจจุบันคือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอดีต Some Time Exhibition จัดขึ้นที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ชั้น 3 […]

1 6 7 8 9 10 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.