Sgreen
เบื้องหลังแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่ตั้งเป้าลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก
ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]
นโยบายรักษ์โลกแบบ ‘Patagonia’ ของ ‘อีวอง ชูนาร์ด’ มหาเศรษฐีผู้ไม่อยากเป็นนักธุรกิจ
จากเด็กที่ได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในวัย 14 ปี เติบโตมาเป็นนักปีนเขาที่ยืมเงินพ่อแม่สามหมื่นกว่าบาทมาสร้างหมุดปีนเขาใช้เองและแบ่งขายเพื่อนฝูง จนในปี 1970 เขากลายเป็นเจ้าของบริษัทขายอุปกรณ์ปีนเขาเจ้าใหญ่ในอเมริกา แต่เมื่อพบว่าหมุดเหล็กที่เขาสร้างขึ้นส่งผลกระทบต่อภูเขา เขาจึงตัดสินใจเลิกขายและใช้เวลาสองปีค้นคว้าออกแบบหมุดปีนเขาที่ใช้เกี่ยวกับร่องหินโดยไม่เจาะเข้าไปให้ภูเขาได้รับผลกระทบใดๆ มาถึงปี 1973 ชายคนนั้นมองหาเสื้อผ้าสำหรับใส่ปีนเขาซึ่งมีคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่เจอ จนได้พบ Fitz Roy หุบเขาแห่งหนึ่งใน Patagonia ประเทศอาร์เจนตินา เขาจึงได้เห็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์เสื้อผ้าปีนเขาที่อยากใส่ ผ่านเวลามา 50 ปี ‘อีวอง ชูนาร์ด’ (Yvon Chouinard) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง ‘Patagonia’ (พาทาโกเนีย) แบรนด์เสื้อผ้าเอาต์ดอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครองใจคนทั้งโลก มีรายได้มากมายจนกลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่ง และใช้ชีวิตการทำงานเป็นนักธุรกิจที่เจ้าตัวไม่ได้อยากเป็น เดินหน้าสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีหัวใจหลักคือ ‘ความยั่งยืน (Sustainability)’ ตลอดมา นโยบายธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชูนาร์ดพูดอยู่เสมอว่า เขาไม่เคยคิดอยากเป็นนักธุรกิจ แต่ถ้าต้องเป็นนักธุรกิจ ก็จะเป็นนักธุรกิจแบบที่เขาอยากเป็น และนี่คือตัวอย่างบางส่วนของนโยบายของนักปีนเขาที่ต้องมาทำธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตพาทาโกเนียมีโรงงานที่ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมถึงมีอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงาน และอาคารสีเขียวที่ผ่านการประเมินคะแนนวัดระดับอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) สินค้าของพาทาโกเนียใช้วัตถุดิบหลักเป็นผ้าฝ้าย […]
หลอดกระดาษไมโลปรับปรุงใหม่ แข็งแรงขึ้น ใส่ใจโลก!
ตอนเด็กๆ พอรู้ว่ารถไมโลโรงเรียนจะมา เรานี่ตื่นเต้นจนอยากจะรีบไปต่อแถวคนแรก โตขึ้นมาหน่อยก็จำความได้ว่ามีไมโลติดกระเป๋าตลอด แม้กระทั่งตอนนี้ คิดอะไรไม่ออกก็ให้ไมโลช่วยรองท้อง ไมโลแทบจะอยู่กับเราทุกช่วงวัย ผ่านไปกี่สิบปี ความอร่อยของเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์กล่องสีเขียวก็ยังคงเหมือนเดิม แม้รสชาติความผูกพันจะไม่เปลี่ยนไป แต่ไมโลก็ไม่หยุดเติบโตไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง กล่องนมยูเอชทีพร้อมดื่มคู่กับหลอดพลาสติกอาจจะเคยเป็นภาพในเมื่อก่อน แต่ตอนนี้มันได้เปลี่ยนไปแล้ว ไมโลเปลี่ยนสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่อย่างหลอดพลาสติกเป็น ‘หลอดกระดาษ’ ที่ครั้งนี้มาพร้อมกับความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทนทานขึ้น เจาะง่ายขึ้น และดื่มได้เพลินยิ่งขึ้น ผ่านความตั้งใจที่อยากให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน ไมโลขอบ๊ายบายพลาสติก เพื่อโลกที่ดีกว่า เมื่อเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่กลับทิ้งให้กลายเป็นขยะที่เข้าไปปะปนอยู่ในธรรมชาติและท้องทะเล กว่าจะย่อยสลายก็ใช้เวลากว่า 450 – 500 ปีเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การลดใช้-ใช้ซ้ำ-นำกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นสิ่งที่หลายคนพยายามร่วมด้วยช่วยกันเพื่อดูแลโลกของเรา และไมโลคือหนึ่งในนั้น นี่คือแบรนด์ที่ทำให้เรื่องรักษ์โลกนั้นง่ายขึ้นเป็นกอง เพราะแทนที่จะใช้หลอดพลาสติกแบบเดิมๆ ไมโลก็หันมาใช้หลอดกระดาษเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดขยะพลาสติก แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปรีไซเคิลได้สบายๆ นอกจากเรื่องของการย่อยสลายได้ง่าย อีกเหตุผลว่าทำไมต้องใช้หลอดกระดาษ ก็เพราะไมโลไม่อยากจะรักษ์โลกแค่ผิวเผิน แต่ต้องการส่งมอบความตั้งใจในระยะยาว ลองคิดดูว่า ขณะเด็กๆ กำลังดื่มนมด้วยหลอดกระดาษ ครอบครัวเองก็สามารถสร้างบทสนทนาสนุกๆ ด้วยการชวนลูกๆ พูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน เต่าทะเล ไปจนถึงธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ เหมือนเป็นการปลูกฝัง Mindset เรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ยังเล็ก […]
loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองที่ทำให้การซื้อ-ขายเป็นเรื่องง่ายและได้ช่วยโลก
หากใครที่ติดตามกระแสสังคมอยู่แล้วคงทราบว่าในช่วง 1 – 2 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแวดวงแฟชั่นมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อถกเถียงกันถึงการสร้างค่านิยมบริโภคนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากขยะสิ่งทอไปจนถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าใหม่แต่ละชิ้น นอกจากคนทำงานเพื่อสังคม แอ็กทิวิสต์ และคนมีชื่อเสียงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็ตื่นตัวกับปัญหานี้ เกิดเป็นบทสนทนาการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงฮาวทูการลดการใช้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) การใส่เสื้อผ้ายังไงให้ยั่งยืน และชี้แหล่งแลกเปลี่ยนกับซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อหาทางดูแลรักษาโลกไปพร้อมๆ กับการสนุกกับการแต่งตัว ถ้าเป็นในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร หลายประเทศเองมีแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งต่อเสื้อผ้าและของมือสองให้คนได้เลือกใช้งาน จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนว่ายังมีตัวเลือกไม่มากนัก แหล่งซื้อขายที่มีก็ไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่เท่าไหร่ ไหนจะความยุ่งยากของการซื้อ-ขายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นคนขายถ่ายภาพเสื้อผ้าไม่ดี ระบุรายละเอียดไม่ครบ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ ไปจนถึงไม่กล้าซื้อเพราะไม่รู้ว่าเจ้าของก่อนหน้าเป็นใคร เป็นเสื้อผ้าคนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฯลฯ ทำเอาบางคนถอนหายใจล้มเลิกการซื้อเสื้อผ้ามือสองไปซะก่อน ทั้งๆ ที่ก็อยากลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่เช่นกัน หรือสุดท้ายแล้วซื้อมาก็กลายเป็นขยะในตู้เสื้อผ้าเพราะวัดไซซ์ผิด แทนที่จะได้ใช้เสื้อผ้ามือสองวนไป แต่กลับต้องทิ้งไว้เพราะได้ของไม่ตรงปก เพราะประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราจึงอยากแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองหน้าตาดูดีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของแพลตฟอร์มนี้คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการ รวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้ว โดยที่ตัวผู้ซื้อ-ผู้ขายแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แถมตัวเว็บไซต์เองก็ใช้งานง่ายเหมือนเว็บไซต์ขายเสื้อผ้ามือหนึ่งทั่วไปที่บอกรายละเอียดยิบย่อยอย่างชัดเจน แตกต่างจากปกติที่ร้านเสื้อผ้ามือสองเน้นการซื้อมาขายไป ไม่ถ่ายรูปหรือระบุรายละเอียดชัดเจนขนาดนี้ สอดคล้องกับสโลแกน ‘เราจะทำให้การส่งต่อเสื้อผ้าเป็นเรื่องง่าย ดีต่อใจ และดีต่อโลก’ ด้วยเหตุนี้ […]
Stooping NYC : IG ชี้เป้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดแสนเก๋ถูกทิ้งทั่ว NYC ให้เจอบ้านใหม่
ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านเก๋ๆ สักชิ้นคุณจะเริ่มหาจากที่ไหน? เราเชื่อว่า Journey ในการหาของทุกคนคงไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากค้นหาในเว็บไซต์ของแต่งบ้าน ตามหาร้านขายของแต่งบ้านวินเทจใน Instagram ไปเดินตามหาที่จตุจักร โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์นำเข้า โกดังญี่ปุ่นมือสอง หรือร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ก โอกาสที่คุณจะได้เฟอร์นิเจอร์สวยๆ หรือของใช้คุณภาพดีไปใช้ฟรีๆ มีอยู่จริง ถ้าคุณรู้จักคำว่า ‘Stooping’ ‘Stooping’ คือการอุปการะ (Adopt) สิ่งของที่คนแปลกหน้าวางทิ้งไว้ไปใช้ต่อ โดยของเหล่านี้มักจะวางไว้หน้าบ้าน บนทางเท้า ข้างถังขยะ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะติดป้ายบอกไว้เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมารู้ว่าสิ่งนี้สามารถหยิบไปใช้ต่อฟรีๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องบอกใคร ในบางรัฐจะทิ้งไว้ตรงจุดที่ทิ้งขยะ อยากได้ชิ้นไหนก็ไปช้อปปิงกันได้เลย ส่วนคนที่ไปตามหาของเหล่านี้ไปใช้จะเรียกว่า ‘Stooper’ ซึ่งต้องเป็นคนที่มีหูตาไว หาของเก่ง และเลือกของเป็น จึงจะได้ของดีๆ มาใช้ บางคนตาดีมากจนได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ติดมือกลับไป โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง ในอะพาร์ตเมนต์แทบจะไม่ต้องซื้อเลยสักชิ้น วัฒนธรรมการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือของเหลือใช้ที่ยังสภาพดีๆ ไว้บนทางเท้าเกิดขึ้นในนิวยอร์กมาหลายสิบปีแล้ว (มองเผินๆ เหมือนกำลังเตรียมขนของย้ายบ้าน เพราะของที่ถูกทิ้งอยู่ในสภาพดีมาก) แต่จริงๆ แล้วคือของเหลือทิ้งสภาพดีทั้งนั้น การ Stooping […]
ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]
MUD Jeans แบรนด์ที่รีไซเคิลเดนิมเป็นตัวใหม่ ให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion
แบรนด์ยีนส์ที่รีไซเคิลเดนิมให้เป็นตัวใหม่ และมีระบบให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion
The Guidebook of Marine Debris ไกด์บุ๊กชวนสำรวจขยะทะเลที่ได้ไอเดียจากการ์ตูน Pokémon
The Guidebook of Marine Debris โปรเจกต์จากไต้หวัน รวบรวมขยะทะเลมาถ่ายภาพ 360 องศา ลงเว็บในรูปแบบไกด์บุ๊ก ทั้งสนุกและสร้างความตระหนักเรื่องมลพิษทางทะเลไปพร้อมกัน
KEEEN ผลิตภัณฑ์ที่ขจัดของเสียจากโรงงานเหมือนเพลง Heavy Metal แต่ถนอมสิ่งแวดล้อมเหมือนเพลง Jazz
ใครจะไปคิดว่างานอดิเรกของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ หรือ ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ ที่ชื่นชอบการส่องจุลินทรีย์ในห้องแล็บวันนั้นจะกลายเป็นธุรกิจระดับโลกได้ เมื่อจู่ๆ วันหนึ่งเขาเล็งเห็นประโยชน์ของเหล่าจุลินทรีย์ว่าย่อยสลายน้ำมันและไขมันได้ จึงหันมาเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อม นำเอา Biotechnology หรือเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ในการขจัดของเสียในภาคอุตสาหกรรม โดยวิธีการบำบัด ขจัด และเยียวยา มีสรรพคุณที่สำคัญคือไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างวนกลับไปทำลายสิ่งแวดล้อม และช่วยลดค่าใช้จ่ายแฝงจากสิ่งแวดล้อมที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องจ่าย นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม KEEEN ยังต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน เพื่อสร้างมิติการทำความสะอาดบ้านรูปแบบใหม่นอกเหนือจากการใช้สารเคมีกรดด่าง ให้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น “ข่าวการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในเหตุการณ์การพบน้ำมันรั่วไหลลงทะเลและปนเปื้อนบริเวณชายหาดที่ต่างประเทศ ทำให้เราแปลกใจมาก เพราะเราส่องดูจุลินทรีย์อยู่ทุกวัน ไม่ได้เอะใจเลยว่ามันกินคราบน้ำมันได้ กินไขมันได้ เรารู้สึกตาลุกวาวและบ้าคลั่งไปกับจุลินทรีย์เหล่านี้มากๆ จนตัดสินใจเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา” จากเหตุการณ์นี้ทำให้ ดร.วสันต์ ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจนไปประทับใจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันปิโตรเลียม ถึงขั้นตัดสินใจเรียนปริญญาโทต่อทางด้านสิ่งแวดล้อมสาขา Industrial Ecology ที่มหาวิทยาลัยมหิดล และลงลึกกับวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ ‘การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในเชิงพาณิชย์’ ก่อนนำไปต่อยอดโดยหยิบงานวิจัยชิ้นนี้ไปศึกษาร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าประเทศไทยก็ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าหัวเชื้อจากต่างประเทศอีกต่อไป เมื่อโรงงานอุตสาหกรรมบรรเลงบทเพลง Heavy Metal กับสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเริ่มต้นจากการเป็นประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลัก และค่อยๆ พัฒนามาเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ นิคมยานยนต์ ปิโตรเคมี สิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญต่อฐานเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่จะเติบโตไปในอนาคต […]
10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก
ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก
KAANI ครีมกันแดด Reef-safe ไทยกับมาตรฐานสารเคมีเข้มงวดสูงสุดเท่าประเทศปาเลา
ภาพหาดทรายสีขาวนวลทอดยาวตลอดแนวชายหาด เหล่าเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวซัดเข้าฝั่งเป็นระยะ หรือผืนน้ำสีฟ้าครามที่เปล่งแสงระยิบระยับ พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเส้นผมให้ปลิวไสว ตามด้วยไออุ่นจากแสงแดด ล้วนชวนให้หลงเสน่ห์ของทะเล จนอยากฉุดร่างกายให้ลุกขึ้นไปเติมความสดชื่นอย่างเต็มที่ เชื่อว่าความงามเหนือผิวน้ำที่เรามองเห็น คงเทียบไม่ได้กับการเห็นหมู่มวลปลาเล็ก-ใหญ่ และสีสันอันสดใสของปะการังที่ขึ้นเรียงรายตามโขดหินในโลกใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด แต่ความจริงแล้ว สีสันเหล่านั้นถูกกลืนหายจนกลายเป็น ‘สีขาว’ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนจากน้ำจืด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ครีมกันแดด’ บนร่างกายมนุษย์ #Saveปะการัง ด้วยพลังของเพื่อนซี้ ในวันที่การบีบครีมกันแดดเพียง 1 ข้อนิ้ว สะเทือนถึงโลกใต้ท้องทะเล เพราะมีส่วนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว สามเพื่อนซี้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จึงผุดไอเดียแบรนด์ ‘KAANI (คานิ)’ ครีมกันแดดรักษ์ปะการัง หรือที่เรียกว่า ‘Reef-safe’ คือ ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลท้องทะเล “ตัวผมดำน้ำมาตั้งแต่ยังเล็กที่หินแดงหินม่วงในจังหวัดภูเก็ต ตอนนั้นผมเห็นสีแดงและสีม่วงบนปะการังละลานตาเต็มไปหมด แต่เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ผมกลับไปดำน้ำอีกครั้ง ผมเห็นแค่โขดหินเท่านั้นเอง” จีน-พชร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAANI (คานิ) เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กที่เขาได้ชื่นชมความสวยงามของปะการังที่ปัจจุบันคล้ายกับตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์สีขาวโพลน ซึ่งก่อนหน้านั้นตัวเขาเองใช้ครีมกันแดดสูตร Reef-safe จากต่างประเทศ แต่กลับพบว่าไม่ตอบโจทย์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกัน […]
แก้วลายใหม่ Café Amazon โดย เพียว โลกุตรา เล่าถึง โออาร์ กับการร่วมสร้างโอกาสให้สังคม
ถ้าเข้า Café Amazon ช่วงนี้ คุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเครื่องดื่มที่โปรดปราน เปล่าหรอก ไม่ใช่รสชาติ หรือหน้าตาที่เปลี่ยนไป แต่เป็นลวดลายใหม่ของแก้ว Café Amazon ที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มของคุณต่างหาก นอกจากความสวยงามน่าเก็บสะสมของลายแก้วที่ออกแบบโดย เพียว โลกุตรา นักวาดภาพประกอบไทยที่น่าจับตามองแล้ว ภาพวาดของเกษตรกรที่มอบเมล็ดกาแฟสู่บาริสต้าบนแก้วเครื่องดื่มเย็น และภาพบาริสต้าผู้สูงวัยที่มอบเครื่องดื่มให้ลูกค้าบนแก้วเครื่องดื่มร้อนยังบอกเล่าถึงแนวคิดการร่วมสร้างโอกาสของ โออาร์ ได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยวิสัยทัศน์ ‘Empowering All toward Inclusive Growth โออาร์ เติมเต็มโอกาสทุกการเติบโต ร่วมกัน’ ทำให้ โออาร์ ยึดมั่นในการเป็นองค์กรที่เกื้อกูลสังคม โดยอาศัยการประสานพลังแห่งความร่วมมือเพื่อสร้างคุณค่าอย่างเท่าเทียม มุ่งพัฒนาคนให้มีศักยภาพ ลดทอนช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพสังคมในอีกระดับ จนไปถึงการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน ทำให้ที่ผ่านมา Café Amazon ไม่ได้พัฒนาในแง่ของธุรกิจร้านกาแฟไทยเท่านั้น ทว่ายังต้องการพาสังคมไทยให้เดินหน้าไปด้วยกัน ผ่านการสนับสนุนเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก รวมทั้งรับซื้อเมล็ดกาแฟมาใช้ภายในร้าน Café Amazon ไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ว่าแต่โปรเจกต์แก้ว Café Amazon ลายใหม่ที่เป็นการร่วมงานของ โออาร์ กับศิลปินนักวาดไทยจะมีเบื้องหลังเป็นยังไง มีเรื่องราวใดบ้างที่ซ่อนอยู่ข้างหลังแก้วหน้าตาน่าใช้นี้ […]