9 นโยบายฟื้นฟูเมือง Hawkins ใน Stranger Things ให้ปลอดภัย ไร้กังวล

จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปเกิดเป็นชาวเมือง Hawkins ในซีรีส์ยอดฮิต Stranger Things ประเดิมงานชิ้นแรกในคอลัมน์ Urban Isekai ที่จะพาทุกคนสวมบทบาทไปในต่างโลก เพื่อชี้ประเด็นหรือปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขแบบเมืองๆ แน่นอนว่านาทีนี้หากพูดถึงซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Stranger Things ซีซัน 4 ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราเลยขอหยิบซีรีส์ยอดฮิตเรื่องนี้มากระทำการอิเซไกซะหน่อย แฟนซีรีส์ Stranger Things ย่อมรู้อยู่แล้วว่า Hawkins เมืองเล็กๆ กลางป่าในรัฐ Indiana นั้นเกิดเรื่องลึกลับ และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าขัดข้องอย่างไม่มีสาเหตุ เสียงร้องแปลกประหลาดจากชายป่ายามค่ำคืน ชาวเมืองหายสาบสูญ กระทั่งมีเหตุฆาตกรรมภายในเมือง จนเมืองนี้ ได้รับฉายาว่า ‘เมืองต้องคำสาป’ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอรับบทเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Hawkins ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลพัฒนาเมืองให้ดี โดยขอเสนอเป็น 9 นโยบายที่จะช่วยล้างคำสาป ทำให้ Hawkins กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย 1. ตรวจสอบหน่วยงานในพื้นที่ เรื่องลึกลับใน Stranger Things มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลองแห่งชาติ […]

ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถที่ส่งต่อความใส่ใจบนท้องถนนให้คนกรุงมากว่า 75 ปี

เสียงเครื่องยนต์ดังแว่วในอากาศ  มองแวบแรก ภาพตรงหน้าของเราคือสวนร่มรื่นที่น่าเดินไม่หยอก แต่หากกวาดสายตาดูดีๆ ภายในสวนกว้างแห่งนี้มีถนนกว้างที่ถูกดีไซน์เป็นทางตรง ทางโค้ง และเนินสูง มีป้ายจราจรที่เด่นหราอยู่ท่ามกลางสีเขียวของพืชพรรณ ไหนจะรถยนต์จอดเรียงรายหลายสิบคัน หนึ่งในนั้นคือรถจี๊ปคันใหญ่ที่ดูจากทรงและสีก็รู้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน ที่นี่คือสนามหัดขับรถ และไม่ใช่สนามหัดขับรถธรรมดา แต่เป็นสนามของ ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถยนต์เก่าแก่ประจำกรุงเทพฯ ที่เปิดมานานกว่า 75 ปี เปลี่ยนผู้บริหารมาแล้วสองรุ่น และสอนนักเรียนให้ขับรถได้ดีจนกลายเป็นเจ้าของใบขับขี่มาแล้วกว่า 86 รุ่น อะไรทำให้โรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งนี้ยืนระยะมาได้อย่างยาวนาน ในยามสายของวันที่อากาศเป็นใจ เรามีนัดกับ ครูใหญ่ฑิตยาภรณ์ ทาบทอง ทายาทรุ่นสองที่ใครต่อใครเรียกติดปากว่า ‘ครูใหญ่’ ผู้รับช่วงต่อในการสอนและบริหารโรงเรียนแห่งนี้ ครูใหญ่เดินเข้ามาต้อนรับเราที่อาคารสำนักงานของโรงเรียนอย่างใจดี และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ในอากาศเบาลง ท่านก็เริ่มเล่าประวัติศาสตร์และหัวใจของโรงเรียนแห่งนี้ให้ฟัง เรียนขับรถ 15 บาท ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 ครูสวง ยังเจริญ และครูพิศพงศ์ ยังเจริญ พ่อแม่ของครูใหญ่เริ่มทำธุรกิจจากการเปิดปั๊มน้ำมัน 1 หัวจ่ายของบริษัท Shell ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายหลักในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ส่งผลให้มีลูกค้ามากมายแวะเวียนมาไม่ขาด เมื่อธุรกิจไปได้ดี อาจารย์สวงผู้เป็นพ่อก็เริ่มมีความคิดอยากสอนขับรถนักเรียนบ้าง เนื่องจากคุณย่าของครูใหญ่เคยเปิดโรงเรียนสอนขับรถชื่อ ‘สมบูรณ์ดี’ […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

URBAN เจอนี่ EP.5 ขอพาสหายชาวเจอนี่ เจอกับ หมอ (สัตว์) แปลก

เมื่อป่าธรรมชาติเปลี่ยนเป็นป่าคอนกรีต สัตว์ในป่ากลายเป็นสัตว์ป่าในเมืองประกอบกับรูปร่างที่น่ากลัว ภาพจำที่ไม่เป็นมิตร หรือความเข้าใจผิด ที่มีต่อสัตว์เหล่านี้ ทำให้ความปลอดภัยของสัตว์ป่าในเมืองลดน้อยลงจากน้ำมือมนุษย์ URBAN เจอนี่ EP.5 ขอพาสหายชาวเจอนี่ เจอกับ หมอ (สัตว์) แปลก ‘น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา’ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง หมอผู้ที่เป็นที่พึ่งเหล่าสัตว์แปลก! ไม่ว่าจะงู เต่า หรือแม้แต่ตัวเงินตัวทอง ที่นี่ก็รับรักษาทั้งหมด! ไม่ใช่แค่อยากบอกว่าที่นี่รักษาสัตว์เหล่านี้ แต่เราจะพาทุกคนไปพูดคุยกับคุณหมอถึงความสำคัญของสัตว์ป่าในเมืองที่มีต่อระบบนิเวศน์ และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ กับสัตว์ป่าในเมือง จะทำได้อย่างไรโดยที่เราไม่ต้องไปทำร้ายพวกเขา หากทุกท่านพร้อมแล้วมารับชมวิดีโอนี่กันเลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #สัตว์ป่า #สัตว์

Unlock the City EP.02 : เมืองซึมเศร้า เราเศร้าซึม

รู้หรือไม่ว่า ‘โรคซึมเศร้า’ หรือภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจไม่ได้มีสาเหตุจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองเท่านั้น ทว่ายังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ผู้คนยุคนี้ โดยเฉพาะคนเมือง ไม่มีความสุข หาทางออกไม่ได้ ขาดความมั่นใจ จนอาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า  รถติด พื้นที่สีเขียวที่ไม่เพียงพอ ขนส่งสาธารณะที่ไม่ครอบคลุม มลภาวะทางกลิ่นและเสียง ปัญหาเมืองเหล่านี้ไม่ได้สร้างความลำบากทางกายให้ผู้คนในเมืองเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจที่หลายคนอาจไม่ทันนึกถึง หลังจากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจถึงบทบาทผู้ว่าฯ กทม. ไปเมื่อ EP.01 (ย้อนฟังที่ ) ในยุคที่ยอดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โฮสต์รายการ Unlock the City พนิต ภู่จินดา จึงอยากชวนทุกคนมาปลดล็อกความเข้าใจเรื่องการออกแบบเมืองที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้อยู่อาศัยกับ กันตพร สวนศิลป์พงศ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา ผู้ร่วมก่อตั้ง MasterPeace การออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผู้คนสำคัญยังไง แล้วเราจะใช้ชีวิตแบบไหนถึงจะอยู่ในเมืองนี้ได้อย่างไม่เจ็บปวดนัก มาฟังไปพร้อมๆ กัน ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : youtube.com/watch?v=KdLTDF7wbO8 Spotify : https://spoti.fi/38FTz2A Apple Podcasts : https://apple.co/3t73GnR SoundCloud : […]

URBAN เจอนี่ l อยากเจออะไร มาดู!

หยุดก่อนครับ! หากคุณอยากเจอเรื่องราวโดนๆ ประเด็นดีๆ แบบที่ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อนในปีนี้ ห้ามพลาดรายการใหม่ของ Urban Creature อย่าง URBAN เจอนี่! อยากเจอต้องได้เจอ การเดินทางเรื่องราวของเรา เดินทางมา 4 EP. เจอเรื่องราวมากมาย ไม่ว่าจะวงการกีฬา รถ EV อาหารจากพืช รวมถึงบุกเจอวงการขายของออนไลน์ ก็เจอมาแล้ว! ต่อจากนี้ การเดินทางของ URBAN เจอนี่ จะพาคุณไปเจอกับอะไร ติดตาม Urban เจอนี่ ได้ทาง Facebook, Youtube และเว็บไซต์ Urban Creature ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. หากคุณมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เจออยากให้เราไปเจออะไร ร่วม Comment พูดคุยกับเราได้เลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่

เวฬาวาริน โรงแรมจากตึกเก่า 100 ปี ที่คืนชีพให้วารินฯ กลับมาคึกคัก

เราได้ยินมาว่า ตอนนี้อีสานสุดจะครึกครื้นและอุบลราชธานีก็เต็มไปด้วยความคึกคัก เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีคอมมูนิตี้ของคนรุ่นใหม่ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นเต็มไปหมด สำหรับใครที่มาเที่ยวอุบลฯ แต่ไม่รู้จะไปพักที่ไหน Urban Guide ชวนขับรถต่ออีกสักประมาณ 10 นาที ไปที่เวฬาวาริน โรงแรมที่สร้างจากตึกเก่าอายุร่วม 100 ปี แห่งอำเภอวารินชำราบ ที่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ไปนิดเดียว แค่ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตยไปก็ถึงแล้ว เวฬาวารินคือโรงแรมที่มีโครงสร้างเดิมเป็นไม้ และตั้งอยู่บริเวณถนนทหารซึ่งสมัยก่อนเป็นย่านที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปี คนที่จะเข้ากรุงเทพฯ หรือโคราชผ่านทางรถไฟ ก็ต้องแวะมานอนที่ละแวกนี้ก่อนทั้งนั้น แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น มีสนามบินมาเปิดให้บริการ ความเจริญก็ย้ายไปอยู่ในตัวเมืองอุบลฯ จนย่านนี้เต็มไปด้วยความเงียบเหงา พระอาทิตย์ตกดินเมื่อไหร่ก็เงียบสนิทและมีสถานะเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น จากอาคารไม้ที่มองจากชั้นล่างมีพื้นชั้นบนผุพังจนมองทะลุไปได้ถึงหลังคากลับมาเป็นโรงแรมได้อย่างไร การคืนชีพของอาคารหลังเดียวทำให้ย่านนี้กลับมามีชีวิตชีวาได้เพราะอะไร เราชวนย้อนดูเรื่องราวที่ไหลผ่านเวฬาวารินไปพร้อมกันเลยครับ  เดิมทีอาคารอายุร่วมร้อยปีหลังนี้มีเจ้าของรุ่นดั้งเดิมคือท่านผู้หญิงตุ่น โกศัลวิตร ใช้ตึกนี้เป็นที่เก็บสินค้า และขนถ่ายสินค้าจากแม่น้ำมูล แล้วทีนี้คุณตาของ บี-อภิวัชร์​ ศุภากร เจ้าของคนปัจจุบัน มีความสนิทชิดเชื้อกันกับวิชิต โกศัลวิตร สามีของท่านผู้หญิง เพราะเป็นคนค้าคนขายและเป็นคนจีนเหมือนกัน จึงซื้อต่อมาได้เป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว ประจวบเหมาะกับเวลาที่ได้คลังเก็บสินค้าเก่ามาก็เป็นเวลาเดียวกับที่ทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ละแวกนี้เป็นย่านความเจริญเก่า ที่นักเดินทางต้องมาพักก่อนที่จะขึ้นรถไฟในเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้มีโรงแรมเกิดขึ้นประมาณ […]

FYI

#LetHerGrow แคมเปญว่าด้วยเส้นผมที่สะท้อนว่า ‘ค่านิยมของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว’

“เรื่องหนึ่งที่เราเพิ่งค้นพบระหว่างทำแคมเปญนี้คือ การได้รู้ว่าปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกกฎการตัดผมไปแล้ว แต่คนที่ไม่ยอมเลิกคือโรงเรียน” ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เราเห็นว่า ต้นตอของปัญหาเรื่องทรงผมนั้นไม่ได้อยู่ที่กฎข้อบังคับ แต่อยู่ที่ค่านิยม ความเชื่อของคนไทย ซึ่งกำลังกดทับคนไทยด้วยกันเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และมันยังถูกส่งต่อไปให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในรั้วโรงเรียนอีกด้วย นี่จึงเป็นที่มาของแคมเปญโฆษณา #LetHerGrow ล่าสุดของ Dove ซึ่งเป็นที่พูดถึงในสังคมวงกว้างตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว เพราะนอกจากภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ ไก่–ณฐพล บุญประกอบ มารับหน้าที่ผู้กำกับแล้ว ก็ยังมีการต่อยอดแคมเปญไปสู่สื่ออื่นๆ อย่างหนังสือพิมพ์ และจัดทำไมโครไซต์ ให้ทุกคนได้เข้าไปแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเส้นผมอีกด้วย เมื่อมีโอกาส เราจึงชวนณฐพล และตัวแทนผู้อยู่เบื้องหลังอย่าง แฟร์-พาณิภัค ศิริรัตนชัยกูล ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์โดฟ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และปุ้ย–สราพร เอี่ยวภิรมย์กุล ผู้อำนวยการแผนกบริหารงานลูกค้า ซีเลคท์ สตาร์ท มาพูดคุยกันถึงที่มาที่ไป กระบวนการ และเรื่องราวสนุกๆ เบื้องหลัง เพราะกว่าที่จะออกมาเป็นแคมเปญนี้ พวกเขาซุ่มทำกันแบบข้ามปีเลยทีเดียว ความสวยงามที่แท้จริง เริ่มต้นจากความมั่นใจ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2564 แคมเปญนี้เริ่มต้นขึ้นจากแก่นความเชื่อของโดฟนั่นคือ Real Beauty หรือความงามที่แท้จริง ไม่ได้มาจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันต้องเกิดขึ้นจากความมั่นใจ ไม่ใช่ความวิตกกังวลว่าเราจะแตกแถวออกจากบิวตี้สแตนดาร์ดของสังคมหรือไม่ “จากโจทย์แรกของเรา ทางแบรนด์มีไอเดียหลักมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าเขาอยากตั้งคำถาม คือมันจะไม่ใช่การสรุปว่าอะไรถูกอะไรผิด […]

Unlock the City EP.01 : ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยเราได้จริงหรือ

ประเดิมรายการแรกของ Urban Podcast ด้วย ‘Unlock the City’ ที่จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเมืองผ่านเสียงของผู้อยู่อาศัยในหลากหลายแง่มุม ดำเนินรายการโดยหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ นายกสมาคมนักผังเมืองไทยอย่าง พนิต ภู่จินดา ประเด็นแรกของ Unlock the City คือ บทบาทหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม. ที่แท้จริงแล้วตำแหน่งนี้ทำอะไรได้บ้าง ขอบเขตอำนาจของผู้ว่าฯ กทม. มีมากน้อยแค่ไหน รวมถึงปัญหาใดของกรุงเทพฯ ที่ควรได้รับการดูแลแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเพื่อนร่วมเมืองที่จะมาร่วมพูดคุยใน EP. แรกนี้คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเวลาโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ เราอยากชวนมาทำความเข้าใจถึงภาพรวมของผู้ว่าฯ กทม. แบบแน่นๆ กันอีกสักรอบ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube: youtu.be/_OSsHsdNnV8 Spotify: open.spotify.com/show/08bQ1XnO8QNuIlYTWDj08l Apple Podcasts: podcasts.apple.com/us/podcast/urban-podcast/id1624842718 SoundCloud: […]

วาร์ปกรุงเทพฯ 2569 เมืองจะพัฒนาแบบไหนในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

ขออาสาพาชาวกรุงฯ ไปสำรวจเมืองในความคิดผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 7 ท่านที่มีแนวคิดโดดเด่นอยากจะปรับเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นในปี 2569 ระยะเวลา 4 ปีของการทำงาน พวกเขาจะพัฒนาเมืองอะไรบ้างด้วยแนวคิดของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นเมืองคนเท่ากัน เมืองแห่งความสุข เมืองสวัสดิการทันสมัย เมืองแห่งความหวัง เมืองหยุดโกง เมืองน่าอยู่ และเมืองมั่งคั่ง ตามไปดูกัน! เมืองคนเท่ากันเบอร์ 1 | วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประเดิมเมืองแรกยินดีต้อนรับเข้าสู่ ‘เมืองคนเท่ากัน’ ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 จากพรรคก้าวไกลที่มีเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียม จากการมีสิทธิ์เข้าถึงสวัสดิการดีๆ ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 1. สร้างที่อยู่ไม่เกิน 10,000 บาทใจกลางเมือง ด้วยราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ แพงมากจนคนทั่วไปซื้อไม่ไหวและต้องย้ายออกไปอยู่นอกเมือง ทำให้เกิดปัญหาวนลูปทั้งแบกค่าโดยสารแพงและรถติดสุดเรื้อรัง วิโรจน์จึงสร้างโปรเจกต์ที่อยู่อาศัยในเมือง 10,000 ยูนิตราคาไม่เกิน 3,500 – 9,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดครอบครัว) เริ่มจากขอเช่าที่ราชพัสดุหรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้คนเมืองในระยะยาว 2. ใบเดียวขึ้นรถไฟฟ้าทุกสาย ตั๋วรถเมล์จ่าย […]

ลิ้นชักของกล้วยปิ้ง

“ถ้าความทรงจำ เปรียบเสมือนตู้ที่มีลิ้นชัก ลิ้นชักแต่ละใบ คงมีเรื่องราวความทรงจำที่ฉันได้เก็บเอาไว้ ในตู้ความทรงจำที่มีชื่อว่า ‘กล้วยปิ้ง’” หากคุณเคยสูญเสียสัตว์เลี้ยงตัวโปรด และยังเก็บข้าวของของเขาไว้ดูต่างหน้า คงเข้าใจดีว่าความคิดถึงมีหน้าตาเป็นอย่างไร คงไม่ใช่เรื่องที่แปลกมากนัก หากคนเรามักจะมีช่วงเวลาที่หวนกลับไปคิดถึงเรื่องราวในอดีต สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเหตุการณ์ ช่วงเวลา หรืออะไรก็ตามที่มีผลต่อความรู้สึก หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์การสูญเสียบางสิ่งบางอย่างในชีวิต เช่นเดียวกับ ‘จิรัญญา มณีรัตนโชติ’ เจ้าของผลงาน ‘ลิ้นชักของกล้วยปิ้ง’ ที่ได้สูญเสียสุนัขจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้อักเสบอย่างกะทันหัน และทำให้เธอได้เรียนรู้ว่าความเจ็บปวดจากการสูญเสียหนึ่งชีวิตที่รักมากเป็นอย่างไร จิรัญญาต้องการบันทึกเรื่องราวความทรงจำระหว่างเธอที่มีต่อ ‘กล้วยปิ้ง’ ผ่านสิ่งของในลิ้นชักแต่ละใบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวกิจวัตรของกล้วยปิ้ง สิ่งของที่ชอบเล่น ช่วงเวลาที่เคยถ่ายงานด้วยกัน หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาการเจ็บป่วยและการสูญเสีย ผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงแต่เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความทรงจำและความคิดถึงระหว่างการสูญเสียสัตว์เลี้ยงที่รัก แต่ยังสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน การจากลาไม่สามารถลบเลือนภาพความทรงจำของกล้วยปิ้งไปจากเธอได้เลย Urban Eyes : จิรัญญา มณีรัตนโชติติดตามผลงานได้ที่ IG : porjirunya

อยากขายของออนไลน์ให้ปัง ห้ามพลาด! l Urban เจอนี่ เจอ Kaojao EP.3

หากคุณขายของออนไลน์ หรือมีแพลนที่จะขายในอนาคต ห้ามพลาด! การเดินทางของ URban เจอนี่ EP. นี้ เราขอพาคุณบุกร้านค้าสุดปังในไลน์สินค้าแม่และเด็ก อย่าง PUMPNOM ล้วงเบื่องหลังความสำเร็จที่คุณอาจไม่เคยรู้ และทดลองเครื่องมือช่วยขายของออนไลน์ ที่ทำให้การขายของออนไลน์เป็นเรื่องง่ายดาย ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ อย่าง ‘Kaojao’ ติดตาม ‘URBAN เจอนี่’ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook และ Youtube หากคุณมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เจออยากให้เราไปเจออะไร ร่วม Comment พูดคุยกับเราได้เลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #ขายของออนไลน์ #Kaojao

1 63 64 65 66 67 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.