เยี่ยมย่าน…ซอยนานา จากถิ่นจิ๊กโก๋ ตรอกขายยาจีน ผลัดใบสู่ย่านที่ไม่เคยหลับใหล

พาเยือนซอยนานาแห่งเยาวราช ในวันที่ต้องหยุดชะงักความคึกเพราะโควิด-19

‘ทรงวาด’ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดแห่งพระนคร

จุดเริ่มต้นของย่าน ‘ทรงวาด’ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้หลายครั้งเพราะความแออัดของชุมชน และตัวอาคารที่เป็นไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงวาดแนวถนนบนแผนที่ขึ้นมาใหม่ เป็นเส้นตรงจากท่าน้ำราชวงศ์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดปทุมคงคาฯ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ย่านสำเพ็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลูกสร้างอาคารอย่างเดิม ตึกรามบ้านช่องก็จะแน่นหาทางเดินไม่ได้ และรับสั่งให้เปิดเป็นถนน รถราจะได้มีโอกาสแล่น ไม่ต้องแออัด เมื่อสำเร็จความเจริญก็เข้ามาถึง ถนนสายนี้จึงมีนามว่า ‘ทรงวาด’ เวลา 09.00 น. แสงแดดสาดส่องยังตึกเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล ที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูหน้าต่างแบบกอทิก ประดับประดาด้วยไม้ฉลุสีเขียวอย่างวิจิตร ตึกแห่งนี้เคยเป็นห้างขายผ้าที่นำเข้าจากอินเดีย จนมีชื่อเล่นว่า ‘ตึกแขก’ มนตร์เสน่ห์ของตึกแขกดึงดูดทุกสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณหัวมุมถนนทรงวาดตัดกับถนนราชวงศ์ รวมถึงเชื้อเชิญให้เราเข้าไปเยือนถนนทรงวาด เพื่อตามหาร่องรอยอารยธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังถนนย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดของพระนคร ร่องรอยความรุ่งเรืองของย่านทรงวาด เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปยังทรงวาด เพียงไม่กี่ก้าวเราก็พบร้านค้าพืชพันธุ์ทางการเกษตรตลอดสองข้างทาง ได้เห็นตึกแถวที่เป็นโกดังสินค้า รถเข็นของ คนยกกระสอบ รถบรรทุก และนกพิราบที่คอยกินพืชผลที่หล่นจากกระสอบ ซึ่งภาพทั้งหมดฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงหลงเหลือ มีหนึ่งเรื่องเล่าตลกๆ ที่คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้เราฟัง สมัยก่อนถ้าคุณต้องการพืชพันธุ์แค่หยิบมือ ให้เดินไปหยิบจากกระสอบได้เลย ไม่ต้องซื้อ เรื่องเล่านี้ตีความได้หลายแง่ อาจจะหมายถึงร้านค้าแถวนี้เน้นการขายส่งเป็นหลัก หรือในอีกความหมายหนึ่ง อาจจะหมายถึงความร่ำรวยของพ่อค้าแม่ค้าบนถนนสายนี้ก็ว่าได้ หากเราบอกว่าเมื่อเกือบร้อยปีก่อนท่าน้ำที่ปัจจุบันไร้เงาเรือ เต็มไปด้วยเรือน้อยใหญ่จอดเทียบเต็มน่านน้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เพราะปัจจุบันท่าเรือเหล่านี้คงเหลือไว้เพียงเค้าลางที่ยังพอเล่าอดีตให้เราฟังได้ว่า ‘ทรงวาด’ เคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญทางเรือ สังเกตได้จากเสาท่าเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดแนวแม่น้ำ […]

บางโพ แหล่งขายไม้ใหญ่สุดในกรุงเทพฯ ที่มีกว่า 200 ร้านค้า จนได้ชื่อว่า “ถนนสายไม้”

‘บางโพ’ ไม่ได้อยู่แค่ในสาวบางโพ แต่คือย่านที่คนในวงการงานช่างต่างรู้จักกันดีในนาม ‘ถนนสายไม้’

หลายชีวิต หลากความคิดที่ ‘อิสรภาพ’ ถนนสายเก่าย่านฝั่งธนฯ

‘อิสรภาพ’ ที่แท้จริงคืออะไร ใครเป็นผู้กำหนด นี่เป็นคำถามที่มนุษย์หลายคนพยายามหาคำตอบ เกือบทั้งชีวิตในการหาคำจำกัดความให้คำนี้อยู่เสมอ และหลายครั้งคนเราก็นำไปนิยามสิ่งต่างๆ ในหลายบริบท ไม่ว่าจะวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งชื่อของ ‘ถนน’

เมื่อความเงียบเหงา ทำให้เรารู้จัก ‘ข้าวสาร’ Nightlife Scene ในวันที่เปลี่ยนแปลงไป

ชวนรู้จักถนนข้าวสารให้มากขึ้น กับงาน Khao San Hide and Seek: เข้าซอย ข้าวสาร โดยทีมศิลปากร

เยือนถิ่น ‘จันทบุรี’ เมืองผลไม้แดนตะวันออก วานให้เด็กเมืองจันท์เป็นผู้นำทาง

ขับรถตระเวน และเดินเตาะแตะที่ ‘จันทบุรี’ โดยมีเจ้าถิ่นเด็กเมืองจันท์เป็นไกด์เฉพาะกิจ

บันทึกย้อนวัยสมัยขาสั้น ณ ย่านพญาไท ดินแดนหอพักและกวดวิชาที่หลายคนเคยพักพิง

ชวนย้อนความทรงจำวัยมัธยมฯ กับย่านที่มีหอพักและกวดวิชามากที่สุด

‘บางขุนนนท์’ สืบเรื่องก๋วยเตี๋ยวที่ย่านกินเส้น

มาตามรอยกินเมนูเส้นจากร้านอร่อยระดับตำนาน พร้อมเล่าถึงความเป็นบางขุนนนท์ผ่านมุมมองของชาวบางขุนนนท์แท้ๆ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.