Featured
สายของหวานห้ามพลาด! กับช็อกโกแล็ตที่ไทยตั้งแต่ชื่อยันรสชาติ l Urban เจอนี่ เจอคราฟต์ช็อกโกแลต
ใครว่าช็อกโกแล็ตไม่เหมาะกับของคาว! Urban เจอนี่ ตอนนี้ชวนทุกคนไปทำคราฟต์ช็อกโกแล็ตกับคุณ ‘อิ๋ว-ภูริชญ์ ฐานะวุฑฒ์’ Chocolate Maker การันตีรางวัลระดับโลก จากร้าน ‘ภราดัย’ ที่นำเสนอความเป็นไทยตั้งแต่ขั้นตอนเลือกเมล็ดโกโก้ คัดสรรส่วนผสม ปรุงรสชาติ ไปจนถึงออกแบบกล่องให้สวยเก๋ มีเอกลักษณ์แบบสุดๆ คราฟต์ช็อกโกแล็ตยอดนิยมของทางร้านมีทั้งรสต้มยำ ต้มข่า เมี่ยงคำ ชื่ออาจจะฟังดูแปลก แต่รับรองว่ารสชาติอร่อยเข้ากันอย่างไม่น่าเชื่อ!
NODE OF MUSIC CITY ธีสิสที่อยากทำให้ย่านเจริญกรุงรุ่งเรือง กลายเป็นเมืองดนตรีสร้างสรรค์
เป็นเวลาสองปีกว่าๆ ที่เราต้องทำงานที่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น แต่แล้ววันเวลาที่ต้องเว้นระยะห่างเหล่านั้นก็ดูจะคลี่คลายกลับกลายเป็นความปกติ เห็นได้จากชาวต่างชาติจำนวนหลายล้านคนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย ไหนจะอีเวนต์ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้คนได้ออกมาใช้ชีวิตกัน อย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงปลายปีนี้ ก็คงเป็นขบวนคอนเสิร์ตที่หลั่งไหลมาจัดในไทยแบบไม่ให้พักเก็บเงินกันเลย ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปช่วงเวลาก่อนหน้าที่โรคระบาดจะมาเยือน กรุงเทพฯ ก็เรียกได้ว่าเป็นเมืองดนตรีที่มีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศให้ผู้คนได้เลือกชมกันอย่างไม่ขาดสาย ในเดือนเดือนหนึ่งอาจมีมากกว่าสิบงานด้วยซ้ำไป ‘เบนซ์-จิรศักดิ์ จุลมณี’ นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเป็นผู้ที่คลุกคลีกับการเล่นดนตรีตั้งแต่สมัยเรียน มีผลงานเพลงของตัวเองและมีงานแสดงในสถานที่ต่างๆ รวมถึงได้เห็นการทำงานของทีมผู้จัดงานดนตรี ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจและเกิดเป็นการตั้งคำถามในใจของเขาว่า “ในยุคสมัยที่ศิลปินกับผู้ฟังเข้าถึงกันง่ายขึ้น ทำไมสถานที่สำหรับการแสดงดนตรีในไทยยังมีน้อย ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่มีพื้นที่ในการแสดงออกมากกว่า” เพื่อตอบคำถามข้อนั้น เบนซ์ได้ศึกษารวบรวมข้อมูล โดยใช้ความรู้ในสิ่งที่เรียนและความสนใจในเรื่องดนตรี ทำธีสิสที่มีชื่อว่า ‘NODE OF MUSIC CITY’ เพื่อหวังสร้างเมืองดนตรีให้เกิดขึ้นจริง NODE OF MUSIC CITY NODE OF MUSIC CITY คือการสร้างเมืองดนตรีที่เชื่อมถึงกันเป็นจุดต่อจุด โดยโปรเจกต์นี้เลือก ‘เจริญกรุง’ หนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ ที่มีศักยภาพและเหมาะควรต่อการจัดงานดนตรี เพราะมีทั้งร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ และพื้นที่ต่างๆ ที่มักจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกส่วนสำคัญคือ เจริญกรุงมีอาคารและสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ […]
Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก
เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต 2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]
‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก
คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]
จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อย Carbon Footprint 400,000 ตัน
ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกต่างตื่นตัว เพราะสภาพแวดล้อมทุกวันนี้อยู่ในช่วงวิกฤต โลกมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนัก (Climate Change) ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมทุกพื้นที่แปรเปลี่ยนไปตามๆ กัน คำว่า ‘ทั่วโลกตื่นตัว’ ในที่นี้ ไม่ใช่แค่เรื่องใหญ่ระดับชาติที่เหล่าผู้นำประเทศกังวลเท่านั้น แต่มันยังลงลึกไปถึงหน่วยย่อยในทุกอุตสาหกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน เพราะทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการผลิต การบริการ หรือสิ่งบันเทิงอย่าง ‘คอนเสิร์ต’ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อนไม่แพ้กัน ยิ่งหลังผ่านพ้นช่วงกักตัว คอนเสิร์ตก็กลับมาจัดขึ้นบ่อยครั้ง และมีคนให้ความสนใจจำนวนมาก เพราะทุกคนต่างโหยหากิจกรรมและความบันเทิงนอกบ้านที่ห่างหายไปนานหลายปี ในทางกลับกัน ปัญหาโลกร้อนยังคงมีอยู่และเกิดสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหนักจากฝีมือมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จัดคอนเสิร์ต 1 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400,000 ตัน ปัจจุบันหลายองค์กรในอุตสาหกรรมพยายามควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลงตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องมีค่ากลางในการประเมิน และเกิดการจัดทำ ‘Carbon Footprint’ หนึ่งวิธีการวัดและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยขององค์กร โดยคิดตั้งแต่การผลิต การใช้งาน และการกำจัดของเสีย คำนวณออกมาเป็นตัวเลขหน่วยกรัม กิโลกรัม หรือตัน เพื่อนำผลลัพธ์ไปจัดการและบริหารการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในองค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รายงาน Tyndall […]
จัดงานแต่งทั้งทีต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร เมื่อราคาของความรักอาจแพงเกินรับไหวในยุคนี้
งานแต่งที่ใดเป็นได้แค่แขกรับเชิญ อยากแต่งกับเขาเหลือเกิน แต่ต้องมีงบเท่าไรถึงจะจัดงานแต่งได้ เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงวัยหนึ่ง การมีครอบครัวของตัวเองอาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของใครหลายคน การแต่งงานจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวไปโดยปริยาย และเมื่อพูดถึงการแต่งงานก็ไม่ได้มีแค่การจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอเท่านั้น เพราะยังมีขั้นตอนของการเฉลิมฉลองเพื่อให้ครอบครัวและคนสนิทของทั้งสองฝ่ายได้มาร่วมแสดงความยินดีอีกด้วย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าการจัดงานแต่งงานจะไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่อีกต่อไปแล้ว ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน รวมถึงปัจจัยหลักๆ อย่างค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดงานที่อาจทำให้หลายคนมองว่าไม่คุ้มที่จะเสียไปในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้ใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่เท่าไรนัก ถึงอย่างนั้น การจัดงานแต่งงานก็ยังถือเป็นเครื่องยืนยันทางสังคมที่บ่งบอกถึงสถานะทางครอบครัว หลายบ้านจึงยังอยากให้ลูกหลานจัดงานแต่งงานเพื่อเป็นการให้เกียรติระหว่างกันและกัน คอลัมน์ City By Numbers เลยขอคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ สำหรับงานแต่งงานขนาดกลางที่มีผู้ร่วมงานประมาณ 100 – 200 คน มาเป็นข้อมูลให้คนมีคู่ได้เตรียมงบประมาณกัน ค่าเช่าชุดแต่งงาน ชุดเจ้าสาว 15,000 – 45,000 บาท ชุดเจ้าบ่าว 4,500 – 6,500 บาท เมื่อพูดถึงงานแต่งงาน สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงก็ต้องเป็นชุดแต่งงาน ซึ่งปัจจุบันคู่บ่าวสาวมักเลือกเช่าชุดสำหรับวันงานแทนการตัดชุดใหม่ โดยราคาจะแตกต่างกันไปตามแบรนด์ของชุด อย่างของชุดเจ้าสาวจะเริ่มต้นที่หลักหมื่น ส่วนของเจ้าบ่าวอยู่ที่ประมาณ 4,500 บาท แต่หากใครที่อยากสั่งตัดชุดแต่งงานเพื่อเก็บเป็นความทรงจำ ค่าใช้จ่ายสั่งตัดชุดแต่งงานของเจ้าสาวจะเพิ่มสูงเป็นเท่าตัว โดยเริ่มต้นที่ 45,000 บาท ส่วนของเจ้าบ่าวเริ่มต้นที่ 6,000 บาท ค่าแต่งหน้าทำผม 10,000 […]
Urban Eyes 10/50 เขตราชเทวี
ราชเทวีเป็นเขตที่มีผู้คนและการจราจรหนาแน่น ถ้าให้พูดถึงสถานที่ใหญ่ๆ ในเขตนี้ ก็คงเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรงพยาบาลรามา และประตูน้ำ แต่ปกติด้วยความที่เราขับรถ ทำให้ไม่ค่อยได้เดินไปไหน วันนี้ได้ทีเลยขอใช้สองขาพาตัวเองและทุกคนไปสำรวจพื้นที่กัน สถานที่ที่เรานึกขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ในเขตนี้คือ วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื่องจากผู้คนหลั่งไหลกันทุกทิศทาง เพื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะที่มีทั้งรถเมล์และรถตู้ตามเกาะต่างๆ รอบอนุสาวรีย์ฯ ซีนแบบนี้มีให้เห็นแทบทั้งวันโดยเฉพาะช่วงเช้า-เย็นที่คนจะเยอะมากเป็นพิเศษ แม้วันที่เรามาจะมีฝนตก คนก็ไม่ได้ลดน้อยลงกว่าวันปกติเท่าไหร่เลย ระหว่างทางที่เดินไปถนนพระราม 6 (ใต้ทางด่วน) เราก็เจอพิพิธภัณฑ์แร่-หิน ของกรมทรัพยากรธรณี เราแปลกใจมากว่าในกรุงเทพฯ มีอะไรแบบนี้ด้วยเหรอ พอได้เข้าไปข้างในที่มีแค่พี่ รปภ. คนเดียว บรรยากาศก็เลยเงียบเหงาสุดๆ ตอนเซ็นชื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์เลยถามพี่ รปภ. ว่าปกติมีคนมาเยี่ยมชมเยอะไหม และได้ทราบว่ามีคนมาที่นี่ต่อวันน้อยกว่า 10 คนเสียอีก ภายในพิพิธภัณฑ์มีนิทรรศการความรู้เรื่องแผ่นดินไหว สภาพแลนด์สเคปของโลก มีการนำแร่หินมาจัดแสดง ช่วงหลังๆ เป็นส่วนฟอสซิลสัตว์โบราณ ตบท้ายด้วยชื่อ 9 ไดโนเสาร์ที่พบในไทยอย่างภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน, สยามโมซอรัสสุธีธรณี, สยามโมไทรันนัสอิสานแอนซิส, ซิตตะโกซอรัสสัตยารักษ์กิ เป็นต้น จากตรงนั้นถ้าเดินลงมาหน่อยจะมีรางรถไฟ เราค่อยๆ เดินเลียบรางรถไฟไปทางถนนพญาไท (สถานีรถไฟฟ้าพญาไท) วันนั้นกรมปศุสัตว์ได้มีพิธีเปิดป้ายใหม่ เราเลยได้รูปบรรยากาศมาด้วย ไฮไลท์อีกแห่งของเขตราชเทวีคือ ประตูน้ำ […]
เที่ยวงานวัด ลอยประทีป แยกขยะ Bangkok River Festival งานลอยกระทงรูปแบบใหม่ที่ทั้งสนุกและรักษ์โลก
ใครเคยไปลอยกระทงแล้วกังวลว่ากระทงของเราจะกลายเป็นขยะที่ทำร้ายโลกอยู่หรือเปล่า เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Bangkok River Festival 2022’ หรือเทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 8 ‘รักษ์ ณ สายน้ำ’ เทศกาลที่จะทำให้การลอยกระทงของเราสนุก อิ่มบุญ และรักษ์โลกได้ งานนี้เขามีเป้าหมายให้คนไทยยังอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็แก้ไขเพนพอยต์ที่เราต่างมองเห็นกันดี นั่นคือเรื่องขยะจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจากเทศกาลลอยกระทง Bangkok River Festival ครั้งนี้เขาจึงปรับรูปแบบกิจกรรมแบบเดิม ๆ และเสริมตัวช่วยใหม่ ๆ เพื่อให้การลอยกระทงเป็นมิตรต่อโลกมากขึ้น อย่างการจัดจำหน่ายกระทงเทียน, การสร้าง ‘บ่อลอย’ ริมน้ำที่รณรงค์ให้ทุกคนมาลอยกระทงตรงนี้แทนที่จะเป็นแม่น้ำ เพื่อให้สามารถจัดการขยะได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการมีจุดคัดแยกบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเพื่อปลูกฝังให้หลายคนได้เข้าใจการแยกขยะในชีวิตประจำวันว่ามันง่ายแสนง่ายแค่ไหน Bangkok River Festival 2022 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทยครั้งที่ 8 ‘รักษ์ ณ สายน้ำ’ จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 8 พฤศจิกายนนี้ ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. (วันลอยกระทงที่ 8 พฤศจิกายน เปิดถึงเที่ยงคืน) ณ 10 ท่าน้ำร่วมสมัย […]
Galleries’ Nights 2022 เสพงานศิลป์ยามค่ำคืน ภายใต้ธีม ‘NOW’ จาก 8 แกลเลอรีทั่วกรุงเทพฯ
ชวนคนรักศิลปะมาเสพงานศิลป์ เที่ยวแกลเลอรีในกรุงเทพฯ ให้งานสร้างสรรค์กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งในปลายปีนี้ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เตรียมพาผู้คนกลับมายังแกลเลอรีและอินกับผลงานศิลปะอีกครั้ง กับงาน ‘Galleries’ Nights 2022’ ภายใต้ธีม NOW (ปัจจุบัน) ที่ชวนไปหาคำตอบให้ตัวเองว่า โลกแบบไหนที่เราต้องการในอนาคต Galleries’ Nights ปีนี้ได้มีการรวบรวมแกลเลอรีในกรุงเทพฯ กว่า 70 แห่ง มาให้ชาว Gallery Hopping เข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมบริการรถตุ๊กตุ๊กที่อำนวยความสะดวกตลอดการเดินทางทั่วกรุงเทพฯ งาน Galleries’ Nights จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ 2 คืน 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง สีลม/สาทร/ริมแม่น้ำเจ้าพระยาวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เส้นทาง อารีย์/ปทุมวัน/สุขุมวิท เพราะไม่อยากให้คุณพลาดงานศิลปะดีๆ แบบนี้ Urban Creature ขอรวบรวม 8 แกลเลอรีในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและเป็นไฮไลต์ของการชมงานศิลปะยามค่ำคืน ทั้งงานศิลปะจัดวาง […]
Midnights อัลบั้มที่กลั่นกรองจากความรัก ชีวิต และสิ่งที่ Taylor Swift คิดในคืนที่นอนไม่หลับ
ถ้าไม่ใช่ที่สุด, เทเลอร์ สวิฟต์ ก็น่าจะเป็นหนึ่งในศิลปินที่ขยันที่สุดในอุตสาหกรรมเพลงตะวันตก นับตั้งแต่อายุก้าวเข้าเลข 3 ในปี 2020 เทเลอร์ออกอัลบั้มใหม่มาแล้ว 4 ชุด ทั้งอัลบั้มเพลงแนวโฟล์กที่เธอทำใหม่ทั้งหมดอย่าง Folklore และ Evermore รวมถึงอัลบั้มเก่าที่เธอนำมาอัดเสียงอีกครั้ง แถมยังทำเพลงใหม่เพิ่มเข้าไปให้พิเศษกว่าเดิมอย่าง Red (Taylor’s Version) และ Fearless (Taylor’s Version) ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เทเลอร์ยังกระโดดไปทำสิ่งที่เราไม่เคยเห็นเธอทำมาก่อน ทั้งเป็นนักแสดงในหนังมิวสิคัลอันลือลั่น (ในทางไหนว่ากันอีกที) เรื่อง Cats, ไปลองกำกับหนังสั้นประกอบเพลง All Too Well (10 Minute Version) ของตัวเองที่ได้นักแสดงวัยรุ่นชื่อดังอย่าง Sadie Sink และ Dylan O’Brien มาเล่นให้ ปังบ้าง เป๋บ้าง เป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิต สิ่งสำคัญคือเทเลอร์ไม่หยุดทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งหากมองในมุมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในแสงสปอตไลต์ของวงการบันเทิง นั่นอาจเป็นเรื่องจำเป็น ล่าสุด […]
“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า
“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]
7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’