ดิเอโก เต่ายักษ์กาลาปากอสอายุกว่า 100 ปี กำลังจะได้กลับบ้านเกิดที่เกาะเอสปานโญลา หมู่เกาะกาลาปากอส หลังจากไปลุยศึกปั๊มทายาทจนสามารถขยายเผ่าพันธุ์ตัวเองได้มากกว่า 2 พันตัว
ย้อนกลับไปช่วง ค.ศ. 1960 เผ่าพันธุ์ของพวกมันได้ถูกจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ อย่างเกาะเอสปานโญลาที่ดิเอโกอาศัยอยู่ มีเต่ายักษ์อยู่เพียง 14 ตัว เป็นเพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 12 ตัวเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์จึงนำเจ้าดิเอโกไปไว้ที่อุทยานซานดิเอโก เพื่อเข้าร่วมโครงการขยายพันธุ์เต่ายักษ์ โดยดิเอโกใช้เวลากว่า 50 ปีในการลุยศึกกับเหล่าเต่าสาว จนสามารถผลิตลูกได้กว่า 800 ตัว และขยายเผ่าพันธุ์จนเกาะเอสปานโญลามีเต่ายักษ์กว่า 2,000 ตัว
เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ดิเอโกได้รับการคัดเลือก ก็มาจากสัญชาตญาณเพลย์บอยของมัน และจำนวนเต่าที่เหลือน้อยลงเต็มทีเนื่องจากถูกจับไปกินเป็นอาหาร และเมื่อเต่ายักษ์มีจำนวนสมดุลกับธรรมชาติแล้ว ทีมงานจึงยุติโครงการ และกำลังส่งดิเอโกกลับบ้านที่จากมาหลายปีในเดือนมีนาคมนี้
RELATED POSTS
รวม 5 ข่าวดี๊ดีประจำปี 2021 ที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ปะ
เรื่อง
ธีรภัทร อรุณรัตน์
รวม 5 ข่าวดี (ไม่ต้องมีก็ได้) ประจำปี 2021
เช็คลิสต์ ‘มาตรการเยียวยาแรงงาน ช่วงโควิด-19’ ใครได้สิทธิ์อะไรบ้าง ?
เรื่อง
Urban Creature
เมื่อไวรัสโคโรนาเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลไทยต้องประกาศสั่งปิดหลายกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้แต่ละธุรกิจต่างต้องหยุดชะงัก และมีรายได้ไม่คงที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานมากกว่า 37.8 ล้านคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ลูกจ้าง หรือแรงงาน จนทำให้รัฐบาลไทยต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาเหล่าแรงงานในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 วันแรงงานปีนี้ เราเลยชวนย้อนกลับมาเช็คลิสต์กันอีกครั้งว่าแรงงานกลุ่มไหนได้สิทธิ์ ‘มาตรการเยียวยาโควิด-19’ อะไรบ้าง ?
แจกวิธีทำ ‘ไข่เค็มสูตรเกลือและน้ำส้มสายชู’
เรื่อง
เบญญทิพย์ สิทธิเวช
นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านซะส่วนใหญ่ แถมจะออกไปไหนก็ยังเสี่ยง ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อวัตถุดิบ และอาหารมากักตุนเอาไว้ โดยเฉพาะ ‘ไข่ไก่’ ที่บางคนอาจซื้อยกแผง เก็บเอาไว้ทำได้หลากหลายเมนู แต่บางทีทำไม่ทัน ไข่ไก่อาจจะหมดอายุจนต้องเหลือทิ้งเสียเปล่าๆ
.
พวกเราชาว Urban Eat เลยมาชวนยืดอายุไข่ไก่ ด้วยวิธีการทำ ‘ไข่เค็ม’ เมนูที่เคยฮอตฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งหลายๆ คนคงยังไม่รู้ว่าการทำไข่เค็มนั้น ทำได้ง่ายกว่าที่คิด ด้วยอุปกรณ์ภายในบ้านของเราเอง !
พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2
เรื่อง
ปณัยกร วรศิลป์มนตรี
“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]