เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

หยุดวงจร Sextortion บนโลกออนไลน์ด้วยความสงสัย เอะใจเมื่อไหร่ ปลอดภัยเมื่อนั้น

ภัยจากโลกออนไลน์อาจใกล้ตัวกว่าที่เราคิด แม้จะผ่านวันส่งเสริมความปลอดภัยอินเทอร์เน็ตแห่งชาติ หรือ Thailand Safer Internet Day มาแล้วในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่ไม่ว่าวันไหน เราต่างก็พบเจอภัยบนโลกออนไลน์ได้เสมอ เพราะยิ่งมีอัตราการใช้งาน Online Platform สูงมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งพบว่ามีรายงานการเกิดภัยคุกคามทางเพศออนไลน์สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ทำให้แม้เราจะคุ้นเคยกับการใช้งาน Online มากแค่ไหน แต่ในขณะเดียวกันก็ควรต้องมีสติ อย่ารีบไว้ใจ และสงสัยไว้ก่อนเสมอ และเพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก ทาง UNICEF มีความตั้งใจจะทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักที่ช่วยแบ่งปันความรู้การใช้อินเทอร์เน็ตให้ทุกคนได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ เพราะหลายครั้ง การไม่สงสัยอาจนำไปสู่การเป็นภัยคุกคามทางเพศออนไลน์ที่เรียกว่า ‘Sextortion’ ได้ เนื่องจากคนร้ายที่อาจเป็นใครก็ได้ ล้วนมีสารพัดวิธีในการล่อลวงให้เราทำตาม #สงสัยไว้ก่อน ปลอดภัยมากขึ้น หลายคนอาจมองว่า ‘การขู่กรรโชกทางเพศ’ หรือ ‘Sextortion’ เป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คิด เพราะคนร้ายอาจเป็นใครก็ได้ และมีสารพัดวิธีในการเข้าหาเรา นอกจากนี้ การกระทำใดๆ ของเราบนโลกออนไลน์ ทั้งการค้นหา โพสต์ อัปโหลด แชร์ หรือแม้กระทั่งการคลิกถูกใจบนโซเชียลมีเดีย ก็ถือเป็นการสร้าง ‘รอยเท้าดิจิทัล’ (Digital Footprint) […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

URBAN UNTOLD | เรื่องราวและมุมมองลูกหลานคนจีนที่อาจไม่เคยได้ยิน

TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากครอบครัว การทำร้ายร่างกาย และภาวะซึมเศร้า วันตรุษจีน คือวันที่คนไทยเชื้อสายจีนไหว้บรรพบุรุษของตัวเองเพื่อระลึกถึงอากงหรืออาม่าที่จากไป เป็นวันที่เราจะได้นั่งกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวด้วยอาหารไหว้ที่หลากหลายและพูดคุยอย่างมีความสุข ส่วนเด็กๆ จะได้รับแต๊ะเอียตามธรรมเนียมของวันตรุษจีนเพื่อเป็นคำอวยพรอีกด้วย แต่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะสุขสันต์เช่นนั้น เพราะการเลี้ยงดูโดยมีวัฒนธรรมจีนอยู่ในสายเลือดของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน จนอาจทำให้บางคนมีปมหรือเรื่องราวประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการเติบโตมาในครอบครัวเชื้อสายจีนก็เป็นได้ และเรื่องราวเหล่านั้นก็ถูกซ่อนไว้ลึกข้างในโดยไม่ได้มีใครให้รับฟัง ประเดิมตอนแรกของรายการ Urban Untold กับการพาไปรับรู้เรื่องราวส่วนตัวของลูกหลานคนจีนที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน เพื่อนำมาเป็นบทเรียนของชีวิตและเดินก้าวต่อไปให้ไม่ซ้ำรอยกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น

เยียวยาหัวใจผ่านการรักษาตุ๊กตากับ Sewing Thing

ตุ๊กตาเน่าหรือผ้าเน่าคงเป็นสิ่งที่หลายคนเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆ จนปัจจุบัน บางคนอาจได้รับจากคุณแม่ คุณย่า หรือคนที่รักเราในสถานะใดก็ตาม และหลายคนก็คงยังไม่ได้อยากทิ้งมันไป เพราะภายในสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือผ้าที่เอาไว้ห่มอย่างเดียว แต่มันเต็มไปด้วยเรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ มากมายตั้งแต่ยังเล็กที่เราไม่อาจลืม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งของเหล่านี้ล้วนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จนมันไม่อาจอยู่ในสภาพเดิม สิ่งของที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ช่วยเยียวยาใจของเราในวันที่แย่ๆ ก็อาจหายไปหากไม่มีคนคอยรักษามัน Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘พี่ตุ๊ก-พนิดา เตียวตระกูล’ หมอรักษาตุ๊กตาจากร้าน Sewing_thing ถึงอาชีพที่คอยเป็นคนรักษาน้องเน่า เพื่อรักษาใจของเราให้ยังคงอยู่ต่อไปในทุกวัน ติดตามร้านได้ที่ : www.instagram.com/sewing_thing

ความเครียดส่งผลให้ฝันร้าย นอนนานแค่ไหนก็ไม่เต็มอิ่มอยู่ดี

ฝันว่าโดนทวงงาน ฝันว่าวิ่งหนีผีจนเหนื่อย ฝันว่าตื่นสายจนไปทำงานไม่ทัน สารพัดฝันที่ต่อให้นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงก็ยังทำให้ตื่นมารู้สึกเหนื่อยล้าเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม ด้วยอาการ ‘ฝันร้าย’ นั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ย่อยยากก่อนนอน ผลข้างเคียงของยา ความผิดปกติของทางเดินหายใจ รวมไปถึง ‘ความเครียด’ ก็ส่งผลให้เรานอนหลับฝันร้ายเช่นกัน เพราะบางครั้งการฝันแปลกๆ อาจไม่ใช่สัญญาณของเหตุร้าย หรือผลของการที่เราไปลบหลู่ใครโดยไม่รู้ตัวเหมือนในเดอะโกสท์เรดิโอ แต่เป็นการสะท้อนถึงความวิตกกังวลภายในใจ หรือความเครียดที่สะสมไว้แบบไม่รู้ตัวก็ได้ ทำไมความเครียดถึงทำให้ฝันร้าย ข้อมูลจาก Calm Clinic เว็บไซต์ด้านสุขภาพจิต พบว่า ในระหว่างที่เรากำลังนอนหลับ สมองส่วนต่างๆ รวมไปถึง ‘พอนส์’ (Pons) ซึ่งเป็นโครงสร้างหนึ่งของก้านสมองที่มีบทบาทในการฝัน จะมีการเคลื่อนไหวผ่านการส่งสัญญาณ ซึ่งสัญญาณบางส่วนอาจเกี่ยวข้องกับความทรงจำหรือประสบการณ์ ทำให้สมองส่วนหน้าพยายามทำความเข้าใจและเชื่อมโยงสัญญาณเหล่านี้ออกมาเป็นเรื่องราวผ่านความฝัน ฝันร้ายจึงเกิดขึ้นได้จากความคิดมากมายหลากหลายเรื่องราวที่อยู่ภายในสมอง และถูกเปลี่ยนให้เป็นความน่ากลัวในระหว่างที่นอนหลับ โดยสาเหตุของความคิดเหล่านั้นอาจเกิดขึ้นจากแรงกดดันในการเรียน การทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ สุขภาพ การเงิน หรืออื่นๆ ที่เราเก็บไปคิดก่อนเข้านอน และต่อเนื่องไปจนถึงความฝันในยามค่ำคืน จนอาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึกและนอนต่อไม่ได้ หรืออาจต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับไปพักผ่อนได้อีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝันร้ายที่เกิดขึ้นจากความเครียดอาจไม่ได้ออกมาในรูปแบบเรื่องราวของความเครียดต่างๆ อย่างที่กล่าวไปก็ได้ ฝันร้ายอาจเป็นความฝันทั่วๆ ไปที่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเลย แต่กลับมีความเชื่อมโยงกับความกังวลอยู่ลึกๆ เช่น ฝันว่าถูกไล่ล่า […]

อย่าไปกลัวปีชง! ถ้าเราประคองใจให้มั่นคง จะกี่ปีชงก็ทำอะไรเราไม่ได้

แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้ มาจากการที่ผู้เขียนเลื่อนเจอสเตตัสของรุ่นพี่คนหนึ่ง เล่าถึงความ ‘กระวนกระวายใจ’ ทุกครั้งที่เห็นคอนเทนต์ปีชง เพราะมันทำให้เขากลัว เนื่องจากไม่อยากให้ชีวิตโชคร้ายกว่าที่ผ่านมาอีกแล้ว เวลาเข้าโซเชียลมีเดีย รุ่นพี่ต้องเลื่อนฟีดผ่านเร็วๆ เพราะไม่อยากอ่านให้มันผ่านเข้ามาในใจ อีกอย่าง ทุกวันนี้เราเปิดรับข่าวสารที่ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเศร้าและน่ากลัวทุกวัน จนเรื่องร้ายต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่เราเผลอคาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้น ไม่กับเรา ก็กับสังคม ทีนี้พอมีเรื่องปีชงเข้ามา บวกกับพื้นฐานข่าวสารที่ได้รับ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจิตตก กังวลมากขึ้น ต่อให้เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม ไม่ว่าปีนี้จะเป็นปีชงของเราหรือไม่ แต่ในทางสุขภาพจิตแล้ว ผู้เขียนในฐานะคนทำงานด้านจิตบำบัดก็อยากเสนอแนะวิธีช่วยประคับประคองจิตใจให้ผ่านด่านสนามทดสอบเรื่องโชคลางไปได้อย่างไม่วุ่นวายใจมากนัก 1) หมั่นสังเกตว่าตัวเองกำลังคาดหวังสิ่งที่ไม่ชอบให้เป็นจริงอยู่หรือเปล่า มีทฤษฎีหนึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Self-fulfilling Prophecy ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความเชื่อหรือความคาดหวังบางอย่างที่ทำให้เรายึดมั่นในสิ่งนั้นมากๆ จนส่งผลต่อการกระทำของเรา และทำให้ความเชื่อหรือความคาดหวังของเรานั้นเป็นจริง ยกตัวอย่าง เราเข้าทำงานที่ใหม่วันแรก เห็นผู้หญิงคนหนึ่งดูหน้าบึ้งตึงเป็นพิเศษ ​เราคิดไปเองว่าเธอคนนี้จะต้องไม่ชอบเราแน่ๆ เลยไม่อยากเข้าไปชวนคุยเพราะกลัวเธอจะยิ่งรำคาญ แถมเธอเองก็ไม่ได้สนใจเรา พร้อมกับเดินผ่านหน้าไปอีก ทำให้เราเชื่อว่า เธอคนนี้ต้องไม่ชอบหน้าเราแน่ๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วเธออาจจะโมโหหิวเฉยๆ ก็ได้ พอเชื่อแบบนี้ ก็อาจทำให้เราพูดจาหรือแสดงท่าทีที่เฉยเมย ไม่เป็นมิตรออกไป จนทำให้อีกฝั่งรู้สึกได้ถึงบรรยากาศลบๆ และไม่อยากยุ่งกับเรา สุดท้ายก็อาจนำไปสู่การไม่ชอบกันจริงๆ ก็เป็นได้ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ยิ่งเราเชื่อในสิ่งไหนมากๆ นั่นไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นจริงเสมอไป แต่มันมีส่วนสูงมากที่ทำให้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น […]

แชร์ร้านซ่อมของใช้ประจำวันผ่าน ‘วนวน’

“อยากซ่อมเสื้อผ้า ซ่อมของใช้ แต่ไม่รู้ว่าแถวบ้านมีร้านไหนบ้าง” ปัญหาที่คนเมืองหลายคนต้องเจอเมื่อของใช้ในชีวิตประจำวันเสียหรือพัง แม้จะอยากสนับสนุนการใช้ซ้ำและลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น แต่การหาร้านซ่อมใกล้บ้านที่ถูกใจก็ยากเสียเหลือเกิน Urban Creature พาไปรู้จัก ‘วนวน’ แพลตฟอร์มที่อยากชวนทุกคนมาแชร์ร้านซ่อมเด็ดๆ ที่ประทับใจ ให้คะแนน รีวิวการให้บริการ และส่งต่อให้คนที่อยากใช้ของซ้ำๆ วนๆ เพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ หนึ่งในสมาชิกของ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ปัจจุบัน วนวน อยู่ในช่วงทดลองผ่านทางเว็บไซต์ wonwonbyreviv.com โดยมีร้านซ่อมเสื้อผ้าที่ผู้พัฒนาเลือกมาแนะนำกว่าร้อยร้าน โดยคาดหวังฟีดแบ็กจากคนเมืองเพื่อเปิดให้ทุกคนใช้งานได้เต็มรูปแบบเร็วๆ นี้

‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’

กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]

My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก

ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]

ตาม Mean Lee ศิลปินไทยไปดูงานอาร์ตทั่วเมืองเบอร์ลิน

“ทุกคนดูมีความสุขที่จะมีงานนี้ขึ้นมาทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่ายมากมันยิ่งรู้สึกดีที่คนในประเทศเขาให้ค่ากับสิ่งนี้” เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมา ที่เยอรมนีได้จัดงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ขึ้น ซึ่งเป็น 2 งานเทศกาลศิลปะที่ชวนให้คนได้มา Art Hopping ด้วยการจัดงานที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ทำให้ชาวเมือง ศิลปิน และนักท่องเที่ยว ตื่นเต้นและพร้อมใจกันตบเท้าเข้ามาสร้างสีสันและความคึกคักให้แก่เมืองเบอร์ลิน Mean Lee หรือ ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ นักวาดภาพประกอบที่มีสีสันฉูดฉาดและข้อความยั่วล้อสังคมซุกซ่อนอยู่ในงาน คือศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในการเดินทางไปที่เมืองเบอร์ลินครั้งนี้ และกลับมาแชร์ประสบการณ์ให้ชาว Urban Creature เกิดความหวังในการมีเมืองที่ ‘ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่าย’ กับเขาบ้าง

1 2 3 30

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.