WHAT’S UP
เผยโฉมดีไซน์ New TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC คือสถานที่ที่ใครหลายคนนึกถึงเวลาโหยหาไอเดียทำงานออกแบบ แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือขอนแก่น การค้นหาแรงบันดาลใจอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประเทศไทยมี TCDC อยู่ใน 3 จังหวัดนี้เท่านั้น (ขอทดสงขลาไว้ที่หนึ่ง เพราะ TCDC ที่นี่จะเสร็จตอนต้นปี 2568) ด้วยเหตุผลนี้เอง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA เลยเกิดไอเดียตั้ง ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่’ (New TCDC) เพิ่มใน 10 จังหวัด พร้อมจับมือกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA) เปิดรับไอเดียดีไซน์ New TCDC จากนักออกแบบทั่วประเทศ จากผลงานที่ส่งเข้ามากว่า 173 ผลงาน จาก 113 ทีมนักออกแบบ ในที่สุดก็ได้ 10 ผลงานชนะเลิศที่จะได้รับการต่อยอดเป็น New TCDC […]
‘Urban Joy PlayGround’ สนามฟุตซอล VIBE ใหม่ ที่อนันดาอยากให้คนเมืองได้ออกมาจอย
นอกเหนือจากการออกแบบบ้านเพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแล้ว ‘อนันดา’ ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เหล่าคนเมืองได้ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน และพบกับประสบการณ์ใหม่ๆ จากพื้นที่ดีๆ ภายในเมืองแบบ Joyful รวมไปถึงการส่งต่อ Vibe ที่จะทำให้ชีวิตคนเมืองได้มีสีสันมากยิ่งขึ้น จาก 4 หัวใจหลักที่อนันดาออกแบบให้คนในเมืองได้จอยกัน ไม่ว่าจะเป็น รวมไปถึงแคมเปญ ‘Ananda Joyful Living’ ที่อยากให้คนเมืองได้ออกจากบ้านมา Joy กับทุกสิ่งแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม เพื่อตอกย้ำกับความเป็น Urban Living Solutions ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เมืองดีขึ้น พร้อมสร้างแนวคิด ‘ชีวิตที่มีความสุขเริ่มจากความรู้สึกที่สร้าง #อนันดาชวนมาสร้างเมือง’ สำหรับพื้นที่แรกในแคมเปญนี้คือ ‘Urban Joy Playground’ กับการปรับปรุงสนามฟุตซอล 4 สนามของ ‘ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ’ ให้มีสีสันสวยงาม ดึงดูดให้คนเมืองออกมาใช้สนามในการออกกำลังกาย เพราะด้วยขนาดของสนามแล้ว ไม่ใช่แค่ฟุตซอลเท่านั้น แต่ยังใช้เล่นกีฬาชนิดอื่นๆ ได้ด้วย รวมไปถึงสวนสาธารณะแห่งนี้ก็เป็นสถานที่ที่หลายๆ คนมาออกกำลังกายในช่วงเช้า-เย็น และมีเด็กๆ มาเล่นกีฬากันเป็นประจำอยู่แล้ว การปรับปรุงและดีไซน์รวมถึงทาสีสนามฟุตซอลด้วยสีสันสดใสนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บ.ทีโอเอ เพ้นท์ […]
ลองเขียนหนังสือด้วยดินสอรักษ์โลก ‘GRIND Z’ ไส้ดินสอจากกากกาแฟที่ให้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ตลอดการเขียน
แม้ ‘กากกาแฟ’ จะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่เพราะการบริโภคที่มากเกินไปจากทั่วโลก ทำให้สุดท้ายกากกาแฟกลายเป็นขยะที่ต้องฝังกลบจำนวนหลายล้านตันในทุกๆ ปี นำมาซึ่งการปล่อยก๊าซมีเทนปริมาณมหาศาล และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเราจึงเห็นหลายธุรกิจพยายามแปรรูปกากกาแฟออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อช่วยเปลี่ยนขยะไร้ประโยชน์ให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกับ ‘Zirobio’ บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนโดยใช้วัสดุชีวภาพ กับการหยิบเอากากกาแฟเหลือใช้มาสร้างสรรค์ใหม่จนกลายเป็น ‘ไส้ดินสอ’ สำหรับใช้งาน ‘GRIND Z’ คือชื่อของดินสอกดที่ภายในบรรจุไส้ดินสอขนาด 5.6 มิลลิเมตรที่ทำขึ้นจากกากกาแฟรีไซเคิล แทนที่จะเป็นแร่แกรไฟต์ในแบบเดิมๆ แถมเมื่อเขียนแล้วยังให้สีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นของเมล็ดกาแฟ ไส้ดินสอนี้ประกอบด้วยกากกาแฟที่ไม่มีการเติมสีสังเคราะห์ใดๆ ในปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ รวมกับขี้ผึ้งและกาวอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นตัวยึดเกาะ เพื่อที่กากกาแฟจะอัดตัวกลายเป็นแท่ง ให้ใช้เหลาและขีดเขียนบนกระดาษได้เหมือนดินสอทั่วไป แต่เพิ่มเติมคือเราจะได้กลิ่นกาแฟอ่อนๆ ในทุกการจรดดินสอขีดเขียนอีกด้วย นี่น่าจะเป็นประสบการณ์การเขียนหนังสือที่หอมถูกใจคนเขียนเป็นที่สุด Sources : Kickstarter | t.ly/TIELFYanko Design | t.ly/eiVpWZirobio | www.zirobio.com/grindz
ย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงกับงาน ‘รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ วันที่ 4 ส.ค. ที่ชุมชนตรอกสลักหิน
หัวลำโพงคือย่านที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงหัวลำโพงจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรื่องราวเหล่านี้ยังถูกจดจำไว้อย่างดีโดยชาวบ้านที่รอคอยโอกาสเล่าขานตำนานให้ผู้คนรับฟัง ชวนย้อนรอยความทรงจำย่านหัวลำโพงไปด้วยกัน ในงาน ‘Re-Tell The Details : รื้อ เล่า ขาน ตำนานหัวลำโพง’ กิจกรรมจากชุมชนตรอกสลักหิน ย่านหัวลำโพง กลุ่มริทัศน์บางกอก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม งานนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลายที่อัดแน่นตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบสื่อเพื่อชุมชนจากนักศึกษา กิจกรรมเวิร์กช็อปโดยชุมชนตรอกสลักหิน ภาคีเครือข่าย และเวทีดนตรีโดยเยาวชนในชุมชน การพาทัวร์ชุมชนตรอกสลักหินโดยไกด์วัยจิ๋วของชุมชน และการเสวนาของกลุ่มคนหลายภาคส่วนที่ร่วมสร้างสรรค์ย่านหัวลำโพง ถ้าหากใครสนใจไปรื้อฟื้นความหลังของหัวลำโพง ไปเข้าร่วมกันได้เลยที่พื้นที่สร้างสรรค์ ใต้ทางด่วนชุมชนตรอกสลักหิน ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 – 18.00 น.
กินแบบดีต่อใจ ช่วยสร้างไลฟ์สไตล์ยั่งยืนกันที่งาน ‘Soul Food, Good Life’ วันที่ 3 – 4 ส.ค. 67 ที่ The Corner House
อาหารที่ดีไม่ใช่แค่ช่วยสร้างสุขภาพกายให้แข็งแรงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดี และยังต่อเนื่องไปถึงการสร้างไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนอีกด้วย ทางคอมมูนิตี้ ‘The Corner House’ ร่วมมือกับคาเฟ่ ‘People of Small World’, ‘Vtopia’ ผู้จัดอีเวนต์เพื่อสนับสนุนการทานวีแกนและไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมสุขภาพองค์รวม และ ‘Loopers’ แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง เปิดพื้นที่จัดงาน ‘Soul Food, Good Life’ เพื่อรวบรวมเมนูที่อร่อยและดีต่อสุขภาพ รวมถึงร้านค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้คนที่รักษ์โลกและรักสุขภาพได้มารวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ ภายในงานมีร้านค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม และสินค้าไลฟ์สไตล์ให้เลือกสรรกันมากมาย ทั้งเมนูเครื่องดื่มพิเศษจากนมโอ๊ต จาก Goodmate, POHSOP ร้านอาหารมังสวิรัติจากเชียงใหม่ ที่จัดเต็มเมนูคาวหวานสไตล์โฮมมี่, CRANE Coffee Roaster ร้านกาแฟสเปเชียลตี้ ผู้ได้รางวัล Champion TNCIGS 2024 และ Champion TNC2023, O’ganic Concept ร้านอาหารโฮมเมดเพื่อสุขภาพจากย่านอารีย์ และร้านรวงอื่นๆ อีกมากกว่า 30 ร้านเลยทีเดียว […]
The Scoop ออฟฟิศรูปทรงแหวกแถวที่แหวกแนวอาคารให้โบสถ์เก่าเฉิดฉาย
คำตอบของการสร้างอาคารใหม่ให้เคารพอาคารเก่าข้างเคียงที่คุ้นเคยอาจหมายถึงการคุมโทนสี คุมโทนวัสดุอาคารใหม่ให้ใกล้เคียงอาคารเก่า แต่มันจะมีโซลูชันที่น่าตื่นเต้นกว่านี้อีกหรือเปล่า Corstorphine & Wright ออฟฟิศสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักร ออกแบบอาคาร ‘The Scoop’ ให้เว้าเข้าไปด้านใน เพื่อสร้างกรอบให้คนเดินถนนเห็นรูปโฉมของโบสถ์เก่าที่อยู่ข้างเคียง The Scoop เป็นอาคารออฟฟิศส่วนต่อเติมของอาคารอิฐหัวมุมถนนที่อยู่ติดกัน โดยอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของย่าน Southwark เมือง London และอยู่เคียงข้างโบสถ์คริสต์ ‘Catholic Church of the Most Precious Blood’ สไตล์โรมาเนสก์ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1892 การคว้านส่วนกลางของอาคารออก ทำให้ผู้คนที่สัญจรบริเวณหัวมุมถนน Union Street และ O’Meara Street เห็นบานหน้าต่างกลมหรือ Rose Window ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโบสถ์ แต่กว่าที่จะได้หน้าตาตึกอย่างที่เห็น สถาปนิกต้องขึ้นโมเดลตึกสามมิติเพื่อกะเกณฑ์ดูว่าจะต้องคว้านตึกไปเท่าไหร่คนถึงจะเห็นหน้าต่างโบสถ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ โมเดลสามมิติยังช่วยให้สถาปนิกคำนวณได้ว่าจะต้องวางอิฐอย่างไร และใช้อิฐขนาดแบบไหนมาเรียงเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ดั่งหวัง โดยก้อนอิฐที่หยึกหยักไปมาถูกยึดติดด้วยโครงเหล็กสเตนเลสอันซับซ้อนที่แอบซ่อนด้านใน หากมองตัวอาคาร The Scoop แบบโดดๆ ดูแล้วเป็นอาคารที่เท่ไม่เบา แต่เมื่ออาคารเปิดพื้นที่ความเท่ให้เพื่อนเก่า ความหล่อเหลาของ The Scoop […]
‘สมุดลายไทยประยุกต์’ อุปกรณ์การเรียนสุดคลาสสิกโฉมใหม่ มาพร้อมกับลวดลายที่ทันสมัยมากขึ้น
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก ‘สมุดลายไทย’ สุดคลาสสิก ที่มาพร้อมสีสันหลากหลายและปกหลังที่เป็นสูตรคณิตศาสตร์ หนึ่งในอุปกรณ์การเรียนที่นักเรียนไทยต้องเคยใช้งานมาบ้าง แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้สมุดลายไทยสุดคลาสสิกอาจจะดูตกยุคไปบ้าง ‘มิน-ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ’ หรือ ‘ItsMinute’ จึงอยากรีดีไซน์ปก ‘สมุดลายไทยประยุกต์’ โดยปรับลวดลาย สีสัน และเนื้อหาที่ปกหลังสมุดให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เดิมทีมินเป็นเด็กที่โตมากับบ้านที่ทำโรงงานผลิตสมุด ประจวบกับก่อนหน้านี้มินก็กำลังอยู่ระหว่างรอสอบเข้ามหาวิทยาลัยพอดี ครอบครัวเห็นว่าลูกมีความสามารถด้านการออกแบบกราฟิกอยู่แล้ว เลยเสนอให้มินลองออกแบบปกสมุดในแบบของตัวเอง “ช่วงนั้นสมุดลายไทยล็อตเก่าที่บ้านเราหมดพอดี ครอบครัวถามว่าเราอยากออกแบบลายใหม่ไหม เราเห็นว่าปกติกระดาษหนึ่งแผ่นสามารถพิมพ์เป็นปกสมุดได้แปดเล่ม แต่สมุดลายไทยดั้งเดิมเกือบทุกที่มีประมาณสี่ลาย เลยเกิดไอเดียว่า ไหนๆ ก็พิมพ์ได้ครั้งละแปดเล่มแล้ว ทำไมเราไม่ออกแบบให้สอดคล้องกับแปดวิชาบังคับของหลักสูตรการศึกษาไปเลย” มินเล่าถึงจุดเริ่มต้นการออกแบบสมุดลายไทยแบบใหม่ ด้วยพื้นฐานที่ชอบงานลายไทยอยู่แล้ว เมื่อได้โจทย์ออกแบบสมุดลายไทยใหม่ มินจึงศึกษาตำราลายไทยของพระเทวาภินิมมิต ศิลปินเอกของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 – 7 และค่อยๆ แกะลายพื้นฐาน ก่อนจะนำมาลดทอน จับคู่สี และหาสัดส่วนที่เหมาะสมทั้งหมด 8 ลาย เพื่อผลิตออกมาเป็นปกสมุดทั้ง 8 เล่ม 8 วิชา ส่วนเนื้อหาความรู้บนปกหลังของสมุดนั้น มินมองว่าความรู้จากวิชาอื่นก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสูตรคูณและมาตราการชั่ง ตวง วัด จากวิชาคณิตศาสตร์ มินจึงเลือกเนื้อหาจาก 8 […]
จุดชมฉลาม ‘Pusaran Ocean Deck’ ระเบียงลอยน้ำสร้างจากไม้รีไซเคิล เป็นมิตรกับทั้งนักท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม
เมื่อธรรมชาติถูกใช้งานเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับความเสียหายทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจากการออกแบบพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสธรรมชาติด้วยตัวเอง ทางสตูดิโอออกแบบจากอินโดนีเซีย RAD+ar Studio ได้ทำโปรเจกต์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การออกแบบที่เรียบง่ายและยั่งยืนก็สร้างความรู้และความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวได้ เพื่อเป็นแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นโครงการแรกกันที่ระเบียงลอยน้ำ ‘Pusaran Ocean Deck’ บนเกาะส่วนตัวในหมู่เกาะ Karimun Jawa เป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากความต้องการขยายจุดชมฉลามที่มีอยู่ให้เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และมอบประสบการณ์ต่างๆ โดยยังคงไว้ซึ่งความยั่งยืนทางธรรมชาติด้วย แม้จะสร้างขึ้นบนฐานของสระชมฉลามที่มีอยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นการทดลองสร้างพื้นที่ที่ยั่งยืนในมหาสมุทร จึงต้องคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ใต้น้ำด้วย โดยวัสดุที่นำมาใช้เป็นไม้ท้องถิ่นรีไซเคิลที่มีความทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าคอนกรีตที่คนมักนำมาใช้กัน โครงสร้างไม้นี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะหมุนวนจากพื้นระเบียง และขยายตัวออกไปในรูปแบบทแยงมุม ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนบังแดดและกันลมให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยเราสามารถเดินออกไปยังจุดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพราะในพื้นที่ของ Pusaran นั้นนอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้ว ยังมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลากหลายระดับ เพื่อเป็นการลดการรบกวนสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นดำน้ำ กีฬาทางน้ำ อาบแดด หรือพื้นที่ละหมาดบนดาดฟ้า โดยเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งการศึกษา ความบันเทิง ไปพร้อมๆ กับการรักษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ด้วยความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมกับระบบนิเวศปะการังธรรมชาติ Pusaran ยังมีการจัดพื้นที่สำหรับปะการังที่เพิ่งปลูกและกิจกรรมทางน้ำต่างๆ ให้อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขัดขวางการเติบโตของเหล่าปะการังด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/yzfxe4njRAD+ar | tinyurl.com/3dm86hp5
สั่งสมความรู้รับมือโลกที่เปลี่ยนแปลงใน Learning Fest Bangkok 2024 วันที่ 1 – 4 ส.ค. ที่ TK Park และสถานที่ต่างๆ ทั่ว กทม.
เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แม้จะผ่านพ้นช่วงใส่ชุดนักเรียนหรือชุดนักศึกษา ในวันที่ 1 – 4 สิงหาคมนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนสั่งสมขุมพลังความรู้ให้ตัวเองกับ ‘Learning Fest Bangkok 2024’ เทศกาลส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศกาล Learning Fest Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park โดยปีนี้จัดในธีม ‘เปลี่ยน.อยู่.คือ – I change, therefore I am’ สะท้อนว่าการเรียนรู้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้กับร่างกายหรือจิตใจตัวเอง หรือในระดับยิ่งใหญ่อย่างสังคม และการเรียนรู้ยังช่วยเพิ่มพูนต้นทุนให้เราพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอด 4 วันของเทศกาล ทาง TK Park เตรียมขบวนกิจกรรมที่มากระตุ้นต่อมความใคร่รู้ ทั้งเวิร์กช็อป การแสดง นิทรรศการ หรืองานเสวนา เช่น TK Chat Walk: Ratchaprasong Time Machine งานทัวร์ตามรอยประวัติศาสตร์ย่านราชประสงค์, TK FORUM […]
ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล
เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD
‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน
การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt
‘Synthiesis’ รองเท้ามีชีวิตด้วยหมึกพิมพ์จากเซลล์สาหร่าย ที่ช่วยดูดซับคาร์บอนในอากาศได้
รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่รู้ตัว ในแต่ละปี มีรองเท้าจากทั่วโลกผลิตขึ้นมากถึง 22,000 ล้านคู่ ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ถ้าคิดไวๆ อาจเทียบได้กับการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของโลกทำให้หลังๆ มานี้เรามักเห็นแบรนด์รองเท้าต่างๆ หันมาให้ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิต และมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตที่มากขึ้น ซึ่ง ‘Synthiesis’ คือหนึ่งในนั้น Synthiesis คือรองเท้าที่ได้รับการออกแบบจากฝีมือของ ‘Jessica Thies’ นักออกแบบจากบรุกลิน ที่ใช้งานวิจัยของตนมาช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เจสสิกาเลือกใช้วัสดุที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ในการทำพื้นรองเท้า รวมถึงเลือกใช้ผ้าป่านในการขึ้นตัวรองเท้า และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพที่ผสมเซลล์สาหร่ายทะเลมีชีวิตลงไป ทำให้ Synthiesis กลายเป็นรองเท้าที่มีชีวิต ประโยชน์ของสาหร่ายที่มีชีวิตในรองเท้าเหล่านี้คือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศระหว่างสวมใส่ และอาจทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย อีกทั้งจากงานวิจัยของเจสสิกายังแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายเหล่านี้กินสารอาหารและไซยาโนแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนได้ โดยใช้วิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และมีชีวิตอยู่บนรองเท้าได้นานถึง 1 เดือนโดยไม่ต้องให้สารอาหารเสริม หรืออาจมากกว่านั้นหากได้รับการดูแลอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากสีคลอโรฟิลล์ที่ค่อยๆ จางเมื่อสาหร่ายตายลง ปัจจุบัน Synthiesis เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนอาจยังเข้าไม่ถึง แต่เจสสิกาหวังว่า รองเท้าคู่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในอนาคตได้ Sources :Dezeen […]