Experimentrip
การเดินทางแนวทดลองที่แบก Mission ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นหลัง
แพ็กกระเป๋าเข้าป่า สู่ปฐมบทแดนอีสานโรงเรียนนักเดินป่าของนักเรียนเดินป่ารุ่นที่ 1 อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
ชีวิตในเมืองที่ทำให้เราเผชิญอยู่กับจังหวะที่เร่งรีบของชีวิตประจำวัน ความวุ่นวาย ตึกสูง และการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่น้อยลง อาจทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติดูห่างไกลออกไป พร้อมๆ กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและผู้คนรอบตัว หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเราเอง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกหลีกหนีจากความวุ่นวายและชีวิตที่รีบเร่งนี้ ออกเดินทางหาความสงบสุขและรื่นรมย์จากธรรมชาติ ให้ตัวเองได้ผ่อนลมหายใจ และได้รับการปลอบประโลมจากทิวเขา ต้นไม้ หรือท้องทะเล ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทย และประเทศไทยเองก็มีอัตราการท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อุทยานแห่งชาติต่างๆ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี แต่ด้วยจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ย่อมส่งผลให้ธรรมชาติถูกรบกวนมากขึ้น ขยะที่เพิ่มปริมาณขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์และความสวยงามของธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว ปฐมบทการเดินทาง จากปัญหาและความกังวลเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นโรงเรียนนักเดินป่าขึ้นมา โดยการนำของ ‘ใหญ่-ธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย’ ที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง และ ‘พี่งบ-ธัชรวี หาริกุล’ ผู้ก่อตั้ง Thailand Outdoor ที่นอกจากมาร่วมบุกเบิกเส้นทางการเดินป่าแห่งนี้แล้ว ยังช่วยออกข้อสอบให้เหล่านักเรียนได้ผ่านด่านทดสอบด่านแรกก่อนการสมัครจริงอีกด้วย ร่วมด้วยเหล่าพี่ๆ น้องๆ ที่เชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า ‘การเดินป่าที่ถูกต้องสร้างได้’ และส่วนสำคัญที่สุดคือแรงกายแรงใจสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า เจ้าหน้าที่อุทยาน และศิษย์เก่า ที่พร้อมใจมาเป็นครูผู้ช่วยถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์จริง และทำให้พื้นที่แห่งนี้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และส่งต่อทัศนคติที่ดีในการเคารพธรรมชาติให้เกิดขึ้นระหว่างนักเดินป่ามือใหม่และนักเดินป่ามากประสบการณ์ ผ่านแนวคิด ‘เราจะเดินป่าโดยสร้างผลกระทบให้ธรรมชาติให้น้อยที่สุดได้อย่างไร’ ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักเรียนจำนวน 20 คนของโรงเรียนนักเดินป่า อุทยานแห่งชาติน้ำพอง […]
สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จัก ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’
นัดเพื่อนเก่ากินข้าวว่ายากแล้ว นัดไปเดินสำรวจเมืองด้วยกันคงเป็นเรื่องยากกว่า งั้นจะง่ายกว่าไหม ถ้าเราลองไปเดินดูเมืองกับเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยพบหน้าค่าตามาก่อน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วม ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’ ที่มีคอนเซปต์เก๋ไก๋ด้วยการพาไปพบเจอเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน กิจกรรมนี้เกิดจากการจับมือกันระหว่าง ‘ไอแอลไอยู’ และ ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เพิ่งจบไป เกิดเป็นทริปในรูปแบบ ‘Self-guided Tour Manual’ หรือการเดินเที่ยวเองตามคู่มือโดยไม่มีไกด์นำทัวร์ เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้คนที่ชอบท่องเที่ยวให้ลองซอกแซกเข้าซอยนู้น โผล่ซอยนี้ได้อย่างอิสระ ไปพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมทางแปลกหน้า รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา ทำให้ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ จากเดิมที่มีเพียงการสุ่มสถานที่เท่านั้น กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชัน 2.0 โดยเพิ่ม 4 เส้นทางตัวแทนเรื่องราวในย่าน ไม่ว่าจะเป็น Nameless Street Food เส้นทางนักกิน, Back to the 90s เส้นทางบันเทิง, Caffeine Calling เส้นทางกาแฟ และ History Nerds เส้นทางประวัติศาสตร์ ในครั้งนี้เราและเพื่อนใหม่ถูกสุ่มให้เจาะเวลาเดินทางย้อนไปในเส้นทาง History Nerds […]
ไปปรับสมดุลร่างกาย บำรุงหัวใจ และเสริมสร้างจิตวิญญาณ ที่งาน ‘ข้างใน Festival’
‘ปัจจุบัน’ เป็นเรื่องยาก และเราถอยห่างจากช่วงเวลาตรงหน้าทุกขณะ เพราะมีสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามากระทบจิตใจให้เรานึกย้อนกลับไปหาอดีต และกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ นอกจากร่างกายที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี หัวจิตหัวใจก็เป็นเรื่องสลับซับซ้อนและต้องคอยเยียวยารักษา การหมั่นสำรวจข้างในอยู่เสมอคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตเกิดความสมดุล ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกพาตัวเองลุกจากที่นอนในวันหยุดแสนน้อยนิด ออกไปใช้ชีวิตอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบัน ในงาน ‘ข้างใน Festival’ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะช่วยทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นกับโลกข้างนอก ได้กลับมาสงบเงียบและมีชีวิตชีวามากขึ้น ‘ข้างใน Festival’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ‘Muchimore’ ชุมชนผู้คอยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงพาทุกคนกลับมาดูแลจิตใจ และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาพักใจ พร้อมกับศาสตร์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้สติเกิดความมั่นคง และจิตวิญญาณได้กลับมาสว่างไสว งานครั้งนี้ มัชฌิมอร์ได้ขยายพื้นที่จากข้างในอาคาร Awareness Space ออกไปสู่พื้นที่กว้างในสวนวนธรรม และรวบรวมเหล่ากิจกรรมฮีลจิตใจไว้อย่างครอบคลุมหลากหลาย คอลัมน์ Experimentrip อยากพาทุกคนออกเดินทางย้อนกลับไปข้างในอีกครั้ง เพื่อสำรวจสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและนำมันมาทบทวนเพื่อก้าวต่อไปในชีวิตปัจจุบัน เราอยู่ที่ไหน เรามาทำอะไร แม้แดดต้นปีจะแรง แต่ปลายฤดูหนาวก็ยังทำให้ลมเย็นๆ พัดมาสัมผัสผิวอยู่บ้าง เมื่อเดินเข้าไปในสวนวนธรรม การถูกห้อมล้อมด้วยเสียงนกร้องกับพื้นที่สีเขียว ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากการเดินทางบนท้องถนนที่ผ่านมาไม่น้อย ผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างทยอยกันเข้ามาในสวนหนาตา ‘สนัด-ณัฐพงษ์ โสธรวัฒนา’ ผู้ก่อตั้ง Muchimore เริ่มต้นต้อนรับทุกคนด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้เราอยู่ที่ไหน และวันนี้เรามาทำอะไร” เพื่อเน้นย้ำให้สติของทุกคนในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาอยู่กับลมหายใจของปัจจุบัน และเมื่อการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งสงบนิ่ง […]
Urban Foraging BKK ทริปตามหา ‘พืชกินได้’ สารพัดประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองกรุง
รู้หรือไม่ว่า ‘วัชพืช’ และ ‘สมุนไพร’ นานาชนิดที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูแสนอร่อยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และอาจช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองได้ด้วยนะ 23 เมษายน 2565 เรามีโอกาสไปร่วมทริป ‘Urban Foraging BKK’ ที่จัดโดย สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกิจกรรมเที่ยววันเดียว ‘ครั้งแรก’ ที่สวนผักคนเมืองพาคนเมืองอย่างเราไปลัดเลาะตามหาและทำความรู้จักพืชที่ซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อทริปว่า ‘พืชกินได้นอกสายตา’ เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ เพราะจริงแล้วๆ รอบตัวของเรารายล้อมไปด้วย ‘พืชอาหาร (Edible Plants)’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงผักที่ปลูกในแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัชพืชและสมุนไพรริมทางที่เราอาจคุ้นตา แต่อาจไม่รู้จักชื่อ หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์สารพัด ทริป Urban Foraging BKK จึงอยากแนะนำพืชอาหารที่เติบโตตามธรรมชาติให้เรารู้จัก เพราะไม่แน่ว่าพืชที่เคยแปลกหน้าเหล่านี้อาจมาปรากฏตัวบนโต๊ะอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้ ที่สำคัญ ทริปนี้ยังมีเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ด้านอาหารใหม่ๆ ที่อาจช่วยพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นด้วย คอลัมน์ Experimentrip จึงอยากพาทุกคนไปติดตามภารกิจตามหาพืชอาหารว่าจะพบพืชชนิดใดบ้าง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชแต่ละชนิดคืออะไร และคนเมืองอย่างเราจะรู้สึกเซอร์ไพรส์กับพืชกินได้ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมขนาดไหน ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาออกเดินทางสู่การเรียนรู้ครั้งใหม่พร้อมกันเลย! ล่องเรือมุ่งหน้าสู่ […]
CT 125 ออกไปสัมผัสธรรมชาติ แบบไม่สร้างขยะให้กับโลก
เดินทางอย่างไรไม่ให้ทำร้ายโลก ออกจากเมืองหลวงไปสัมผัสธรรมชาติทั้งที ทำไมต้องทิ้งพลาสติกไว้ข้างหลัง เราไม่เอาด้วยกับการท่องเที่ยวที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม ขอลองไม่พก ไม่ใช้พลาสติกสักชิ้นเดียว ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือเปล่า แต่ไม่ลองก็ไม่รู้ กับ Experiment Trip คอลัมน์แกะกล่องของ Urban Creature ที่แบกการทดลองไว้บนบ่า และก้าวออกไปท้าทายดูสักครั้ง เราจึงอยากบิด New CT 125 เพื่อนคู่ใจของสายผจญภัย ที่หนนี้มาในลุคใหม่ ‘Safari Green’ เฉดสีเขียวที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ออกไปค้นหาว่าการแคมปิ้งจะไม่สร้างขยะ และการท่องเที่ยวกับความยั่งยืนจะไปด้วยกันได้จริงไหม กับมอเตอร์ไซค์ที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์ ปลุกจิตวิญญาณแห่งการผจญภัยให้ตื่นจากการหลับใหล กับมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อนักเดินทางโดยเฉพาะ เริ่มบิดกุญแจที่กรุงเทพมหานคร แล้วปักหมุดที่สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี กับระยะทางที่ไม่ใกล้ไม่ไกลราว 200 กิโลเมตร เสน่ห์ของการขับมอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวคือสายลมที่ปะทะหน้าตลอดเวลา และยิ่งพ้นจากตัวเมืองไกลขึ้น ถนนเริ่มบีบแคบลงเหลือเพียงสองเลนที่สวนกัน วิวข้างทางเปลี่ยนจากตึกสูงใหญ่และอาคารพาณิชย์เป็นต้นไม้ที่ห้อมล้อมตลอดสองข้างทาง ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น เราออกเดินทางตั้งแต่เช้ามืด เวลาที่ผู้คนส่วนมากยังคงหลับใหล ในเวลาที่ดวงอาทิตย์ยังไม่คืนแสงสว่างกลับมาให้ New CT 125 เพื่อนคู่ใจของเราก็เด่นมาแต่ไกลด้วย Full LED Lighting ทรงกลมคลาสสิก นอกจากคอยบอกหนทางข้างหน้าให้เราได้เลือกเดินแล้ว ยังเป็นการแจ้งเพื่อนร่วมทางคนอื่นว่ามีเราอยู่ตรงนี้ได้อย่างชัดเจน เที่ยวป่าต้องเที่ยวหน้าฝน […]
รักษาโปสต์การ์ดให้เหมือนวันแรกที่ได้รับ ผ่านเวิร์กช็อปการจัดเก็บงานศิลปะด้วยตัวเอง
ฉันคือยอดนักสะสมโปสต์การ์ด และตกหลุมรักการเขียนจดหมายเป็นชีวิตจิตใจ แถมยังเคยได้รับโปสต์การ์ดรูปโมนาลิซา ส่งตรงจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยคน (เกือบ) แปลกหน้าชาวฝรั่งเศสที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ Postcrossing ทันทีที่ฉันเห็นโปสต์การ์ดก็ร้องกรี๊ดดีใจยกใหญ่ แต่เวลาผ่านไป 6 เดือน ภาพโมนาลิซาค่อยๆ สะบักสะบอม จากการซ้อนโปสต์การ์ดหลายสิบใบทับกัน ทำให้เหลือเพียงเศษเสี้ยวของภูเขาเท่านั้นแหละ ฉันอดบ่นกับตัวเองไม่ได้ ว่าทำไมถึงไม่รักษาของให้ดี และแน่นอนว่าฉันจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นกับโปสต์การ์ดชิ้นอื่นๆ อีกเด็ดขาด! ฉันตัดสินใจลงเวิร์กช็อป การจัดเก็บงานศิลปะบนกระดาษและภาพถ่าย เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บอย่างถูกต้อง จัดขึ้นโดย SAC Gallery แวบแรกสมองของฉันนึกไปถึงอุปกรณ์นับสิบอย่าง และน้ำยาอีกร้อยชนิด เลยรู้สึกท้อแท้ไปก่อนล่วงหน้า แต่ความจริงแล้วภาพถ่ายและกระดาษทั่วไป ก็จัดเก็บได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างเช่นกัน อนุรักษ์งานศิลป์ให้คงอยู่ ช่วงสายของวันอาทิตย์ ฉันนั่งฟังบรรยายจาก ‘ดร.จิราภรณ์ อรัณยะนาค’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom อาจารย์บอกเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บงานศิลปะ ภาพถ่าย ไปจนถึงกระดาษ นั่นเป็นเพราะการจัดเก็บจะช่วยยืดอายุและป้องกันความเสียหาย เพื่อรักษาสภาพเดิมและคงคุณค่าของมันไว้ตราบนานเท่านาน ฉันนึกไปถึงโปสต์การ์ดหลายใบ และกระดาษหลายแผ่นในกรุของสะสม มีบางอย่างเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา บางอย่างสีเพี้ยนจากเดิมจนเกือบลืมต้นฉบับไปสนิท และบางอย่างก็เต็มไปด้วยรอยสีน้ำตาลเต็มไปหมด ซึ่งอาจารย์บอกว่าร่องรอยเหล่านั้น คือผลลัพธ์จากการจัดเก็บผิดวิธี ทำให้กรดในกระดาษทำปฏิกิริยาต่อชิ้นงาน อีกทั้งอาจารย์ยังยกตัวอย่างลักษณะความเสียหายที่มักเกิดบนภาพหรือกระดาษ ซึ่งสรุปออกมาได้ […]
40 วันกับชีวิตล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่เสี่ยง มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
บทความนี้เปรียบเสมือนบันทึกช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านเป็นเวลา 40 วัน ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดสมุทรสาคร สำหรับเรา การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อาจจะยุ่งยากไปบ้าง แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยในตลาดที่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีคนมาจับจ่ายซื้อของเหมือนที่เคย พวกเขาต้องขาดรายได้จุนเจือครอบครัวและจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้านแผงลอยบางรายต้องปรับวิธีการขายเป็นแผงลอยเคลื่อนที่เพื่อให้รอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้
#saveบางกลอย บันทึกระหว่างทางกลับบ้านของชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนบ้านเกิดมากว่า 25 ปี
0. หากในข้อสอบมีคำถามว่าข้อใดเป็นสาเหตุของการทำลายป่ามนุษย์ คือคำตอบที่ฉันจะมองหาเป็นตัวเลือกแรก และมั่นใจว่าเฉลยจะไม่ผิดไปจากนี้ แต่ฉันเพิ่งรู้ว่าคำตอบในชีวิตจริงไม่ได้มีแค่คำตอบเดียวมีมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ทำลายแต่ปกป้องผืนป่าบ้านเกิดของพวกเขาเป็นอย่างดี เราเรียกเขาว่า ชาวบ้านบางกลอย 1. ย้อนกลับไปเมื่อเวลาบ่ายของวันที่ 15 มีนาคม ฉันได้รับอีเมลความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ ข้อความข้างในเขียนบอกว่า “พรุ่งนี้ไปเยี่ยมชาวบ้านบางกลอยกัน” พร้อมกับเวลาและสถานที่ ‘เกิดอะไรขึ้นที่บางกลอย’ คำถามผุดขึ้นในหัวฉันและเพื่อนทุกคนทันทีที่อ่านอีเมลฉบับนั้นจบ เราใช้เวลาครึ่งวันที่เหลือก่อนจะถึงเวลานัดพูดคุยกันถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนั้นเองที่ฉันรู้ว่าข้อมูลที่ฉันมีเกี่ยวกับเรื่องนี้มันน้อยนิดมาก เราเพิ่งรู้ด้วยซ้ำว่าบางกลอยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ชาวบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าลึกหรือเรียกกันว่า ‘ใจแผ่นดิน’ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี แต่เมื่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจานถือกำเนิดขึ้น ชาวบ้านบางกลอยทั้งหมู่บ้านจึงต้องอพยพลงมาอยู่พื้นที่ใหม่ที่รัฐจัดหาให้ เรียกว่า ‘บางกลอยล่าง’ หรือบ้านโป่งลึก แต่ที่ดินบริเวณบางกลอยล่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ต้องทำไร่หมุนเวียน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตัดสินใจเดินเท้ากลับขึ้นไปที่ใจแผ่นดิน และตกอยู่ในสถานะผู้บุกรุกป่า วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวบ้านบางกลอยบางส่วนเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรี มายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีถอนกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่ เนื่องจากสร้างความหวาดระแวงให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน เมื่อเราถึงสะพานชมัยมรุเชฐข้างทำเนียบรัฐบาล จุดที่ภาคี #saveบางกลอย ปักหลักกันมาเกือบ 2 วัน พระอาทิตย์กำลังจะหายไปหลังตึกสูง ภาพแรกที่เห็นคือกระท่อมไม้ไผ่หลังเล็กๆ แบบเดียวกับที่ใจแผ่นดินตั้งอยู่กลางถนน และป้ายผ้าสีขาวที่เขียนว่า ‘ชาติพันธุ์ก็คือคน’ พี่กอล์ฟ-พชร คำชำนาญ คือคนแรกที่พวกเรามองหา เขาเป็นรุ่นพี่ที่คณะและฉันไม่มั่นใจว่าพี่กอล์ฟจะจำพวกเราได้ […]
เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง
ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]
แบบทดสอบ : KNOW YOU KNOW ME เพื่อนที่อนุญาตให้กันและกันเป็นตัวของตัวเอง
นิยามคำว่า ‘เพื่อนสนิท’ สำหรับฉันอาจไม่ใช่การเจอหน้ากันทุกวัน หรือรู้เรื่องชีวิตของกันและกันทุกกระเบียดนิ้ว แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งต้องการ ‘ที่พักพิง’ เมื่อไหร่ พวกเราก็พร้อมที่จะมอบความสบายใจให้แก่กันเสมอ
พาใจไปสัมผัสวิถียั่งยืนกับ ‘เวิร์กชอปธรรมชาติ’ ในหมู่บ้านวันเดอร์ที่งาน Moobaan Wonder โดย Wonderfruit
หลายปีมานี้ แม้เราจะเห็นทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือการใช้วัสดุทดแทน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขยะดีขึ้นสักเท่าไร เพราะยังคงมีข่าวสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับขยะอยู่เรื่อยๆ เราได้มีโอกาสไปร่วมงาน ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ ซึ่งจัดโดยทีม Wonderfruit ด้วยแนวคิดเรื่องความยั่งยืนที่ยึดถือเป็นแกนหลักเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาในรูปแบบชุมชนขนาดย่อมที่รวบรวมของดีท้องถิ่นของไทย พร้อมให้เราเดินทางไปเปิดประสบการณ์น่าตื่นเต้นจากการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวัฒนธรรมร่วมสมัย พาใจเราไปสัมผัสศิลปะ วัฒนธรรม และวิถียั่งยืน นอกจากเราจะได้เฉลิมฉลองสิ้นปีไปกับดนตรี แคมปิ้ง อาหารเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต และกิจกรรมครอบครัว ยังได้ซึมซับงานศิลปะและอินสตอลเลชันภายในงาน ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติของฟาร์มและทุ่งดอกไม้ แต่ไฮไลท์ที่เราขอนำกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังคือเวิร์กชอปที่จะชวนทุกคนกลับมาเห็นความงามในธรรมชาติอีกครั้ง ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เทศกาลดนตรีหลายงานต้องยกเลิกไปซึ่ง Wonderfruit ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นทางทีมงานก็ได้ปัดฝุ่นโปรเจกต์นี้ใหม่ในคอนเซปต์ ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ โดยเปิดมุมมองใหม่และค้นหาความน่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรามีดีอยู่แล้ว มาเริ่มกันด้วยเวิร์กชอป ‘Natural Tie Dye’ การทำผ้ามัดย้อม เป็นบูธที่ได้รับความสนใจมากอีกบูธหนึ่งเลย โดยนำวัสดุธรรมชาติที่ให้สีได้มาใช้เป็นสีย้อม เช่น กากมะพร้าวให้สีน้ำตาลอ่อน ขมิ้นให้สีเหลือง เปลือกต้นเค็งให้สีเเดง ในขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมไม่มีความซับซ้อน แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันเเละใจเย็น เริ่มจากการจับผ้าขาวม้วนให้เป็นเกลียวเเละขมวดปม เอาหนังยางมัดในจุดที่เราไม่ต้องการให้สีเข้าถึงเพื่อให้เกิดเป็นลวดลาย […]
6 ตุลา ทำไมต้อง ‘แขวน’
6 ตุลาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวันจัดนิทรรศการ ‘แขวน’ 6 ตุลา On Site Museum ที่รวมเอาหลักฐาน ข้อเท็จจริง พื้นที่ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นประจักษ์พยานของเหตุการณ์เมื่อ 44 ปีที่แล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง.เพื่อทำความเข้าใจ และไม่ปล่อยให้เรื่องราววันที่ 6 ตุลาถูกซ่อนไว้ เราจึงไปชมนิทรรศการ ‘แขวน’ ซึ่งจัดแสดงที่โถงหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 1-11 ตุลาคม 2563