Featured
โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?
ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19
‘ขนมจีบวรวิทย์’ ร้านขนมจีบยุคจอมพล สฤษดิ์ ความอร่อยแห่งชลบุรีที่เยาวราชยังต้องง้อ
“เฮีย เอาขนมจีบยี่สิบบาท” “ใส่ซอสกินเลยเปล่า” “กินเลยเฮีย” เสียงทุ้มติดสำเนียงจีนดังขึ้นหน้าตึกแถวโบราณยาม 7 โมงเช้าในตลาดล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี มองเข้าไปเห็นบรรยากาศความเก่าแก่ของครอบครัวคนจีน ด้านหน้ามีตู้กระจกใสซึ่งมีขนมจีบเรียงราย เคียงด้วยซึ้งหลังใหญ่ปล่อยควันโขมง และเมื่อควันค่อยๆ จางลงตามสายลม ก็ปรากฏภาพ เก๊า-วรวิทย์ วิจิตรกุลสวัสดิ์ อากงวัย 80 เจ้าของบทสนทนาข้างต้นที่มีรอยยิ้มแต้มใบหน้าเสมอ และเป็นเจ้าของ ขนมจีบวรวิทย์ (เก๊า) ชลบุรี ร้านเก่าแก่ในตำนานอายุ 62 ปีที่อยู่คู่เมืองชลฯ มาตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “มาแล้วเหรอหนู เดินเข้าไปดูข้างในได้ไม่เป็นไร บ้านเก่าหน่อยนะ” อากงว่าหลังเราเอ่ยทักทาย ก่อนเดินนำเข้าไปในบ้านเพื่อพบกับ อาม่าไพลิน วิจิตรกุลสวัสดิ์ ที่กำลังนั่งห่อขนมจีบอย่างคล่องแคล่วอยู่กับหลานสาวอย่าง หนิง-พจนา แซ่ลิ้ม และใกล้กันนั้นมี ต้น-ปิติ วิจิตรกุลสวัสดิ์ ลูกชายคนโตกำลังเทขนมจีบร้อนๆ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งจากซึ้งใส่ถาด บรรยากาศครอบครัวอบอุ่น ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ สร้างความรู้สึกประทับใจให้เราตั้งแต่แรกเห็น พลางคิดในใจว่า คุ้มค่าแล้วที่ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อเดินทางมาเยือนร้านขนมจีบวรวิทย์แต่เช้าตรู่ จีบของตระกูล เราหย่อนตัวลงบนม้านั่งไม้โบราณ ตรงข้ามคืออาม่าที่สองมือกำลังหยิบแผ่นแป้ง หรือที่เรียกว่าเปลือกขึ้นมาตัดขอบให้ได้ขนาดพอดี […]
เยี่ยมย่าน…ซอยนานา จากถิ่นจิ๊กโก๋ ตรอกขายยาจีน ผลัดใบสู่ย่านที่ไม่เคยหลับใหล
พาเยือนซอยนานาแห่งเยาวราช ในวันที่ต้องหยุดชะงักความคึกเพราะโควิด-19
ปลดล็อกเตียงทอง! เปลี่ยนพื้นที่เมืองเป็น ‘โรงพยาบาลสนาม’
ขอปลดล็อกสกินเตียงทอง ระดมไอเดียออกแบบโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจในฝัน หยิบพื้นที่ในเมืองที่น่าสนใจ แปลงโฉมเป็นศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราว แบบฉบับ Urban Sketch
หมอแดง พรศักดิ์ ผู้สร้างนิยามที่แท้ของ ‘ตายดี’ ไม่ให้ความหวัง แต่ให้คนไข้เลือกตายได้เอง
สวัสดีตัวฉันในเวอร์ชันที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกเช้าที่ลืมตาตื่น หญิงวัยรุ่นคนนี้บอกตัวเองเสมอว่า “ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี” เช่นเดียวกับวันที่กำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ให้ทันเดดไลน์ แม้ความจริงมันอาจจะไม่ดีตั้งแต่ Work from Home ที่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้านจนเครียดแล้วก็เถอะ ทว่าไม่รู้เมื่อไหร่จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต การประโลมใจตัวเองพร้อมทำในสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ อาจทำให้ไม่เสียดาย หรือเสียดายน้อยที่สุดตอนตายก็ได้มั้ง เพราะยอมรับอยู่เนืองๆ ว่าทุกคนต้องมีวันตายไม่ต่างจากวันเกิด เคยจินตนาการเล่นๆ เหมือนกันนะ ว่าถ้ารู้วันตายจะทำอะไรบ้าง กินเค้กร้านโปรด เปิดดูซีรีส์ที่ กงยู เล่น เพราะเป็นรักแรกตั้งแต่ประถมฯ เป็นไปได้ก็อยากไปคอนเสิร์ต EXO กับ NCT ศิลปินเกาหลีที่ติ่งจนบ้านมีแต่อัลบั้ม แท่งไฟ และโฟโต้บุ๊กของพวกเขา อะไรอีกดีล่ะ…บอกรักแม่ บอกรักพ่อ บอกรักแฟน บอกรักเพื่อน และบอกพวกเขาว่าช่วยใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุขทีด้วยละกัน แม้ตอนนี้ฉันยังเป็นมนุษย์ที่แข็งแรงดี แต่แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ หมอแดง-พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่ให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะตายและให้ทำสิ่งที่อยากทำก่อนตาย เช่น ดูซีรีส์เกาหลี หวีดอปป้า ฟังเพลงลูกทุ่ง ดูสารคดี หรืออยากฟังพระสวด กลับน่าสนใจ (โคตรๆ) จนต้องนัดสัมภาษณ์เพื่อคุยเรื่องความเป็นมืออาชีพของเขา นอกเหนือจากที่ว่า คนไข้แต่ละคนยังสามารถ […]
ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวเริ่มที่เราหรือรัฐ? | Soundcheck
เมืองที่ดีเกิดขึ้นได้ที่ตัวเราก่อนจริงหรือ ภาครัฐล่ะ
คำถามข้างต้นคงเป็นคำถามสำคัญแห่งยุคที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเมื่อเรากำลังจะพูดถึงการร่วมกันสร้างเมืองที่ดี เมืองที่ดีของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ตามสิ่งที่คนคนนั้นให้ความสำคัญ
แต่ในเชิงของเมืองที่ดี อย่างที่ควรเป็นเกิดขึ้นได้เพียงความต้องการของคนเดียวจริงหรือ หรือรัฐจะมีส่วนอย่างไร Soundcheck ตอนนี้เราจึงออกไปรับฟังเสียงเพื่อสะท้อนความในใจคนเมืองว่า เขาคิดเห็นกันอย่างไรต่อประเด็นนี้ ใน Soundcheck เมืองที่ดีใครสร้าง
Pyra ศิลปินที่ใช้เพลง ‘yellow fever’ บอกชายตะวันตกว่าหยุดหื่นใส่สาวเอเชียค่ะ ขอบคุณ!
Pyra นำทัพพาเปิดโคมแดงที่เต็มไปด้วย ‘Fetish’ ตั้งแต่โชว์ปิงปองด้วยอวัยวะเพศ ไปจนถึงซูชิเปลือยกายที่สลับบทบาทมาเป็น ‘ผู้ชาย’ โดนกันดูบ้าง พร้อมชวนแกะอาการ ‘คลั่งสาวเอเชีย’ ของชายตะวันตก ไปกับผลงานเพลงแนว Dystopian Pop ในเพลง ‘yellow fever’ ที่ไปฟีเจอริงกับสองสาว Ramengvrl ศิลปินฮิปฮอปจากอินโดนีเซีย และ Yayoi Daimon แรปเปอร์จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้หญิงทั่วเอเชียว่า ‘อย่าเห็นผู้หญิงเป็นแค่วัตถุทางเพศ’
ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’
เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]
อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?
ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน
Seaspiracy ไม่บอกอะไร เมื่อประมงทำร้ายทะเล แต่ถ้าหยุดกินปลาตามสารคดีก็เป็นหายนะของคนจน
บรรณาธิการบริหารแห่ง Urban Creature บอกทีมในเช้าวันประชุมกองบรรณาธิการว่า “ภายในปี 2048 มหาสมุทรอาจว่างเปล่า ไร้สิ่งมีชีวิต” หลังจากเมื่อคืนพี่แกใช้เวลาจดจ่อกับ Seaspiracy ภาพยนตร์สารคดีใน Netflix ที่ตีแผ่อุตสาหกรรมประมงซึ่งทำร้ายสิ่งมีชีวิตในทะเลไปมหาศาล ทั้งอวนจับปลาที่สร้างขยะและฆ่าสัตว์น้อยใหญ่มากกว่าพลาสติก ปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ที่เน้นกวาดทุกสปีชีส์ในทะเลด้วยอวนขนาดใหญ่ที่คลุมโบสถ์ได้ทั้งหลัง แรงงานทาสที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ฟาร์มสัตว์ทะเลที่เข้ามาแย่งพื้นที่ป่าโกงกางซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญบนโลกจนเกิด Climate Change รวมไปถึงการชี้ให้ทุกคนหยุดกินปลาเพื่อจบทุกปัญหา หลากเสียงในห้องประชุมเริ่ม “เชี่ย แล้วต้องทำไงวะ” “กูดูจบแล้วอยากเลิกกินปลา” “โหดร้ายว่ะ” “คืนนี้จะกลับไปดู” ขึ้นมาจนกลายเป็นเสียงนอยซ์ เย็นวันนั้น เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ฉันใช้ไปกับการดู Seaspiracy พร้อมความรู้สึกหดหู่ที่เกิดขึ้น แต่เดี๋ยวก่อน…หลังจากที่สติแตกไปครู่หนึ่ง อยู่ดีๆ ก็คิดขึ้นว่า “เคยเรียนข่าวมา หาข้อมูลเพิ่มเติมและอัปเดตมันหน่อยเป็นไง” อวนสร้างความเสียหายต่อทะเลมากแค่ไหน การลดใช้พลาสติกไม่จำเป็นเลยหรือเปล่า การจับสัตว์น้ำพลอยได้ต้องเร่งแก้ไขก่อนที่มันจะสูญพันธุ์หรือไม่ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทะเลส่งผลเสียอย่างไร ตกลงแรงงานทาสในไทยมีอยู่ไหม และการเลิกกินปลาเป็นคำตอบที่ดีจริงหรือในวันที่ชาวประมงพื้นบ้านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการหาปลา ทุกคำถาม มีคำตอบ ขอเวลาไม่นาน เพ่งสายตาให้มั่น ไล่อ่านทุกบรรทัด ไปเจาะข้อมูลเอกสารที่สารคดีไม่ได้บอก และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในไทยกัน ลุย […]
Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง
วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand
พุทธศาสนา ศรัทธา และนิพพาน? ใน Doc Film เรื่องธรรมกายที่เกือบไม่ได้ฉาย ‘เอหิปัสสิโก’
ครั้งแรกที่เห็นโปสเตอร์ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘Come and See เอหิปัสสิโก’ ที่เป็นภาพเสี้ยวหนึ่งของวัดธรรมกายถูกบดบังด้วยเงาคนกำลังยกมือไหว้จรดหว่างคิ้ว และความหมายของคำว่า ‘เอหิปัสสิโก’ ในทางพุทธศาสนาที่หมายความว่า “ท่านจงมาดูธรรม” ชวนฉันอยากรู้อยากเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวัดธรรมกาย และอยากพิสูจน์ผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ในฐานะคนนอกที่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดธรรมกาย จากทั้งข่าวจริงข่าวปลอมที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเผยความยิ่งใหญ่ ‘เซอร์เรียล’ จนเกิดคำถามมากมายขึ้นในหัว