‘โอโซนบาง’ ทำให้ดอกไม้ดูดซับรังสียูวีเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 2% ต่อปี อาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ - Urban Creature

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ‘Current Biology’ ของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า ‘เม็ดสีของดอกไม้’ มีการปรับตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 75 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงยูวี (UV) ที่เพิ่มขึ้น

โดยนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาจากดอกไม้กว่า 1,200 ตัวอย่าง 42 สปีชีส์ จาก 3 ทวีปทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เก็บไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 – 2017 โดยวิเคราะห์จากระดับสีของดอกไม้โดยใช้กล้องที่ไวต่อรังสียูวี พบว่าดอกไม้ที่ดูดซับรังสียูวีเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2% ต่อปี ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เพราะชั้นโอโซนของโลกถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ

ซึ่ง ‘โอโซน’ เป็นก๊าซที่พบในชั้นสตราโตสเฟียร์ของโลก ทำหน้าที่ดูดซับรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ไว้ และเมื่อปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศของโลกเริ่มลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ทำให้พวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้รับรังสียูวีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังก่อให้เกิดรังสียูวีที่เข้มข้นขึ้น แม้พืชจะต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต แต่ผิวหนังของมนุษย์หากได้รับรังสียูวีที่มากเกินไปก็สามารถทำลายพวกมันได้เช่นกัน

จากปัจจัยที่เกิดขึ้นทำให้พืชบางชนิดพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้เตือนว่าการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีในดอกไม้ที่แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่ก็อาจส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของพืชในอนาคต


Source : IFLScience | https://bit.ly/36yxcI

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.