Featured
สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน
เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]
FINA กลับคำหลังกระแสตีกลับ ไม่ให้คนดำสวมหมวกว่ายน้ำสำหรับผม Afro ในโอลิมปิก
ห่างหายไปนานกับการแข่งขันกีฬาระดับชาติอย่างโอลิมปิก ไม่ใช่แค่กองเชียร์ทั่วโลกที่พร้อมแต่นักกีฬาหลายเชื้อชาติก็พร้อมเต็มที่เช่นกัน โดยในปีนี้แบรนด์อุปกรณ์ดูแลผมและหมวกว่ายน้ำอย่าง ‘Soul Cap’ ได้เข้าสนับสนุนนักกีฬาว่ายน้ำผิวดำ แต่กลับถูกสหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) ปฏิเสธคำขอให้นักกีฬาใช้หมวกว่ายน้ำของแบรนด์นี้ในการแข่งขันโอลิมปิกเสียอย่างนั้น FINA ให้เหตุผลว่าหมวกว่ายน้ำของ Soul Cap นั้นไม่เหมาะสมเพราะ ‘ไม่เป็นไปตามรูปทรงธรรมชาติของศีรษะ’ หมวกว่ายน้ำของ Soul Cap นั้นคิดค้นมาให้ขนาดเหมาะสมกับผมทรง Dreadlock, Afro ผมที่ได้รับการต่อมา ผมที่หยิกฟูและหนาของนักกีฬาหลายๆ คน เพราะหมวกว่ายน้ำที่มีอยู่ในตลาดนั้นเล็กเกินกว่าจะครอบผมของนักกีฬาได้หมด อีกทั้งสภาพผม Afro ยังแห้งกว่าสภาพผมอื่นๆ ทำให้ได้รับความเสียหายจากสารเคมีในสระว่ายน้ำมากกว่า นักว่ายน้ำผิวดำหลายคนออกมาแสดงความเห็นถึงการตัดสินในครั้งนี้ว่า FINA ‘ไม่สนใจ’ อุปสรรคเรื่องการดูแลรักษาผมของนักว่ายน้ำผิวดำซึ่งทำให้นักกีฬาว่ายน้ำผิวดำหลายคนต้องล้มเลิกความฝันที่จะเป็นนักกีฬาไป ปัญหานี้ยังส่งผลถึงสัดส่วนนักกีฬาผิวดำในวงการนักว่ายน้ำที่มีไม่มากเท่านักว่ายน้ำเชื้อชาติอื่นๆ ทำให้เด็กและเยาวชนขาดบุคคลสร้างแรงบันดาลใจ คำปฏิเสธในครั้งนี้ทำให้นักกีฬาว่ายน้ำผิวดำหลายคนผิดหวังและใจสลาย และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนัก จนในที่สุด FINA ออกมาประกาศว่าอยู่ในขั้นตอน ‘ทบทวนการตัดสินใจ’ เรื่องคำขอใช้หมวกว่ายน้ำของ Soul Cap Sources : BBC News | https://www.bbc.com/news/newsbeat-57688380, https://www.bbc.com/news/newsbeat-57687096
โควิด-19 วิกฤตแต่สุขภาพจิตต้องดี กรมสุขภาพจิตรุกลงพื้นที่แก้ความเครียดให้ระบายความอัดอั้นใน Sati App
ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา ทั้งสภาพแวดล้อม ฝุ่นควัน การเมืองที่ดุเดือด และโควิด-19 ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ดีขึ้นเลย เหล่านี้อาจจะทำให้คุณเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร อยากระบายออกไปให้ใครสักคนฟัง! กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นปัญหาตรงนี้จึงร่วมมือกับ HR ของบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมจากกรมสุขภาพจิตแล้ว ลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เกิดภาวะเครียดสะสม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่รู้สึกหมดหวัง กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้ก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ หากใครไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแต่อยากขอคำปรึกษา กรมสุขภาพจิตยังมี ‘Sati App’ แอปพลิเคชันที่มีกลุ่มผู้ฟังอาสาที่ผ่านการอบรม ‘การฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ’ พร้อมเป็นพื้นที่ให้คุณระบายความคับคั่งในใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเรื่องใดก็ตาม หากคุณต้องการคนรับฟัง ผู้ฟังอาสาเหล่านี้จะฟังทุกเรื่องของคุณโดยไม่ตัดสิน เพราะเชื่อว่าการเยียวยาจิตใจที่ดีที่สุดคือการใช้ใจรับฟัง เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปฯ สร้างบัญชีโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยชื่อจริง ระบบจะนำคุณไปที่หน้า ‘คุย’ และเชื่อมต่อกับผู้ฟังอาสาที่พร้อมจะรับฟังคุณ หรือถ้าใครสนใจเป็นผู้ฟังอาสาก็สามารถสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://www.satiapp.co/th/ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้แล้วทั้งใน Google Play และ App Store Sources : FM91 BKK | https://www.fm91bkk.com/fm-91-103704กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | https://www.facebook.com/THAIDMH/
ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวสวนสัตว์สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้หมี เฟอร์เร็ต เสือ สิงโต ฯลฯ แม้ยังไม่ติดโควิด-19 แต่กันไว้ก่อน
ได้ฉีดวัคซีนว่ายากแล้ว ได้วัคซีนดีๆ นั้นคงต้องรอปาฏิหาริย์ แต่สำหรับเหล่าสัตว์ในสวนสัตว์โอ๊คแลนด์ สหรัฐอเมริกาแค่อยู่เฉยๆ ก็มีคนมาฉีดวัคซีนให้ถึงที่! เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาสวนสัตว์ซานดิเอโกได้เริ่มฉีดวัคซีนในสัตว์จำพวกลิง (Primates) หลังเชื้อโควิด-19 ระบาดในฝูงกอริลรา สัปดาห์นี้สวนสัตว์โอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอเนียร์ จึงเร่งฉีดวัคซีนให้สัตว์ในสวนสัตว์เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ให้อยู่ต่อไป โดยเริ่มจากเจ้าเสือสองตัว จินเจอร์และมอลลี่ และสัตว์อื่นๆ ตามมาอย่างหมีกริซลี สิงโตภูเขา เฟอร์เร็ต ลิง และหมู วัคซีนนี้ได้รับบริจาคมาสำหรับทดลองใช้งาน จากบริษัทโซเอทิส ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ บริษัทผลิตและพัฒนายาสำหรับสัตว์โดยเฉพาะ บริษัทนี้ได้บริจาควัคซีนกว่า 11,000 โดสให้กับสวนสัตว์ในสหรัฐฯ รวม 70 แห่ง และบริจาคให้ศูนย์อนุรักษ์ ศูนย์พิทักษ์สัตว์ สถาบันการศึกษา และองค์กรของภาครัฐหลายแห่งใน 27 รัฐอีกด้วย แม้สัตว์เหล่านี้จะยังไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะทางสวนสัตว์มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ระหว่างเจ้าหน้าที่และสัตว์ และให้เจ้าหน้าที่ดูแลสวมชุดป้องกันอย่างดีเมื่อเข้าใกล้สัตว์ที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายเช่น สัตว์จำพวกลิงไม่มีหาง (Apes) และสัตว์ในวงศ์เสือและแมว (Felines) การฉีดวัคซีนครั้งนี้จึงเป็นเพียงการ ‘ป้องกันไว้ก่อน’ ไม่ใช่แค่สัตว์ในสวนสัตว์เท่านั้นที่เสี่ยงติดเชื้อหรือติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข หรือแมวก็ติดเชื้อโควิด-19 ได้เช่นกัน […]
จุดจบสายปลาส้ม หลังอาร์เจนตินา ห้ามทำฟาร์มแซลมอนเป็นที่แรกของโลก เพราะห่วงสิ่งแวดล้อม
ประวัติศาสตร์โลกต้องจารึกไว้เลยว่า ‘อาร์เจนตินา’ เป็นประเทศแรกของโลกที่ออกกฎหมายห้ามทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิล โดยรัฐสภาของรัฐเตียร์ราเดลฟวยโก (Tierra del Fuego) หมู่เกาะที่อยู่ใต้สุดของประเทศมีมติในเรื่องนี้อย่างเป็นเอกฉันท์ การทำฟาร์มแซลมอนเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อใช้ในทางพาณิชย์ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในหลายด้าน เพราะแซลมอนไม่ใช่สัตว์พื้นถิ่นของแหล่งน้ำบริเวณนั้น แค่การนำสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาก็ส่งผลกระทบต่อจำนวนสัตว์พื้นถิ่นอื่นๆ แล้ว ทั้งยังต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูเพื่อให้แซลมอนแข็งแรง สารเคมีจากยาแพร่กระจายในน้ำเป็นวงกว้าง รบกวนระบบนิเวศโดยรอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่สัตว์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบเท่านั้น ผู้อยู่อาศัยที่มีวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับระบบนิเวศของ Tierra del Fuego มาอย่างยาวนานก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน การตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลจึงถือเป็นการตระหนักประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้การปฏิเสธการทำฟาร์มแซลมอนบริเวณช่องแคบบีเกิลในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าฟาร์มแซลมอนทุกแห่งในอาร์เจนตินาที่ดำเนินกิจการอยู่จะต้องปิดตัวลง แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่มีความหมายอย่างมากต่อทรัพยากรธรรมชาติของโลก เพราะ Tierra del Fuego เป็นหมู่เกาะที่มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ การออกกฎหมายในครั้งนี้จึงแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลตระหนักถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นต้นแบบให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี ที่มีปัญหาเรื่องการทำฟาร์มแซลมอนเช่นเดียวกัน Sources : Patagonia works | https://tinyurl.com/2ephr8u6The Fish Site | https://tinyurl.com/72cz4x49
ชวนดูระบบ SMS ข้อความเตือนภัยฉุกเฉินจาก 4 ทวีปทั่วโลก
ข้อความฉุกเฉินเตือนภัยในแต่ละประเทศจะถูกแจ้งผ่านทางทีมรัฐบาล หรือส่งตรงจากนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วข้อความเหล่านี้ ถูกส่งผ่านระบบ ‘Cell Broadcast (CB)’ ที่เป็นวิธีการส่งข้อความผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ทั้งยังส่งได้ผ่านระบบไร้สายและตามสาย ด้วยความยาวสูงสุดได้ถึง 1,395 ตัวอักษร โดยการส่งต่อข้อความฉุกเฉินถึงผู้คนหลายล้านคน หลากหลายภาษา ตามมาตรฐานจะใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น ซึ่งกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับ Cell Broadcast ได้แล้ว แอบกระซิบว่าสามารถตั้งค่าในโทรศัพท์มือถือได้ทั้งระบบ iPhone และ Android ซึ่งในแต่ละทวีปจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน 01 | ทวีปยุโรป : EU-Alert / Everbridge Public Warning เราเริ่มต้นพาไปส่องการแจ้งเตือนภัยทางฝั่งยุโรป ที่มีเครือข่ายและพื้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ซึ่งมีชื่อว่า ‘EU-Alert’ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยการแทนอักษรย่อประเทศ เช่น NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์GR-Alert : ประเทศกรีซ LT-Alert […]
หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว
เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]
Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ
Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว
‘Dream Construction’ กาดสวนแก้ว ความฝันยุค 90 ที่ทรงจำของคนเมือง
ร.ต.ท. สุชัย เก่งการค้า ได้เนรมิตความฝันของตัวเองให้เป็นความจริง ด้วยความคิดที่จะสร้างพื้นที่การค้าและการท่องเที่ยวโดยตั้งอยู่บนฐานของการอนุรักษ์ธรรมชาติท้องถิ่น ควบรวมเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ‘อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว’ อุทยานการค้าที่ประกอบไปด้วยศูนย์การค้าและโรงแรมจึงเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นที่รู้จักในนามศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ มีความทันสมัยและเป็นแหล่งรวมความบันเทิงที่หลากหลายแห่งยุค กลายเป็นจุดหมายที่ทำให้ผู้คนยุค 80 – 90 แวะเวียนเข้ามาสร้างความทรงจำร่วมกัน การได้ก้าวเข้าไปภายในส่วนของศูนย์การค้าแห่งนี้ครั้งแรกในอีกยุคสมัยหนึ่ง คือปัจจุบัน ทำให้เกิดบรรยากาศทางอารมณ์ที่หลากหลายต่อตัวฉัน การพยายามปรับปรุงพื้นที่ของกาดสวนแก้วเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเหลื่อมกันระหว่างร่องรอยของเค้าโครงสถานที่เดิม ร่องรอยของสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลง และร่องรอยของสิ่งใหม่ๆ ที่อยู่ภายใต้ดินแดนแห่งนี้ ดึงดูดความสนใจให้ฉันได้ออกเดินทางสำรวจ ได้จินตนาการว่าตัวเองก้าวเข้ามาในโลกใบใหม่ ที่ในอดีตนั้นเคยเป็นหรือยังเป็นโลกใบเก่าของใครบางคน มันคือการผจญภัยที่ไม่สามารถทราบถึงจุดสิ้นสุดได้ในตอนนี้ ฉันคือตัวละครที่กำลังตามหาสิ่งที่น่าสนใจอยู่บนโลกแห่งความจริงที่คล้ายความฝัน ใช้สายตาสังเกต จากนั้นจึงถ่ายทอดความรู้สึกนั้นออกมาด้วยภาพถ่าย ‘Dream Construction’ หรือ ‘ดินแดนแห่งฝัน’ ไม่เพียงแค่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของผู้คนที่เกิดขึ้นกว่า 30 ปี ของเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความรู้สึกของฉันที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย
“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak
“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]
ถ้า ‘เรือแสนแสบ’ อัปเลเวลเป็น ‘ระบบราง’
อยู่ร่วมกับคลองเดิม ตอบโจทย์คนเมือง และป้องกันแพร่ระบาดโควิด
จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์
โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้ ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]