WHAT’S UP
‘นิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ’ 16 พ.ย. – 5 ธ.ค. 64 ที่ BACC
ช่วงนี้แกลเลอรีในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักและจัดแสดงนิทรรศการศิลปะกันอีกครั้ง ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ (BACC) ก็มีนิทรรศการดีๆ อัดแน่นเช่นเดียวกัน สำหรับแฟนมังงะช่วงนี้เราอยากชวนไป ‘นิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ’ Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวผ่านทางภาพวาดโดยปราศจากบทพูด นิทรรศการจัดแสดงผลงาน 15 ชิ้นจาก 274 ชิ้นที่ศิลปิน 117 ประเทศส่งเข้าประกวดในการแข่งขัน SILENT MANGA AUDITION® (SMA) รอบที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อ Together for Peace (ร่วมกันเพื่อสันติภาพ) การประกวดจัดขึ้นโดยบริษัท COAMIX ที่กรุงโตเกียว ร่วมด้วยสำนักงานยูเนสโกเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ยูเนสโก กรุงเทพฯ) งานนี้เป็นนิทรรศการ SMA ครั้งแรกในเอเชียนอกญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยยูเนสโก กรุงเทพฯ ร่วมด้วยเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ การ์ตูนมังงะเหล่านี้เป็นผลงานของศิลปินจากทั่วโลก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย แอลจีเรีย รัสเซีย […]
Museum of First Time พิพิธภัณฑ์จำลองที่ทำให้เห็นปัญหา ความรุนแรงในครอบครัวครบทุกมิติ
รู้หรือไม่ว่ากรณีผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายส่วนใหญ่เกิดจากคนในครอบครัว และ 100% ของเคสเหล่านี้ ‘ไม่ได้จบที่ครั้งแรก’ ‘มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล’ ร่วมกับ เอเจนซีโฆษณา ‘Wunderman Thompson Thailand’ ได้เปิดตัว ‘Museum of First Time’ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสและรับรู้เรื่องราว ‘ครั้งแรก’ ของเหยื่อผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัวและส่งสารให้ผู้หญิงและเหยื่อความรุนแรงว่า #ให้มันจบที่ครั้งแรก Museum of First Time เป็นพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual Museum) ที่สร้างจากเรื่องจริงของเหยื่อที่ถูกทำร้ายร่างกาย คุณจะได้เปิดประสบการณ์แบบเสมือนจริง (Immersive Experience) เพราะเป็นการจำลองบรรยากาศจากเรื่องจริงของเหยื่อ ที่มาพร้อมเสียงและภาพที่มองได้แบบ 360 องศา ตั้งแต่เปิดประตูบ้าน พิพิธภัณฑ์ค่อยๆ ถ่ายทอดเรื่องราวความรักช่วงแรกที่โรแมนติกหอมหวานผ่านสิ่งของต่างๆ อย่างเช่น รูปคู่รูปแรกและของขวัญชิ้นแรก หลังจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงความรักที่ขื่นขม ความรุนแรงครั้งแรก ไปจนถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น การกักขังหน่วงเหนี่ยวและการทำร้ายร่างกายจนเลือดตกยางออก และยังปิดท้ายด้วยวิดีโอของคนต้นเรื่อง ที่จะทำให้คุณตระหนักถึงความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น และรู้สึกใกล้ตัวเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า แคมเปญนี้ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนทั่วไปได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นจริงว่า ครั้งแรกของผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงเป็นอย่างไรบ้าง […]
เลือกตั้ง อบต. วันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. 64 เช็กสิทธิ์-แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้งทางออนไลน์ได้เลย!
ชวนเช็คสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งเหตุผลที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นี้!
ย้อมผ้า เสวนา เวิร์กช็อปวัสดุ ในงาน ‘หลูหลี’ ที่เชียงใหม่
ช่วงเวลาปลายปีที่อบอวลไปด้วยการเริ่มต้นใหม่กับบรรยากาศเย็นสบายในหน้าหนาวแบบนี้ เชียงใหม่น่าจะเป็นหมุดหมายพักกายพักใจของคนจำนวนไม่น้อย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายแนวที่รอให้ทุกคนไปเยือนแล้ว เราก็อยากชวนคุณไปงานน่ารักๆ อย่าง ‘หลูหลี’ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ ‘Loolii 3: RAW – รู้ต้นทาง ทดลองทำ ปรับใช้’ ที่จัดโดย Chiangmai Textile Terminal ใครที่สงสัยว่าชื่องานแปลว่าอะไร ผู้จัดงานเล่าให้เราฟังว่า หลูหลี เป็นคำที่ทางเหนือใช้เรียกหางฝ้าย ที่นำดอกฝ้ายมาดีดหรือยิงให้เป็นปุยแล้วพันเป็นหลอดยาวเป็นหางฝ้าย นำไปปั่นเป็นเส้นฝ้ายไว้ทอผ้า เปรียบกับชีวิตของคนที่รักการทำผ้า ชีวิตบนเส้นด้ายก่อนจะกลายเป็นเส้น ผ่านการเรียนรู้และลงมือทำ เปรียบได้กับ หลูหลี ที่เป็นเหมือนพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่เลือกเดินและอยู่ในเส้นทางสายนี้ มาบอกเล่าเรื่องราวจากงานผ้า หัตถกรรมท้องถิ่น องค์ความรู้และภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่สู่ร่วมสมัย ผ่านมุมมองยุคปัจจุบันที่ต้องปรับตัวและสร้างทางเลือกใหม่ให้ก่อเกิดประโยชน์ งาน ‘Loolii 3: RAW’ ปีนี้ถือเป็นการรวมตัวและรวมพลังจากเครือข่ายงานผ้า ศูนย์การเรียนรู้ พื้นที่สร้างสรรค์ นักออกแบบรุ่นใหม่ ศิลปิน ภาคีชุมชน จากหลากหลายสาขาและแขนง ไม่จำกัดเพียงงานผ้าเหมือนปีก่อนๆ เท่านั้น นอกจากนิทรรศการแล้ว ภายในงานยังมีเวิร์กช็อปสนุกๆ ที่ชวนให้ทดลองทำและนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ งานเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลากหลายหัวข้อ รวมถึงเรียนรู้ต้นทาง กระบวนการของวัตถุดิบ […]
‘สกลจังซั่น’ อีสานม่วนซื่น เทศกาลสร้างสรรค์ จ.สกลนคร
สกลนครเป็นจังหวัดสนุก ถ้าหน้าหนาวนี้ไม่มีแพลนไปไหน Urban Creature อยากชวนคุณไปเที่ยวย่านเมืองเก่าและพื้นที่โดยรอบจังหวัดนี้ให้หนำใจ เพราะปีนี้เมืองสกลมีเทศกาลงานสร้างสรรค์ชื่อ ‘สกลจังซั่น l SAKON JUNCTION’ ที่อยากชวนทุกคนมาม่วนซื่นกับกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจัดครั้งแรกในย่านเมืองเก่าแบบจุใจตั้งแต่วันที่ 9 – 12 ธันวาคม 2564 งานครั้งนี้จะนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ในท้องถิ่น ผ่านนิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้คนหยิบเอาความคิดสร้างสรรค์มาช่วยพัฒนามิติต่างๆ ของเมือง กิจกรรมทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยฝีมือของกลุ่มภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่สืบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือร่วมใจของศิลปิน ผู้คนจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการ และเจ้าของธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ เพื่อยกระดับศักยภาพของพื้นที่ไปสู่การขับเคลื่อนเป็นเมืองครีเอทีฟ ร่วมสำรวจแต่ละย่าน และทำความรู้จักกับเรื่องราวหลากมิติในสกลนคร ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นรอบๆ เมือง อาทิ ‘จังซั่น WALK’ ที่เดินสนุกตั้งแต่สี่แยกวัดพระธาตุเชิงชุม, สี่แยกเทศบาลเมือง และสี่แยกศรีนคร (ข้างร้านแมนคราฟท์) หรือจะเป็น ‘จังซั่น GALLERY’ นิทรรศการภาพวาดแสดงวิถีชีวิต สินทรัพย์ในย่านเมืองเก่า ผ่านประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของชาวสกลฯ แต่ถ้าชอบงานดีไซน์ก็อยากชวนให้ไปเลาะเบิ่งที่โซน ‘จังซั่น DESIGN SHOWCASE’ นิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่จะแสดงศักยภาพการต่อยอดวัสดุท้องถิ่น […]
School Town King ‘แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน’ เข้าฉาย Netflix 26 พฤศจิกายนนี้
‘การศึกษาไทย’ พาเด็กไปถึงฝันได้จริงหรือ? ถ้าคุณมีคำถามนี้อยู่ตลอดเวลา และเป็นอีกคนที่เจ็บปวดกับระบบการศึกษาไทย เราอยากมาหาคำตอบกับ School Town King “แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน” ภาพยนตร์สารคดีไทยที่คว้ารางวัลมากมายจากหลายเวที เช่น ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจากเวทีสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29, ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 11, ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมจากคมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 17 ฯลฯ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาคุณไปตามติดชีวิตจริงของ ‘บุ๊ค’ (ธนายุทธ ณ อยุธยา) และ ‘นนท์’ (นนทวัฒน์ โตมา) เด็กวัยรุ่นสองคนจากสลัมคลองเตยที่มีความฝันอยากเป็นแรปเปอร์ชื่อดัง แม้สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมจะไม่เอื้ออำนวยให้ทำสำเร็จได้ง่ายๆ พวกเขาแรปเพื่อกู่ร้องความฝันและสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ตัวเองเผชิญอยู่ ภาพยนตร์ฉายให้เห็นกิจวัตรของนักเรียนในระบบการศึกษาไทย หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นความสำเร็จเชิงวิชาการผลักให้เด็กที่แตกต่างจากระบบรู้สึกแปลกแยกและไร้ที่ทาง ในวัยที่ควรจะได้ค้นหา ทดลอง และไล่ตามฝัน พวกเขาถูกบีบคั้นจากความคาดหวังของครอบครัวและแรงกดดันที่ต้องถีบตัวเองออกจากความยากจน เพราะการศึกษาแทบจะเป็นเดิมพันอย่างเดียวสู่ชีวิตที่ดีกว่าและพวกเขาอาจร่วงหล่นไปได้ง่ายๆ หากไม่ยอมศิโรราบต่อระบบ ระบบที่ไม่ให้ค่าความฝันของพวกเขา นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่จะสอนคุณแรป แต่เป็นภาพยนตร์ที่ชวนคุณตั้งคำถามว่าทำไม “ความฝัน” ของเด็กสองคนที่อยากเป็นแรปเปอร์ถึงยากที่จะรักษาไว้ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ใช้เวลาถึง 2 ปีในการถ่ายทำ ผ่านฝีมือการกำกับของ เบสท์-วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย ร่วมมือกับ Eyedropper […]
Your Neighbor Clotheswap เพื่อนบ้านอารีย์ ชวนมาแลกเสื้อผ้าฟรี 27 พ.ย. 64 ที่ The Yard Bangkok
ในตู้เสื้อผ้าของคุณมีเสื้อผ้าสภาพดีที่ไม่ได้ใส่แล้วหรือเปล่า? ถ้าคำตอบคือ ‘ใช่’ เราอยากชวนคุณเก็บตู้ และพาเสื้อผ้าดีๆ เหล่านี้แลกกัน ‘เพื่อนบ้านอารีย์’ ชวนทุกคนนำเสื้อผ้าสภาพดีที่ไม่ได้ใส่แล้วมาแลกเปลี่ยนกันที่งาน ‘Your Neighbor Clotheswap’ ผู้ที่สนใจเพียงแค่เตรียมเสื้อผ้าและกระเป๋าสะอาดสภาพดีมา 20 ชิ้น เพื่อแลกเสื้อผ้าสะอาดสภาพดี 20 ชิ้นกลับไปใส่ได้ฟรี (แต่หากมีไม่ถึง 20 ชิ้นก็ยังร่วมกิจกรรมได้นะ) ส่วนใครที่มีเสื้อผ้าที่ต้องการปรับหรือแก้ไข ก็สามารถนำมาส่งต่อให้ร้าน ‘Reviv’ ช่วยซ่อมให้ในงานได้เลย โดย Reviv คือแบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแฟชั่น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Reviv ได้ที่ urbancreature.co/reviv เพื่อนบ้านอารีย์จัดงานนี้ขึ้น เพราะอยากให้ทุกคนได้เสื้อผ้าใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องผลิตเสื้อผ้าเพิ่มหรือเสียเงินซื้อเสื้อผ้าใหม่ เพื่อลดปัญหา ‘Fast Fashion’ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าแฟชั่นต่างๆ อย่างรวดเร็วและมากเกินความจำเป็น อีกทั้งกระบวนการผลิตยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและกดขี่แรงงานด้วย โดยภายในงาน ‘Fashion Revolution’ เครือข่ายกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายในการทำให้ระบบอุตสาหกรรมแฟชั่นโปร่งใสขึ้นและดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จะจัดบูทเพื่อพูดคุยและตอบคำถามผู้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรม Fast Fashion ที่มีต่อโลกของเรา นอกเหนือจากกิจกรรมแลกเสื้อผ้าและประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภายในงานจะมีการจัดแสดงภาพวาดสวยๆ ที่ห้อยจากต้นไม้ โดย ‘Blue Dean’ ศิลปินชาวอารีย์ […]
‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ
คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร? และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]
ภาวะ Burnout ไม่ใช่เรื่องตลก
หลายคนคงรู้กันแล้วว่า Burnout คือหนึ่งในภาวะความเหน็ดเหนื่อยทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับคนยุคมิลเลนเนียลและยุคอื่นๆ เมื่อก่อนเราอาจคิดว่า Burnout เป็นแค่ชื่ออาการที่เกิดจากการทำงาน แต่ตอนนี้มันเป็นอาการที่วินิจฉัยได้แล้ว เพราะในปี 2019 คู่มือวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก ระบุว่าเป็น ‘ความรู้สึกสูญเสียพลังงานหรืออ่อนล้า’ ‘การมีระยะห่างทางจิตใจจากงานของบุคคล’ ‘รู้สึกต่อต้านงาน มีความเห็นลบต่องาน’ และ ‘ประสิทธิภาพการทำงานลดลง’ ซึ่งในเคสเหล่านี้วินิจฉัยได้ทันที โดยคู่มือยังระบุอีกว่า ก่อนพิจารณาอาการเบิร์นเอาต์หรือหมดไฟเพราะการงาน หมอต้องแยกแยะจุดคล้ายคลึงระหว่างความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าออกจากกันก่อน และไม่ควรนำไปใช้รวมกับสถานการณ์ตึงเครียดอื่นๆ การเบิร์นเอาต์ไม่ได้จำกัดเฉพาะการทำงานในออฟฟิศ แต่ช่วงโควิดที่ทุกคนต้องทำงานที่บ้านก็เกิดอาการแบบนี้ได้เหมือนกัน อย่างในช่วงตุลาคม 2020 นิตยสาร Forbes เผยผลสำรวจที่ทำโดย FlexJobs และ Mental Health America พบว่าคนมีภาวะหมดไฟในงานกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ โดย 40 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขารู้สึกเบิร์นเอาต์ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโควิดโดยเฉพาะ ช่วงกันยายน 2021 นักเขียนหญิง Jennifer Moss เจ้าของหนังสือ The Burnout Epidemic: The Rise of Chronic Stress and […]
สำรวจอาร์ตบุ๊ก ซีน และเหล่าสิ่งพิมพ์เจ๋งๆ ในงาน Bangkok Art Book Fair
หลังจากย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ ครั้งที่ 4 หรือ Bangkok Art Book Fair (BKKABF) กำลังจะกลับมาจัดงานแบบ On-site อีกครั้งในวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2564 นี้ ครั้งนี้ BKKABF 2021 มากับธีม ‘DON’T KEEP YOUR DREAM AT HOME’ ที่ทำหน้าที่แทนผู้จัดพิมพ์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการตั้งคำถามและท้าทายปัญหาสังคมกับการเมืองในปัจจุบัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 นอกจากอาร์ตบุ๊กและสิ่งพิมพ์หลากหลายรูปแบบจากเหล่านักเขียน ศิลปิน และผู้จัดพิมพ์ ทั้งไทยและต่างประเทศที่เราจะได้ยลโฉมแล้ว ภายในงานยังมีอินสตอลเลชันที่น่าสนใจร่วมจัดแสดงด้วย นับว่าเป็นการเรียกคืนบรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้กลับมาสัมผัสได้อีกครั้งสำหรับคนรักอาร์ตบุ๊ก ซึ่งงานนี้จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2017 และมีนักสร้างสรรค์อาร์ตบุ๊กไทยหน้าใหม่ๆ เข้าร่วมทุกปี ใครเป็นแฟนคลับสิ่งพิมพ์สนุกๆ ต้องไม่พลาดงานนี้ เท่านั้นยังไม่พอ BKKABF 2021 ยังจับมือกับ Spacebar Design Studio เปิดรับซีนหรือหนังสือทำมือที่ต่อยอดจากโปรเจกต์ What is […]
‘I-peel.org’ เว็บไซต์ชวนมองสิ่งรอบตัวจากน้ำตาล งานบ้าน สมาร์ตโฟน ให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก
I-peel.org เว็บไซต์ที่ชวนมองสิ่งรอบตัวเล็กๆให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจการเมืองโลก
คราฟต์เบียร์ออสเตรเลียสู้โลกร้อน เปลี่ยน CO2 จากฮอปส์เป็นออกซิเจน ลดก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต
เบียร์ไม่ได้เป็นภัยกับซิกซ์แพ็ก หรืออาการปวดหัวในวันถัดมา แต่เครื่องดื่มสีอำพันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกันจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่เกิดจากกระบวนการผลิต ทว่าสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อ Young Henrys ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์จากรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย สามารถคิดค้นกระบวนการผลิตเบียร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการดื่มเบียร์อาจจะช่วยโลกได้จริง! ตามปกติแล้วปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากฮอปส์ในการผลิตเบียร์จะต้องใช้เวลาดูดซับมากถึง 2 วัน เมื่อตระหนักว่ากระบวนการตามธรรมชาติใช้เวลามากเพียงใด Young henrys จึงหันไปขอความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์เพื่อคิดค้นวิธีในการเร่งกระบวนการดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไวขึ้น จนกระทั่งพบวิธีในการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 400 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง ที่อัดแน่นไปด้วยสาหร่ายขนาดเล็กนับล้าน ที่จะทำหน้าที่ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นออกซิเจน โดยสาหร่ายเหล่านี้สามารถผลิตออกซิเจนได้มากเท่ากับพื้นที่ป่าดิบชื้น 2 เฮกตาร์ Oscar McMahon ผู้ร่วมก่อตั้งของ Young Henrys กล่าวติดตลกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าที่จริงพวกเขาจะยุบโรงเบียร์ ทุบตึกและอาคารทิ้งเพื่อนำพื้นที่มาปลูกต้นไม้ก็ได้ แต่กระบวนการนี้จะใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และสร้างออกซิเจนในปริมาณที่เทียบเท่ากับเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพนี้ นี่อาจจะเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเฉลิมฉลองแต่ Young Henrys ไม่ได้หยุดแค่นั้น โดยเดินหน้าร่วมมือกับหน่วยงาน Meat and Livestock Australia (MLA) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปศุสัตว์ในการวิจัยเกี่ยวกับความสามารถของสาหร่ายในการลดปริมาณก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ด้วย เมื่อชาวออสเตรเลียร้อยละ 35.6 บริโภคเบียร์ และร้อยละ 90 ของครัวเรือนแดนจิงโจ้บริโภคเนื้อวัวเป็นประจำ จึงไม่มีเวลาไหนและอุตสาหกรรมไหนที่จะเหมาะกับการเผยแพร่เทคโนโลยีนี้อีกแล้ว