Featured
ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน
แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]
‘เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ’ ภาพวาดการ์ตูนหัวโตล้อสันดานคน ที่ไม่เชื่อแม้แต่ความจริงตรงหน้า
คน (ไทย) บางคนหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาถ่ายภาพที่ชอบเป็นพิเศษ ส่องไฟฉายเฉพาะมุมที่สนใจ เสพข่าวแค่บางช่อง บูชาบุคคล และบรรจงเก็บเรื่องราวเหล่านั้นให้ขึ้นใจ เพราะ ‘เชื่อ’ ในสาระสำคัญของสิ่งของ ผู้คน ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตรงหน้า ส่วนพื้นที่รอบข้างหลังเลนส์ที่ไม่ถูกส่อง ไม่เลือกส่อง หรือไม่อยากส่อง ก็ปล่อยไว้แบบนั้น ถึงความจริงจะฟ้องร้องทนโท่เต็มสองตาก็ไม่สน…เพราะอะไร…เพราะบังคับตัวเองให้ไม่เชื่อยังไงล่ะ “เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ” แปลประโยคอีสานเป็นภาษาภาคกลางได้ว่า ทำในสิ่งที่เชื่อ ขณะเดียวกันก็เป็นชื่อนิทรรศการศิลปะของ ลำพู กันเสนาะ ศิลปินหญิงที่ฝากลายเซ็น และลายเส้นบนภาพวาดการ์ตูนหัวโตด้วยสีน้ำมัน ซึ่งแฝงเนื้อหาสะท้อนสังคม จิกๆ กัดๆ มันๆ คันๆ ไว้นานถึง 11 ปี ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งไหน เพราะเป็นครั้งแรกที่เธอเลือกละเลงสีอะคริลิกสีสันฉูดฉาดลงบนผ้าลินิน และทำมันในรูปแบบการ์ตูนช่องที่มีนางแบบ นายแบบเป็นชาวบ้านซึ่งขาดรายได้ช่วงโควิด-19 ในชุมชนอัมพวา โดยหยิบความทรงจำสมัยเด็กที่ชอบนั่งวาดการ์ตูนช่องริมคลอง มาผูกกับเรื่องราวสะท้อนสังคมปัจจุบันให้มีต้น กลาง จบ เหมือนหนังสือขายหัวเราะ หรือมังงะที่ชอบอ่าน “นิทรรศการเฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ ถูกวาดจากความเชื่อของคนในสังคม เสียดสีสถานการณ์ปัจจุบันและการเมือง ที่แต่ละคนมองเห็นสิ่งเดียวกันแต่กลับมองไม่เหมือนกัน เด็กมองอีกแบบ คนแก่มองอีกแบบ แต่ละชนชั้นก็มองกันอีกแบบ และในบางความเชื่อจะมีความเข้าข้างตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง พึงพอใจที่จะเลือกว่าอยากจะเชื่ออะไร […]
#คืนกลางคืน แคมเปญเลิกรอ เยียวยากันเอง ของนักร้องและร้านอาหารช่วงโควิด-19
ในวันที่ความอดทนขาดผึง การนั่งรออย่างเดียวท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันคงไม่ต่างอะไรกับการอดตาย ทำให้ Junk House Music Bar (อยุธยา) ลุกขึ้นมาแท็กทีมกับศิลปินนักร้องและร้านค้าบางส่วน นำโดย แอมมี่ The Bottom Blues, T_047, ไววิทย์, H3F, เอ้ Beagle Hug, Listn’t (ลพบุรี), Labyrinth Cafe (กทม.) ร่วมทำโปรเจกต์ที่ชื่อว่า ‘คืนกลางคืน’ เพื่อจุนเจือกันและกันให้ยัง ‘รอด’ ต่อไปได้ โดยคืนกลางคืนจะรวมตัวเพื่อจัดคอนเสิร์ต Unplugged ในบรรยากาศเป็นกันเองสุดๆ เพราะจำกัดผู้เข้าฟังเพียง 30 คนเท่านั้น แถมยังเปิดพื้นที่ให้พูดคุยกับศิลปินแบบใกล้ชิดอีกด้วย แน่นอนว่าภายในกิจกรรมยังรักษามาตรการป้องกันโควิด-19 เพราะฉะนั้นอุ่นใจได้เลย คืนแรกจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ก.ค. นี้ ณ Junk House Music Bar ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้จากร้านอาหารและศิลปินที่เข้าร่วมโปรเจกต์ Sources :https://www.facebook.com/hellofungjaihttps://www.facebook.com/junkhousemusicbar/
Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น
ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น
NIA องค์กรนวัตกรรมที่อยากลบภาพจำหน่วยงานรัฐ มี พนง. 80% เป็นคนรุ่นใหม่และ First Jobber
คำอธิบายที่เข้าใจง่ายของนวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ จึงไม่แปลกที่คนทำงานด้านนี้จะไม่ยอมอ่อนข้อต่ออดีต สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ว่าตัวเองเป็นองค์กรหัวก้าวหน้า และเมื่อได้พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก็พบว่าพวกเขากำลังพยายามล้างภาพจำหน่วยงานรัฐที่เคยติดตา และมีกลไกสำคัญคือ พนักงานถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ และ First Jobber ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามนายสั่ง เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่บอกว่าทุกคนเสนอโครงการได้เท่าที่อยากทำ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเรียนรู้ทุกกระบวนการของงานชิ้นนั้นตั้งแต่เริ่มต้น วัฒนธรรมและวิธีการทำงานหลายอย่างที่ราวกับลบภาพจำหน่วยงานราชการที่คุ้นเคยกันไปโดยสิ้นเชิง NIA มีการสนับสนุนให้คนทำงานอ่านติดตามทุกข่าวสารทั้งแบบภาพรวมและเจาะลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องก้าวให้ทันคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัปที่ผุดขึ้นทุกวัน หรือองค์กรเอกชนที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และตัวผู้บริหารสูงสุดยังไม่ปิดกั้นหากเก่งจากที่นี่แล้วจะไปโตที่อื่น เปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเองได้เต็มที่ ภายใต้ความเป็นมืออาชีพ เพราะอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง NIA คืออะไร หน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ทำงานกับภาคเอกชนและภาคสังคมเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่อยากนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาแปลงเป็นนวัตกรรมและสามารถใช้งานได้จริง เป้าหมายของเราคือทำให้ประเทศมีระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์อนาคตในระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยระบบที่แข็งแกร่ง คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเข้ามาอยู่ในระบบ หรือผู้ที่อยู่มานานแล้วก็ต้องมีการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาคือคน ถัดมาคือการมีแพลตฟอร์มแล้วก็โครงสร้างที่เอื้อให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ NIA ทำงานร่วมกับ ‘คนรุ่นใหม่’ […]
LGBTQ+ หางานยาก? คุยกับ โกโก้ กวินตรา Trans Woman ผู้สมัครงาน 200 ที่แต่ไม่มีใครเรียก
สมัยนี้อย่าเลือกงานมากเลย แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศ? โดนกาหัวใบสมัครงาน เพราะไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย ตำแหน่งงานที่จะโปรโมตสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เธอไม่ใช่ผู้หญิง อย่ามาแสดงท่าทางตุ้งติ้ง หรือทำตัวเจ้าฮะให้เห็นตอนทำงานล่ะ ถกประเด็นโอกาสเข้าถึงงานของเพศหลากหลายกับ โกโก้-กวินตรา เทียมไสย์ ผู้หญิงข้ามเพศผู้เป็นนักวิจัยนโยบายให้กับองค์กรระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง พร้อมกับสร้างโปรเจกต์ She Can เพื่อฝึกทักษะและเตรียมพร้อมเยาวชนคนข้ามเพศให้เติบโตเป็นผู้นำในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากเธอเรียนจบปริญญาโทด้าน Gender Studies ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS University of London) ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก้าวชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ใครจะคิดว่าเธอเคยเป็นเด็กจบใหม่ที่ร่อนสมัครงานไปมากกว่า 200 ใบแต่กลับไม่มีใครเรียกไปสัมภาษณ์ จะว่าคุณสมบัติที่มีไม่เหมาะสมกับงานทั้งสองร้อยงานเลยก็คงไม่ใช่ เธอจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากเหตุแห่งเพศ เพราะสังคมไทยที่เป็นอยู่ไม่มีทั้งกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ ยังคงเหยียด เลือกปฏิบัติ และมอง LGBTQ+ ไม่เท่ากับคนอื่น ไหนว่าอย่าเลือกงาน แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศได้? เธอพร้อมแล้วที่จะถกประเด็นให้คุณได้รู้ งานเลือกเพศ งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทยปี 2561 จากธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคนที่ไม่ใช่ LGBTQ+ รวม 3,502 […]
Made in Charoenkrung ปลุกร้านเก่าแก่ย่านเจริญกรุงให้กลับมาคูลอีกครั้ง
Made in Charoenkrung คือโปรเจกต์ที่ดึงความสามารถของเหล่าช่างฝีมือ และทักษะความเจ๋งของร้านเก่าแก่ในย่านเจริญกรุง ให้กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยการผนึกกำลังเสริมของเหล่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ปังขึ้น
วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย
ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]
MUD Jeans แบรนด์ที่รีไซเคิลเดนิมเป็นตัวใหม่ ให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion
แบรนด์ยีนส์ที่รีไซเคิลเดนิมให้เป็นตัวใหม่ และมีระบบให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion
เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’
ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น
‘ป้ายบิลบอร์ด’ จากสิ่งโปรโมตคณะละครสัตว์ ไปเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน
คำว่า ‘ให้เช่าพื้นที่โฆษณา’ แผ่หลาไปทั่วทุกอณูของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ใบปลิวเล็กๆ ป้ายตามสถานีรถไฟฟ้า ไปจนถึงบิลบอร์ดริมมอเตอร์เวย์ เพื่อเชิญชวนให้เหล่าผู้ประกอบการใช้โปรโมตธุรกิจของตัวเอง หรือในปัจจุบันก็เห็นเหล่าแฟนคลับใช้พื้นที่โฆษณาเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน หรือดาราที่ชื่นชอบ แต่หารู้ไม่ว่าต้นกำเนิดของป้ายโฆษณาถูกใช้ในแวดวงของ ‘คณะละครสัตว์’ มาก่อน เริ่มต้นจากคณะละครสัตว์ จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้น ‘ป้ายโฆษณา’ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1835 โดย Jared Bell สำหรับประชาสัมพันธ์คณะละครสัตว์ Barnum And Bailey ในนิวยอร์ก เขาทำโปสเตอร์ขนาด 9×6 ฟุตและอัดแน่นไปด้วยสีสันอันดึงดูดตา พ่วงด้วยกิจกรรมต่างๆ ในคณะละคร เพื่อบอกกล่าวผู้ชมที่สนใจว่าหากคุณมาชมการแสดงจากคณะละครสัตว์ คุณจะได้รับประสบการณ์แบบไหนกลับไปบ้าง หลังจากที่เขาปล่อยป้ายประชาสัมพันธ์ออกไป ก็เริ่มมีคณะละครสัตว์อื่นๆ อย่าง The Hagenbeck-Wallace Circus หันมาใช้ป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์บ้าง ป็อปปูลาร์เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ ช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ถือเป็นยุคปฏิวัติครั้งสำคัญของป้ายโฆษณา เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเข้ามาทำตลาด ซึ่ง Model T เป็นหนึ่งในรถยนต์ราคาประหยัดคันแรกๆ ทำให้คนอเมริกันจับจ่ายซื้อรถมากขึ้น ส่งผลให้ถนนและทางหลวงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่หลั่งไหลเข้าเมืองอย่างไม่ขาดสายและกลายเป็นรูปแบบการขนส่งหลักของเมือง ทำให้บริษัทใหญ่ๆ เห็นพื้นที่โฆษณาและตั้งป้ายริมถนนเยอะขึ้น โดยเฉพาะ […]
‘ยานณกาล’ สตูดิโอที่อยากให้เซรามิกเป็นงานอาร์ตมาช่วยเปลี่ยนบรรยากาศบ้านให้มีชีวิต
ท่ามกลางความเร่งรีบ เสียงจอแจ และรถยนต์อันแสนพลุกพล่านของย่านนางลิ้นจี่ ฉันได้ยืนหยุดอยู่ตรงหน้าประตูไม้บานใหญ่ ซึ่งเป็นทางเข้าสตูดิโอเซรามิก ‘ยานณกาล’ (Yarnnakarn) และทันทีที่ก้าวเท้าเข้าร้าน กลับต้องแปลกใจในความเงียบสงบที่ยึดครองพื้นที่ชั้น 1 ซึ่งห่างจากถนนไม่ถึง 5 เมตร เป็นความตั้งใจของ ‘กรินทร์ พิศลยบุตร’ และ ‘นก-พชรพรรณ ตั้งมติธรรม’ ที่อยากให้สเปซของยานณกาลเป็นหลุมหลบภัย เพื่อปลีกตัวออกจากความวุ่นวาย สเปซแต่ละมุมถูกประดับประดาไปด้วยเครื่องปั้นเซรามิก ทั้งของใช้ ของกระจุกกระจิก หรือของแต่งบ้านให้เราเลือกสรรตามชอบ ซึ่งฉันกลับไม่รู้สึกว่าเรากำลังเลือกซื้อสินค้าในร้านขายของ แต่เหมือนเดินชมงานเซรามิกในอาร์ตแกลเลอรีเล็กๆ ที่หากถูกใจชิ้นไหนก็จ่ายเงินแล้วหิ้วกลับบ้านไปได้เลย ยานณกาล = พาหนะที่พาเราเดินทางผ่านกาลเวลา กว่ายานณกาลจะเป็นรูปเป็นร่างได้ทุกวันนี้ กรินทร์เล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาเรียนจบเอกหัตถศิลป์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาไม่ได้ตั้งใจทำสตูดิโอเซรามิกในตอนแรก แต่มีความคิดว่าอยากหาอาชีพที่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่กระบวนการทำ ไปจนถึงการลงมือขาย ซึ่งช่วงหนึ่งเขาได้พับความคิดตรงนั้นเอาไว้ แล้วไปทำงานอย่างอื่นแทน “ช่วงหนึ่งเราไปทำงานที่โรงงานเซรามิก แล้วเราทำ Mass Production คือทำปริมาณเยอะๆ พันชิ้น หมื่นชิ้น แล้วพอมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่าความรู้ที่มีจากการทำงานในโรงงานบวกกับความถนัดของเรา มันน่าจะพอทำเองได้นะ เลยออกมาทำ ซึ่งความตั้งใจแรกคิดว่าอยากทำ Home Studio มีเซตเตาเผาเล็กๆ […]