เมืองเชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี ธรรมชาติสวยงาม กิจกรรมรองรับทุกฤดู

ใครว่าภาคเหนือต้องไปเที่ยวแต่หน้าหนาว ในที่สุดก็เข้าสู่ช่วงปลายปี ที่แม้จะสัมผัสความหนาวในเมืองได้เพียงเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอที่จะรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วกับการเก็บกระเป๋า เตรียมตัวไปเที่ยวรับอากาศหนาวที่จุดหมายปลายทางยอดฮิตอย่างภาคเหนือ แล้วถ้าไม่ไปภาคเหนือในหน้าหนาว เราจะไปเที่ยวตอนไหนได้บ้าง แม้ว่าบางจังหวัดและบางสถานที่อาจไม่พร้อมรับนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา เนื่องจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก เช่น ความพร้อมของธรรมชาติในพื้นที่ อากาศและฤดูกาล ฯลฯ แต่ใครจะรู้ว่าจังหวัดเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งปี ไม่จำกัดช่วงเวลาหรือฤดูกาล เพราะในแต่ละช่วงก็มีความสวยงามแตกต่างกันไป ต่อให้ไม่ใช่ช่วงหน้าหนาว แต่รับรองว่าบรรยากาศที่เจียงฮายสวยงามติดใจผู้ไปเยี่ยมเยียนแน่นอน การันตีจากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ดินแดนเหนือสุดในสยามนี้ติดหนึ่งใน TOP 5 จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดเลยทีเดียว เชียงรายมาแรง จังหวัดที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จังหวัดเชียงรายถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ติดอันดับความนิยมสูงสุด หลังจากที่เทรนด์การท่องเที่ยวหลังยุคโควิดเปลี่ยนไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวหันมาสนใจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม  ทำให้เชียงรายเป็นที่นิยมมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดเชียงรายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 สูงเกือบ 3 ล้านคน การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี  “ในช่วงหลังโควิดฤดูหนาวปีที่แล้ว เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดเชียงรายเยอะมาก ไฟลต์บินสูงถึง 64 เที่ยวบินต่อวันทีเดียว นั่นคือช่วงของการเริ่มต้นเปิดจังหวัดเชียงราย” ‘ภาสกร บุญญลักษม์’ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พูดถึงความสำเร็จของการท่องเที่ยวในจังหวัด “หกสิบเปอร์เซ็นต์รายได้ของจังหวัดเชียงรายมาจากเรื่องการท่องเที่ยว และเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการท่องเที่ยวเป็นรายได้จากคนไทย เราเห็นได้ชัดเลยว่าการท่องเที่ยวของเราได้รับการตอบรับจากประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ถือเป็นมิติที่นำในเรื่องของการนำรายได้เข้าจังหวัดอยู่แล้ว เราจึงตั้งใจส่งเสริมให้รายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้คึกคักขึ้น” […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

เซ็นทรัล พระราม 2 โฉมใหม่ ศูนย์การค้าที่คนเมืองช้อปสนุก อุ่นใจทั้งครอบครัว

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ความต้องการของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลง ศูนย์การค้าหลายแห่งที่เปิดมานานจึงต้องปรับตัวด้วยการรีโนเวตใหม่ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น เซ็นทรัล พระราม 2 คือหนึ่งในนั้น หลังจากเปิดมาตั้งแต่ปี 2545 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 2 อยู่กับคนในย่านมา 20 ปี บนทำเลที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหนึ่งในทำเลที่มีศักยภาพที่สุดของกรุงเทพฯ เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่คาบเกี่ยว 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เพราะอยากตอบสนองความต้องการของผู้คนให้ครอบคลุมทุกมิติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เซ็นทรัล พระราม 2 จึงขอพลิกโฉมครั้งใหญ่โดยหวังว่าจะเป็น Regional Mall อันดับ 1 ย่านกรุงเทพฯ ตอนใต้ ความน่าสนใจคือศูนย์การค้าไม่ได้ทุ่มงบหลักพันล้านเพื่อรีโนเวตให้ดูใหม่ขึ้นเท่านั้น แต่ยังมากับคอนเซปต์ #TheNewUrbanist ที่มุ่งหวังจะสร้างแลนด์สเคปดีๆ ให้ชาวพระราม 2 เข้าถึงการช้อปปิงแบบไร้ขีดจำกัด รวมถึงเป็นที่ผ่อนคลายสำหรับทุกคนในครอบครัวแบบไม่ต้องขับรถเข้าเมืองอีกต่อไป ฤกษ์งามยามดีที่เซ็นทรัล พระราม 2 โฉมใหม่เปิดตัววันแรก เราขออาสาพาทุกคนไปสำรวจศูนย์การค้าที่จะทำให้ย่านนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป TOPS CLUB อาณาจักรสินค้านำเข้าจากทั่วโลก ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ  โซนแรกที่เราพุ่งตรงไปสำรวจคือ TOPS CLUB […]

‘จ่าวอัน’ เปลี่ยนโกดังเก่าร้อยปีย่านเยาวราชเป็นคาเฟ่และบาร์ลับกลิ่นอายจีน

หากนิยามของร้านลับคือ ‘ร้านที่ไม่รู้ว่าไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไง’ และ ‘ตัดออกจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง’ JAO.UN (จ่าวอัน) คาเฟ่และบาร์ลับในซอยเจริญชัย 2 ติ๊กถูกทุกข้อได้แบบง่ายๆ ต่างจากความพลุกพล่านบนถนนเยาวราชที่อยู่ไม่ไกลแบบลิบลับ จ่าวอันแทรกตัวอยู่ในชุมชนเจริญชัยที่เงียบสงบ ความน่าสนใจคือนอกจากเปิดเป็นคาเฟ่เสิร์ฟกาแฟและขนมในตอนกลางวัน และเปลี่ยนโหมดเป็นบาร์เสิร์ฟค็อกเทลและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตอนกลางคืนแล้ว นี่ยังเป็นคาเฟ่ฝีมือลูกหลานชาวจีนอย่าง ‘ศิฑ-ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์’ เจ้าของร้านอาหาร Zong Ter ที่จับมือกับเพื่อนสนิทอย่าง ‘กิ๊ฟท์-กนกกาญจน์ กมลเดช’ และ ‘โอ๊ธ-รวิภาส มณีเนตร’ มาช่วยกันทำ เพราะก่อตั้งโดยลูกหลานคนจีน บรรยากาศของร้านไปจนถึงเมนูเครื่องดื่มและอาหารจึงมีกลิ่นอายความเป็นจีนจางๆ สอดแทรกอยู่ในรายละเอียด และหลังจากที่ได้ลองนั่งสนทนากับเจ้าของร้าน เรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบและคิดเมนูก็เอร็ดอร่อยไม่แพ้กัน 家庭 ครอบครัว ถ้าจะบอกว่า JAO.UN คือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากธุรกิจอีกทีก็ไม่ผิด  การเปิดร้าน ZONG TER ธุรกิจที่ศิฑเปลี่ยนร้านยี่ปั๊วประจำครอบครัวให้กลายเป็นร้านอาหาร/คาเฟ่ ส่งผลให้เกิดคาเฟ่/บาร์แห่งนี้ที่เขาชวนเพื่อนๆ ชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อย่างโอ๊ธและกิ๊ฟท์มาช่วยกันทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อครั้งยังทำร้านยี่ปั๊วที่เน้นการขายส่ง อากงของศิฑเซ้งบ้านเก่าอายุกว่า 100 ปีในชุมชนเจริญชัยไว้เป็นโกดังเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อร้านยี่ปั๊วถูกยกเครื่องให้กลายเป็นซงเต๋อ โกดังจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ครอบครัวของศิฑเลยปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อ ทว่าเมื่อปลุกปั้นซงเต๋อจนถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง ศิฑเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย  “เราไปร้านทุกวัน […]

เที่ยวสเปซใหม่ True Digital Park รองรับทุกไลฟ์สไตล์ของนักศึกษา สตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการเทค

หลายคนรู้จัก ทรู ดิจิทัล พาร์ค ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในฐานะสเปซขนาดใหญ่อันเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมความไฮเทคบนถนนสุขุมวิท 101 จากการเป็นที่ตั้งของออฟฟิศสตาร์ทอัพเจ๋งๆ และเทคแบรนด์เจ้าใหญ่ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไหนจะ Co-working Space ที่เปิดให้ทุกคนได้เข้ามาทำงานและหาแรงบันดาลใจในบรรยากาศสบายๆ อันเป็นมิตรต่อความคิดสร้างสรรค์ แต่ความอลังการของ True Digital Park ยังไม่ใช่เพียงแค่นั้น ล่าสุด True Digital Park เพิ่งเปิดโซนใหม่ นั่นคือ ‘พื้นที่จัดงาน’ หรือ Event Space ฝั่งเวสต์ (West) ที่พร้อมจะรองรับไลฟ์สไตล์ของชาวดิจิทัลให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่ง True Digital Park West มีทั้งพื้นที่ออฟฟิศ พื้นที่แสดงนวัตกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ไปจนถึงพื้นที่จัดงานอีเวนต์ที่แกรนด์ไม่แพ้ที่ไหนๆ ออกแบบด้วยแนวคิด Tomorrow Life Campus ตอบโจทย์ Live Learn Work Play ได้อย่างลงตัว ทั้งยังเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเติบโตของชุมชนสตาร์ทอัพในไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นไปเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมดิจิทัลระดับโลกนั่นเอง […]

Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่และร้านหนังสืออิสระ ที่อยากชวนมามีวันดีๆ ท่ามกลางกลิ่นขนมและวิวทุ่งนา

ทุ่งนาสีเขียวกว้างไกลสุดสายตา กลิ่นดินหลังฝนตกโชยมากับสายลมแผ่ว ใต้เงาไม้ของต้นลำไยที่ปลูกอยู่รายล้อม บ้านไม้ชั้นเดียวตั้งตระหง่านอยู่ปลายคันนา มองภายนอกดูคล้ายที่อยู่อาศัยทั่วไป แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นโต๊ะ เก้าอี้ไม้ บาร์ขนม และห้องที่มีหนังสือนับร้อยซ่อนอยู่ภายใน ที่นี่คือ Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่ขนมอบและร้านหนังสืออิสระที่ตั้งอยู่ในชุมชนสันผักหวาน ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่แค่ 15 นาที ที่นอกจากจะมีกลิ่นขนมอบกับหนังสือดีๆ คอยต้อนรับลูกค้าทุกวัน วิวทุ่งนาที่ทอดยาวรอบด้านก็เหมาะแก่การมาใช้เวลาทอดสายตาเพลินๆ ในวันหยุดไม่เบา นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ ‘อัง-ชฏิลรัตน์ ดอนปัน’ อดีตกราฟิกดีไซเนอร์ชาวเชียงใหม่ และ ‘แขก-ปิยศักดิ์ ประไพพร’ หนุ่มลำพูนอดีตพนักงานร้านหนังสืออิสระ ตัดสินใจปล่อยมือจากงานที่ทำมาหลายปีแล้วมาก่อร่างสร้างฝันที่ปลายคันนาแห่งนี้แทน คาเฟ่ของแม่ญิงเจียงใหม่ x ร้านหนังสือของบ่าวหละปูน เรื่องราวก่อนจะมาเปิดร้านด้วยกันนั้นสุดแสนจะเรียบง่าย : แขกกับอังเป็นแฟนกัน คบกันมาหลายปี เมื่อตั้งใจว่าจะสร้างชีวิตร่วมกันแล้วทั้งคู่จึงมองหาพื้นที่ปลูกบ้านเพื่อลงหลักปักฐาน แขกที่ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นพนักงานประจำร้านเล่า ร้านหนังสืออิสระย่านนิมมานฯ ก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักพื้นที่ตรงนี้โดยคนรู้จัก เขาจำได้ว่าบรรยากาศในวันที่มาดูไม่ต่างจากวันนี้มากนัก พื้นที่โล่งกว้าง รายล้อมไปด้วยสีเขียวของทุ่งนาและต้นลำไยของชาวบ้านสันผักหวาน-เรียบง่ายแค่นั้น แต่ความเรียบง่ายแค่นั้นก็ทำให้ทั้งสองพอเห็นภาพชีวิตคู่ พวกเขายังมองว่าที่ตรงนี้ทำเลดี ไม่ไกลจากอำเภอเมืองเกินไป “ในแง่การอยู่อาศัยเราต้องการสถานที่ที่เงียบสงบหน่อย ซึ่งหาที่แบบนี้จากในเมืองได้ยาก” แขกเล่าเหตุผล ก่อนอังจะเสริมต่อ […]

The Alphabet Book Café ดื่มกาแฟ จิบค็อกเทล อ่านวรรณกรรม ที่สอดแทรกไปด้วยอุดมการณ์คนทำหนังสือ

“มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่” ประโยคจากหนังสือ ‘The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า)’ โดย Kate Chopin (เคต โชแปง) ที่ ‘เอก-เอกสิทธิ์ เทียมธรรม’ ผู้จัดการร้าน ‘The Alphabet Book Café’ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘สมมติ’ เลือกให้เป็นคำนิยามที่อธิบายภาพบรรยากาศของคาเฟ่หนังสือแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรา คาเฟ่หลังสีดำแซมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลังนี้ คือสถานที่หลบภัยชั้นดีของผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เสียงเพลง และหนังสือสักเล่ม ก่อนกลับไปลุยงานต่อในวันถัดไป แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเสียหน่อย แต่รับประกันว่ามาแล้วไม่รู้สึกเสียเที่ยวอย่างแน่นอน จาก ‘สมมติ Book Café’ สู่ ‘The Alphabet Book Café’ ถึงแม้ว่าร้าน The Alphabet Book Café จะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่องการทำ Book Café ภายใต้สำนักพิมพ์สมมตินั้นถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว “จุดที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่องานหนังสือปี 2558 เราพยายามดีไซน์ตัวบูทขายหนังสือ ให้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว” เอกเล่าถึงช่วงเริ่มต้นที่ไอเดียเรื่องนี้เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง […]

ท่องกรุงเทพฯ ส่องสถาปัตยกรรม พา New Honda Civic e:HEV RS ไปสร้างไลฟ์สไตล์ในเมือง

ถ้าเป็นคนเราอาจสังเกตรูปร่างหน้าตาภายนอกและพูดคุยเพื่อรับรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่สำหรับ ‘เมือง’ การได้ออกไปเห็นอาคาร บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของย่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน  ซึ่งทุกเมืองทั่วโลกล้วนมีเสน่ห์ในตัว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์มากมายและยังมีอะไรให้น่าค้นหาอยู่ ไปย่านหนึ่งเราอาจได้บรรยากาศแบบหนึ่ง และเพียงเดินทางไม่นานไปอีกย่านหนึ่ง อาคาร บ้านเรือน และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เราได้ซึมซับบรรยากาศแปลกใหม่แล้ว จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาเที่ยวในกรุงเทพฯ จะชื่นชอบ จนเอ่ยปากชมกันนักต่อนัก ไหนๆ วันนี้มีเวลาได้ชิล เราขอพาเพื่อนสาวชาว Urban Creature จัดทริปออกไปสำรวจเมืองให้กว้างขึ้น ส่องสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ แวะตามคาเฟ่สุดชิก พร้อมทำคอนเทนต์กับ New Honda Civic e:HEV RS ที่เป็นเจเนอเรชัน 11 ของรุ่น Civic ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และครั้งนี้ก้าวสู่มิติใหม่ด้วยระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด ประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม แต่ยังให้อัตราเร่งที่เร็วแรงเหมือนกับดีไซน์ตัวรถที่ดูสปอร์ตพรีเมียม หรูหราในทุกมุมมอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว เมื่อเป็นรถที่เข้ากับคนเมืองอย่างเราขนาดนี้แล้ว…งั้นขอสตาร์ทขับไปทั่วเมือง และแวะถ่ายรูปรถคู่กับเมืองย่านต่างๆ มาฝากชาว Urban Creature จะได้เห็นชัดกันเลยว่า New Honda Civic e:HEV RS ดีงามขนาดไหน ความโฮมมี่ ในย่านใจกลางเมือง เริ่มต้นเช้าแบบนี้ ต้องขอแวะดื่มกาแฟกันก่อนที่ […]

Greenovative Destination พาส่อง สถานีบริการน้ำมัน สไตล์ ‘Bangchak Unique Design’ ที่เป็นมากกว่าแค่สถานีบริการน้ำมัน

เดี๋ยวนี้จะเข้าสถานีบริการน้ำมันหนึ่งครั้ง ดูแค่เรื่องน้ำมันคงไม่พอแล้ว ไหนจะต้องมีห้องน้ำที่สะอาด มีร้านอาหารมากมายให้เลือกสรร เอาแบบที่จอดรถเติมน้ำมันหนึ่งครั้ง ต้องได้ความสุขกายสบายใจกลับไปแบบเต็มกระเป๋า และทั้งหมดที่กล่าวมายังต้องอยู่รวมกันอย่างลงตัวและสวยงามด้วยนะ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ตอบโจทย์ได้ด้วย ‘สถานีบริการน้ำมันบางจาก’ ที่ออกแบบสถานีด้วยรูปแบบยูนีคดีไซน์ (Unique Design) เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ด้วยแนวคิดการเป็นจุดหมายของการใช้ชีวิตของคนทุกช่วงวัยอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน (Your Greenovative Destination for Intergeneration) ทำให้บางจากฯ ไม่เหมือนสถานีบริการน้ำมันแบบเดิมๆ แต่เสมือนได้เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มากกว่าแค่ความสวย ความพรีเมียม ความประณีต แต่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ดีต่อโลก ดีต่อใจ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนเข้ามาสร้างความสุขได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันบางจากฯ มีสถานีบริการน้ำมันที่ใช้การออกแบบแบบยูนีคครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งหมด 54 สาขา และมีแผนขยายเครือข่ายในรูปแบบนี้เพิ่มเป็นมากกว่า 80 สาขา ภายในปี 2565  วันนี้ Urban Creature จึงได้เก็บภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของสถานีบริการน้ำมัน Bangchak Unique Design ได้แก่ สาขาศรีนครินทร์ กม.14, สาขาสุขุมวิท 62 และสาขาอินฟินิท เกษตรนวมินทร์ […]

Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์

หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน  จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก  ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี  “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]

‘ซาว เอกมัย’ ร้านอาหารอีสานที่มีกฎเหล็กว่า ‘อย่าใช้สมอง แต่ให้ใช้ลิ้นกิน’

“อะไรคือสิ่งที่ทำให้อีฟหันมาเสนอความแซ่บของสำรับอีสาน” “เราต้องการให้คนเปลี่ยน Perception ที่มีต่ออาหารอีสาน ว่ามันไม่ใช่แค่ของราคาถูก” คำตอบของ อีฟ-ณัฐธิดา พละศักดิ์ เมื่อเราถามถึงเป้าหมายของร้าน ‘ซาว เอกมัย’ ที่เธอลงมือฟูมฟักตั้งแต่สาขาแรกในจังหวัดอุบลราชธานี จนขยับขยายสู่สาขาสองที่เพิ่งแลนดิ้งในย่านเอกมัยมาได้ไม่นาน พร้อมหยิบวัตถุดิบพื้นบ้าน กรรมวิธีการปรุง และสำรับอาหารในแบบที่คนอีสานกินแบบไหน ซาวก็เสิร์ฟแบบนั้นให้ได้ลิ้มลอง อันที่จริงคุณอาจจะรู้จักอีฟจากบทบาทหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundisan กลุ่มคนทำงานด้านดีไซน์ที่เล่าเรื่องอีสานผ่านงานออกแบบและงานคราฟต์ร่วมสมัย ซึ่งฉีกกรอบภาพจำของสินค้าโอท็อปแบบเดิมๆ ด้วยการ Redesign โปรดักต์เพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น แน่นอนว่าวิชวลที่ออกมานั้นเต็มไปด้วยสีสัน ความสนุก และทันสมัยมากกว่าที่เคย หลังจากลงมือทำ Foundisan มานาน 3 – 4 ปี อีฟก็เจอโจทย์หินว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าโอท็อปขายได้ แม้จะเอามายกเครื่องใหม่ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ประกอบกับการลงพื้นที่ในทุกๆ ครั้ง อีฟจะได้ชิมอาหารฝีมือแม่ๆ ซึ่งมีคัลเจอร์ที่น่าสนใจ เพราะอีสานแต่ละจังหวัดก็มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบบางอย่างแตกต่างกัน จึงกลายเป็นจุดประกายเล็กๆ ที่อยากเล่าวัฒนธรรมอีสานให้ง่ายกว่างานคราฟต์ ซึ่ง ‘อาหาร’ คือคำตอบ ร้านที่อยากเปลี่ยนมุมมองของคนต่ออาหารอีสาน ‘ซาว อุบลฯ’ คือซาวสาขาแรกที่อีฟได้เริ่มทำในช่วงที่ธุรกิจรถเกี่ยวข้าวของเธอกำลังจะไม่ได้ไปต่อ จึงชวนพนักงานของบริษัทลงพื้นที่ตระเวนกิน เฟ้นหาวัตถุดิบ รวมไปถึงสูตรอาหารต่างๆ โดยมีระยะเวลาเตรียมการเพียง […]

ดุกมั้ง : ร้านอาหารโฮมเมดที่รับลูกค้าวันละ 2 โต๊ะ และขายเฉพาะ ‘ปลาดุก’ เท่านั้น

คุณเคยไปทานอาหารร้านไหนที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวแต่ครีเอตได้หลากหลายเมนูไหม? ถ้ายังไม่เคยเจอร้านไหนใจกล้าขายแบบนี้ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘ดุกมั้ง (Duke Munk)’ ร้านอาหารโฮมเมดในบ้านที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวคือ ‘ปลาดุก’ แถมยังมีเมนูไม่เยอะ และรับลูกค้ากลุ่มเล็กๆ แค่วันละ 2 โต๊ะ เท่านั้น  ดุกมั้ง คือร้านอาหารในบ้านของ ดอกฝิ่น-ธเนศ ทรัพย์ศาสตร์ และ เนย-ณัชชา วารีรัตนโรจน์ ในซอยชัยพฤกษ์ (ซอยสุขุมวิท 65) ที่เริ่มจากความชอบทำอาหาร เปิดขายเมนูปลาดุกเฉพาะเดลิเวอรีและเปิดบ้านให้เพื่อนมากินข้าวสังสรรค์ จนปัจจุบันเปิดบ้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ช่วยกันทำแค่ 2 คน เหมือนมากินข้าวบ้านเพื่อน และต้องจองกันเป็นเดือนถึงจะได้กิน  ที่เปิดรับลูกค้าน้อยขนาดนี้ไม่ได้ต้องการจะเป็นร้านลับ หรือทำให้กินยากแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทั้งคู่ไม่ใช่เชฟ เป็นแค่คนที่ชอบทำอาหารและอยากเปิดบ้านให้คนได้เข้ามากินอาหารฝีมือของตัวเองเท่านั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบและทำอาหารให้ได้คุณภาพเท่าที่ตัวเองจัดการไหว  นอกจากเมนูปลาดุกทุกจานในร้านนี้จะมีลูกเล่นน่าสนใจแล้ว เรื่องราวของปลาดุกก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะกว่าจะทำอาหารจานปลาดุกได้หลากหลายแบบนี้ ดอกฝิ่นใช้เวลาศึกษาและทดลองอยู่นานพอสมควรกว่าจะค้นพบวิธีปรุงปลาดุกทุกจานให้ลงตัว ชื่อร้านดุกมั้ง (Duke Munk) ได้ไอเดียมาจากตอนที่ไปบวช ในวัดมีปลาดุกและเขาก็ชอบกินปลาดุกอยู่แล้ว จึงใช้คำว่า มั้ง (Monk) ที่แปลว่า พระ และอีกนัยหนึ่งคืออยากให้คนที่มากินตั้งคำถาม เกิดความสงสัยว่านี่ใช่ปลาดุกจริงๆ ไหม ปลาดุกมั้ง? […]

1 2 3 4 5 6 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.