people
ตาม Mean Lee ศิลปินไทยไปดูงานอาร์ตทั่วเมืองเบอร์ลิน
“ทุกคนดูมีความสุขที่จะมีงานนี้ขึ้นมาทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่ายมากมันยิ่งรู้สึกดีที่คนในประเทศเขาให้ค่ากับสิ่งนี้” เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมา ที่เยอรมนีได้จัดงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ขึ้น ซึ่งเป็น 2 งานเทศกาลศิลปะที่ชวนให้คนได้มา Art Hopping ด้วยการจัดงานที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ทำให้ชาวเมือง ศิลปิน และนักท่องเที่ยว ตื่นเต้นและพร้อมใจกันตบเท้าเข้ามาสร้างสีสันและความคึกคักให้แก่เมืองเบอร์ลิน Mean Lee หรือ ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ นักวาดภาพประกอบที่มีสีสันฉูดฉาดและข้อความยั่วล้อสังคมซุกซ่อนอยู่ในงาน คือศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในการเดินทางไปที่เมืองเบอร์ลินครั้งนี้ และกลับมาแชร์ประสบการณ์ให้ชาว Urban Creature เกิดความหวังในการมีเมืองที่ ‘ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่าย’ กับเขาบ้าง
อแมนด้า ออบดัม สาวภูเก็ตผู้เคยรับบทผู้ป่วยโรคคลั่งผอม และนางงามผู้รับบทนักฟัง
10 นาทีก่อนเปิดเครื่องบันทึกเสียง อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม ผู้ครองตำแหน่งนางงามเวที Miss Universe Thailand ปี 2020 วางแก้วกาแฟราคา 25 บาทของเธอลงบนโต๊ะ พร้อมบอกว่านี่คือสิ่งที่กินแทบทุกเช้าให้ตาตื่น สักพักสาวภูเก็ตลูกครึ่งไทย-แคนาดาวัย 27 ก็เริ่มจัดระเบียบผมของเธอหลังนั่งวินมอเตอร์ไซค์มาสถานที่นัดหมาย อีกทั้งยังพูดปนขำกับฉันว่า ตั้งใจแต่งหน้ามาเป็นพิเศษเพื่อวันนี้! ก่อนเม้ากันถึงสารคดี 3 เรื่องใน Netflix ที่เธออยากแนะนำให้ดู ได้แก่ Crime Scene: The Vanishing at the Cecil Hotel, Evil Genius และ I Am A Killer ซึ่งล้วนเป็นสารคดีแนวสืบสวนที่ชวนสำรวจพฤติกรรมตัวละครว่าใครโกหก ใครร้าย ใครเห็นอกเห็นใจ ทำไมตัวละครถึงทำแบบนั้น มีปมอะไรอยู่เบื้องหลังจิตใจกันแน่ “สารคดีทำมาจากเรื่องจริง และชี้ให้เห็นว่าคนน่ากลัวกว่าผีซะอีก” ฉันพยักหน้าตามคำพูดเล่นๆ แต่จริงจังของอแมนด้า บางคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครฟัง บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วย้อนกลับมาพูดเรื่องตัวเอง หรือบางคนฟังปัญหาแล้วตอบกลับมาว่า “คนอื่นเขาเจอเรื่องแย่กว่าเธออีก” […]
เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ ฝันที่เป็นได้ของ นร.แพทย์ออทิสติกไทยใน UK ซึ่งประเทศไทยให้ไม่ได้
ฟ้า-เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ เป็นออทิสติกตั้งแต่เกิด อยู่นอร์เวย์ 2 ปี อเมริกา 4 ปีครึ่ง และสหราชอาณาจักร 4 ปี หนีมาจากไทย แต่ไม่ได้เกลียดไทย แค่พาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีความสุข กำลังเรียนสิ่งที่ชอบ (ปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์) ทำสิ่งที่รัก (วิจัยมะเร็งลำไส้ มะเร็งในเด็ก และมีแพลนทำอาชีพผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์) มีงานอดิเรกที่เข้าขั้นคลั่งรัก (เดินสวนสาธารณะ ชมสวนพฤกษศาสตร์ และปลูกผักสวนครัว) มีเพื่อน (ที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ไทย) และมีแฟนสาวที่กำลังจะแต่งงานในไม่ช้า (ยินดีด้วยค่ะ!) สาวไทยในสหราชอาณาจักรคนนี้พูดกับฉันด้วยภาษาไทยบ้านเกิดปนภาษาอังกฤษบ้านปัจจุบันว่า สิ่งที่กล่าวข้างต้นคือชีวิตที่โชคดี ส่วนชีวิตที่โชค (ไม่ค่อย) ดีในฐานะบุคคลออทิสติกกลับอยู่ที่ไทย เพราะถูกบุลลี่ ด่า ทำร้ายร่างกาย มองว่าเป็นโรคจิต ไม่มีเพื่อนสักคน และไร้สิทธิ์ไร้เสียง ‘ฟ้า’ วันนี้เป็นฟ้าหลังฝนที่มองเห็นศักยภาพและเสียงของตัวเองจนไม่อยากเป็นท้องฟ้าให้ผู้อ่านอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วผ่านไป แต่หวังยืนบนก้อนเมฆกลางผืนฟ้าใหญ่เพื่อบอกทุกคนว่า ถ้าคนออทิสติกได้รับโอกาสและการสนับสนุนอย่างเท่าเทียม แสงเจิดจรัสที่ชื่อว่า ‘ศักยภาพ’ จะส่องประกายมากพอให้ทำตามความฝันได้โดยไม่ต้องหยุดแค่ ‘เพียงฝัน’ 01 ออทิสติกคือความพิการ “ที่สหราชอาณาจักรตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง” “ตอนนี้สิบโมงเช้าแล้วค่ะ สวนสาธารณะแถวบ้านเพิ่งมีหงส์มาอยู่ด้วย ตื่นเต้นมาก” “ชีวิตช่วงนี้มีความสุขไหม” […]
อนาคตประเทศที่ไม่พึ่งคุกกี้เสี่ยงทายของ ‘แคน นายิกา’ จากอดีตไอดอลสู่นักการเมือง
คุยกับแคนถึงชีวิตเส้นทางไอดอลที่เริ่มขึ้นเพราะอยากทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม และล่าสุดกับบทบาท ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ วัย 23 ปี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงประเทศ
โพควา โปรดักชั่น สื่อปกาเกอะญอที่ปรับทัศนคติคนเมืองด้วยเรื่องจริงจากปากคนชาติพันธุ์
‘โอ-ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี’ หนุ่มปกาเกอะญอวัย 28 แห่ง โพควา โปรดักชั่น สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนชีวิตคนชาติพันธุ์ ที่เขาเขียน ถ่าย อัด ทำ ‘คนเดียว’ จะบอกคุณให้รู้ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และโอต้องการอะไร
การเดินทางที่เนิบช้าแต่มั่นคงของ ‘Window Magazine’ นิตยสารอิสระที่พาไปเคาะประตูเปิดหน้าต่างบ้านศิลปิน
เราว่าการอ่านหนังสือคือการพักผ่อนอย่างหนึ่งที่ช่วยฮีลจิตใจได้เป็นอย่างดี ความสุขของการสัมผัสหนังสือ การดมกลิ่นของกระดาษ มันยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดใดๆ ครั้งนี้เราเลยถือโอกาสไปทำความรู้จักกับ Window Magazine นิตยสารที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้คนผ่าน ‘บ้าน’ สถานที่เซฟโซนที่น้อยคนนักจะยอมเปิดใจให้ใครเข้านอกออกใน ซึ่งมาพร้อมบทสนทนาอันแสนผ่อนคลาย แม้หลายคนอาจเคยรู้จัก Window Magazine กันมาบ้างกับเล่มแรกที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว แต่นับจากนี้ หน้าต่างบานนี้จะถูกเปิดออกอีกครั้ง ท่ามกลางบรรยากาศยามเย็น พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า เราเดินทางมาถึง Window Gallery and Café ก้าวแรกที่เข้าไปถึง ‘พี่เอ็กซ์-กึกก้อง ถิรธํารงเกียรติ’ พูดคุยทักทายอย่างเป็นกันเอง พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ดอย่าง ‘โกโก้เย็น’ ที่เล่นเอาประทับใจมาจนถึงตอนนี้ และรับรองว่าต้องกลับไปซ้ำให้ได้ หลังจากนั้นไม่นาน ‘พี่มิ่ง-วสุธรา นาราคาม’ ก็ตามเข้ามาทักทาย เสริมทัพด้วย ‘พี่ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ ผู้รับบทเป็นบรรณาธิการของ Window Magazine Issue 02 และเมื่อทุกคนพร้อมแล้วบทสนทนาก็เริ่มต้นขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว | Window Magazine หน้าต่างที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิต พี่เอ็กซ์ : ตัวพี่เริ่มต้นจากการชอบถ่ายภาพมากเลยยกให้ภาพถ่ายแต่ละภาพเป็นตัวแทนของหน้าต่าง ซึ่งพี่รู้สึกว่าในแต่ละภาพที่ถ่ายมันมีความเป็นธรรมชาติ มันมีเสน่ห์ที่ทำให้คนมีความรู้สึกร่วมไปกับมัน เลยเอาคอนเซปต์นี้มาใช้กับการถ่ายภาพ […]
คลาสเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นกับ ‘ซิกแนล’ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าผู้ใช้ข้างทางเป็นห้องเรียน
พี่ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่มีผลงาน Folk Art โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับโลกมากว่า 14 ปี ผลงานทุกชิ้นของเธอล้วนมีเสน่ห์เสียจนอดคิดไม่ได้ว่าเสื้อผ้าของเธอแต่ละผืนนั้นมีชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเย็บผ้าจนถึงวันนี้ เธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ปักเข็มลงไปบนผ้าผืนต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตและการมองโลกของเธอบนผืนผ้า ร้อยเรียงออกมาจนเป็นลวดลายแห่งความสุข เพียงแต่เธอไม่ได้มีความสุขแค่คนเดียว ยังคงส่งมอบความสุข ความรู้ และเสียงหัวเราะให้ผู้อื่น ผ่านการเปิดคลาสเรียนเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นข้างทาง เสมือนห้องทดลองให้เหล่าคนที่ลุ่มหลงในงานผ้าได้มาทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์ในร้านที่มีชื่อว่า ‘แนลแอนทีค’ ชีวิตวัยเด็กแก่นเซี้ยว สู่ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่ชื่อว่า ‘ซิกแนล’ “พี่โตมากับการวิ่งเล่น ตัดต้นข้าวมาทำปี่เป่า เราทำของเล่นเองตั้งแต่เด็ก เพราะว่าไม่มีของเล่น ต้องคิดเองทำเอง เวลาอยากได้อะไรเราก็ทำเพราะว่าไม่มีเงิน ” ย้อนกลับไปวัยเด็ก ความซุกซนของพี่แนลเรียกได้ว่าเต็มสิบ จนถูกจับขังในกล่องลังอยู่เป็นประจำ เธอเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนามยุคที่มีทหารอเมริกันเข้ามาพักอาศัยจำนวนมาก เธอจำได้ว่าในจังหวัดมีจำนวนคนไทยกับฝรั่งพอกัน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งภาษา สกุลเงิน นิตยสาร หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว ยังเป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามาทำงานในแคมป์ทหาร ทำให้พี่แนลในวัยประถมฯ ได้เห็นคนที่มีความสามารถด้านการวาดรูปและการสื่อสารภาษาอังกฤษ จนเกิดความชื่นชมและกลายเป็นความฝันว่า สักวันหนึ่งต้องเก่งให้ได้เหมือนพวกพี่ๆ เขา และแม้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เป็นคนเก่ง แต่เธอรู้เพียงว่า ถ้าทำอะไรได้เองมันคงน่าภูมิใจไม่น้อย จึงขวนขวายตั้งใจเรียนมาตั้งแต่เล็ก […]
“ผมตื่นเต้นเมื่อเจอบ้านร้าง” เตอร์ ศิริวัฒน์ นักชุบชีวิตบ้านเก่าที่คนทั้ง Pantip รู้จัก
ชวนรู้จัก เตอร์-ศิริวัฒน์ นักลงทุนผู้ตกหลุมรักการรีโนเวตบ้านร้าง จนคนรักบ้านต้อง Follow ไว้
นักเรียนจากรร.ที่สอนให้เข้าใจชีวิตมากกว่าท่องจำ และพาฝึกงานตั้งแต่ ม.4
‘ณิชา วงศ์วอนแสง’ หรือ น้องนิ นักเรียนชั้น ม.5 จากโรงเรียนไตรพัฒน์ โรงเรียนทางเลือก 2 ภาษาที่ใช้หลักสูตรวอลดอร์ฟจากประเทศเยอรมนี ซึ่งออกแบบให้ตรงกับความต้องการของเด็กตามแต่ละช่วงวัย น้องมาขอฝึกงานกับเราเป็นเวลา 3 อาทิตย์ ซึ่งถึงแม้เวลาจะน้อย แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีคิดของเด็กที่โรงเรียนสอนให้เข้าใจตัวเองมากกว่านั่งท่องจำตำราได้อย่างถึงแก่น และต่อจากนี้คือไดอารีที่บันทึกสิ่งที่เราได้พูดคุยกับน้องนิ เด็กวัย 17 ปีที่ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจทุกครั้งเมื่อได้ฟังคำตอบ
วันที่เข้าใจตัวเอง และชีวิตเป็นสุขที่หาได้ฟรีของ ‘ฟ้า ษริกา’
‘ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา’ คือยูทูบเบอร์ที่มียอดติดตามกว่าเจ็ดแสนคน แต่การเป็นที่รู้จักของเธอไม่ได้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น เพราะฟ้าโลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงตั้งแต่วัยมัธยมในฐานะเน็ต ไอดอล ก่อนขยับสู่การเป็นนักร้อง นักแสดง ยูทูบเบอร์ ไปจนถึงสตรีมเมอร์
ช่วงชีวิต 10 ปีของ ‘ลุลา’ ที่บรรเลงด้วยเสียงเพลงและงานคราฟต์
คุยกับ ‘ลุลา’ ถึงช่วงชีวิต 10 ปี ที่ดนตรี และงานคราฟต์ ทำให้เธอยังคงเป็น ลุลา และยังคงรักษาความเป็นศิลปินให้ไหลวนอยู่ในตัวตน
“Kim Jinyoung” เจ้าของไลฟ์สไตล์ช็อป “Something About Us” สาวเกาหลีที่หลงรักย่านถนนพระอาทิตย์
‘คุณคิม จินยอง’ เริ่มต้นการเดินทางในเมืองไทยในฐานะนักท่องเที่ยวที่อยากค้นหาตัวตนเหมือนใครหลายคน แต่อาจเพราะความใจดี รอยยิ้ม และการใช้ชีวิตสบายๆ ที่ได้สัมผัส ทำให้เธอตัดสินใจเปลี่ยนตัวเองจากสาวชาวเกาหลี เป็นสาวชาวไทยที่ใช้ชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน ‘ย่านถนนพระอาทิตย์’